- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 14 September 2018 16:32
- Hits: 2653
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดตอบรับโอกาสที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งตามกรอบเวลาดีเกินคาด เทียบกับอดีตตลาดหุ้นจะตอบรับก่อนเลือกตั้ง 6 เดือน โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.84% ขณะที่คาดว่าต่างชาติยังไม่กลับลำมาซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง แต่เป็นซื้อ-ขายสลับช่วงสั้นเท่านั้น และยังให้น้ำหนักสงครามการค้า กระทบเศรษฐกิจโลก กลยุทธ์ให้ขายทำกำไรรายหุ้น โดยเฉพาะหุ้นน้ำมันที่เกิน Fair value (PTTEP) และสะสมหุ้น Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์จากกระแสการเลือกตั้ง (CPALL, BJC, SEAFCO) หรือที่มีเงินสดสุทธิ (MACO) Top picks วันนี้เลือก CPALL(FV@79) ราคาหุ้นลดลงจนมี upside 15.3% และ TFG(FV@B5) นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มประมาณการปีละ 10% ทำให้มูลค่าหุ้นขึ้น 11%
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. ตลาดฯ บวกแรงรับเลือกตั้งชัดเจนขึ้น
วานนี้ดัชนีตอบรับเชิงบวกจากปัจจัยในประเทศ ในประเด็นการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 ตามกรอบเวลาที่ให้ไว้ แรงเกินคาด หนุนดัชนีบวกตลอดทั้งวันและปิดตลาดที่ 1717.96 จุด เพิ่มขึ้นแรง 38.57 จุด หรือ 2.30% พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 7.9 หมื่นล้านบาท และหนุนดัชนีขึ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรมนำโดย ธนาคารพาณิชย์ (KBANK BBL SCB) ค้าปลีก (CPALL BJC) นิคมฯ AMATA WHA และ รับเหมาฯ (UNIQ CK ITD) รวมถึงพลังงาน ทั้ง PTT, PTTEP เพิ่มขึ้น 5.05% และ 4.96% หลัง EIA รายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบลดลงกว่าคาด
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดว่า SET Index น่าจะเผชิญกับแรงขายระยะสั้น เนื่องจากการปรับตัวขึ้นที่แรงเกินไปวานนี้ โดยน่าจะมีแนวรับ 1700 จุด โดยยังให้น้ำหนักต่อปัญหาภายนอก ที่ถ่วงเศรษฐกิจโลก และมากกว่าการเมืองในประเทศที่เดินหน้าเลือกตั้ง แต่เชื่อว่าเป็นอารมณ์ชั่ววูบ
เงินเฟ้อสหรัฐต่ำคาด แต่เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเดือน ก.ย.
วานนี้สหรัฐ รายงานเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. ที่ 2.7%yoy ต่ำกว่าตลาดคาด 2.8% และลดลงจาก 2.9% ในเดือน ก.ค. เพราะสินค้าในหมวดลดลง คือ เสื้อผ้า ลดลง 1.4%, ค่าโดยสารเครื่องบินลดลง 1.3% แต่หมวดอาหารและพลังงานยังเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดกดดันให้ Dollar index อ่อนค่าในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามยังเงินเฟ้อ สูงกว่าดอกเบี้ยฯ ที่ 2% จึงคาดว่าในการประชุม Fed 25-26 ก.ย. จะยังขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสสูง 97.5% และจะอีก 1 ครั้งในการประชุมรอบ ธ.ค. (จากการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง) ขณะที่ปี 2562 และ 2563 มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยฯราว 3 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ ซึ่งทำให้ให้ดอกเบี้ยฯ ณ สิ้นปี 2561 - 2563 อยู่ที่ราว 2.5%, 3.25% และ 3.75% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้า จะเริ่มมีการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกหลัง หลังจากที่การเจรจาล้มเหลวมาหลายรอบ เนื่องจากสหรัฐเชื่อว่าถือไพ่เหนือกว่าจีน (สหรัฐขาดดุลการค้าจีน ทำให้การตอบโต้การค้าสหรัฐของจีนทำได้จำกัด) ซึ่งถือเป็นว่าตลาดหุ้นโลกผ่อนคลายในช่วงสั้น
