- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 October 2018 18:31
- Hits: 7514
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ต่างประเทศไม่สดใส รอดูตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปรับลงต่อถึง -12.56 จุด ปิดที่ 1729.40 จุด ขณะที่ยอดต่ำสุดของวันลงไปถึง 1720.13 จุด ถือว่าปรับลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายสูงขึ้นเป็น 64.3 พันล้านบาท ปัจจัยลบคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีพุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปีทีเดียว หลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนออกมาร้อนแรง บาทอ่อน มีเงินไหลออก อีกทั้งรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรประกาศศุกร์นี้ อีกทั้งช่วงบ่ายมีข่าวธปท.ออกเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เข้มงวดขึ้นสำหรับระดับราคาเกิน 10 ล้านบาทหรือเป็นบ้านหลังที่สองขึ้นไป เริ่ม 1 ม.ค.62 จะกระทบหุ้นกลุ่มแบงค์และอสังหาฯ ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น นักลงทุนทั่วไป 7.7 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.7 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 5.0 พันล้านบาท และสถาบัน 3.4 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET ยังได้รับแรงกดดันจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาร้อนแรงติดตามการประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรวันนี้ เงินบาทอ่อนค่าลง มีเงินไหลออก และยังมีปัญหาค่าเงินอินโดนีเซีย อินเดียอ่อน ทำให้กังวลสถานการณ์ประเทศเกิดใหม่ดัชนีความกลัว (VIX) ก็สูงขึ้นมากเป็น 14.22 จุด อีกทั้งน้ำมันก็ปรับลงอีก หลังรัสเซีย ซาอุจะผลิตน้ำมันเพิ่ม ตลาดหุ้นเพื่อนเช้านี้แกว่งแคบๆเป็นลบ ดาวโจนส์ล่วงหน้ารีบาวด์ +54 จุด ณ 8.11 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับขึ้น ความจริงคือเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจก.ย.แนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก ส.ค. ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจหุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1710-1745 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
Update หุ้นเด่น: RML – หลังซื้อโครงการและหุ้น KPNL ได้ปรับกำไรต่อหุ้นปีนี้และปีหน้าเพิ่มถึง 1300%/100% คาดว่ากำไรตั้งแต่ 3Q61 จะเติบโตดีกว่า y-o-y ไปจนถึงครึ่งแรกของปีหน้าเพราะดีลนี้ อีกทั้งยังได้ที่ดินทำเลดีมากคือ สุขุมวิท 19 & 28 ไว้พัฒนาคอนโด ซึ่งปัจจุบันหายากและแพง คำแนะนำล่าสุดเป็น ซื้อ ราคาพื้นฐานประเมินด้วย P/E ปี 61 ที่ 12 เท่า เป็น 1.64 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 11%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆ ก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1735-1740 แนวรับ 1720-1710
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ AMATA, ROJNA, HANA, BH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ SVI, TCAP, SOLAR, IVL, PTTGC, หุ้นที่หลุด List PTTEP, PLANB หุ้นที่อยู่
ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ SEAFCO
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ดิ่ง หลังบอนด์ ยิลด์พุ่ง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,627.48 จุด ร่วงลง 200.91 จุด หรือ -0.75% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,879.51 จุด ลดลง 145.57 จุด หรือ -1.81% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,901.61 จุด ลดลง 23.90 จุด หรือ -0.82%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 200 จุดเมื่อคืนนี้ (4 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสุงสุดในรอบ 7 ปี หลังจากประธานธนาคารสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงอย่างหนัก หลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นบริษัทในกลุ่ม FAANG (เฟซบุ๊ก แอปเปิล อเมซอน เน็ตฟลิกซ์ และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล)
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง กังวลรัสเซีย ซาอุผลิตเพิ่ม
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลง 2.08 ดอลลาร์ หรือ 2.72% ปิดที่ 74.33 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.71 ดอลลาร์ หรือ 1.98% ปิดที่ 84.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (4 ต.ค.) หลังจากมีรายงานว่าซาอุดิอาระเบียและรัสเซียเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยการผลิตน้ำมันที่ลดลงจากอิหร่าน นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์
• ทองคำ : ลดลง เนื่องจากบอนด์ ยิลด์พุ่ง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 1.3 ดอลลาร์ หรือ 0.11% ปิดที่ 1,201.60 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (4 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี พุ่งสูงสุดในรอบ 7 ปี
# อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 3.178% หลังจากแตะระดับ 3.232% ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2554 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.341% หลังจากแตะระดับ 3.375% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2557
# ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และจากการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
- ตัวเลขการขอรับสวัสดิการครั้งแรก สหรัฐฯออกมาร้อนแรง
# จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 207,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 และยอดคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.3% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.1%
-/• รอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ก.ย.สหรัฐ
# นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย.นอกจากนี้ ตลาดยังจับตาตัวเลขเฉลี่ยค่าจ้างรายชั่วโมงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวจะเป็นตัวบ่งชี้เงินเฟ้อ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-/+ ธปท.ปรับปรุงเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้เข้มงวดมากขึ้น
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านราคาสูงกว่า 10 ลบ.และบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค.62 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในเชิงระบบ และมุ่งสร้าง Credit Culture ที่ดีให้แก่สถาบันการเงินมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือนและไม่เอื้อให้มีการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเข้าอยู่จริง สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม
# ผลกระทบ: เป็นเรื่องดีที่จะมีการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรที่พักอาศัยเข้มงวดขึ้น เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยอยู่ในความเสี่ยงที่มากเกินไป ทั้งนี้ภาคที่อยู่อาศัยมีความเชื่อมโยงกับหลายอุตสาหกรรม เช่น รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, เฟอร์นิเจอร์และตกแต่ง, ธนาคารพาณิชย์, ขนส่ง ฯลฯ ซึ่งหากมีปัญหาก็จะลามไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย
# อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พักอาศัยและธนาคารพาณิชย์ในทางลบก่อน โดยยอดขายและโอนที่อยู่อาศัยอาจจะน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการที่พักอาศัยจะเร่งขายเร่งโอนก่อนที่มาตรการใหม่จะมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.62 แต่ธนาคารพาณิชย์น่าจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย 2 เหตุผล คือ 1) ได้รับสัญญาณจากธปท.แล้ว, และ 2) มาตรฐานบัญชี IFRS9 จะทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นมากถ้ามีการปล่อยสินเชื่อที่ Aggressive เกินไป
# ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการปล่อยสินเชื่อที่พักอาศัยเป็นสัดส่วนสูงที่สุด คือ SCB (30% ของสินเชื่อรวม) รองลงมาเป็น TMB (23%), KTB (19%), TCAP (15%), KBANK (14%) ธนาคารที่มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ TISCO (8%) สำหรับ BBL และ KKP อยู่ที่ 10-11%
- นายกธุรกิจบ้านจัดสรรกังวล เกณฑ์ใหม่ ธปท.อาจทำให้ภาวะอสังหาฯชะงักงันได้
# นายกธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนออกมาให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สถานบันการเงิน และลูกค้า จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาด ทำให้ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเกิดความชะงักงัน
# รมช.คลัง ระบุว่า ธปท. ได้เรียกผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือมาตรการควบคุมการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในวันที่ 11 ต.ค.61 เพื่อหารือให้ได้ข้อสรุปและข้อยุติที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ
-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.ย.61 ลดลง
# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.ย.61 อยู่ที่ 82.3 จาก 83.2 ในเดือน ส.ค.61 โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14692