- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 27 September 2018 19:10
- Hits: 734
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ 2.25% ตามคาด และคาดว่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งในเดือน ธ.ค. อย่างไรก็ตามสถานการณ์ความผันผวนของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ยังจะดำเนินต่อไป โดยมีความร้อนแรงของสงครามการค้าเป็นตัวกระตุ้น สำหรับตลาดหุ้นเชื่อว่าได้ซึมซับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไปแล้ว คาดวันนี้ผันผวนในกรอบแคบ กลยุทธ์การลงทุนให้น้ำหนักไปที่หุ้น Domestic Play และ หุ้นที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะโดดเด่น หุ้น Top picks วันนี้เลือก CPALL(FV@B80) และ TPIPP([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ตลาดฯ แกว่งตัวในกรอบแคบๆ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงแกว่งสลับบวก-ลบ ในกรอบแคบๆ และปิดตลาดที่ระดับ 1,749.93 จุด ลดลง 1.94 จุด หรือ 0.11% มูลค่าซื้อขาย 4.87 หมื่นล้านบาท ตลาดฯ ได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT (+0.5%) PTTEP (+0.9%) ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ทรงตัวในระดับสูง ตามด้วยปิโตรฯ IVL(+0.4%) PTTGC(+0.9%) และกลุ่ม ICT มีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้น TRUE หลังศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ TRUE ชนะคดี TOT เรื่องข้อพิพาทภาษีสรรพสามิต ทำให้ราคาหุ้นพลิกมาปิดแดนบวกเพิ่มขึ้น 0.81% ส่วนกลุ่ม ธ.พ. ราคาหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวลดลง เว้น BBL ที่ทรงตัว
แนวโน้ม SET Index วันนี้คาดว่าแกว่งพักตัว ประเมินแนวรับที่ 1740 จุด แนวต้าน 1760 จุด โดยตลาดฯ ได้ซึมซับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ไปแล้ว แต่ยังต้องให้น้ำหนักสงครามการค้า และน่าจะสลับจากกลุ่มพลังงาน ที่วานนี้ราคาน้ำมันย่อตัวลงหลังจากปรับขึ้นมามาก ไปยังกลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะออกมาเติบโตโดดเด่น
Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด อาจขึ้นดอกเบี้ยฯอีก 1 ครั้งปลายปีนี้
ที่ประชุม Fed (25-26 ก.ย.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ (เป็นการขึ้นครั้งที่ 8 นับตั้งแต่ขึ้นครั้งแรกปลายปี 2558) อีก 0.25% เป็น 2.25% เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังขยายตัวแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. อยู่ที่ 3.9% ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ และเงินเฟ้อยังสูงเดือน ส.ค. อยู่ที่ 2.7% ยังสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย และ Fed ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งๆ ละ 0.25% ในการประชุมที่เหลือ 2 ครั้งปีนี้ (คือรอบ พ.ย. และ ธ.ค.) และขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ดอกเบี้ยจะขึ้นไปแตะ 3.75% สิ้นปี 2563
เป็นที่สังเกตว่าในรอบนี้ Fed ยังมีมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากผลของมาตรการปฎิรูปภาษีในช่วงต้นปี(ลดภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดา) สะท้อนจากการปรับเพิ่ม GDP Growth เป็น 3.1% จากเดิม 2.8% ในปี 2561 และปี 2562 ลดเพิ่ม 2.5% จาก 2.4% และคงปี 2563 ที่เดิม 2% (เทียบกับ IMF ที่ 2.9% และ2.7% ในปี 2561-2562) เช่นเดียวกับปรับลดอัตราการว่างงานคาดปี 2561 เป็น 3.7% จากเดิม 3.6% และปี 2562-2563 ทรงตัวที่ 3.5% เท่ากันทั้ง 2 ปี ขณะที่เงินเฟ้อคงคาดการณ์ปี 2561 ที่ 2.1% แต่ปรับลด 2562 เหลือ 2% จาก 2.1%
