- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 24 September 2018 17:27
- Hits: 1218
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
Market Talks
กลยุทธ์การลงทุน
การส่งออกของไทยในช่วง 1-2 เดือนหลัง ส่งสัญญาณชะลอตัวใน 2 ตลาดหลักคือ จีน และ สหรัฐ จากผลกระทบสงครามการค้า ขณะที่การปรับลดกำไรตลาดหุ้นปี 2561 ลง ทำให้ SET มีค่า PER 16 เท่า และ PEG แพงสุดในภูมิภาค ไม่น่าจะจูงใจต่างชาติ โดยอาจจะเห็นเพียงการซื้อสลับขายเท่านั้น หลังขายหุ้นไทยมากว่า 2 แสนล้านบาทในปีนี้ กลยุทธ์ยังเลือก Domestic Play ที่ยังมี upside (CPALL, BJC, SEAFCO, MACO) Top picks CPALL(FV@B80) และ TPIPP([email protected]) หุ้นพลังงานทางเลือกที่มีการเติบโตโดดเด่น แต่ราคาหุ้นยัง Laggard
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. กลุ่ม ธ.พ.ช่วยหนุนตลาดฯ
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเปิดโดด 6 จุด โดยระหว่างวัน ดัชนีพยายามขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1765 จุด ก่อนจะอ่อนตัวลงมาปิดตลาดที่ระดับ 1,756.12 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 4.01 จุด หรือ 0.23% มูลค่าซื้อขาย 7.86 หมื่นล้านบาท หุ้นที่ถูกขายทำกำไรรายหุ้นคือกลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้ง IPP-พลังงานทดแทน (GLOW -1.7%, EA -2.1%) ยกเว้น BPP และ TPIPP เพิ่มขึ้นสวนทางเพราะยัง laggard และหุ้นของกลุ่มค้าปลีก CPALL -1.42% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ อย่าง BJC HMPRO COM7 ปรับตัวขึ้นโดดเด่น และหุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม ธ.พ. ที่ปรับขึ้น (BAY +1.3%, KBANK +1.4% และ KTB +1%)
แนวโน้ม SET Index วันนี้ ดัชนีที่มีระดับ PER สูงกว่า 16 เท่า ทำให้การพักฐานยังมีอยู่ โดยปัจจัยกดดันน่าจะมาจากสงครามการค้า ซึ่งสะท้อนในการส่งออก 2 เดือนหลังที่ชะลอตัวในตลาดจีน-สหรัฐ และต่างชาติยังซื้อสลับขาย
น้ำหนักไปที่การขึ้นดอกเบี้ย Fed 0.25% หนุนดอลลาร์แข็งค่าอีกรอบ
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ให้น้ำหนัก 2 ประเด็นที่น่าจะกดดันตลาดหุ้นคือ การรุกเข้ากีดกันการค้ากับญี่ปุ่น และการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในปลายเดือนนี้น่าจะหนุนดอลลาร์กลับมาแข็งค่า อาจจะกดดันราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง
วันนี้ (24 ก.ย.) การตอบโต้ภาษีนำเข้า สหรัฐ-จีน รอบที่ 3 มีผลบังคับใช้เที่ยงคืนตามเวลาของสหรัฐ หรือเที่ยงวันตามเวลาไทย คือ สหรัฐประกาศขึ้นต่อจีนรอบที่ 3 วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญฯ อัตราภาษีที่ 10% นับจาก 24 ก.ย. จนถึงสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 25% ตั้งแต่ 1 ม.ค.2562 สินค้าที่จะถูกเก็บ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค, สินค้าเทคโนโลยี เป็นต้น ขณะที่จีนจะตอบโต้การขึ้นภาษีรอบ 3 ของ สหรัฐทันทีด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าวงเงิน 6 หมื่นล้านเหรียญฯ ทั้งหมด อัตราภาษี 5-10% อาทิ อากาศยาน, เคมีภัณฑ์, LNG
และสหรัฐเตรียมขึ้นภาษีรอบที่ 4 อีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ (แต่ยังไม่ได้กำหนดอัตราภาษี) หรือเท่ากับสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนทุกชนิด หากจีนประกาศจะตอบโต้การค้าสหรัฐ แต่คาดว่าจีนตอบโต้ได้จำกัดราว 1.3 แสนล้านเหรียญ เท่ากับที่จีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ และล่าสุด จีนได้ยกเลิกการเจรจาการค้าเพื่อแก้ปัญหา หลังจากก่อนหน้าสหรัฐได้เชิญมาเจรจากันในสัปดาห์นี้ โดยรวมเชื่อว่าสงครามทางการค้าที่แนวโน้มยังขยายตัวในวงกว้าง จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนในปี 2562
