- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 15 August 2018 17:03
- Hits: 2696
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ค่าเงินโลกยังผันผวนรุนแรง โดยเฉพาะ Dollar Index ที่กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง สวนทางกับคู่ค้าที่เผชิญปัญหาการกีดกันการค้าจากสหรัฐ ซึ่งจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ ราคาน้ำมันดูไบจะต่ำกว่า 70 เหรียญฯ และต่างชาติได้เปิด ชอร์ตสุทธิสัญญา SET50 Futures กว่า 1.46 หมื่นสัญญา (ชอร์ตสุทธิเป็นวันที่ 3) รวมถึงแรงขายรับงบ 2Q61 ที่สิ้นสุดลง น่าจะกดดัน SET ต่ำกว่า 1700 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play ที่ผันผวนน้อย และ upside สูง (ROBINS, DTAC, DCC, EASTW, SPF) Top picks คือ DTAC(FV@B68)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….ดัชนีกลับมาต่ำกว่า 1700 จุดอีกครั้ง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงตามตลาดต่างประเทศ โดยเปิดตลาดร่วงลงกว่า 13 จุด และแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันและปิดตลาดที่ 1695.35 จุด ลดลง 10.61 จุด หรือ 0.62% มูลค่าการซื้อขาย 5.42 หมื่นล้านบาท ภาพรวมหลายๆ กลุ่มฯ ปรับตัวลดลง นอกจากปัจจัยกดดันของเศรษฐกิจตุรกีแล้ว ยังมีแรงขายรับงบ 2Q61 ที่ใกล้รายงานเสร็จสิ้นอีกด้วย โดยกลุ่มที่กดดันตลาดมากที่สุด คือ ธนาคารพาณิชย์ จากหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มฯ ปรับตัวลดลง ตามด้วยหุ้นกลุ่มค้าปลีก CPALL ร่วงต่ออีก 2.81% BJC (-2.22%) ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงาน PTT PTTEP และ PTTGC ยืนทรงตัว ขณะที่รายหุ้นที่ปรับขึ้นเด่น อย่าง BEAUTY(+9.56%) จากกำไร 2Q61 ที่ดีกว่าคาด และ STEC (+5.42%) จากงบ 2Q61 ที่เติบโตโดดเด่น
แนวโน้ม SET Index วันนี้ยังอยู่ต่ำกว่า 1700 จุด การกีดกันทางการค้าของสหรัฐ กดดันเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากตุรกีอีก 1 เท่าตัวเป็น 50% และ 20% ตามลำดับ กดดันค่าเงินลีราอ่อนค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กระทบความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ในตุรกี เจ้าหนี้หลักที่อยู่ในยุโรป
ปัญหาตุรกีมีโอกาสกระทบยุโรปและโลกในที่สุด
ดังที่กล่าวแล้วถึงผลกระทบของการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก และอลูมิเนียม ของสหรัฐต่อตุรกี อีก 1 เท่าตัว เป็นการตอกย้ำปัญหาเดิมจากขาดดุลการค้า (Trade a/c) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากว่า 33 ปี เมื่อรวมกับดุลบริการ (ภาคท่องเที่ยว และ การลงทุน) ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current a/c)ขาดดุลมาเป็นปีที่ 2 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินลีราต่อเนื่อง (จาก 1.78 ลีราต่อดอลลาร์ ปลายปี 2556 มาสูงสุด 7 สัปดาห์นี้ หรืออ่อนค่าเกือบ 400% ) และ กดดันเงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องในระดับ 2 หลักจนล่าสุดอยู่ที่ 15.85% ซึ่งเป็นผลทำให้ธนาคารกลางตุรกีขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง รวมถึง 9% จาก 7.5% เป็น 16.5% แต่อย่างไรก็ตามเพื่อลดผลกระทบต่อปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในเวลาต่อมา ธนาคารกลางตุรกีกลับลด Resevse Requirement Ratio ทันที 2.5% สำหรับหนี้สินท้องถิ่นและลด 4% สำหรับหนี้สกุลต่างประเทศ
ทางด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) ของตุรกีถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับยอดนำเข้า พบว่าสามารถใช้ชำหนี้การนำเข้าได้เพียง 6 เดือน ยิ่งขาดดุล trade a/c และ current a/c ยิ่งทำให้ International Reserve ลดลง
ทั้งนี้ยังมิได้คำนึงถึงภาระหนี้ต่างประเทศ (FX Debt) ซึ่งปัจจุบันมียอดอยู่ 4.53 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็น 53% ของ GDP ซึ่งอาจจะไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม PIIGS (5 ประเทศที่มีปัญหาในยุโรป โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และ สเปน) เฉลี่ยเกิน 200% และแม้ภาระหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดกว่า 75% เป็นหนี้สินระยะยาว เป็นหนี้สินระยะสั้นเพียง 25% ขณะที่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่คือฝั่งยุโรปกว่า 73.3% (รายใหญ่คือ สเปน 33.5% และ ฝรั่งเศส 15.6%, อังกฤษ 7.8%, เยอรมัน 7, อิตาลี 6.9%)
