- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 August 2018 16:33
- Hits: 2162
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยฟื้นจากแรงหนุนต่างชาติ แต่ไม่น่าจะยั่งยืน เพราะแรงกดดันจากสงครามการค้ารอบ 2 มีน้ำหนักมากขึ้น กระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์ และกดดันราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่า 70 เหรียญฯ อีกครั้ง อีกทั้งกระแสการขึ้นดอกเบี้ยโลก แรงขายรับงบ 2Q61 และเข้าสู่การจ่ายปันผล (XD) คาดทำให้ดัชนีมีโอกาสหลุด 1700 จุดอีกครั้ง กลยุทธ์ยังเน้นรายหุ้นอิงเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก และราคาหุ้นมี upside (AMATA, BJC, BH, DTAC, EASTW, BBL, CPF) Top picks คือ BBL(FV@B220) และเพิ่ม DCC([email protected]) กลยุทธ์และแผนการตลาดทำให้ Long-Term Growth ดีขึ้นมีโอกาสปรับเพิ่ม Fair Value ขึ้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย…. ICT-พลังงาน หนุน SET ปิดบวก
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อ โดยระหว่างวันดัชนีขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1720 จุด และสามารถปิดตลาดที่ 1721.64 จุด เพิ่มขึ้น 14.38 จุด หรือ 0.84% มูลค่าการซื้อขาย 5.43 หมื่นล้านบาท แรงหนุนหลักจากหุ้นในกลุ่ม ICT นำโดยผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ TRUE (+2.31%) DTAC(+12.50%) และ ADVANC(+2.26%) หลังตลาดรับประเด็นข่าวการเข้าร่วมประมูลคลื่นของทั้ง ADVANC และ DTAC ซึ่งทิศทางดังกล่าวเป็นผลบวกต่อผู้ให้บริการทั้งคู่ ตามมาด้วยหุ้นกลุ่ม ร.พ. ซึ่งปรับตัวขึ้นโดดเด่นทั้งกลุ่ม BDMS BCH และ CHG ส่วนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นใน กลุ่มพงังงาน PTT เพิ่มขึ้นมา 1.44% , PTTEP ลดลง 0.35% (ขึ้น XD) และกลุ่มโรงกลั่น ESSO SPRC TOP ปรับตัวลง
กนง. ให้ยืนดอกเบี้ย แต่มีโอกาสขึ้นในปลายปีนี้
สรุปที่ประชุม กนง. วานนี้ยังคงดอกเบี้ยฯ 1.5% (นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2558 ) แต่เริ่มเห็นสัญญาณการใช้นโยบายผ่อนคลายใกล้สิ้นสุด สะท้อนจากคณะกรรมการ 1 ใน 7 สนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยติดต่อเป็นเดือนที่ 2 โดยกนง. ยังกังวล ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน, การท่องเที่ยว จากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ต และเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบที่ตั้งไว้ หลังเงินเฟ้อ ก.ค. ที่ 1.46% ใกล้เคียงดอกเบี้ยฯ 1.5%
ทั้งนี้ ASP ประเมินว่าไทยไม่สามารถรอดพ้นกระแสโลกได้ สะท้อนสถาบันการเงินในประเทศนำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนแล้ว อาทิ SCB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 0.05% และดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ใหม่ 0.5-1% (มีผล 15 ส.ค. นี้) เช่นเดียวกับ TCAP ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ไปก่อนหน้า และเชื่อว่าจะผลักดันให้ ธ.พ. แห่งอื่นๆ ทยอยปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อหุ้นธนาคารฯ