25-26 ก.ย.ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% และน่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งในการประชุมรอบ ธ.ค. ทำให้ให้ดอกเบี้ยฯ ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ราว 2.5% เพราะเงินเฟ้อเดือน ส.ค. ที่ 2.7% ยังสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 2% และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง (ตลาดแรงงาน อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. อยู่ที่ 3.9% ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ หนุนตลาดบ้านยังแข็งแกร่ง ทั้งยอดสั่งสร้างบ้านใหม่ ที่ เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน และบ้านมือ 2 ยังทรงตัวติดต่อกัน 2 เดือน) การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะหนุน dollar กลับมาแข็งค่า ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันอ่อนตัวอีกรอบ หลังฟื้นตัวต่อเนื่องมานาน
ส่งออกไทยเดือน ส.ค. ชะลอลง จากจีน-สหรัฐ
ตลาดส่งออกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวชัดเจนใน 2 เดือนหลังโดยเฉพาะตลาดส่งออก จีน-สหรัฐ กล่าวคือ ยอดส่งออกรูปดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6.7% ชะลอลงจาก 8.2% ในเดือน ก.ค. แม้ตลาดส่งออกโดยรวมยังขยายตัวตั้งแต่ปีนี้คือ ญี่ปุ่น ,เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย แต่ 2 ตลาดหลัก คือ สหรัฐและจีน ชะลอลงเป็นเดือนที่ 2 เชื่อว่าผลกระทบจากสงครามการค้าที่มีตั้งแต่ 6 ก.ค. กล่าวคือ
จีนตลาดส่งออกอันดับแรกของไทย ราว 12% ของทั้งหมด พบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 2.3% จาก 3.5% ในเดือน ก.ค. และ จาก 14.7% มิ.ย. สินค้าส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน คือ ยานยนต์และส่วนประกอบ , แผงวงจรไฟฟ้า, คอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น, ของเล่น เป็นต้น
และ สหรัฐตลาดส่งออกอันดับ 2 ราว 10.8% เพิ่มเพียง 0.6% จากที่หดตัว 1.9% ในเดือนก่อนหน้า สินค้าส่งออกหลักคือ อาหารทะเลกระป๋อง&แปรรูป -17.6%, รถยนต์และส่วนประกอบ -14.2% และที่ ขึ้นภาษีนำเข้า Safe Guard อาทิ แผงโซลาร์เซลล์หดตัว, เครื่องซักผ้าหดตัว 10.2% เป็นต้น
ตรงข้ามการนำเข้าเร่งตัวต่อเนื่อง คือ เดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น 22.8% เป็นผลจากการเร่งนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น 38% และทองคำ เพราะทองคำปรับลดลงแรง และเป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์, แผงวงจรไฟฟ้า, เหล็ก, และคอมพิวเตอร์ ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรกลและไฟฟ้าเพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตามการขยายการลงทุนเอกชน
โดยรวมทำให้ส่งออก 8 เดือนขยายตัวเฉลี่ย 10% และนำเข้าเฉลี่ยที่ 16% แต่คาดว่าจะชะลอตัวหลังจากนี้จากผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ซึ่งน่าจะกระทบการค้าโลกและไทยชัดเจนช่วง 4Q61 ถึง 2562
หุ้น BEM, CK ตอบรับชนะคดีการทางพิเศษแล้ว
วันศุกร์ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จ่ายชดเชยจากการสูญเสียรายได้ค่าผ่านทางสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ (BEM ถือหุ้น 99.99%) เป็นเงิน 1,790 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ภายใน 90 วัน นับแต่คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุด จากกรณีที่บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ ได้ก่อสร้างทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ตามมติ ครม. ขณะที่ กรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต ซึ่งถือว่าแข่งขันกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ ทำให้ปริมาณการจราจรและรายได้ค่าผ่านทางด่วนของทางส่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ต่ำกว่าประมาณการไว้ จึงได้มีการฟ้องร้องกันในชั้นอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองกลางกันมาตั้งแต่ปี 2556