เมื่อรวมทั้ง 3 ปัจจัยนี้ (current a/c, International reserve, FX Debt) ถือว่ามีผลกระทบต่อการอ่อนค่าของตุรกีอย่างมากและกดดันให้ค่าเงินลีราอ่อนค่ากว่า 74% จากต้นปีถึงปัจจุบันถือว่าต่ำสุดแห่งหนึ่งของโลก ผลที่ตามมา คือลูกหนี้ในตุรกี ต้องเผชิญกับหนี้สินสกุลท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 74% ตามการอ่อนตัวดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ กระทบตลาดเงิน และ ดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจตุรกี ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อเจ้าหนี้และประเทศคู่ค้ามากน้อยเพียงใด และ กินเวลานานเท่าไหร ต้องติดตามต่อ แต่ที่แน่นอน ตลาดหุ้นน่าจะถูกกดดันไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม
กังวลวิกฤตในตุรกี กดดันให้ต่างชาติขายหุ้นกลุ่ม TIP
วิกฤตการณ์ตุรกี บวกกับดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าต่อเนื่อง กดดัน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาค สังเกตได้จากวานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกกว่า 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) แม้จะมีการสลับมาซื้อสุทธิในบางประเทศ คือ คือ เกาหลีใต้ แต่เล็กน้อยคือ ซื้อสุทธิ 68 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) และไต้หวัน 19 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ขายสุทธิทุกประเทศ คือ อินโดนีเซีย 53 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5),ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 64 ล้านเหรียญ หรือ 2.15 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 10 วัน) มิหนำซ้ำยังชอร์ตสุทธิสัญญา SET50 Futures กว่า 1.46 หมื่นสัญญา (ชอร์ตสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ขายสุทธิหุ้นไทยอีก 2.02 พันล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 2)
ความกังวลต่อปัจจัยภายนอก ยังส่งผลให้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 2.79 พันล้านบาท ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของไทยทรงตัวอยู่ที่ 2.71% แต่ยังน้อยกว่า Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐที่ 2.90% กดดันให้ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับไปหาตลาดตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบดีกว่า
SET ผันผวนตามแรงขายรับงบ 2Q61 และขึ้น XD
จนถึงวานนี้ การประกาศงบ 2Q61 มีรายงานงบฯ แล้วราว 541 บริษัท คิดเป็น 99% ของ Market Cap. รวม กำไรสุทธิรวม 2.6 แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะที่ประกาศ 2Q60 พบว่าเติบโตราว 19.9%yoy แต่หากเปรียบเทียบกับ 1Q61 พบว่าไตรมาสนี้กำไรฯ ลดลงราว 11.9%qoq และเฉพาะ Real Sector ที่ประกาศงบฯ แล้ว มีกำไรสุทธิรวมกันราว 1.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9%yoy แต่ลดลง 15.4%qoq โดยผลการดำเนินงานที่ทยอยประกาศออกมาเพิ่มเติม
หุ้นกำไรเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
หุ้น BPP(Buy:FV@B30) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมีนัยฯจากงวดก่อน เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษคดีหงสาเหมือน 1Q61 ส่วนกำไรปกติเพิ่มขึ้น 40.3%qoq หนุนหลักจากส่วนแบ่งกำไรโรงไฟฟ้า BLCP และ Hongsa แต่ถูกกดดันจากรายได้รวมที่ลดลงจากการเข้าสู่ช่วง low season โรงไฟฟ้าCHP ขณะที่กำไร 3Q61 จะอ่อนตัวจาก 2Q61 เพราะโรงไฟฟ้า BLCP และ Hongsa จะปิดซ่อม
หุ้น STEC(Buy:FV@B25) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 25%YoY ภาพการเติบโตชัดเจน รับรู้รายได้ก่อสร้างที่เติบโตตามมูลค่างานในมือและอัตรากำไรขั้นต้นที่กลับเข้าสู่ระดับปกติ และการควบคุม SG&A ยังทำได้ดี สำหรับ 2H61 คาดดีขึ้นต่อเนื่อง ตามยอดรับรู้รายได้จากการส่งมอบงานตาม Backlog ที่ยังมีกว่า 1.2 แสนล้านบาท รองรับการสร้างรายได้ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