อย่างไรก็ตามมุมมองของ ASPS ผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่เกิด 3 รอบ และอาจจะมีรอบที่ 4 โดยขึ้นกับสินค้า ขั้นต้น-ขั้นกลาง และ ขั้นปลาย ซึ่งต้นทุนการผู้ผลิต จะส่งผ่านยังให้ผู้บริโภคบางส่วน กดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแรงในอนาคต ซึ่งจะซ้ำเติมให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวโดยจะเห็นผลชัดเจนในปี 2562 ซึ่งอาจจะทำให้การขึ้นดอกเบี้ยฯ Fed ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป ต่ำกว่าเป้าที่คาดไว้
ราคาน้ำมันลดความร้อนแรง จากสต็อกน้ำมันสหรัฐเพิ่มขึ้น
สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 1.85 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 1.27 ล้านบาร์เรล) ขณะที่ Supply น้ำมันดิบโลกที่หายไปวันละ 5.8 แสนบาร์เรลจากอิหร่าน ซึ่งเป็นผลกระทบจากสหรัฐได้คว่ำบาตรการค้า ตั้งแต่ มิ.ย.เป็นต้นมา และการควบคุมการผลิตน้ำมันของฝั่ง OPEC และ Non OPEC ยังอยู่จนถึงสิ้นปี ซึ่งไม่มีประเทศใดผลิตเพิ่ม แม้จะมีแรงกดดันจากสหรัฐ ขณะที่ฝั่งสหรัฐเองก็ผลิตทดแทนการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามลำดับจนปัจจุบันผลิตได้ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงสุดเป็นประวัติการณ์) อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเมื่อหมดสัญญาการควบคุมการผลิต ราคาน้ำมันดิบที่สูงน่าจะเร่งให้ประเทศสมาชิกผลิตเพิ่มเติม มิใช่นั้นจะกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ และซ้ำเติมสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบโลกได้แกว่งตัวแรงขึ้นมาใกล้ 80 เหรียญฯต่อบาร์เรล (เฉลี่ยตั้งแต่ต้รปีอยู่ที่ 69.9 เหรียญฯ ดีกว่าสมมติฐานที่ประเมินไว้ที่ 65 เหรียญฯ ปีนี้และ 70 เหรียญฯ ปี 2562 และ 75 เหรียญปี 2563 เป็นต้นไป) ผลจากราคาน้ำมันที่ดีกว่าคาดดังกล่าว จะทำให้ผลประกอบการของหุ้นน้ำมัน (PTTEP, PTT)ในงวด 4Q61 จะดีขึ้นจากงวด 3Q61
หากยึดหลักระมัดระวังคือ ให้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวตามเดิมข้างต้น มูลค่าพื้นฐานปี 2561 และ 2562 ของทั้ง PTTEP, PTT ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมคือที่ 137 บาท และ 54 บาทตามลำดับ ยกเว้น PTTEP ที่ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มที่จะเกิดขึ้นหากสามารถประมูลแหล่งบงกช G2/61 ได้ ภายใต้สมมติฐานถือหุ้นสัดส่วน 66.67% เท่าเดิม และอัตราผลตอบแทนตามการประมูลเดิม จะช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท กรณีที่ดีมากคือ ให้เพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบระยะยาวขึ้นปีละ 5 เหรียญฯ คือปี 2562 เป็น 75 เหรียญฯ และ 80 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป มูลค่าหุ้นของ PTTEP เพิ่มขึ้นจากเดิม หุ้นละ 10 บาท เป็น 147 บาท และ PTT อีกหุ้นละ 2 บาท เป็น 56 บาท (ถือว่าราคาหุ้นปัจจุบันก็เต็มมูลค่าแล้วเช่นกัน)
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค และซื้อหุ้นไทยน้อยลง
Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.25% และมีโอกาสสูงที่จะขึ้นอีกครั้งในปีนี้ กดดันให้ Fund Flow ชะลอตัวลง สอดคล้องกับวานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาตเล็กน้อย 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) โดยเป็นการขายสุทธิ 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 20) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิ 16 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเพียง 3 ล้านเหรียญ หรือ 82 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 629 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หนุนให้ Bond Yield 10 ปี สหรัฐ ยังอยู่ในระดับสูงเกิน 3% จูงใจให้ต่างชาติหันไปสนใจลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับไทยที่วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้ 2.6 พันล้านบาท โดยตลอดทั้งเดือน ก.ย. ซื้อสุทธิสะสมไปแล้วกว่า 3.94 หมื่นล้านบาท (mtd)