คำตัดสินที่ออกมาในรูปแบบนี้ ส่งผลบวกโดยตรงต่อหุ้น BEM อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากราคาหุ้น BEM ย้อนหลังช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้า (14 ก.ย-21 ก.ย. 61) ปรับขึ้นมาแล้ว 0.65 บาท (จาก 8.40 เป็น 9.05 บาท) หรือคิดเป็น Market Cap. ที่เพิ่มขึ้น 9,935 ล้านบาท ถือว่าได้มีการสะท้อนความคาดหวังเชิงบวกดังกล่าวไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีหุ้นอีกหลายบริษัทที่ได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการเข้าไปถือหุ้น BEM อาทิ CK (BUY : FV@ B32) (ถือหุ้น BEM 31.72%) โดยหาก BEM ได้รับเงินชดเชยจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย CK ก็จะได้รับส่วนแบ่งกำไรตามส่วนได้เสียจาก BEM มากขึ้นด้วย แต่เชื่อว่าราคาตลาดสะท้อนข่าวนี้แล้วเช่นกัน
และ SYNTEC (BUY : FV@B 4.70) ถือหุ้น BEM อยู่ 75 ล้านหุ้น ที่ต้นทุนต่ำเพียง 2.95 บาท/หุ้น เทียบกับราคาหุ้น BEM ปัจจุบัน 9.05 บาท มี Unrealized Gain คิดเป็น 457 ล้านบาท หรือ 0.29 บาท/หุ้น แต่ราคาหุ้นยังไม่ค่อยขยับเท่าใดนัก
ประกอบกับนโยบายบัญชีที่ SYNTEC บันทึก BEM บันทึกเป็นเงินลงทุนระยะยาว (เงินลงทุนเผื่อขาย) ผลกำไรจากเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น BEM จึงถูกบันทึกเข้าไปกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและโอนเข้าไปในส่วนของผู้ถือหุ้นทุกสิ้นไตรมาส (ไม่ได้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยตรง จนกว่าจะขายออกมาจริง) ประกอบกับหุ้น SYNTEC อาจจะมีความเสี่ยงที่กำไรงวด 3Q61 ไม่สดใส เพราะงานที่ทำระยะหลังเป็นงานเอกชนที่มี gross margin ต่ำ จึงชอบ CK มากกว่า
ต่างชาติลดความเสี่ยง หันมาพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.37 พันล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิบางประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิกว่า 810 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 506 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) และอินโดนีเซีย 76 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) แต่ยังขายหุ้นที่เหลือ 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 17) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ หรือ 597 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 6 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 653 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้มีโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยสูง หนุนให้ Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 3.06% บวกกับตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยการขึ้นภาษีรอบใหม่ของจีน - สหรัฐ จูงใจให้ต่างชาติหันมาพักเงินในตลาดตราสารหนี้ไทยมากขึ้น สังเกตได้จากวันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยสูงถึง 1.69 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) ถูกซื้อสุทธิกว่า 1.41 หมื่นล้านบาท
สลับมาลงทุนหุ้นโรงไฟฟ้าที่มี Growth ดี และ Laggard : BPP, TPIPP
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะปรับฐาน หลังจากที่ขึ้นเร็วและแรงโดยการหนุนของสถาบันในประเทศเป็นหลัก จึงแนะนำให้สะสมหุ้นโรงไฟฟ้า/พลังงานทดแทนที่มี EPS Growth สูงโดดเด่น PER ไม่สูงและ ยัง Laggard ทั้งนี้แม้โอกาสการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ IPP และ ขนาดเล็ก (SPP) ใหม่ๆ จะน้อยลง เพราะถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ oversupply (ผลิตเกินความต้องการ) และ การแข่งขันของผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กมากขึ้น ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนโครงการ (IRR) ลดลงเหลือ 10% หรือต่ำกว่า เทียบกับอดีตที่เคยอยู่สูงถึง 15-20% จึงเน้นให้เลือกลงทุนโรงไฟฟ้าประเภท IPP หรือ SPP ที่มี Backlog หนุนมีกำไรเติบโตต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นยัง Laggard คือ BGRIM(FV@B32) และ BPP (FV@B30)
