WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
 
“ค่าเงินตุรกีฟื้น SET มีโอกาสแกว่งแคบ”
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : GFPT (จากถือเป็นซื้อ), PTG (จากซื้อเป็นถือ)
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับลงอีก 10.61 จุด ที่ 1695.35 จุด รีบาวด์จากยอดต่ำสุดของวันที่ 1684.0 จุด ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อ่อนกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค เพราะเพิ่งรับข่าวลบจากวิกฤติค่าเงินตุรกี หลังจากไทยหยุดไป 1 วัน มูลค่าซื้อขายทรงตัวที่ 54.2 พันล้านบาทปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน คือ ดาวโจนส์ นํ้ามันปรับลงดอลลาร์แข็งค่า หุ้นกลุ่มหลักปรับลงถ้วนหน้า แต่ CPF และ BEAUTY ปรับขึ้นดีสวนทาง ผู้ซื้อสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 3.2 พันล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ 0.9 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิคือ ต่างประเทศ 2.1 พันล้านบาท และสถาบัน 2.0 พันล้านบาท
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ปัจจัยต่างประเทศฟื้นตัวเล็กน้อย หลังสหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรตุรกียังผลให้ค่าเงินลีราร่วงลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ดาวโจนส์กลับมาบวกได้แต่น้ำมันยังปรับลง ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง บาทอ่อน เงินไหลออก ส่วนเรื่อง MSCI นำ A Share จากจีนเข้าปลายเดือนนี้ คลี่คลายไปในทางที่ดี ความกังวลแรงขายประเทศอื่นรวมไทยด้วยจึงอ่อนลง ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่แกว่งแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า -9 จุด (8.33 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับลง ยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีสลับออกมา มีการติดตามงบไตรมาสสองกลุ่มอุตสาหกรรม วานนี้ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีลดลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ การคว่ำบาตรอิหร่านและสงครามการค้า สหรัฐ-จีน ส่วนภาพใหญ่ปัจจัยต่างประเทศเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ แต่หากทรัมป์ถูกต่อต้านมากๆในอนาคต จนต้องกลับมาเจรจาก็จะเป็นแรงดีดกลับของ SET ได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมายล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1680-1720 จุด
  Update หุ้นเด่น : DTAC – ประกาศเข้าร่วมประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ที่จะประมูลกันวันที่ 19 ส.ค.นี้ แต่ไม่ร่วมประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ล่าสุดได้ปรับประมาณการกำไรปี 61/62 เท่ากับ -16%/+13% โดยให้รายได้ในปี 61 ลดลง 0.2% และการเติบโตของรายได้ในอนาคตลดลงจากคาดการณ์เดิม เนื่องจากไม่ได้ประมูลคลื่น 900 MHz ทำให้ความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะในต่างจังหวัดจะลดลง แต่ในด้านภาระเงินลงทุนปี 61 ก็ลดลงจาก 5.2 เป็น 2.6 หมื่นล้านบาท คงคำแนะนำซื้อ แต่ปรับราคาพื้นฐานลงเป็น 50 บาท อิงกับวิธี DCF (WACC 8.5% และ Terminal Growth 2.0%) ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 9% ราคาปรับขึ้นดี คาดว่าเป็นเพราะนักลงทุนโล่งอก ที่ DTAC ยังจะมีคลื่น 1800 ให้บริการได้อยู่
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KKP, AP, BCH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TU,ANAN หุ้นที่หลุด List คือ SCC,BCP,PTTEP,CKP,PTT,BH,HMPRO หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ BAY,CHG
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับขึ้น ค่าเงินลีราฟื้นตัว
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,299.92 จุด พุ่งขึ้น 112.22 จุด หรือ +0.45% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,870.89 จุด เพิ่มขึ้น 51.19 จุด หรือ +0.65% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,839.96 จุด เพิ่มขึ้น 18.03 จุด หรือ +0.64%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของค่าเงินลีราของตุรกีและผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ของสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีก และการผลิตภาคอุตสาหกรรม
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง หลังดอลลาร์แข็งค่า
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 16 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 67.04 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 15 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 72.46 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ในวันนี้
• ทองคำ : ปรับขึ้น ช้อนเก็งกำไร