และวานนี้ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และยุโรป (ECB) เป็นไปตามตลาดคาด กล่าวคือ BOE ยังคงดอกเบี้ยฯ ที่ 0.75% หลังขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีไปเมื่อเดือน ส.ค. แม้เงินเฟ้อเดือน ก.ค. สูง 2.5% (เป็นผลจากค่าเงินปอนด์อ่อนค่าราว 12.3% ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้น) ทั้งนี้ ตลาดคาดว่าอังกฤษน่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในปี 2562
ส่วน ECB ยังคงดอกเบี้ยฯ 0% แม้เงินเฟ้อจะสูง 2% และคงมาตรการ QE วงเงินเหลือ 1.5 หมื่นล้านยูโร/เดือน(เดิม 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน) ตั้งแต่ ต.ค. - ธ.ค. 2561 ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ หรือฟื้นตัวเพียงบางประเทศ ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายน่าจะเลื่อนไปเป็น 2Q62 หลังจากสิ้นสุดการใช้ QE ดังกล่าว
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากกระแสเลือกตั้ง เน้นหุ้น Laggards
วานนี้หลากหลายปัจจัยบวกพุ่งเข้ามา ทั้งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน, การกลับมาเจรจาการค้าอีกครั้งของจีน-สหรัฐ และที่สำคัญที่สุดคือ พัฒนาการทางการเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยหนุนให้ SET Index ทะยานกว่า 38.5 จุด หรือ 2.30% (สูงสุดในปีรอบเกือบ 2 ปี) ด้วยมูลค่าซื้อขายที่สูงเกือบ 8 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดีเชื่อว่า ตลาดฯน่าจะตอบรับประเด็นการเลือกตั้งเร็วและแรงเกินไป เนื่องจากสถิติในช่วง 6 เดือนก่อนมีการเลือกตั้ง (6 ครั้งหลังสุด) ชี้ให้เห็นว่า SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 0.84% เท่านั้น (ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 4 ใน 6 ครั้ง) อีกทั้งเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในระดับที่ไม่สูงมาก โดยมียอดซื้อสุทธิเฉลี่ยเพียง 2.6 พันล้านบาท/ครั้ง ในช่วง 6 เดือนก่อนเลือกตั้ง (เป็นการซื้อสุทธิ 2 ใน 6 ครั้ง)
และจากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณเชื่อว่า ตลาดฯคาดหวังประเด็นเลือกตั้ง รวมถึงโอกาสที่ Fund Flow จะกลับเข้ามาหนุนมากเกินไป ขณะที่พรรคการเมืองยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ที่เป็นการหาเสียงในการเลือกตั้งได้ จนกว่าหลังจาก 11 ธ.ค.2561 (ทิ้งช่วง 90 วัน) ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ บวกกับปัจจุบันมีหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทปรับตัวขึ้นแรงจนมี Upside จำกัด จึงควรระวังแรงขายทำกำไรออกมา และช่วงเวลาแบบนี้นักลงทุนจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกหุ้น (Selective Buy) โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำกลยุทธ์การลงทุน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
เลือกหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง, ราคายัง Laggard คือ BANPU([email protected]), CENTEL(FV@B56), BGRIM(FV@B32), LPN([email protected]) และ TFG(FV@B5) นักวิเคราะห์ ASPS เพิ่งปรับเพิ่ม Fair Value เป็น 5 บาท จากการส่งออกไก่ดีขึ้น
เลือกหุ้นรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง ตอบรับ Sentiment เลือกตั้ง คือ CK(FV@B32), SEAFCO(FV@B11), SCC(FV@B530) และ SCCC(FV@B258)