BGRIM (FV@B32) จุดเด่นที่สำคัญคือ
1. กำไรมีโอกาสเติบโตโดดเด่นในระยะยาว เนื่องจากมีโครงการในมือที่มีสัญญา PPA แล้วและจะทยอย COD ได้ต่อเนื่องตลอด 5 ปีข้างหน้า โดยยังเหลือกำลังการผลิตอีก 1.2 พัน MW จากปัจจุบันที่ COD แล้ว 1.9 พัน MW นอกจากนี้ยังคาดหวังได้กับ upside จากโครงการใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่จะเข้ามาในอนาคต
2. ปลดล็อคความกังวลระยะสั้น หลัง EGAT มีข้อสรุปให้ย้ายที่ตั้งโรงไฟฟ้า BGPR1, BGPR2 กำลังการผลิตโรงละ 120 MW ไปนิคมฯอาหาร จ.อ่างทอง ของกลุ่ม SINGHA ผู้บริหารยังมั่นใจว่า COD ได้ทันตามแผนเดิมในเดือน มิ.ย. และ ต.ค.2564
3. ความเสี่ยงที่ยังมีคือ โรงไฟฟ้า 3 แห่ง คือ ABP1, ABP2, BPLC1 จะยืดอายุ (SPP Extension) การใช้งานต่ออีกนานเพียงใด ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ กพช. คาดจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ ASPS ประเมินไว้ 3 แนวทางคือ 1) สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ (SPP Replacement) ระยะเวลา 25 ปี ซึ่งต้องรอดูเงื่อนไขต่อไป 2) SPP Extension โรงไฟฟ้าเดิม 3 ปี ซึ่งคำนวณมูลค่าพื้นฐานราว 1 บาท/หุ้น และ 3) SPP Extension 10 ปี ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับสมมติฐาน ASPS และคำนวณมูลค่าพื้นฐานราว 2.9 บาท/หุ้น
BPP (FV@B30) จุดเด่นที่สำคัญคือ
1. ราคาหุ้นยัง laggard และ กำไรมีโอกาสเติบโตทำ new high ในช่วง 2 ปีข้างหน้า จากการทยอยรับรู้โครงการต่างๆ ในมือกว่า 669 Equity MW และรอทยอย COD ในช่วงปี 2561-66 คาดกำไรสุทธิปี 2561 จะเติบโต 16.3% และ 23.6% ปี 2562
2. ยังมองหาโอกาสลงทุนโรงไฟฟ้า/พลังงานทดแทนในภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่ได้ลงทุนพลังงานลงทุนพลังงานทดแทนในญี่ปุ่น (โซลาร์เซลล์) และโรงไฟฟ้าถ่านหิน (จีน) ขณะที่ราคาปัจจุบันมี upside 16.5% และมี Div. Yield เฉลี่ยราว 3%
3. ความเสี่ยงหากโครงการในมือไม่สามารถผลิตได้ตามแผน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินซานซิ (SLG) ในจีน กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ 396 MW ที่จะทยอย COD ในปี 2561 ซึ่งฝ่ายวิจัยรวมในประมาณการแล้ว คิดเป็นมูลค่า 3.3 บาทต่อหุ้น จากมูลค่าพื้นฐานปัจจุบันที่ 30 บาทต่อหุ้น
ส่วนพลังงานทดแทน การเติบโตเริ่มน้อยลง เพราะโอกาสขยายกำลังการผลิตใหม่น้อยลง ขณะที่ PER ถือว่ายังสูง แม้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ได้ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้แม้กำไรปกติกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ฝ่ายวิจัยศึกษา (GUNKUL, EA, BCPG, PSTC, DEMCO และ TPIPP) ในปี 2561 คาดจะเติบโตกว่า 39.6 %yoy และ เติบโต 44% ในปี 2562 แต่เกิดจาก TPIPP เป็นหลัก ขณะที่แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติของกลุ่มในงวด 3Q61 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด 2Q61 และ ทรงตัวในงวด 4Q61 ขณะที่ราคาหุ้นรายตัวได้ตอบรับปัจจัยกดดันไประดับหนึ่งแล้ว ทำให้ราคาเริ่มมี upside แต่เน้นเลือกรายหุ้น จึง TPIPP เป็น Top pick
TPIPP ([email protected]) จุดเด่นที่สำคัญคือ
1. ผลกำไรมีแนวโน้มทำระดับสูงสุดใหม่รายไตรมาสในช่วง 2H61 และ รายปีปี 2561-2562 คาดจะทำ new high จากการรับรู้โครงการโรงไฟฟ้าในมือที่ผลิตเชิงพาณิชย์
2. มีเงินปันผลสม่ำเสมอทุกไตรมาส โดยมี Div. Yield อยู่ในระดับที่ดี เฉลี่ยราว 5% p.a.
3. มีความเสี่ยงหากโรงไฟฟ้าถ่านหิน TG8 กำลังการผลิต 150 MW ไม่สามารถขอใบอนุญาตจากภาครัฐได้ จะกระทบประมาณการ ซึ่ง ASPS ได้รวมมูลค่าโรงไฟฟ้า TG8 ไว้ในประมาณการแล้ว มูลค่าหุ้นละ 1.8 บาทต่อหุ้น จากมูลค่าพื้นฐานที่ 7.3 บาทต่อหุ้น
นักวิเคราะห์ :
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO14166