หุ้น ORI(Switch:[email protected]) กำไรสุทธิสูงถึง 1 พันล้านบาท ส่วนกำไรปกติตามคาด 707 ล้านบาท (+196% yoy, +45%qoq) แรงหนุนการรับรู้รายได้ขายอสังหาฯ ทั้งนี้บริษัทมีการเพิ่มทุนโดยออกหุ้นสามัญใหม่ 1,029.128 ล้านหุ้น (พาร์ 0.5 บาท) จำนวน 816.474 ล้านหุ้น รองรับหุ้นปันผล 2 หุ้นเดิม : 1 หุ้นปันผล หุ้นเพิ่มทุนใหม่ที่เหลือ 203.287 ล้านหุ้น และ 9.366 ล้านหุ้น ใช้รองรับการปรับสิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ORI-W1 และ ESOP ซึ่งผลจากเพิ่มทุนรับหุ้นปันผล FV ใหม่ ปี2561 (หลังXD) ที่ 18.30 บาท ปรับลดเป็น SWITCH ไป ANAN,SC หรือ LH
หุ้นที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ
หุ้น MCS(Switch:[email protected]) กำไรต่ำคาด -62% QoQ และจะหดตัวต่อเนื่องใน 2H61 กดดันกำไรปี 2561 หดตัว 18% YoY โดยการหางานใหม่ยังล่าช้า แนะนำ Switch ไป WHA
หุ้น ROBINS(Buy:FV@B68) กำไรอยู่ที่ 694.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.6% yoy ตามคาด จากยอดขายเพิ่มขึ้น 2.8% yoy แม้ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ทรงตัวจาก 2Q60 แต่ได้แรงหนุนจากสาขาใหม่ 2 แห่ง และ Net margin เพิ่มขึ้น 1.2% yoy มาอยู่ที่ 11.2% ขณะที่แนวโน้ม 2H61 คาดเติบโต yoy ในอัตราเร่งขึ้น ยังคงประมาณการกำไรปี 2561-62 ราคามี Upside จำกัด สะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
หุ้นที่กำไรหดตัว yoy แต่โต qoq คือ
หุ้น SYNTEC(Buy:[email protected]) กำไรสุทธิต่ำกว่าคาดมาก -15%yoy แม้มีกำไรพิเศษขายที่ดิน แต่รายได้ก่อสร้างลดลงจากการเปลี่ยนมารับงานชั้นใต้ดินมากขึ้น ส่งผลให้มีระยะเวลาก่อสร้างนานกว่าเดิม จึงมีความคืบหน้าในช่วงเริ่มงานไม่มาก แนวโน้มครึ่งปีหลังดีขึ้นหลังผ่านช่วงเริ่มต้นของงานไปแล้ว ทำให้เห็นความคืบหน้าโครงการมากขึ้น ขณะที่ backlog ที่มี 1.3 หมื่นล้านบาท เพียงพอรองรับรายได้ถึงกลางปี 2563 แต่กำไร 1H61 ที่ต่ำกว่าคาดมาก ทำให้ต้องปรับประมาณการกำไรปีนี้ลง 14% เหลือ 760 ล้านบาท และลด FV เหลือ 5.70 บาท (จาก 6.60 บาท )
หุ้นที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ
หุ้น EASTW(Buy:FV@B13) กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด เท่ากับ 278 ล้านบาท ลดลง 8.2%qoq กดดันจากต้นทุนน้ำประปาที่สูงขึ้น ถึงแม้จะได้ปัจจัยบวกจากต้นทุนน้ำดิบที่ลดลงตามค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากการหยุดผันน้ำ ขณะที่ 3Q61คาดกำไรทรงตัวจาก 2Q61 เพราะเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ปริมาณน้ำจากแหล่งต่างๆสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้ซื้อน้ำดิบEASTW ลดลง เช่นเดียวกับธุรกิจน้ำประปาที่ยอดขายน้ำประปาจะลดลงตามฤดูกาล แต่คาดจะหักล้างได้จากต้นทุนน้ำดิบที่ลดลง รวมถึงต้นทุนน้ำประปาที่จะกลับมาปกติ
โดยภาพรวมผลประกอบการ 1H61 ของบริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ราว 5.55 แสนล้านบาท คิดเป็น 50% ของประมาณการทั้งปีที่ทำไว้ 1.1 ล้านล้านบาท เบื้องต้นจึงยังไม่น่าที่ปรับประมาณการกำไรปีนี้ลง
และหลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงของการขึ้นเครื่องหมาย XD และจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยบริษัทที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ขึ้น XD เช่น ADVANC(XD 15 ส.ค.@ 3.78 บาท), INTUCH(XD 16 ส.ค.@ 1.35 บาท), TU(XD 20 ส.ค.@ 0.25 บาท) , IVL(XD 20 ส.ค.@ 0.70 บาท) เป็นต้น โดยรวมในเดือน ส.ค. นี้ คาดมีบริษัทรอขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 150 บริษัท กระทบต่อตลาด 9.86 จุด
หากพิจารณา Expected P/E 2561 พบว่า ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 15.30 เท่า ต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่าง ฟิลิปปินส์ 17.41เท่า มาเลเซีย 17.16 เท่า เวียดนาม 16.62 เท่า แต่สูงกว่าตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ 14.78 เท่า ทั้งนี้ไม่รวมตลาดหุ้นจีน แม้ Expected P/E ต่ำเพียง 11.1 เท่า แต่เชื่อว่ายังไม่ได้สะท้อนถึงผลกระทบของสงครามการค้า ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้น่าจะมีโอกาสปรับประมาณการกำไรของตลาดหุ้นจีนลง จะทำให้ค่า Expected P/E ตลาดหุ้นจีนกลับขึ้นมาสูงได้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO12452