เลือกหุ้น Domestic เกาะกระแสการเมืองในประเทศ คือ ADVANC(FV@B230), BJC(FV@B69) และแนะนำเก็งกำไร CPALL(FV@B79) ราคาปรับฐานมาแรงจนมี Upside สูง รวมถึง สื่อโฆษณาที่มี upside MACO([email protected])
ปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ TFG ปีละ 10% และเพิ่มมูลค่าหุ้น 11%
นักวิเคราะห์ ASPS มีมุมมองต่อ TFG (FV@B5) ที่ดีขึ้น โดยคาดว่าผลกำไร 2H61 จะฟื้นตัวชัดเจน จาก ตลาดส่งออกไก่มากที่ดีขึ้น โดยเฉพาะยุโรปที่มีความต้องการไก่ไทยมาก หลังจากที่ได้ห้ามนำเข้าไก่จากบราซิล เนื่องจากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งก็ส่งผลให้ราคาส่งออกไก่ไทยสู่ยุโรปปรับสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ TFG ได้เริ่มส่งออกขาไก่และปีกไก่สู่จีนแล้วตั้งแต่งวด 3Q61 และจะเริ่มส่งออกไก่แปรรูปปรุงสุกสู่ญี่ปุ่นตั้งแต่งวด 4Q61 เป็นต้นไป เช่นเดียวกับธุรกิจสุกรฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน จากทิศทางราคาสุกรในประเทศฟื้นตัว
ขณะที่ TFG มีแผนขยายกำลังการผลิตไก่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อรองรับการเติบโตใน 2 ปีข้างหน้า ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ โรงฟักไข่ไก่ โรงงานชำแหละไก่ และโรงงานไก่แปรรูปปรุงสุก
ด้วยปัจจัยบวกรอบด้าน ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ขึ้น 7.6% และ 11.6% จากเดิม สะท้อนปริมาณการส่งออกดีกว่าคาด และรวมโรงงานไก่แปรรูปปรุงสุกและโรงงานอาหารสัตว์แห่งใหม่ไว้ในประมาณการ ทั้งนี้ ภายหลังปรับปรุงประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2561 จะลดลงถึง 36.0% yoy จากปัญหาไก่และสุกรล้นตลาดในงวด 1Q61 อย่างไรก็ตาม คาดกำไรสุทธิปี 2562 จะพลิกกลับมาเติบโตถึง 48.2% yoy จากฐานกำไรที่ต่ำในปีก่อน และแนวโน้มปริมาณจำหน่ายไก่และสุกรเพิ่มขึ้น Fair value ปี 2561 ใหม่เท่ากับ 5 บาท (เดิม 4.50 บาท) อิงวิธี DCF (WACC 7.13%)
ต่างชาติกลับมาซื่อหุ้นไทย แต่น่าจะเป็นการซื้อสลับ-ขายสั้น ๆ
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 223 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) โดยแรงขายที่เกิดขึ้นมากจาก ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซึ่งถูกขายสุทธิมากสุด 266 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามด้วยตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และ ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) ยกเว้น 2 ตลาดหุ้นคือ ไต้หวัน สลับมาซื้อสุทธิ 2 ล้านเหรียญ และ ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อเป็นวันแรกนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม มูลค่าราว 61 ล้านเหรียญ หรือ 2 พันล้านบาท ตอบรับประเด็นการเลือกตั้งไทยมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ขายสุทธิติดต่อกัน 14 วัน ยอดขายสุทธิกว่า 2.04 หมื่นล้านบาท ขณะที่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิสูงถึง 1.14 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่อจากนี้ต้องรอดูท่าทีของการเมืองจะสามารถหนุนให้ Fund Flow ไหลกลับมาตลาดหุ้นไทยได้หรือไม่
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติซื้อสุทธิ 2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) 360 ล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 1.65 พันล้านบาท
หาก Flow ไหลกลับบ้าง จะดันดัชนีซื้อขาย P/E 15-16 เท่า
