- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 21 September 2018 17:37
- Hits: 11011
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“บวก...เงินไหลเข้า ลุ้น Window Dressing”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับขึ้นเล็กน้อย +2.31 จุด ปิดที่ 1752.11 จุด เกิดแรงขายทำกำไรหลังไปทำยอดสูงสุดถึง 1762.17 จุด เหมือนกับวันพุธ ถือว่าปรับขึ้นใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายลดลงเป็น 67.6 พันล้านบาท คาดว่ายังมีกระแสเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนการเลือกตั้งมีความชัดเจนขึ้น ราคาน้ำมันปรับขึ้นดี และอาจมีการทำ Window Dressing ปิดงวด 9M61 รวมทั้งปัจจัยต่างประเทศเป็นบวกเพิ่มขึ้นจากการที่จีนโต้ตอบสหรัฐแต่เก็บอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าคาด ขณะที่มีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ รับรู้ไปพอควรแล้ว ด้านผู้ขายสุทธิยังเป็นรายย่อยแต่น้อยลงเป็น 0.9 พันล้านบาท และ สถาบัน 0.4 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิคือ พอร์ตโบรกเกอร์ 1.2 พันล้านบาท ต่างชาติ 0.1 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโมเมนตัมดี จากเงินทุนไหลเข้า บาทแข็งค่าต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากทิศทางดอกเบี้ยไทยเป็นขาขึ้น ปัจจัยต่างประเทศยังเป็นบวก ตลาดคลายความกังวล สงครามการค้า เพราะทั้งสหรัฐและจีนจัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าคาด ดัชนีความกลัว (VIX) อยู่ในระดับต่ำ ดาวโจนส์ปรับขึ้นทำ New High การทำ Window Dressing ขณะที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปลายเดือนนี้เป็นที่คาดไว้อยู่แล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ล่าสุดเป็น 3.0626% ด้านปัจจัยในประเทศยังดีคือ การเลือกตั้งตามโรดแมป ปัจจัยลบคือ น้ำมันปรับลง ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งบวก ดาวโจนส์ล่วงหน้า +33 จุด (7.53 น.) น้ำมันเช้านี้ mix สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ราคาน้ำมันผันผวน ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง วิกฤติค่าเงิน EM ยังไม่คลี่คลาย ด้านปัจจัยบวกระยะกลาง-ยาว คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีขึ้น และเศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง หนี้ต่างประเทศน้อย ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีออกมาเช่นกัน ช่วงนี้ SET เปิดช่วงแรกขึ้นแรงแต่ปิดบวกน้อย ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่านมีผลกับราคาน้ำมันให้ปรับขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1730-1770 จุด ด้าน SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% แนะนำให้ทยอยสะสมได้
Update หุ้นเด่น: BTS – ถือว่ายัง Laggard จาก BEM แม้ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเช่นกัน คาดว่าจะได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่า เพราะไตรมาส 1Q61-62 ก่อนหน้ามีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินลงทุนประมาณ 140 ล้านบาท แต่คาดว่าไตรมาสนี้จะพลิกเป็นกำไร อีกทั้งรายได้ให้บริการรับเหมาติดตั้ง-ก่อสร้างและจัดหารถไฟฟ้า (E&M) เป็นเพียง 993 ล้านบาท แต่คาดการณ์รายได้รวมตลอดปี 61-62 สูงเป็น 7 พันล้านบาท และรายได้จากการก่อสร้างสายสีชมพู-เหลืองปีนี้ คาดว่ามากเป็น 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่บันทึกในงวด 1Q61-62 แต่อย่างใด แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐานเป็น 11.00 บาท ด้วยวิธี SOP ปลาย ส.ค.61 ที่ผ่านมาเริ่มงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพู และสีเหลืองอย่างเป็นทางการ ถือว่าจะดีในอนาคต
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวก แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1760-1770 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1730 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ PYLON, UV, HUMAN, BPP, TKN, VNT, RS, SENA หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ PTL, BBL, SEAFCO, BH, PTTGC หุ้นที่หลุด List -หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit GOLD, WORK, SCP, TOP, JKN
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับขึ้นต่อ ทำยอดสูงสุดใหม่
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,656.98 จุด พุ่งขึ้น 251.22 จุด หรือ +0.95% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,930.75 จุด เพิ่มขึ้น 22.80 จุด หรือ +0.78% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,028.23 จุด เพิ่มขึ้น 78.19 จุด หรือ +0.98%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (20 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดพุ่งขึ้นหลังจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้น ซึ่งรวมถึงหุ้นแอปเปิลและไมโครซอฟท์