จากการศึกษาของ ASPS พบว่า การขึ้นดอกเบี้ยทุก 25 bp จะทำให้กำไรสุทธิปี 2562 ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 5.6% โดย KTB จะมีกำไรเพิ่มสูงสุด 11.71% ตามด้วย BBL 8.07% TMB 7.99% และ LHFG 5.82% ตรงข้ามกับ BAY, TISCO, KKP และ TCAP ที่ได้ประโยชน์ค่อนข้างจำกัดเพราะจากมีสัดส่วนโครงสร้างสินเชื่อ กับ เงินฝาก ซึ่งรวมเงินกู้ยืม ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวน้อยกว่าคงที่ ยังชอบ BBL (FV@B220) มากสุดในกลุ่ม
ราคาน้ำมันดิบลดลง กังวลจีนลดการนำเข้าจากสหรัฐ
แม้ว่าสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลงอีกครั้ง 1.35 ล้านบาร์เรล เทียบกับตลาดคาดจะลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล แต่พบว่าราคาน้ำมันดิบโลกเมื่อวานนี้ปรับลงแรงราว 3% เป็นผลจากความกังวลต่อการประกาศสงครามการค้าสหรัฐ-จีน รอบที่ 2 วงเงิน 1.6 หมื่นล้านเหรียญฯ อัตราภาษีนำเข้า 25% มีผลบังคับใช้ 23 ส.ค. นี้ โดยจีนกีดกันสินค้านำเข้าสหรัฐ หลัก ๆ คือ สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ถ่านหิน, ปิโตรเลียม, อุปกรณ์ทางแพทย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการตอบโต้สหรัฐ การขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน หลักๆ คือ เครื่องจักร, มอเตอไซค์ เป็นต้น ไปก่อนหน้า
ด้วยเหตุนี้ทำให้ความกังวลต่อการใช้น้ำมันดิบโลกจะชะลอลง โดยเฉพาะทั้งสหรัฐและจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่สุดของโลกคือ สหรัฐบริโภคราว 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิด 25.5%ของการบริโภคน้ำมันในตลาดโลก รองลงมาอันดับ 2 คือจีน 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน ราว 12.8%
ขณะที่ทางฝั่ง Supply คาดว่ายังคงเพิ่มขึ้นจาก สหรัฐ ที่เร่งผลิตน้ำมันทดแทนการนำเข้า (ล่าสุดผลิตวันละ 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์) และประเทศกลุ่ม OPEC ได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยกำลังผลิตที่หายไปจากอิหร่านและเวเนซุเอเล่า รวมถึงข้อตกลงให้จำกัดกำลังการผลิตระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC และ non-OPEC) จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ น่าจะทำให้ Over Supply ในบางช่วง กดดันหุ้นน้ำมันลงต่อ ขณะที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี Upside จำกัด แนะนำขายทั้ง PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137)
ส่งออกจีนยังเพิ่ม แต่ดัชนีภาคการผลิต ชะลอตัวชัดเจน
จากการรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศของจีนเดือน ก.ค. ยังขยายตัวดีกว่าตลาดคาด คือ ยอดส่งออกในรูปดอลลาร์เพิ่ม 12.2%yoy (ตลาดคาด 10%) ดีขึ้นจาก 11.2% เดือน มิ.ย. และ 12.6% เดือน พ.ค. (จีนส่งออกไปสหรัฐ ในเดือน ก.ค. ขยายตัว 11.2% จาก 12.5% ในเดือน มิ.ย.) และยอดการนำเข้าในเดือนเดียวกันเพิ่ม 27.3% (ตลาดคาด 16.2%) (จีนนำเข้าสหรัฐ ในเดือน ก.ค. ขยายตัว 11.1% จาก 9.6% ในเดือน มิ.ย.)