วานนี้ตลาดหุ้นไทยได้ Sentiment เชิงบวก จากการเมืองที่ชัดเจนขึ้น โดยคาดว่าจะเห็นการเลือกตั้ง ได้เร็วสุด 24 ก.พ.2562 หรืออย่างช้าสุด 5 พ.ค. 2562 อย่างไรก็ตามยังให้น้ำหนักประเด็นต่างเทศคือ
สงครามการค้าสหรัฐ-จีน การเจรจารอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้นจะได้ผลหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าสหรัฐคงท่าทีที่แข็งกร้าว หากจีนยังดึงดันที่จะโต้ตอบกลับ
ถัดมายังคงเป็นเรื่องทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐแม้ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาจะต่ำกว่าคาด ดังกล่าวข้างต้น แต่โอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปีนี้ยังมีสูง นำมาซึ่งความผันผวนของค่าเงินโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม Emerging Market ที่ภาระหนี้สกุลเงินต่างประเทศในระดับสูง รวมทั้งมีสถานะการเงินอ่อนแอทั้งขาดดุลและดุลบัญชีเดินสะพัด จนกลายเป็นความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจได้
และเมื่อรวมกับการปรับลดประมาณการกำไรตลาดฯ ปี 2561 ลง จากประมาณการฯ เดิม 2.7% ส่งผลให้กำไรตลาดฯ อยู่ที่ 1.07 ล้านล้านบาท คิดเป็น EPS 107.80 บาทต่อหุ้น (จากเดิม 1.1 ล้านล้านบาท หรือ EPS 110.8 บาท) และทำให้ EPS Growth ลงมาอยู่ที่ 10.1%yoy (จากเดิม 13.1%yoy) ซึ่งการปรับลดประมาณการฯ ดังกล่าว เกิดจากการบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษในงวด 2Q61 ที่ผ่านมา, ผลการดำเนินงาน 1H61 ของบางบริษัทต่ำกว่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งหุ้นที่ผลการดำเนินงานปกติ 2H61 มีโอกาสต่ำกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก ขณะที่ปี 2562 มีการปรับลดประมาณการฯ ลงเล็กน้อยราว 5.8 พันล้านบาท หรือ 0.01% จากประมาณการเดิม ส่งผลให้ EPS อยู่ที่ 115.3 บาท เติบโต 7%yoy
ภายใต้ประมาณการฯ ใหม่ บนสมมติฐานที่ว่ากระแส Fund Flow ยังไม่ไหลกลับเข้ามาอย่างมีนัยฯ อิง PER 15 เท่า ทำให้ประเมินดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 ได้ที่ 1617 จุด ลดลงจากเดิม 1662 จุด แต่หากกระแส Fund Flow ไหลกลับเข้ามา ฝ่ายวิจัยก็พร้อมปรับ PER ขึ้นเป็น 16 เท่า ได้ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 ที่ 1725 จุด จะเห็นว่าโอกาสการปรับขึ้นค่อนข้างจำกัด ยกเว้น flow flow ต้องไหลทะลักอย่างรุนแรงจึงจะดันดัชนีกลับไปที่ 17-18 เท่าเหมือนในบางปี ซึ่งเป็นไปได้ยากภายในปัจจัยเสียงภายในนอกยังมี
กลยุทธ์การลงทุนจึงยังแนะนำ เลือกลงทุนรายหุ้นที่กระทบจากปัจจัยภายนอกน้อยสุด หรือ Domestic Play ที่ยังมี Upside สูง คือ
หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคในประเทศ : ค้าปลีก BJC (แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H เติบโตโดดเด่น), CPALL (ราคาหุ้นปรับลงจนมี upside), สื่อสารฯ ADVANC (โดดเด่นสุดในกลุ่ม ICT)
หุ้นก่อสร้าง และ วัสดุก่อสร้าง : SCC, (รับกระแสงานก่อสร้างโครงการภาครัฐ), DCC (ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใหม่), SEAFCO (3Q61 peak ทั้งรายได้และกำไร)
หุ้นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน : EASTW, TTW, RATCH, BGRIM
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น
ธนาคาร : BBL, TCAP
มีเงินสดสุทธิ : VGI, MACO
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า และ ราคาหุ้นยัง Laggard : TU, CPF, HANA
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO13808