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง ทรัมป์เรียกร้องให้โอเปกลดราคาน้ำมัน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 32 เซนต์ หรือเกือบ 0.5% ปิดที่ 70.80 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 70 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 78.70 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ก.ย.) หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาเรียกเรียกร้องให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับลดราคาน้ำมันลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าสงครามการค้าอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และฉุดอุปสงค์น้ำมันในที่สุด
• ทองคำ : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์ หรือ 0.25% ปิดที่ 1,211.30 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ก.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดแรงซื้อทองคำ และช่วยหนุนสัญญาทองคำปิดที่เหนือระดับ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์ ติดต่อกันเป็นวันที่ 8
+ ตลาดคลายความกังวล หลังจีนตอบโต้สหรัฐ แต่อัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าคาด
# รัฐบาลจีนได้ออกมาตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐในอัตราภาษี 5-10% เป็นวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ก.ย. อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีดังกล่าวยังต่ำกว่าระดับ 20% ที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้
# การที่สหรัฐและจีนต่างก็เรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งล่าสุดในอัตราที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์นั้น ได้ช่วยบรรเทาความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจ
+ ดอลลาร์อ่อนค่า ถูกเทขาย นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
# ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (20 ก.ย.) หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า สถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีนไม่ได้รุนแรงมากเท่าที่คาดการณ์ไว์ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
-/• คาดกันว่าเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ แต่คาดไว้อยู่แล้ว
# นักลงทุนจับตาการประชุมเฟดในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ ขณะที่ตลาดการเงินคาดการณ์กันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ ก่อนที่จะปรับขึ้นอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค. หลังจากที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.และมิ.ย.
-ตัวเลขการขอสวิสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่ม แต่ยอดขายบ้านมือสองทรงตัว
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 3,000 ราย สู่ระดับ 201,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 210,000 ราย
# ขณะที่สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองทรงตัวที่ระดับ 5.34 ล้านยูนิตในเดือนส.ค. หลังจากร่วงลงติดต่อกัน 4 เดือน
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไป
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ย.จากมาร์กิต
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+/- เงินบาทแข็งค่าโดดเด่นในรอบ 3 เดือนทีเดียว
# นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ที่ระดับ 32.34 ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนกว่านับตั้งแต่ 15 มิ.ย. 61 ยังคงเป็นผลต่อเนื่องจาก กนง.ที่ส่งสัญญาณชัดเจนมากขึ้นว่าจะขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ส่วนเรื่องสงครามการค้ารอบนี้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคไม่มากนัก...ขณะที่วันนี้ก็ยังมีเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดบอนด์บ้านเรา (Aspen)
# ผลกระทบ: ปกติเงินบาททยอยแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์จะส่งผลดีกับตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนต่างประเทศจะได้กำไร 2 ต่อทั้งจากตลาดหุ้น และกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อแลกกับเป็นดอลลาร์ แต่ก็มีผลกระทบทางลบต่อภาคการส่งออก ทั้งในเรื่องราคาขายสินค้า รายได้สกุลเงินบาท และอัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับลง
-รมว.คลังไม่เห็นด้วย หากจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป
# รมว.คลัง กล่าวว่า การขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาอีก ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอีกก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ดีกับการส่งออกและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การขึ้นดอกเบี้ยที่มากเกินไปจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไม่เข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 1-4% เพราะตอนนี้เงินเฟ้อแตะกรอบล่างอยู่เล็กน้อย ในส่วนของไทยต้องดูว่าควรจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ และต้องขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม และต้องไม่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา (Aspen)
+ ยอดจำหน่ายรถยนต์ ส.ค.61 เพิ่มถึง 27.7% y-o-y
# ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม 2561 มีปริมาณการขาย 86,814 คัน เพิ่มขึ้น 27.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆของบริษัทรถยนต์ในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์เซลที่ผ่านมา (Aspen)
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO14104