WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
      คาด SET ยังปรับฐานต่อ นอกจากผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐน่าชัดเจนขึ้น กลยุทธ์ยังให้ปรับพอร์ตถือ 30% และเลือกซื้อรายหุ้น โดยเฉพาะหุ้นปันผล/กำไรฟื้นตัวในงวด 2H57 เลือก SAMART(FV@B32) เป็น Top pick ยังมีข่าวดีระยะสั้นหนุน

ตลาดให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ vs รอยุโรปกระตุ้นรอบใหม่
       เชื่อว่าตลาดน่าจะยังมีปัจจัยกดดันรอบด้าน เริ่มจากองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ปี 2557 ในหลายประเทศ แต่หลักๆ แล้วเป็นประเทศกลุ่มยุโรป เนื่องจากความกังวลต่อความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างภูมิภาคระหว่าง ยูเครน และตะวันออกกลางเป็นสำคัญ และความเสี่ยงต่อแยกตัวเป็นอิสระของสก็อตแลนด์ ได้แก่
   สหภาพยุโรป ปี 2557 ปรับลด GDP Growth เหลือ 0.8% จากเดิม 1.2% (ต่ำกว่า IMF คาดไว้ที่ 1.2%) หลัก ๆ มาจากการปรับลด 3 ประเทศขนาดใหญ่คือ อิตาลี ปรับลดมากที่สุด เหลือติดลบ 0.4% จากเดิม 0.5% (ต่ำกว่า IMF คาดไว้ที่ 0.6%) ตามมาด้วย ฝรั่งเศส ลดเหลือ 0.4% จากเดิม 0.9% (ต่ำกว่า IMF คาดไว้ที่ 1%) และ เยอรมัน เหลือ 1.5% จากเดิม 1.9% (ต่ำกว่า IMF คาด 1.7%) ส่วนปี 2558 อยู่ที่ 1.1% จากเดิม 1.7% (ต่ำกว่า IMF คาดที่ 1.5%)
   สหรัฐ ปรับลด GDP Growth เหลือ 2.1% จากเดิม 2.6% (แต่สูงกว่าที่ IMF คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.7%) ขณะที่ในปี 2558 ปรับเหลือ 3.1% (จากเดิม 3.5%) สูงกว่า IMF คาดเล็กน้อยที่ระดับ 3%
ขณะเดียวกันตลาดรอคอยผลการประชุมของ FOMC ที่กำลังมีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย. นี้ กับการกำหนดนโยบายการเงินในระยะถัดไป หลังจากการตัดลด QE จะสิ้นสุดในเดือน ต.ค. สะท้อนจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 2.6% (2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบ 30 bps) ซึ่งแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นโดยรวม ทั้งนี้แม้ล่าสุด การ รายงานดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ เดือน ส.ค. หดตัว 0.1%mom ซึ่งหดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 และสวนทางกับตลาดคาด แต่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น หลังจากที่ฟื้นตัวต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้หลายเดือน ทั้งนี้การฟื้นตัวของภาคการผลิตฯ ถือเป็นดัชนีชี้นำต่อเงินเฟ้อ และตลาดแรงงาน (อัตราการว่างงานเดือนล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.1%) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ธนาคารกลางสหรัฐ จะให้น้ำหนักในการพิจารณา
ส่วนทางฝั่งยุโรปตลาดน่าจะรอคอยแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยเฉพาะซื้อสินทรัพย์เสี่ยงหรือพันธบัตรรัฐ หลังผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ล้วนมีความเห็นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ECB เพิ่งประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวต่อธนาคารพาณิชย์ (TLTRO) และการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง อาจไม่เพียงพอต่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้ หรือแม้แต่การที่นาย มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความเห็นไว้ก่อนหน้าว่าอยากจะขยายฐานสินทรัพย์ของ ECB ให้เติบโตอีก 1 ล้านล้านยูโร หรือให้ไปใกล้เคียงกับสินทรัพย์เมื่อต้นปี 2555 ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยว่า เม็ดเงินส่วนเพิ่มน่าจะเป็นการใช้กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง/พันธบัตร ในระยะถัดไป แต่อย่างไรก็ตามเม็ดเงินดังกล่าวถือว่ายังน้อย เมื่อเทียบกับสหรัฐที่มีการซื้อพันธบัตร (QE) 3 รอบ ในปี 2551-2556 เป็นเงินรวม 2.57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และ ญี่ปุ่นที่ใช้เม็ดเงินผ่าน QE รวม 2.45 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2553-ปัจจุบัน และที่สำคัญสหภาพยุโรปประกอบด้วย 17 ประเทศ ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน และใช้เงินตราสกุลเดียวกัน อาจจะมีความยุ่งยากกว่าประเทศอื่นๆ ที่กล่าว แต่อย่างไรก็ตามการใช้เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นได้
กระแสเงินทุนไหลเข้าชะลอตัว คาดรอผล FOMC
วานนี้ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่ยอดขายกลับลดลงถึง 84% เหลือเพียงราว 46 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น โดยที่เป็นการสลับซื้อขายเบาบางรายประเทศ เริ่มจากอินโดนีเซียที่ยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 5 ราว 49 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 26% จากวันก่อนหน้า) ตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 ราว 18 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) ส่วนไต้หวันแม้จะขายต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่ลดลงถึง 99% เหลือราว 2 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับไทย ที่ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 20 ล้านเหรียญฯ (642 ล้านบาท, ลดลง 13%) และเกาหลีใต้สลับมาซื้อสุทธิเบาบางราว 3 ล้านเหรียญฯ (ขายสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า)
   ทั้งนี้ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยติดต่อกัน 2 วันรวม 1.4 พันล้านบาท แต่ยอดซื้อเบาบาง และสอดคล้องกับตลาดในภูมิภาค ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลจากการรอดูผลการประชุม FOMC ที่จะสิ้นสุดในวันพรุ่งนี้ ในขณะที่นักลงทุนสถาบัน ยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง 11 จาก 13 วันหลังสุดรวม 6.0 พันล้านบาท และน่าจะมีฐานะขายสุทธิต่อเนื่อง หลังจากที่ได้ลงทุนในหุ้นเต็มที่ สะท้อนจากที่กองทุนหุ้นโดยรวมมีเงินสดสุทธิเหลือ 3.57% ในช่วงที่ผ่านมา รายละเอียดดังที่นำเสนอวานนี้

