- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 20 July 2018 17:16
- Hits: 2181
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“แบงค์ใหญ่กำไรดีกว่าคาด-ทรัมป์วิพากษ์เฟด...หนุน SET”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปรับเพิ่มต่อ 11.04 จุด ปิดที่ 1646.89 จุด ดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค มูลค่าซื้อขายปานกลางที่ 42.4 พันล้านบาท ดาวโจนส์ น้ำมันปรับขึ้น ต่างชาติชะลอการขาย ไม่มีข่าวลบเรื่องสงครามการค้าออกมาเพิ่มเติม และสถาบันเข้าซื้อหุ้นต่อเนื่อง หุ้นกลุ่มหลักปรับขึ้นดี โดยเฉพาะ AOT, KTC และ BEAUTY ปรับขึ้นโดดเด่น ระหว่างวันดัชนีไปทำยอดสูงสุดเหนือ 1650 จุดได้ ด้านผู้ซื้อสุทธิหลักคือ สถาบัน 1.9 พันลบ. หลักทรัพย์ ซื้อเล็กน้อย 0.03 พันลบ. ด้านผู้ขายสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 1.5 พันลบ. ต่างประเทศ 0.4 พันลบ.
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงาน 2Q61 ของแบงค์ใหญ่คือ BBL,KBANK และ SCB ดีกว่าคาด ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวกแบบ surprise หลังทรัมป์วิพากษ์เฟดว่าการขึ้นดอกเบี้ยเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ ยังผลให้ดอลลาร์อ่อนค่า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง น้ำมันยังปรับขึ้น และสถาบันซื้อต่อเนื่อง แต่ยังต้องระวังแรงขายทำกำไรสลับออกมา หลัง SET ขึ้นมาแรง ด้านตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่บวกแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้า +27 จุด (7:58 น.) น้ำมันเช้านี้ปรับขึ้นดี ส่วนปัจจัยบวกเดิมที่ค้ำอยู่คือ การคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานสหรัฐโดยรวมจะออกมาดี SET ปรับลงมามาก จนเริ่มถูก P/E ปี 61 และ 62 เป็น 14.9 และ 13.8 เท่า ตามลำดับ ปันผลสูง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ภาพใหญ่ที่ดีคือ การเลือกตั้งไทยยังเป็นไปตามโรดแม็ป เศรษฐกิจไทยยังดี แต่เริ่มกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า เพราะเราเป็นห่วงโซ่ผู้รับจ้างผลิตและส่งออก จึงอาจได้รับผลลบได้ แต่หากทรัมป์ถูกต่อต้านจนต้องกลับมาเจรจาก็จะเป็นแรงดีดกลับของ SET ได้ กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัว (Selective Buy) ที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ หุ้นส่งออกได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นไม่ผันแปรตามเศรษฐกิจ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ระยะกลาง-ยาวควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ล็อคกำไร ลดความเสี่ยง ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1630-1670 จุด
Update หุ้นเด่น : UTP – เนื่องจากไตรมาส 2 เป็น Low season ของบริษัท เพราะมีวันหยุดมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์และคลังสินค้าเต็ม ทำให้คาดกว่ากำไรสุทธิ 2Q61 จะเติบโตไม่มากเมื่อเทียบ QoQ แต่เมื่อเทียบ YoY จะเติบโตสูง ใน 2Q61 ทาง DBSV ประมาณการว่ากำไรสุทธิปี 61/62 จะเติบโต 85%/11% หนุนโดยการขยายกำลังการผลิต และราคาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นเพราะภาวะขาดแคลนคอนเทนเนอร์บอร์ดในประเทศจีนซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นมา ขณะที่ราคาวัตถุดิบเศษกระดาษลดลง แนะนำ ซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 13.50 บาท อิงกับ P/E ปีนี้ 15 เท่า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators กลับเป็นบวกเล็กๆต่อ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้างอย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1650-1660, 1670 โดยมีแนวตัดขาดทุนที่ต่ำกว่า 1635 จุด
สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น KKP, STEC, SPRC, IVL, BH,PTL, PTTGC ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ CPF, HANA, BJC หุ้นที่หลุด List BTS และที่ให้หาจังหวะTake profit คือ PLANB, BEM, SCB, SCC, IRPC, RS
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลง ผิดหวังผลประกอบการ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,064.50 จุด ร่วงลง 134.79 จุด หรือ -0.53% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,825.30 จุด ลดลง 29.15 จุด หรือ -0.37% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,804.49 จุด ลดลง 11.13 จุด หรือ -0.40%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงบริษัทอีเบย์ ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐดิ่งอย่างหนัก อันเนื่องมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แสดงความเห็นคัดค้านนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรรัฐ และสหภาพยุโรป (EU)