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.8 ดอลลาร์ หรือ 0.15% ปิดที่ 1,200.70 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาทองคำร่วงลงอย่างหนักถึง 1.65% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
-วิกฤตค่าเงินตุรกี นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง
  # กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกีส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนักตั้งแต่วันศุกร์และอ่อนค่าลงเรื่อยมาจนถึงเมื่อวานนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตุรกี และผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ
  # สกุลเงินลีราร่วงลงหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า โดยอัตราภาษีต่อเหล็กนำเข้าจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการดิ่งลงของค่าเงินตุรกีที่จะมีต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร BBVA ของสเปน, ธนาคารยูนิเครดิตของอิตาลี และธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส
• รัฐบาลตุรกี เตรียมใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาค่าเง้นตกต่ำ
  # นักลงทุนจับตารัฐบาลตุรกีเตรียมใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตลาดหลังค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า มาตรการดังกล่าวครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
-จีนตอบโต้สหรัฐฯแล้ว เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มบ้าง
  # กระทรวงพาณิชย์ของจีนแถลงเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จีนจะเรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและรถยนต์ โดยการดำเนินการดังกล่าวของจีนมีขึ้นเพื่อตอบโต้สหรัฐซึ่งเมื่อวานนี้ได้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ต้องติดตามต่อไป
  # นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง ยอดค้าปลีกเดือนก.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ MSCI ผ่อนคลายลง เรืองนำ A share ของจีน เข้ามาถ่วงน้ำหนักปลายเดือนนี้
  # MSCI Rebalance ที่ประกาศมาแล้ว และจะมีผลวันที่ 31 ส.ค 2561 ปรากฏว่าไทย ไม่มีหุ้นถูกนำเข้า/คัดออกใหม่ แต่มีข้อดีคือความกังวลในส่วนการลดน้ำหนักเอเชียและไทยเพื่อ Rebalance เข้าสู่ตลาดหุ้นจีน รอบนี้ ออกมาในทางที่ดี
  # MSCI Thailand ไม่ถูกลดน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ และจะมีเงินไหลออกอย่างจำกัด โดยหุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนักคือ IVL ส่วนหุ้นที่ถูกลดน้ำหนักเล็กน้อย คือ PTT, CPALL, AOT ทำให้ความกังวลเรื่อง Fund Flow คลี่คลายลงไปในทางที่ดี
+ กลุ่มที่อยู่อาศัย รื้อค่าโอน - จำนองบ้าน1.5ล. มาตรการถาวรหั่นเหลือ0.01%
  # "ประวิตร" สั่งหาทางลดค่าโอน-จดจำนองบ้านผู้มีรายได้น้อยจาก 3% เหลือ 0.01% เป็นมาตรการถาวร "การเคหะฯ" เด้งรับ ชงที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้าน เข้าบอร์ดที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ตั้งเป้าเป็นของขวัญปีใหม่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเผยราคา 1-1.5 ล้านเอกชนมี 3 หมื่นหน่วย พอร์ตใหญ่เป็นของการเคหะฯ 2 แสนหน่วยที่อยู่ในแผนแม่บท (ประชาชาติธุรกิจ)
  # ผลกระทบ: หลักทรัพย์ที่ได้ประโยชน์ คือ มีบางโครงการขายบ้านต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท คาดว่าจะได้รับผลดีคือ อุปสงค์มีมากขึ้น และค่าใช้จ่ายโอนที่ออกให้ลูกค้าต่ำลง ได้แก่ LALIN, LPN, GOLD, MK, PSH, SENA เป็นต้น แต่เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาสถาบันการเงินปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อที่สูง (Rejection Rate) จึงทำให้ผู้ประกอบการไปจับตลาดระดับสูงกันมากขึ้น ซึ่งจะลดปัญหาเรื่อง Rejection Rate ให้น้อยลง
• ธปท.คาดผลกระทบจากค่าเงินตุรกีต่อไทย เป็นไปอย่างจำกัด
  # ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ติดตามสถานการณ์ในตลาดการเงินโลกอย่างใกล้ชิดจากเหตุการณ์ในประเทศตุรกี แต่ความเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน และ การเงินของไทยกับประเทศตุรกียังไม่สูงมาก ดังนั้น ผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยจึงอยู่ในวงจำกัด โดย ธปท จะติดตามผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ และ ช่องทางการส่งผ่านต่างๆ เพื่อประกอบการประเมิน
+ ธปท.เผย สินเชื่อ ไตรมาส 2/61 ขยายตัวดีขึ้น เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์
  # ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2/61 ว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 4.7% ในไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 5.4% เมื่อเทียบระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ธปท. ยังคงคาดการณ์ว่าสินเชื่อทั้งปีจะขยายตัวราว 4-6%
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO12462

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!