เงินบาทอ่อนค่า กดดัน Fund Flow
เงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก 31.97 สู่ 32.24 บาทต่อเหรียญ หรือกว่า 0.85% ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาค (เปโซอ่อนค่า 1.6%, รูเปียห์ 1.7%, รูปี 1.11%, ริงกิต 2.2%) ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะเกิดจากการที่ดอลลาร์ที่แข็งค่าอย่างมากในช่วงก่อนหน้า (แม้ในช่วงสัปดาห์เดียวกับ Dollar Index จะเริ่มชะลอตัวก็ตาม) โดยตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับผลการประชุม FOMC วันที่ 16-17 ก.ย. นี้ ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 17 ก.ย.57 คาดว่าจะยังยืนดอกเบี้ยนโยบายต่อไป เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
   นอกจากนี้คาดว่าน่าจะเป็นผลจากแรงขายสุทธิติดต่อกันในตลาดตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ โดยพบว่าต่างชาติได้ขายสุทธิตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. เป็นต้นมา (ราว 3.1 หมื่นล้านบาท) แม้ชะลอการขายในปลายเดือน แต่กลับมาขายสุทธิล่าสุด โดยมีการขายติดต่อกัน 3 วันทำการ มูลค่ารวมกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ตลอดเดือนนี้ต่างชาติพลิกกลับมามีสถานะเป็นขายสุทธิไปแล้ว 1.1 หมื่นล้านบาท (แต่ต้นปีถึงปัจจุบันยังมีสถานะเป็นซื้อสุทธิราว 2 แสนล้านบาท)
ขณะที่การค้าระหว่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ต่ำ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าจะเห็นความชัดเจนจากการฟื้นตัวของสหรัฐ และอังกฤษ แต่เศรษฐกิจโลกยังถูกกดดันด้วยความเสี่ยงในอีกหลายภูมิภาค ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน การอ่อนค่าของเงินบาทจึงถือว่าเป็นปัจจัยกดดัน Fund Flow ชะลอการลงทุนต่อไป แม้ที่ผ่านมา ต่างชาติจะยังมีฐานะขายสุทธิอยู่ก็ตาม

SAMART มีข่าวดีระยะสั้น
วานนี้ กสทช. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นผู้เข้าร่วมโครงการคูปอง 690 บาท สำหรับแลกซื้อหรือเป็นส่วนลดราคา กล่องแปลงสัญญาณ รับชมดิจิทัลทีวี (Set Top Box) ให้ครัวเรือนทั่วประเทศ 23 ล้านครัวเรือน ซึ่งปรากฏว่ามี บจ. สามารถ วิศวกรรม (SAMART ถือหุ้น 100%) เป็นหนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 16 ราย (จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกอาจมีเพิ่มอีก ซึ่ง กสทช. จะประกาศเพิ่มเติมทุกๆ 15 วัน) ทั้งนี้ทาง กสทช. ยืนยันว่าจะเริ่มต้นแจกคูปองทีวีดิจิตอลในวันที่ 15 ต.ค.2557 ได้แน่นอน และจะเริ่มต้นแจกก่อน 8 ล้านใบภายในปีนี้
ข่าวนี้จึงน่าจะเป็นผลดีต่อ SAMART กล่าวคือ จะทำให้สามารถขายกล่องแปลงสัญญาณได้ตามสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ตั้งไว้ในปีนี้ 5 แสนกล่องในปี 2557 และอีก 1 ล้านกล่องในปี 2558 นอกจากนี้ ยังน่าจะสามารถขายเสารับสัญญาณ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับกล่อง Set Top Box ได้ด้วย (มีส่วนช่วยหนุนให้ SAMART รับรู้กำไรจากส่วนนี้ราว 200 ล้านบาท แต่จะรับรู้ปีนี้ราว 67 ล้านบาท ปีหน้าราว 133 ล้านบาท) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งทีจะหนุนการฟื้นตัวในงวด 2H57 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยหนุนกำไรของกลุ่ม SAMART ให้เติบโต 16% ในปี 2557 และเติบโตต่อเนื่องอีก 23% ในปี 2558 เบื้องต้นประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2558 ไม่ต่ำกว่า 36.0 บาท ยังมี Upside อีก 21% ยืนยัน “ซื้อ”

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!