มุ่งไปที่หุ้นผลประกอบการเติบโต qoq หรือ yoy ใน 3Q61
เข้าสู่ช่วงของการทำ Earning Preview เริ่มจากกลุ่ม ธ.พ. ที่คาดว่ากำไรสุทธิงวด 3Q61จะอยู่ที่ราว 5.18 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.0% qoq (เพิ่มขึ้น 9.2% yoy) จากรายใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง แต่ NIM เริ่มดีขึ้นจากสินเชื่อรายย่อยที่ขยับขึ้น ขณะที่ต้นทุนการสำรองฯ ลดลง เพราะ NPLs ทรงตัว 3.2%แต่เริ่มมีความกังวลในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น
ขณะที่แนวโน้มกลุ่มผลประกอบการกลุ่มอื่นๆ ประเมินได้ดังนี้
กลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะเติบโต qoq
พัฒนาที่อยู่อาศัย มาจากการรับรู้จากยอดโอนฯ ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในส่วนของแนวราบและคอนโดฯ ตามยอด Backlog ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ JV เพิ่มขึ้นเช่นกัน ก่อนที่ผลการดำเนินงานจะทำจุดสูงสุดของปีใน 4Q61 โดยผู้ประกอบการฯ ที่คาดว่าจะมีกำไรเติบโต YoY และ QoQ ตลอดช่วง 3Q61 และ 4Q61 เช่น LPN, ANAN, PSH, SC และ ORI
ปิโตรเลียม แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q61 คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กจากงวด 2Q61 โดย PTTEP ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ และราคาขายก๊าซที่ปรับขึ้นตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณขายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลบวกต่อไปยัง PTT
พลังงานทดแทน คาดกำไรปกติงวด 3Q61 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด 2Q61 ที่โดดเด่นได้แก่ TPIPP ซึ่ง Utilization rate เฉลี่ยทุกโรงไฟฟ้าสูงขึ้นมา และการกลับมาเดินเครื่องปกติของโรงไฟฟ้า TG5 รวมทั้งโรงไฟฟ้า TG7 (70 เมกะวัตต์) ที่ COD ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ส.ค.
โรงไฟฟ้า SPP แรงหนุนหลักจาก BGRIM จากการรับรู้รายได้โครงการ ABPR 4 เต็มไตรมาส และจากโครงการโซลาร์ BGYSP ที่ถือหุ้นเพิ่มเป็น 100% อีกทั้งยังหนุนจากต้นทุนการเงินที่ลดลงหลัง refinance หุ้นกู้โครงการ BIP 1-2 นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการ CKP กำไรปกติเพิ่มขึ้นตามช่วงฤดูกาล
ประกันฯ กำไรเติบโตหลักๆ มาจากกลุ่ม Non-life นำด้วย THRE ซึ่งเกิดจากการบันทึกกลับเงินลงทุนใน THREL เป็นกำไร ตามสภาวะตลาดฯ ที่ฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องความเสี่ยง ซึ่งอาจมีการบันทึก loss ratio ที่สูงขึ้น จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดกำไรสุทธิงวด 3Q61 ของกลุ่มฯ (DELTA HANA KCE และ SVI) เพิ่มขึ้น 7.3% qoq หนุนจาก คำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับช่วงเทศกาลวันหยุดยาวในช่วงปลายปี รวมถึงผลบวกจากทิศทางค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่น่าจะอ่อนค่าลง
โรงพยาบาล เนื่องจากไตรมาส 3 เป็นช่วง High Season รวมทั้ง รพ. หลายๆ แห่งมีการยกฐานรายได้-กำไรสูงขึ้นจากผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ (ผู้ป่วยประกันสุขภาพ ผู้ป่วยที่รักษาโรคซับซ้อน และโรคเรื้อรัง) ที่มีความมั่นคงมากกว่าการพึ่งพิงการเติบโตจากโรคระบาด คาดรพ. ที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น คือ BDMS, CHG และ RJH
รับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะงานฐานรากที่เข้าสู่ช่วง peak ของการรับรู้รายได้ นำโดย SEAFCO ขณะที่ CK ได้อานิสงส์จากบริษัทร่วมอย่าง CKP ที่ผลประกอบการเข้าสู่ช่วง high season และได้เงินปันผลจาก TTW เข้ามาหนุน
กลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะเติบโต yoy
ยานยนต์ คาดกำไรปกติ 3Q61 เติบโตสูงกว่าการเติบโตของยอดขาย บนความคาดหมายว่ายอดผลิตรถยนต์ 3Q61 จะสูงขึ้นจาก 3Q60 และ 2Q61 ทำให้ประเมินยอดขายของบริษัทในกลุ่มฯ เติบโตไปในทิศทางเดียวกับยอดผลิต ประกอบกับการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง (Economies of Scale) เพราะสัดส่วนต้นทุนเป็น Fixed Cost ประมาณ 60% คาดผลักดัน Gross Margin สูงกว่า 13.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังชอบ STANLY สถานะการเงินเป็น Net cash จึงปลอดภัยจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น
สื่อ-บันเทิง หลักๆ มาจากธุรกิจสื่อนอกบ้าน หลังผ่านพื้นช่วง Low Season ไปแล้ว และเม็ดเงินโฆษณาในเดือนตุลาคมที่จะกลับมาเติบโตจากฐานต่ำในปีก่อน นำโดย VGI, MACO, PLANB ขณะที่ RS ได้แรงหนุนจากธุรกิจพาณิชย์กลับมาฟื้นตัวได้
ท่องเที่ยว-โรงแรม คาดกำไรปกติ 3Q61 เติบโต YoY แม้เหตุเรือทัวร์จีนล่มจะกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทย แต่คาดไม่ส่งผลลบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการกลุ่มธุรกิจโรงแรมทั้ง MINT, CENTEL และ ERW เหตุเพราะการมีโครงสร้างรายได้ที่กระจายตัวของ MINT และ CENTEL รวมถึงความหลากหลายของฐานธุรกิจโรงแรมของ ERW เป็นปัจจัยที่มาช่วยหนุน
กลุ่มที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q61 จะลดลง qoq
โรงไฟฟ้า IPP เป็นผลของฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงฝน ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะปรับตัวลดลง รวมทั้งการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าของ EGCO และ RATCH ส่วน GLOW ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่า Ft ถูกตรึงไว้เท่าเดิม
ถ่านหิน หลักๆ มาจาก BANPU คาดกำไรปกติ 3Q61 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจาก 2Q61 ถึงแม้กำไรจากธุรกิจถ่านหิน จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายถ่านหินของเหมืองในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาขายเฉลี่ยยังทรงตัวได้ในระดับสูง แต่จะถูกหักล้างจากแผน shutdown โรงไฟฟ้า 2 แห่งใน 3Q61
ปิโตรเคมี-โรงกลั่น คาดผลการดำเนินงานปกติของกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีในงวด 3Q61 จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากงวด 2Q61 โดยในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นนั้น สาเหตุมาจากค่าการกลั่นที่จะอ่อนตัวลงตามปัจจัยฤดูกาลที่เป็น low season รวมทั้งแผนการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของ IRPC และโรงงานปิโตรเคมีของ PTTGC รวมเป็นระยะเวลากว่า 1 เดือน ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีนั้นคาดว่า spread ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์ลดลงเนื่องจากเป็นช่วง low season ขณะที่ผลิตภัณฑ์สายอะโรเมติกส์คาดยังเพิ่มขึ้นได้เนื่องจาก supply ใหม่ ยังไม่เข้ามาไม่ทันในช่วงดังกล่าว แต่หากพิจารณาแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มฯงวด 3Q61 นั้น คาดจะปรับตัวลดลงจาก 2Q61 เพราะคาดจะบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันลดลงมีนัยฯ เมื่อเทียบกับงวดก่อนหน้า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14357