- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 06 September 2018 22:32
- Hits: 4467
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ปัจจัยต่างประเทศทำ SET แกว่ง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดที่ 1714.41 ( -6.80 จุด) โดยมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก เช่น ผลการเจรจา NAFTA ระหว่างแคนาดากับสหรัฐวันนี้ (5 ก.ย.), สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งทรัมป์กล่าวว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 2 แสนล้านดอลลาร์โดยมีผลทันทีเมื่อการทำประชาพิจารณ์กับภาคส่วนต่างๆของสหรัฐแล้วเสร็จในวันที่ 6 ก.ย.นี้, ปัญหาเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา, เวเนซูเอลา, ตุรกี, อิตาลี เป็นต้น นักลงทุนรอข่าวใหม่ แต่ละกลุ่มจึงมีมูลค่าซื้อ/ขายสุทธิไม่มาก
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ได้รับผลกระทบทางลบจากปัจจัยต่างประเทศคือ ข่าวสหรัฐมีแนวโน้มจะเดินหน้าเก็บภาษีจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐพฤหัสนี้ วิกฤติค่าเงินชิลี-อาร์เจนตินา (อินโดนีเซียค่าเงินอ่อนมาก) คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือนนี้เป็นครั้งที่ 3 ประชุม 25-26 ก.ย.นี้ ดอลลาร์แข็งค่า บาทอ่อน เงินไหลออก ติดตามผลเจรจารอบ 2 แคนาดา-สหรัฐ เรื่อง NAFTA วันนี้ ส่วนสิ่งที่ยังดีอยู่คือ น้ำมันปรับขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจไทยดีต่อเนื่อง แม้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าคาด จะมีการปลดล็อคบทบาทพรรคการเมืองไทย โดยใช้มาตรา 44 ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับลงถ้วนหน้า ดาวโจนส์ล่วงหน้า -13 จุด (8.24 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับลง ระยะสั้นยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีสลับออกมา ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สงครามการค้า จีน-สหรัฐ ที่ยังไม่คืบหน้า เพราะทรัมป์ยังต้องการป้องกันการขาดดุลการค้าต่อไป การที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ปัญหาตุรกี-อาร์เจนฯ-อิตาลี ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1710-1730 จุด แต่หากดัชนีลดต่ำกว่าระดับ 1710 จุด จะเป็นสัญญาณไม่ดีนัก SET ตามพื้นฐานระยะยาวให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ระดับ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10%
Update หุ้นเด่น : KCE แนะนำ ซื้อ เก็งกำไร จากราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ (สัดส่วน 10-15% จากต้นทุนรวม) มีการปรับลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ ตั้งแต่ต้นไตรมาส (QTD) ลดลงมาแล้วถึง 10% เป็น 5,964.5 เหรียญต่อตัน แม้เผชิญปัจจัยลบจากเงินบาทแข็งค่า 0.7% ที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ สุทธิแล้วคาดว่าผลการดำเนินงาน 3Q61 จะออกมาดีขณะที่ไตรมาส 3 เป็นฤดูกาลส่งออกที่ดีของอิเล็กโทรนิกส์ และบริษัทเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่อง แม้ทาง DBSVTH จะให้ราคาพื้นฐานที่ 42.50 บาท ราคาปิดสูงกว่าแล้ว จึงแนะนำเพียงซื้อเก็งกำไร ส่วน IAA Consensus มีราคาพื้นฐานในช่วง 35.25-50.00 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวรับสั้นคือ 1700-1690 แนวต้าน 1720-1725 แนวตัดขาดทุน ต่ำกว่า 1710 จุด
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ AEONTS, EPG, SYNTEC, PTG, TKN, MONO, PSL, SAT หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ JKN, THANI, TOP, CHG หุ้นที่หลุด List BTS, WHAUP, MINT, IVL, TISCO, BEM, PLANB หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ SYNTEC, KCE, CBG
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง ผลจากกังวลเรื่องสงครามการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,952.48 จุด ลดลง 12.34 จุด หรือ -0.05% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,091.25 จุด ลดลง 18.29 จุด หรือ -0.23% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,896.72 จุด ลดลง 4.80 จุด หรือ -0.17%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า โดยสหรัฐและแคนาดาจะเปิดฉากการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่อีกครั้งในวันนี้ หลังจากการเจรจาคว้าน้ำเหลวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ในวันพฤหัสบดีนี้
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับขึ้น พายุเฮอร์ริเคนจะถล่มอ่าวเม็กซิโก
