- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 14 August 2018 18:16
- Hits: 5905
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“วิตกค่าเงินตุรกี กดดัน แต่เพื่อนบ้านรีบาวด์แล้ว”
•หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้:SVI(จากFullyValuedเป็นถือ),AAV(จากซื้อเป็นถือ),SYNTEC-PPS(จากซื้อเป็นFully Valued)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ปรับลงถึง 16.52 จุด ที่ 1705.96 จุด ใกล้ยอดต่ำสุดของวันที่ 1705.20 จุด ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อ่อนกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคมูลค่าซื้อขายมากขึ้นที่ 55.0 พันล้านบาทมีปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน คือ ดาวโจนส์ น้ำมันปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า จีนกลับมาตอบโต้เก็บภาษีจากสหรัฐแล้ว หลักทรัพย์ทีมีผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ต่ำกว่าคาดปรับลงกันถ้วนหน้า เช่น AAV, CPALL, SYNEX และ WORK ขณะที่ CHG กำไรออกมาดีมาก ผู้ซื้อสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 4.5 พันล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ 0.4 พันล้านบาท และต่างประเทศ 0.2 พันล้านบาท ด้านผู้ขายสุทธิรายเดียวคือ สถาบัน 5.1 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน คือ สหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรตุรกียังผลให้ค่าเงินลีราร่วงลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และพลอยทำให้ ดาวโจนส์น้ำมันปรับลง ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าอย่างมาก บาทอ่อน เงินไหลออก อีกทั้งปลายเดือนนี้ MSCI นำ A Share จากจีนเข้า จึงกังวลแรงขายประเทศอื่น รวมไทยด้วย แต่ปัจจัยที่ดีคือไทยเป็นช่วงวันหยุด จึงไม่ได้รบผลกระทบ ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่รีบาวด์ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +49 จุด (8.22 น.) นํ้ามันเช้านี้ปรับขึ้น ยังต้องระวังแรงขายทำกำไรที่จะมีสลับออกมา มีการติดตามงบไตรมาสสองกลุ่มอุตสาหกรรม ตัวค้ำจุนดัชนีฯคือ ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีลดลง ส่วนปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ การคว่ำบาตรอิหร่านและสงครามการค้า สหรัฐ-จีน ส่วนภาพใหญ่ปัจจัยต่างประเทศเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐนับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ แต่หากทรัมป์ถูกต่อต้านมากๆในอนาคต จนต้องกลับมาเจรจาก็จะเป็นแรงดีดกลับของ SET ได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมและทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1695-1730 จุด
Update หุ้นเด่น : GOLD – กำไรหลัก 3Q61 (เม.ย.-มิ.ย.61) เป็น 514 ล้านบาท (+73% y-o-y,+10% q-o-q) และออกมาดีกว่าคาดก่อนหน้าถึง 16% สาเหตุที่ดีกว่าคาดคือรายได้จากการขายอสังหาฯ อัตรากำไรขั้นต้นทำได้มากกว่าคาด และอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำเป็น 21% ด้านกำไรหลักในรอบ 9M61 เป็น 1.6 พันล้านบาทโตก้าวกระโดด 123% y-o-y และเป็นสัดส่วน 68% เทียบกับประมาณการตลอดปี 61 แต่ยังไม่ปรับประมาณการ เพราะคาดว่ากำไร 4Q61 จะเร่งตัวดีขึ้น คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน13.25 บาท ใช้ Forward P/E ปี 61 เป็น 13.0 เท่า สะท้อนการเติบโตกำไรที่โดดเด่นในกลุ่มที่อยู่อาศัย ปีนี้และปีหน้าเป็น 136%/17% ตามลำดับ และเป็นสถิติสูงสุดใหม่ตั้งแต่จัดตั้งบริษัทมา
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบเล็กๆ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KKP, AP, BCH หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ TU,ANAN หุ้นที่หลุด List คือ SCC,BCP,PTTEP,CKP,PTT,BH,HMPRO หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ BAY,CHG
Key Drivers TODAY
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง วิตกค่าเงินตุรกีลุกลาม
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,187.70 จุด ร่วงลง 125.44 จุด หรือ -0.50% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,819.71 จุด ลดลง 19.40 จุด หรือ -0.25% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,821.93 จุด ลดลง 11.35 จุด หรือ -0.40%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการร่วงลงของค่าเงินตุรกีและผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ โดยความกังวลในเรื่องดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง และส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ และดัชนี S&P 500 ปิดตลาดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ปรับลง หลังสต็อกน้ำมันเพิ่ม วิตกค่าเงินตุรกี
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 43 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 67.20 ดอลลาร์/บาร์เ
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 20 เซนต์ ปิดที่ 72.61 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากมีรายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน พุ่งขึ้นกว่า 1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่า วิกฤตค่าเงินตุรกี และการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาด
• ทองคำ : ปรับลงแรง เพราะกังวลสถานการณ์ตุรกี
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 20.10 ดอลลาร์ หรือ 1.65% ปิดที่ 1198.90 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงหลุดจากระดับ 1,200 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อตลาดทองคำ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ด้านการเงินที่เกิดขึ้นหลังจากสกุลเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก
-วิกฤตค่าเงินตุรกี นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง
# กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกีส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนักตั้งแต่วันศุกร์และอ่อนค่าลงเรื่อยมาจนถึงเมื่อวานนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตุรกี และผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ
# สกุลเงินลีราร่วงลงหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า โดยอัตราภาษีต่อเหล็กนำเข้าจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการดิ่งลงของค่าเงินตุรกีที่จะมีต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร BBVA ของสเปน, ธนาคารยูนิเครดิตของอิตาลี และธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส
• รัฐบาลตุรกี เตรียมใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาค่าเง้นตกต่ำ
# นักลงทุนจับตารัฐบาลตุรกีเตรียมใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตลาดหลังค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า มาตรการดังกล่าวครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
-จีนตอบโต้สหรัฐฯแล้ว เก็บภาษีนำเข้าเพิ่มบ้าง
# กระทรวงพาณิชย์ของจีนแถลงเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จีนจะเรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและรถยนต์ โดยการดำเนินการดังกล่าวของจีนมีขึ้นเพื่อตอบโต้สหรัฐซึ่งเมื่อวานนี้ได้เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% วงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ต้องติดตามต่อไป
# นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึง ยอดค้าปลีกเดือนก.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-/• เงินบาทอ่อนค่าวันศุกร์ ตลาดหันเข้าถือครองดอลล์หลังกังวลวิกฤตการเมืองตุรกี
# สกุลเงินลีราของตุรกีร่วงลงไปกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในวันศุกร์ หลังจากการเจรจาซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายวิกฤตทางการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐประสบภาวะชะงักงัน ทั้งนี้ ลีราอ่อนค่าลงต่อเนื่องสู่ระดับ 6 ลีราต่อดอลลาร์ในช่วงเช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 5% เมื่อคืนที่ผ่านมา
• ธปท. รายงานเงินสำรองระหว่างประเทศ
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ วันที่ 3 ส.ค.61 อยู่ที่ 204.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 26-27 ก.ค.61 ที่ 204.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 3 ส.ค.61 อยู่ที่ 32.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 26-27 ก.ค.61 ซึ่งอยู่ที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินสำรอง
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO12415