- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 August 2018 21:27
- Hits: 1996
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ แต่ไม่น่าจะต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่า SET ยังมีโอกาสต่ำกว่า 1700 จุด ยังให้น้ำหนักสงครามการค้าจีน-สหรัฐรอบ 2 และที่จะตามมารอบ 3 อีก 2 แสนล้านเหรียญฯ (รวมเป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ) จะกดดันเศรษฐกิจโลก 4Q61- ปี 2562 และแรงขายรับงบ 2Q61 รวมถึงเข้าสู่การจ่ายปันผล กลยุทธ์เน้นรายหุ้นอิงเศรษฐกิจในประเทศ (AMATA, BJC, BH, DTAC, EASTW, BBL, CPF) Top picks คือ BBL(FV@B220) และ DCC([email protected]) แนวโน้มธุรกิจดีขึ้น หลังปรับกลยุทธ์เพิ่มฐานรายได้จากการขายและค่าเช่า มีโอกาสปรับเพิ่ม Fair Value
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. กลุ่ม ธ.พ.ประคองตลาดฯ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงฟื้นตัวขึ้นต่อ แต่ในกรอบแคบๆ โดยปิดตลาดที่ 1722.48 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.84 จุด หรือ 0.05% มูลค่าการซื้อขาย 4.78 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ได้หนุนหลักจากกลุ่ม ธ.พ. ซึ่งปรับตัวขึ้นยกกลุ่ม KBANK BBL KTB โดยเฉพาะ SCB บวกแรง 3.15% ตามด้วย กลุ่มค้าปลีก (BJC HMPRO ROBINS) ตรงข้ามกลุ่มพลังงาน (น้ำมัน เช่น PTT/PTTEP และโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทนทรงตัว (BGRIM, EA, GLOW, BCPG, BPP) ยกเว้น GULF -1.4% ส่วนหุ้นรายตัวที่ถูกแรงขายหนักคือ BH ราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า 3.76% หลังรายงานกำไรสุทธิต่ำกว่าคาดการณ์
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดว่า SET Index มีโอกาสผันผวนและมีโอกาสในกรอบ 1706-1730 จุด โดย ยังให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าจีน-สหรัฐ รอบ 2 ที่จะเริ่มมีผล 23 ส.ค. นี้ และแรงขายรับงบ รวมถึงการขึ้น XD หลังประกาศงบ 2Q61 ของ Real sector
ฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ย ตามหลังอินเดีย
วัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาขึ้นชัดเจนมากขึ้น จากเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้ขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกของปีนี้ 0.25% เป็น 0.75% (เป็นการขึ้นครั้งที่ 2 หลังจากขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปีเมื่อปลายปี 2560 ราว 0.25%) เพื่อจำกัดเงินเฟ้อ 2.4% เดือน มิ.ย. ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คาดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งๆละ 0.25% ในการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้) ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยฯ สิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.5% เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังสูง 2.9% ยกเว้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้เงินเฟ้อสูง 1.9% ยังคงดอกเบี้ยที่เดิม 0% เพราะ เศรษฐกิจในกลุ่มบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า แต่มีโอกาสใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปี 2562
ขณะที่เอเชีย วานนี้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ตามที่ตลาดคาด 0.5% อยู่ที่ 4% เพื่อกำจัดเงินเฟ้อเดือน ก.ค. สูงราว 5.7%yoy (สูงกว่าเป้าที่ 31%) ตามหลังธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งที่ 2 ของปีนี้ 0.25% เป็น 6.5% กังวลเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. ที่สูงราว 5%yoy (สูงกว่าเป้าที่ 4%)