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค. ขยับขึ้น 7 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 69.87 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 2 เซนต์ ปิดที่ 78.17 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ว่า พายุเฮอร์ริเคนเตรียมพัดถล่มอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อตลาด
• ทองคำ : ปรับลง จากดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 7.6 ดอลลาร์ หรือ 0.63% ปิดที่ 1,199.1 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบกว่า 14 ปี
-รอผลการเจรจาการค้า แคนาดา-สหรัฐ รอบสองวันนี้
# หลังการเจรจาครั้งแรกไม่มีความคืบหน้า และทางสหรัฐมีทีท่าที่จะผ่อนปรนให้แคนาดาน้อย
# ขณะที่ปธน.ทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า สหรัฐและเม็กซิโกสามารถเดินหน้าต่อไปโดยไม่ต้องมีแคนาดาในการทำข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่
# แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากสมาชิกในรัฐบาลต่อกรณีการผลักดันให้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่ เนื่องจากสมาชิกสภาคองเกรสต่างต้องการให้สหรัฐรวมแคนาดาเข้าไว้ในข้อตกลงฉบับใหม่
-ทรัมป์ ประกาศเดินหน้าเก็บภาษีจากจีนอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ พฤหัสนี้ หากประชาพิจารณ์ผ่าน
# สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งทรัมป์กล่าวว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 2 แสนล้านดอลลาร์โดยมีผลทันทีเมื่อการทำประชาพิจารณ์กับภาคส่วนต่างๆของสหรัฐแล้วเสร็จในวันที่ 6 ก.ย.นี้
-ดัชนีภาคาการผลิต ISM พุ่งขึ้นในเดือน ส.ค.61
# รายงานผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ซึ่งระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM พุ่งขึ้นสู่ระดับ 61.3 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2547 จากระดับ 58.1 ในเดือนก.ค.
-ดอลลาร์แข็งค่า จากวิกฤติค่าเงินหลายประเทศ และสงครามการค้า
# ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) โดยนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางการร่วงลงอย่างหนักของสกุลเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
• ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดุลการค้าเดือนก.ค., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 2/2561, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค., ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส.ค.61 เพิ่มขึ้น
# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ 83.2 จาก 82.2 ในเดือนก.ค. 61 โดยความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องและอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 64 เดือน ซึ่งเป็นการเติบโตที่มาจากการคาดการณ์ในอนาคตช่วง 6 เดือน - 1 ปีข้างหน้าว่าจะปรับตัวดีขึ้นทั้งในเรื่องของรายได้ในอนาคต,สถานการณ์ทางการเมือง และดัชนีความสุข
+ นายกรัฐมนตรีและคสช.ประเมินเศรษฐกิจดี แต่ต้องดูแลผู้มีรายได้น้อย
# นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ว่า จากการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เศรษฐกิจระดับบนอยู่ในฐานะที่ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญต้องดูแลผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งในที่ประชุม ครม. ในวันนี้ได้สั่งการในหลายเรื่องที่ดำเนินการแก้ปัญหา
• กกร.คงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจ
# คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณกา อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP), การส่งออกและอัตราเงินเฟ้อ ในปี 61 ที่ 4.3-4.8%, 7.0-10.0% และ 0.9-1.5% ตามลำดับ เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังอาจเติบโตผ่อนแรงลง จากการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงของการส่งออก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับฐานที่สูงในปีก่อน
•/- คาด กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือนนี้ แต่จะส่งสัญญาณการปรับขึ้น
# กนง.จะมีกำหนดการประชุมครั้งต่อไปคือ 19 ก.ย.61 ฝ่ายวิจัยฯ DBSVTH คาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือนนี้ ที่ 1.5% แต่จะส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนมากขึ้น และติดตามผลคะแนนการโหวต ซึ่งมีการแตกเสียงกันมากขึ้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO13467