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมันปรับเพิ่ม ซาอุเตรียมลดส่งออกน้ำมัน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 70 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 69.46 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. ลดลง 32 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 72.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ว่าซาอุดิอาระเบียเตรียมลดการส่งออกน้ำมันในเดือนหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดที่สูงเกินไป นอกจากนี้ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากการปรับตัวลงของสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่ายังกดดัน
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 3.9 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 1,224.00 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (19 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้ลดความน่าดึงดูดของสัญญาทองคำ อย่างไรก็ตาม ตลาดทองคำได้รับปัจจัยหนุนในระหว่างวัน หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แสดงความเห็นคัดค้านนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
+/• ทรัมป์คัดค้านนโยบายปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
# ปธน.ทรัมป์ได้แสดงความเห็นคัดค้านนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปี ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง
-ตัวเลขขอสวัสดิการครั้งแรกลดลงต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค.2512
# สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 207,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 220,000 ราย ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ ลดลง 2,750 ราย สู่ระดับ 220,500 รายในสัปดาห์ที่แล้ว
-ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ LEI สูงกว่านักวิเคราะห์คาด
# ทางด้าน Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนมิ.ย. โดยปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค.
+ ADB คงอัตราการเติบโต GDP เอเชีย แต่ปรับเพิ่มให้ไทย
# ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงาน "Asian Development Outlook" ในวันนี้ โดย ADB ยังคงคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ปี 2561 และ 2562 เอาไว้ที่ระดับ 6.0% และ 5.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของไทยในปีนี้ขึ้นสู่ระดับ 4.2% จากระดับ 4.0% แต่ปรับลดคาดการณ์ GDP ของอินโดนีเซียในปีนี้ลงสู่ระดับ 5.2% จากระดับ 5.3%
-IMF คาดหากสหรัฐเก็บภาษีรถยนต์นำเข้า ญี่ปุ่นจะกระทบพอควร
# กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในรายงานวิเคราะห์ว่า หากสหรัฐมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์แล้วสงครามการค้ากับสหรัฐครั้งนี้อาจทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นหดตัวลงมากถึง 0.6%
• EU เริ่มมาตรการปกป้องการนำเข้าเหล็ก
# สหภาพยุโรป (EU) ประกาศใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็ก เนื่องจากความกังวลว่าจะมีผลิตภัณฑ์เหล็กจำนวนมากทะลักเข้าตลาด EU ซึ่งเป็นผลจากการเรียกเก็บภาษีเหล็กของสหรัฐเพิ่มเติมเมื่อเร็วๆ นี้
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศต่อไปในสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
+ รมว.คลัง เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ต่อเนื่อง
# รมว.คลัง เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 61-62 รัฐบาลจะยังใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท/ปี ซึ่งรัฐเน้นการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังจะดูแลภาระหนี้ด้วย
+/- บาทอ่อนส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก แต่เป็นลบกับผู้นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ
# หลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออก ที่ได้รับผล sentiment ด้านบวก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KCE, HANA, DELTA, SVI กลุ่มเกษตร-อาหาร ได้แก่ CPF, TU, GFPT, TIPCO, MALEE และหลักทรัพย์ท่องเที่ยวได้ประโยชน์ คือแลกเหรียญเป็นบาทได้มากขึ้นเป็น sentiment บวกกับ ERW, CENTEL และ MINT ด้านหลักทรัพย์เสียประโยชน์คือนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ได้แก่ TVO, TSTH, IRPC, BCP, SAT, STANLY, AH, COM7, SYNEX และ SIS รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศจะมีขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ AAV, THAI และ RCL เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO11555