- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 03 October 2018 21:32
- Hits: 8563
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“สถานการณ์อิตาลี ค่าเงินอินโดฯ กดดัน SET”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ---
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปรับลงถึง -12.38 จุด ปิดที่ 1748.09 จุด ใกล้ยอดต่ำสุดของวันที่ 1746.06 จุด และถือว่าปรับลงน้อยกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้านซี่งส่วนใหญ่ปรับลงแรง มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นเป็น 64.2 พันล้านบาท ปัจจัยลบคือกังวลสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีน ค่าเงินรูเปียห์อ่อนมากจนผ่านระดับ15,000 เหรียญต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าอ่อนสุดในรอบ 20 ปี ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น นักลงทุนทั่วไป 6.2 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 3.2 พันล้านบาท สถาบัน 2.7 พันล้านบาทและพอร์ตโบรกเกอร์ 0.3 พันล้านบาท สำหรับต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) ผู้ซื้อสุทธิเป็น สถาบัน 137.8 พันล้านบาท และ นักลงทุนทั่วไป 78.0 พันล้านบาท และ ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 211.7 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 4.1 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้นคาดว่า SET ได้รับแรงกดดันจากการเกิดปัญหาวิกฤติงบประมาณอิตาลี และค่าเงินรูเปียห์ อินโดนีเซียอ่อนสุดในรอบ 20 ปี ทำให้กังวลสถานการณ์ประเทศเกิดใหม่ น้ำมันและบาทอ่อนลง นักลงทุนกลับไปเข้าทองคำ แสดงว่าไม่ไว้ใจสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ตลาดหุ้นเพื่อนเช้านี้แกว่งแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า -17 จุด ณ 7.59 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับลงอีก รอดูสต็อก แม้คาดว่าจะมีแรงขายต่อจากวานนี้ แต่มีโอกาสรีบาวด์ เพราะเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล เศรษฐกิจก.ย.แนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่องจาก ส.ค. ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1730-1770 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมได้
Update หุ้นเด่น: JKN – เรทติ้งหนังอินเดียดี เทียบกับละครไทย ขณะที่ราคาซื้อหนังอินเดียต้นทุนต่ำกว่าทำละครเองประมาณ 3-6 เท่าในเรทติ้งที่พอๆกัน แนวโน้มปี 61-62 แข็งแกร่ง เราคาดว่าธุรกิจใน 2H61 ยังไปได้ดีมาก และมีโปรแกรมใหม่คือ CNBC ที่เริ่มออกอากาศรายการ First Class ไปเมื่อมิ.ย.61 (ช่อง 3SD) ประมาณการกำไรสุทธิปี 61/62 เติบโตสูงมาก 36%/46% แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 15.20 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆ ก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1755-1760 แนวรับ 1740-1730 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1730 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ SYNTEC, SVI, GULF, CKP, BLA, AU, AUCT, JKN หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ PTL, RCL, SEAFCO, STEC, HUMAN, PTTEP, JWD, PLANB หุ้นที่หลุด List SENA,RS หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ไม่มี
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์บวกได้ หุ้นอุตสาหกรรมปรับขึ้น แต่ Nasdaq ร่วงต่อ
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,773.94 จุด พุ่งขึ้น 122.73 จุด หรือ +0.46% ขณะที่ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,923.43 จุด ลดลง 1.16 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,999.55 จุด ลดลง 37.76 จุด หรือ -0.47%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) ทำสถิติปิดในแดนบวกติดต่อกัน 4 วันทำการ โดยตลาดได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงหุ้นแคทเธอร์พิลลาร์และหุ้นโบอิ้ง อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นเฟซบุ๊กที่ดิ่งลงเกือบ 2% อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง กังวลสต็อกน้ำมันมีมาก
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 7 เซนต์ หรือ 0.09% ปิดที่ 75.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 18 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 84.80 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) หลังจากโพลล์สำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากภาวะการซื้อขายโดยรวมยังคงได้แรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะน้ำมันตึงตัว อันเนื่องมาจากสหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
• ทองคำ : ปรับขึ้น เนื่องจากวิตกสถานการณ์อิตาลี
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 15.30 ดอลลาร์ หรือ 1.28% ปิดที่ 1207.00 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอิตาลี ซึ่งได้ฉุดตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงนั้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
- จับตาสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลี
# นักลงทุนจับตาสถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลีอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของพรรคไฟว์ สตาร์ และพรรคเดอะ ลีก เห็นพ้องให้มีการกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าไว้ที่ 2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชุดก่อนถึง 3 เท่า และคาดว่าจะทำให้สหภาพยุโรป (EU) แสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากจะทำให้อิตาลีมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก
# นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียืนยันเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลจะกำหนดเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณที่ระดับดังกล่าว แม้ว่ารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนเรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีทบทวนแผนการกำหนดยอดขาดดุลงบประมาณก็ตาม
- เงินรูเปียห์อินโดนีเซียอ่อนค่ามาก สร้างความกังวลประเทศ EM (Bloomberge)
# ค่าเงินรูเปียห์อ่อนกว่า 15,000 เหรียญต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2541 หรือในรอบ 20 ปี
# ผลกระทบ: เป็นลบ สร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ ที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียในสัดส่วนถึง 40% และลามไปประเทศอื่นๆต่อประเทศเกิดใหม่(Emerging Market: EM) ด้วย ทั้งนี้อินโดนีเซียมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูง ยิ่งอ่อนค่าก็ยิ่งขาดดุลมากขึ้น ประเทศที่มีลักษณะเช่นนี้คือ ตุรกี อาร์เจนตินา และอินเดีย ซึ่งล้วนแต่มีค่าเงินที่อ่อน ส่วนไทยไม่ได้มีปัญหานี้ แต่เป็นประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เลยอาจได้รบผลลบตามไปด้วย จึงต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินรูเปียห์ต่อไป
-/+ รอติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ก.ย.สหรัฐ
# นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไปในสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนก.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนส.ค. และดุลการค้าเดือนส.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-/• ฟิทช์ฯ คาดสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ อาจจะส่งผลต่อประเทศพึ่งพิงการส่งออก
# ฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจโลกจะเติบโตในระดับ 3.3% ส่วนในปี 62 คาดว่าจะเติบโตได้ 3.1% โดยมีแรงหนุนจากการเติบโตในระดับที่สูงกว่าปกติของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว และการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ยังคงแข็งแกร่งแม้ต้องเผชิญกับสงครามทางการค้าอย่างต่อเนื่อง แต่การเคลื่อนย้ายของเงินทุนในตลาดโลกน่าจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศในระดับสูงและมีกรอบการดำเนินนโยบายที่อ่อนแอกว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยน่าจะสามารถรับมือกับความท้าทายของภาวะเศรษฐกิจโลกดังกล่าวได้ เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงและการรักษาฐานะทางการคลังให้อยู่ในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง
# ขณะที่สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่รุนแรงขึ้นอาจจะส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจที่พึงพิงการค้าระหว่างประเทศ (open economies) ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้ประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 62 ปรับตัวลดลง
+ กกร.ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัว
# ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 61 โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มขยายตัว แต่อาจไม่สูงเท่าช่วงครึ่งปีแรก จากผลของปัจจัยฐานเปรียบเทียบซึ่งคาดว่าจะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวเติบโตในระดับที่ชะลอลง
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14570