เชื่อว่ายอดการค้าที่ดีขึ้นนี้ เป็นผลจากผู้ค้าทั้ง 2 ฝั่งเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อสต็อกสินค้าก่อนสงครามการค้าจะมีผลบังคับเมื่อ 6 ก.ค. อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผลกระทบของสงครามการค้าจะเห็นผลในช่วง 4Q61 หรือต้นปี 2562 สอดคล้องกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีนฝั่งภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณชะลอตัว คือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI ล่าสุดเดือน ก.ค. อยู่ที่ 51.2 จุด นับเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน และน่าจะชะลอตัวต่อเนื่อง โดยคาดมีโอกาส GDP Growth ของจีนจะต่ำกว่าที่ IMF คาดไว้ ปี 2561 ที่ 6.6%yoy (1H61 ขยายตัว 6.7%)
DCC ก้าวสู่ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง กระทบรายเดิมอย่าง HMPRO
DCC เตรียมขยาย product line เข้าสู่ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างมากขึ้น ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร บรรดาผู้ผลิตและกิจการร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายอื่นๆ เช่น Grand Home Mart, Wood Smith, Kerry Express, แสงอุดม ไลท์ติ้ง และ ZIGA เป็นต้น มาพัฒนาสาขาขึ้นเป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างที่จะมีการปรับรูปแบบร้านค้าให้ทันสมัยขึ้น จากเดิมที่เป็นแบบ open air โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากจำนวนสาขาที่กระจายทั่วประเทศกว่า 200 สาขา โดย DCC จะใช้แนวคิดขายสินค้าราคาโรงงาน น่าจะดึงดูดลูกค้าบางส่วนจากที่เคยซื้อจาก Modern Trade ให้เข้ามาเลือกชมสินค้ามากขึ้นในแต่ละสาขา ซึ่งน่าจะทำให้ช่องทางในการหารายได้ของ DCC เพิ่มอย่างน้อย 2 ทางคือ รายได้จากการขาย จากที่มีสินค้าหลากหลาย และรายได้จากค่าเช่า นอกจากนี้ การทำการตลาดร่วมกันกับพันธมิตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงจากการแชร์ต้นทุนในการประชาสัมพันธ์
ภายใต้สาขาที่เป็นที่ดินของ DCC เอง จำนวน 61 สาขา มีพื้นที่พร้อมให้เช่า 34,000 ตารางเมตร และอยู่ระหว่างปรับปรุงอีก 26,000 ตารางเมตรภายในสิ้นปีนี้ โดยได้เซ็นสัญญาปล่อยพื้นที่ให้เช่าแล้ว 30% คาดว่าจะเริ่มเห็นรายได้เข้ามาใน 4Q61 ประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนปี 2562-2565 มีแผน ลงทุนในการซื้อที่ดินและก่อสร้างสาขาใหม่ 5 สาขาต่อปี (ใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาท/สาขา) ซึ่งจะทำให้ มีพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.2 แสนตารางเมตร ภายในสิ้นปี 2565 ทำให้ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อ DCC มากขึ้น ปัจจุบันแม้นักวิเคราะห์ยังมีคำแนะนำ Swtich แต่ราคาหุ้นที่ลดลงจนมี upside ราว 14.3% จึงให้ทยอยสะสม แม้การเติบโตของกำไรน้อย แต่ P/E ต่ำ 12 เท่า และ เงินปันผลเฉลี่ย 6% น่าสนใจ
ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ที่รุนแรงขึ้น สะท้อนจาก ผู้ประกอบการที่มีอยู่ คือ ไทวัสดุ, GLOBAL, Do Home และ Mega Home ทั้งนี้ Mega Home เป็นผู้ค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในเครือ HMPRO (Switch:[email protected]) ปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขาย 12% ของ HMPRO เชื่อว่าได้รับ ผลกระทบเพิ่มขึ้นตามลำดับ แม้ฐานลูกค้าหลักของ DCC คือ กลุ่มลูกค้าเกษตรกร แต่การที่ DCC เพิ่มสินค้าหลากหลาย น่าจะหันมาจับกลุ่มผู้รับเหมามากขึ้น เบื้องต้นฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไร และมูลค่าพื้นฐานของ HMRPO แต่จะติดตามผลกระทบในระยะกลาง-ยาวที่อาจจะมีผลต่อปรับลดอัตราการเติบโตระยะยาวได้
แรงขายหุ้นในภูมิภาคที่มีมาตลอดทั้งปี ไม่แปลกที่ต่างชาติสลับมาซื้อบ้าง