สำหรับไทย แม้การประชุมครั้งหลังสุด กนง. ยังคงดอกเบี้ยฯ 1.5% (นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2558 ) แต่ การใช้นโยบายผ่อนคลายใกล้สิ้นสุด สะท้อนสถาบันการเงินในประเทศนำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนแล้ว อาทิ SCB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 0.05% และดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ใหม่ 0.5-1% (มีผล 15 ส.ค. นี้) เช่นเดียวกับ TCAP ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ไปก่อนหน้า และเชื่อว่าจะผลักดันให้ ธ.พ. แห่งอื่นๆ ทยอยปรับเพิ่มตาม ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อหุ้นธนาคารฯ ยังชอบ BBL (FV@B220) มากสุดในกลุ่ม
เงินทุนอาจไหลออก หาก MSCI เพิ่มน้ำหนักในจีน
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค 215 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิกว่า 196 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 43 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ซื้อสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิอีก 22 ล้านเหรียญ หรือ 740 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 9 วัน มีมูลค่ารวม 1.32 หมื่นล้านบาท) ส่วนสถาบันฯซื้อสุทธิ 930 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
แม้ต่างชาติกลับมาซื้อบ้าง แต่ยังเผชิญสงครามการค้า และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะหนุนดอลลาร์ฯ แข็งค่าต่อ (หลัง Dollar Index ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี 1 เดือน ที่ 95.60 จุด หรือแข็งค่า 3.78% ytd) กดดันเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย นอกจากนี้สัปดาห์หน้ายังมีประเด็น MSCI อาจเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีน (A Share) ในดัชนี MSCI Emerging Markets อาจจะกดดันให้ต่างชาติปรับลดน้ำหนักหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาคลงบางส่วน
SET ผันผวนแรงขายรับงบ 2Q61 และใกล้ XD
เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการประกาศผลดำเนินงานงวด 2Q61 จากที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมจนถึงวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วราว 180 บริษัท คิดเป็น 53% ของ Market Cap. ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.47 แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้วกับงวด 2Q60 พบว่าเติบโตราว 12.5%yoy แต่หากเปรียบเทียบกับ 1Q61 พบว่าไตรมาสนี้กำไรฯ ลดลงราว 20%qoq ขณะที่ในส่วนของ Real Sector ที่ประกาศงบฯ แล้ว มีกำไรสุทธิรวมกันราว 8.63 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1%yoy แต่ลดลง 25.7%qoq โดยผลการดำเนินงานที่ทยอยประกาศออกมา สามารถสรุปได้ดังนี้
หุ้นกำไรเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ
หุ้น ANAN กำไรสูงเกินคาด จากส่วนแบ่งกำไร JV ที่มากถึง 539 ล้านบาท เป็นผลจากโอนฯ Aston Chula-Silom & Asoke ต่อเนื่องครึ่งปีหลังที่โดดเด่นมากขึ้น
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ภาพรวมกำไรเติบโตดีกว่าคาด เพิ่มขึ้น 1.9% qoq และ 17.6% yoy หลักๆ มาจากรายได้อื่น ส่วนสินเชื่อเติบโตค่อยเป็นค่อยไปตามเศรษฐกิจ ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ยังเป็นปัจจัยที่กดดันกำไรธ.พ. (ยกเว้น TMB SCB ที่อ่อนตัวลง qoq, yoy)
หุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ IVL GPSC แต่แนะนำ Switch เชื่อว่าราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยต่างๆ ไปแล้ว
หุ้น SCCC กำไรเติบโตก้าวกระโดด เพิ่มขึ้น 316%YoY จากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งเริ่มส่งบวกเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ
หุ้นที่กำไรเติบโต yoy แต่หดตัว qoq คือ
หุ้น CPALL กำไรแย่กว่าคาด อยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท เติบโต 2.8% yoy กดดันจากการรายได้ที่ลดลง จากกลุ่มอารหาร-เครื่องดื่ม และบุหรี่ และ ธุรกิจบริการรับชำระเงินที่มีอัตรากำไรสูงลดลง หลังหลายธนาคารใช้นโยบายฟรีค่าธรรมเนียม ขณะเดียวกันมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจาก MAKRO ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดยภาพรวมดังกล่าวเชื่อว่าเริ่มเห็นความเสี่ยงต่อการปรับประมาณการกำไรราว 5% จึงยังคงประมาณการกำไรปี 2561-62 เติบโต 11.9% และ 16.4% ตามลำดับ รอปรับปรุงประมาณหลังประกาศ 3Q61 ซึ่งคาดว่าผลกระทบจากการลงทุนของ MAKRO จะกดดัน CPALL มากสุดในงวด 3Q61
MINT กำไรปกติ 2Q61 โต 47% yoy หนุนด้วยเงินปันผลรับ NH Hotel ขณะที่ 2H61 จะเติบโตเร่งมากขึ้น และธุรกิจเดิมคือ โรงแรม และอสังหาฯ ส่วนการจัดทำงบการเงินรวม NH Hotel น่าจะในงวด 4Q61 หลังการ Tender Offer เสร็จ อย่างไรก็ตามกำไร 1H61 คิดเป็นเพียง 45%ของประมาณการ จึงปรับลดกำไรปีนี้ลง 6% (ทั้งปียังเติบโต 9%y) มูลค่าเหมาะสมใหม่อยู่ที่ 48 บาท (เดิม 51 บาท) ยังแนะนำซื้อ
หุ้นกลุ่มปิโตรฯ PTTGC และ TOP ได้ปัจจัยบวกจากจากสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นปัจจุบันปรับฐานไปมาก สำหรับ TOP ยังไม่เห็นการฟื้นตัวของกำไรในช่วง 2H61 แนะนำ Switch ส่วน PTTGC กำไร 3Q61 น่าจะลดลงทำระดับต่ำสุดของปี จึงแนะหาจังหวะทยอยเข้าลงทุน
หุ้น BH กำไรโตต่ำกว่าตลาดคาดไว้ เพราะรายได้ที่ลดลง 2.5% YoY จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม BH ยังเน้นการเติบโตในเชิงคุณภาพโดยเพิ่มอัตรากำไรจากการลดต้นทุนและเพิ่มการรักษาโรคซับซ้อน ยังต้องติดตามกลยุทธ์การขยายฐานผู้ป่วยไปยัง CLMV และจีน เพื่อลดการพึ่งพิงชาวตะวันออกกลางที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยหลักมาตลอดหลายปี
หุ้นกลุ่มสื่อสาร ADVANC THCOM และ INTUCH คาดกำไร 3Q61 จะดีขึ้นจาก 2Q61 ตามกลยุทธ์ ADVANC ที่เน้นควบคุมต้นทุนต่อ และรายได้ค่าบริการคาดจะว่าทำได้ดีขึ้น และ 4Q61 ก็ยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง
หุ้นที่กำไรหดตัว yoy แต่โต qoq คือ
KCE คาดสงครามการค้าน่ากดัน มากกว่าผลบวกจากระยะสั้นจากบาทอ่อนค่าและต้นทุนทองแดงที่ลดลง ยังคงแนะนำขาย มูลค่าพื้นฐานใหม่เท่ากับ 37 บาท (เดิม 32.50 บาท)
M กำไรสุทธิตามคาด ลดลง 2% yoy กดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากกว่ายอดขาย แม้ยอดขายร้านอาหารเดิม (Same Store Sales Growth - SSSG) ของ MK และ Yayoi ยังทรงตัวอยู่ที่ -0.1% yoy และ 1% yoy ตามลำดับ และคาดต่อเนื่องไปใน 3Q61 แต่จะเริ่มฟื้นตัวในงวดถัดไป เพราะเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลองในเดือน ธ.ค. จึงคงประมาณการกำไรปี 2561 เติบโต 9% yoy แต่ราคามี Upside 3% คงแนะนำ SWITCH ไปยัง CPF (FV@B31)
หุ้นที่กำไรหดตัวทั้ง yoy และ qoq คือ
หุ้นกลุ่มพลังงาน GLOW และ PTTEP แนะนำ Switch คาดแนวโน้มราคาขายน้ำมันดิบ 3Q61 จะลดลงจาก 2Q61
หุ้น DTAC และ SCC
และหลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงของการขึ้นเครื่องหมาย XD และจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยบริษัทที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ขึ้น XD เช่น ADVANC(XD 15 ส.ค.@ 3.78 บาท), INTUCH(XD 16 ส.ค.@ 1.35 บาท), TU(XD 20 ส.ค.@ 0.25 บาท) , IVL(XD 20 ส.ค.@ 0.70 บาท) เป็นต้น โดยรวมในเดือน ส.ค. นี้ คาดมีบริษัทรอขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 137 บริษัท กระทบต่อตลาด 9.76 จุด
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO12355