- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 04 October 2018 18:04
- Hits: 8827
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“อัตราผลตอบแทนสหรัฐพุ่ง บาทอ่อน เงินไหลออก”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปรับลงถึง -6.13 จุด ปิดที่ 1741.96 จุด ขณะที่ยอดสูงสุดของวันที่ 1757.43 จุด และถือว่าพลิกผันกลับมามีแรงขายในช่วงท้ายตลาด จากเช้าถึงบ่ายที่ดัชนียังบวก มูลค่าการซื้อขายปานกลางเป็น 58.1 พันล้านบาท ปัจจัยลบคือกังวลสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ค่าเงินรูเปียห์ อินโดนีเซียอ่อนมาก และเกิดปัญหาวิกฤติงบประมาณอิตาลี อีกทั้งรอดูตัวเลขการจ้างงาน นอกภาคการเกษตรศุกร์นี้ ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น นักลงทุนทั่วไป 2.5 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือสถาบัน 1.5 พันล้านบาท ต่างประเทศ 1.0 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.05 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET ได้รับแรงกดดันเพิ่มจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีพุ่งไปถึง 3.1846% หลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนออกมาร้อนแรงติดตามการประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประกาศวันศุกร์ ดอลลาร์แข็งค่า เงินบาทอ่อนค่าลง มีเงินไหลออก และยังมีปัญหาค่าเงินรูเปียห์ อินโดนีเซียอ่อน ทำให้กังวลสถานการณ์ประเทศเกิดใหม่ แม้ปัญหาวิกฤติงบประมาณอิตาลีได้รับรู้ไปพอควร ดัชนีความกลัว (VIX) ลดลงเป็น 11.61 จุด ส่วนปัจจัยบวกที่มีคือ ดาวโจนส์และน้ำมันปรับขึ้นตลาดหุ้นเพื่อนเช้านี้แกว่งแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า -82 จุด ณ 7.59 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับลง ความจริงคือเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งบัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจก.ย.แนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก ส.ค. ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1730-1760 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
Update หุ้นเด่น: IVL – คงคำแนะนำซื้อ IVL ให้ราคาพื้นฐาน 82 บาท (อิง P/E ปี 62 ที่ 16 เท่า) – คาดว่าแนวโน้มธุรกิจใน 2H61 ยังแข็งแกร่ง แม้ว่า EBITDA/ตันอาจจะอ่อนลงบ้างแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงมาก และปริมาณขายเพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการ ส่วนในระยะยาวคาดว่าจะเติบโตได้ดีทั้งด้านรายได้และมาร์จิ้น เนื่องจากมีสัดส่วนสินค้า HVA มากขึ้นซึ่งสเปรดของสินค้าประเภทนี้จะลดลงไม่มากในช่วงวัฎจักรขาลง ส่งผลให้ผลประกอบการบริษัทจะยังแข็งแกร่งได้ ล่าสุด TRIS ปรับเพิ่มเรทติ้งจาก A+ เป็น AA- เนื่องจากสถานะความเป็นผู้นำธุรกิจปิโตรเคมีในระดับโลกและแนวโน้มธุรกิจแข็งแกร่ง
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆ ก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1750-1760 แนวรับ 1740-1730 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1730 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ TCAP, SOLAR, IVL, PTTGC หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ SEAFCO, PTTEP, PLANB, SVI หุ้นที่หลุด List STEC, HUMAN, JWD, GULF, CKP, BLA, AU, AUCT หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ PTL, RCL, SYNTEC, JKN
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์บวกต่อ รับตัวเลขจ้างงาน และหุ้นธนาคารเพิ่ม
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,828.39 จุด เพิ่มขึ้น 54.45 จุด หรือ +0.20% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,025.08 จุด เพิ่มขึ้น 25.54 จุด หรือ +0.32% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,925.51 จุด เพิ่มขึ้น 2.08 จุด หรือ +0.07%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เมื่อคืนนี้ (3 ต.ค.) ขานรับตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ ขณะที่หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับแรงซื้ออย่างต่อเนื่อง หลังจากนักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐ และประเทศคู่ค้าอย่างแคนาดาและเม็กซิโก
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น รับข่าวมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. พุ่งขึ้น 1.18 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 76.41 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปีปี 2557
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 1.49 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 86.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับกระแสคาดการณ์ที่ว่า ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะเผชิญภาวะตึงตัว อันเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้นแข็งแกร่งถึง 1.6% แม้ทางการสหรัฐรายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ก็ตาม
• ทองคำ : ลดลง เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 4.10 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่ 1,202.90 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (3 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ การที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนงบประมาณของรัฐบาลอิตาลี ยังส่งผลให้เกิดแรงเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
- ตัวเลขการจ้างงานออกมาอยู่ในเกณฑ์ร้อนแรง
# รายงานของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ ซึ่งระบุว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นถึง 230,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. จากระดับ 168,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค. นอกจากนี้ ตัวเลขจ้างงานในเดือนก.ย.ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 185,000 ตำแหน่ง
# ทั้งนี้การจ้างงานภาคเอกชนในเดือนก.ย.มีการเพิ่มขึ้นในวงกว้างทั่วทุกภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่, กลางและเล็ก โดยตัวเลขการจ้างงานในภาคบริการเพิ่มขึ้น 184,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ขณะที่ภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 46,000 ตำแหน่ง
+/- ตัวเลข ISM สวนทางกับ PMI
# สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยผลสำรวจซึ่งระบุว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 61.6 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่มีการสร้างดัชนีดังกล่าวในปี 2551 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 58.0 จากระดับ 58.5 ในเดือนส.ค.
# อย่างไรก็ดี การพุ่งขึ้นของดัชนีภาคบริการของ ISM สวนทางกับการสำรวจของไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ชะลอตัวสู่ระดับ 53.5 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนจากระดับ 54.8 ในเดือนส.ค. และได้ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
-/+ รอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ก.ย.สหรัฐ
# นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย.
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไปในสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค. และดุลการค้าเดือนส.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
• ธปท.มองเงินบาทที่แข็งค่า ยังไม่ส่งสัญญาณการเก็งกำไร และยังไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยตั้งแต่สิ้นปี 60- 2 ต.ค.61 บาทแข็งค่าขึ้น 0.6% เมื่อเทียบดอลลาร์ แต่แข็งค่าขึ้น 5% เมื่อเทียบกับค่าเงินประเทศคู่แข่ง และยังไม่เห็นสัญญาณการเก็งกำไรที่ผิดปกติช่วงนี้พร้อมระบุว่า กรณีเงินบาทแข็งค่าไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากปัจจัยสำคัญอยู่ที่การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่า ทั้งนี้เงินบาทที่แข็งค่ายังไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่ในทางกลับกันได้ ช่วยลดผลกระทบจากการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาแพงขึ้นได้
-กนง.เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 19 ก.ย.61 ระบุว่า คณะกรรมการ กนง.ได้อภิปรายเกี่ยวกับเงื่อนไขและจังหวะเวลาที่เหมาะสมของการเริ่มปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติในอนาคต โดยเห็นว่าหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย ความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะเริ่มทยอยลดลง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสร้าง policy space ในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14645