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าสูงถึง 638 ล้านเหรียญ นับว่าสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนกว่า และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงอินโดนีเซียสลับมาขายสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิกว่า 310 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 268 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน), ฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิกว่า 87 ล้านเหรียญ หรือ 2.90 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 8 วัน มีมูลค่ารวม 1.25 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.83 หมื่นล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน)
หากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 2.24 หมื่นล้านบาท (ytd) โดยไทยถูกขายสุทธิมากเป็นอันดับ 2 ของทั้ง 5 ประเทศ กว่า 5.71 พันล้านเหรียญ หรือ 1.82 แสนล้านบาท (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง) นอกจากนี้ในปี 61 ยังเป็นปีที่มียอดขายรวมสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการส่งสัญญาณปรับลด QE ในปี 2556 เป็นต้นมา ด้วยแรงขายหนักที่มีมาต่อเนื่องในช่วง1H61 จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่ตราบใดที่สงครามการค้ายังทวีความรุนแรง รวมถึงการเดินหน้าเข้าสู่วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น น่าจะกดดันให้เงินทุนไหลกลับไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
แรงขายรับงบ 2Q61 และเมื่อถึงวันขึ้น XD (update)
การประกาศผลดำเนินงานงวด 2Q61 ของ Real sector ยังมีอยู่และน่าจะครบจนถึงกลางเดือนนี้ ซึ่งจาก ที่รวบรวมจนถึงวานนี้ มีรายงานงบฯ แล้วราว 114 บริษัท คิดเป็น 41% ของ Market Cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.19 แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ แล้วกับงวด 2Q60 เติบโตราว 13.6%yoy แต่หากเปรียบเทียบกับ 1Q61 พบว่าไตรมาสนี้กำไรฯ ลดลงราว 8.5%qoq ทั้งนี้ ในภาค Real Sector ที่ประกาศงบฯ แล้ว มีกำไรสุทธิรวมกันราว 6.06 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.1%yoy แต่ลดลง 3.0%qoq
และหลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงของการขึ้นเครื่องหมาย XD และจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยบริษัทที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ ที่ขึ้น XD เช่น ADVANC(XD 15 ส.ค.@ 3.78 บาท), INTUCH(XD 16 ส.ค.@ 1.35 บาท), TU(XD 20 ส.ค.@ 0.25 บาท) , IVL(XD 20 ส.ค.@ 0.70 บาท) เป็นต้น โดยรวมในเดือน ส.ค. นี้ มีบริษัทรอขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 131 บริษัท คาดกระทบต่อตลาด 11.33 จุด
MTC (Buy: FV@42) กำไรสุทธิทำ new high อยู่ที่ 912 ล้านบาท เติบโต 9.4% qoq และ 59.7% yoy จากการเติบโตของสินเชื่อที่เติบโตถึง 9.1% qoq และ 41.5% yoy สำหรับ spread ลดลง 9bps จาก 1Q61 มาอยู่ที่ 19.79% จากการปรับลดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด แต่ยังบริหารจัดการ yield ของสินเชื่อได้ดี ช่วยหักล้างผลกระทบต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นจากการเพิ่มสัดส่วนหนี้สินระยะยาวโดยเฉพาะหุ้นกู้เข้ามามากขึ้น ทั้งนี้คุณภาพสินเชื่อและ credit cost อยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่ยังต้องให้น้ำหนักไปที่ประเด็น พรบ.กำกับดูแล Non-bank ที่ใกล้มีผลบังคับใช้ แนะทยอยเข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว
BCPG(Switch:[email protected]) กำไรสุทธิต่ำกว่าคาด เท่ากับ 418.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.3%qoq หากตัดรายการพิเศษ ได้แก่ ค่า refinanceค่าประกันภัย และขาดทุนFx กำไรปกติเพิ่มขึ้น 30.8%qoq หนุนจากรายได้ขายไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากช่วง high season โซลาร์ไทยและญี่ปุ่นรวมถึงรับรู้โครงการ Gotemb ส่วนทิศทางกำไรสุทธิ 3Q61 คาดเป็นไตรมาสที่ทำระดับสูงสุดของปี จากการรับรู้กำไรขายโครงการญี่ปุ่นให้กองทุน แต่หากพิจารณากำไรปกติจะอ่อนตัวจาก 2Q61 ตามความเข้มแสงโซลาร์ไทยและญี่ปุ่นที่ลดลงตามฤดูกาล และแนวโน้มกำไร 4Q61 คาดทำระดับต่ำสุดของปี จากการเข้าสู่ช่วง low season และมองว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนมูลค่าโครงการในมือจนเต็มมูลค่าพื้นฐาน จึงแนะนำSwitch ไป BPP ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO12301