- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 12 July 2018 17:04
- Hits: 1169
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
2 ปัจจัยกดดันตลาดคือ สหรัฐขึ้นวงเงินกีดกันการค้าจีน กระทบเศรษฐกิจโลก กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. สหรัฐเพิ่มเป็น 2.9% หนุนขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังนี้ หนุนดอลลาร์แข็งค่า ทั้ง 2 ปัจจัยมีน้ำหนักมากกว่ากำไรงบ 2Q61 กลยุทธ์ฯ เน้นหุ้นปัจจัยสี่ (BJC, BH) สาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW, DTAC) หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) หุ้นอาหาร-ส่งออก (CPF, TU, GFPT) Top picks: BH(FV@B221), GFPT(FV@14) และเก็งกำไรหุ้น MK ราคา Tender 4.1 บาทสูงกว่าราคาตลาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ …. SET index แกว่งลบ แต่ยังยืนเหนือ 1630 จุด
วานนี้ SET Index เคลื่อนไหวในแดนลบตลอดทั้งวัน ปิดตลาดที่ 1,636.63 จุด ลดลง 6.97 จุด หรือ -0.42% ด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบางเพียง 4.45 หมื่นล้านบาท แรงกดดันกระจายในหุ้นน้ำมัน และ ปิโตรเคมี (PTTEP PTTGC) กลุ่มโรงพยาบาล (BDMS, BCH) กลุ่ม ธ.พ. (SCB) และกลุ่มขนส่ง (BEM) อย่างไรก็ตาม ตลาดได้แรงหนุนจากกลุ่มธุรกิจการเงิน KTC +3.18% และ AEONTS +11.76% ตอบรับผลกำไรที่ยังเติบโตในอัตราสูง และกลุ่ม ICT ค่ายมือถือประคองตลาด โดยมี ADVANC ฟื้นตัวเด่นสุด และกลุ่มชิ้นส่วนฯ โดยมี KCE +3.82% มากสุด น่าจะได้รับผลดีจากราคาทองแดงซึ่งเป็นต้นทุนหลักปรับตัวลงค่อนข้างมาก และเงินบาทที่อ่อนค่า หนุน gross margin ช่วงสั้น ๆ
แนวโน้มดัชนีตลาดวันนี้ คาดว่าน่าจะแกว่งในกรอบ 1650-1630 จุด โดยยังให้น้ำหนักสงครามการค้า ที่สหรัฐยังเร่งเพิ่มวงเงินกีดกันการค้าอีก 2 แสนล้านเหรียญ ซึ่งจะยิ่งกดดันเศรษฐกิจโลก และเงินเฟ้อตามมา ขณะที่ตลาดคาดเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. สหรัฐที่จะประกาศในคืนนี้จะแตะ 2.9% หนุนการขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.5% หนุนดอลลาร์แข็งค่า กดดันสินค้าภัณฑ์อ่อนตัวระยะกลาง-ยาว
จีน-สหรัฐ ขึ้นราคารถยนต์สะท้อนต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น vs เงินหยวนอ่อนค่าเร็ว
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังมีแนวโน้มขยายตัวในวงกว้าง หลังจากเมื่อวันที่ 6 ก.ค. ได้ขึ้นภาษีนำเข้าอัตรา 25% วงเงิน 3.4 หมื่นล้านเหรียญฯ (รายละเอียดดังตาราง) และรอบ 2 ของสหรัฐวงเงิน 1.6 หมื่นล้านเหรียญ จะเป็นสินค้าใดขึ้นกับผลการทำประชาพิจารณ์จะได้ข้อสรุปสิ้นเดือน ก.ค. ซึ่งคาดจีน จะตอบโต้วงเงินที่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม สหรัฐประกาศเดินหน้าที่จะขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่อีก 2 แสนล้านเหรียญฯ (รวมเป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ตามที่ประกาศล่าสุด) แต่อัตราภาษีลดเหลือ 10% จำนวน 6,031 สินค้า ซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าจำเป็น อาทิ สินค้าเกษตร, ประมง, เครื่องนุ่งห่ม, เฟอร์นิเจอร์ (รายละเอียดดังตาราง) โดยจะเริ่มประชาพิจารณ์วันที่ 20-23 ส.ค.
ผลกระทบเริ่มเห็นในฝั่งจีน คือ ต้นทุนสินค้าเริ่มขยับขึ้นเห็นได้จากต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ Tesla Motors เป็นรายแรกที่ปรับขึ้นราคารถยนไฟฟ้า 20% เช่นเดียวกับ BMW เตรียมปรับขึ้นราคารถยนต์ที่ในจีน (ยังไม่กำหนดรายละเอียด) และเชื่อว่าอุตสาหกรรมอื่นๆน่าจะทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าในระยะถัดไป นอกจากนี้ยังเห็นผลกระทบต่อค่าเงินหยวน เทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 2.7% นับตั้งแต่ต้นปี (อ่อนค่ามากสุดราว 6.4% จากจุดต่ำสุด 11 เดือน เม.ย.) และผลตอบแทนของตลาดหุ้นจีนปรับลดลงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเซียราว 14.6% นับตั้งแต่ต้นปี เป็นรองแค่ฟิลิปปินส์ลดลงมากที่สุดราว 15.9%
แคนาดาขึ้นดอกเบี้ย สอดคล้องกับสหรัฐ ที่คาดเงินเฟ้อยังขยับขึ้นต่อ
เงินเฟ้อโลกยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังยืน 70 เหรียญฯ และผลกระทบจากต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นภาษีนำเข้า ทั้งในสหรัฐ และจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่มีการต่อต้านการขึ้นภาษี safeguard ของสหรัฐ จะเป็นอีกปัจจัยที่หนุนเงินเฟ้อโลก และกลายเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลมากขึ้น โดยวานนี้ธนาคารกลางแคนาดา (BOC) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดที่ 0.25% อยู่ที่ 1.5% โดยขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของปีนี้ หลังจากที่ขึ้นไปเมื่อเดือน ม.ค. 2561 เนื่องจากเงินเฟ้อของแคนาดา เดือน พ.ค. ขยายตัว 2.2%yoy สูงกว่าที่ BOC ตั้งเป้าไว้ที่ราว 2.0%
ขณะที่ฝั่งสหรัฐ วันนี้จะมีการรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. (น่าจะทราบผลตามเวลาประเทศไทยค่ำคืนนี้) ตลาดคาดเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2.9%yoy จาก 2.8% ในเดือน พ.ค. น่าจะยังหนุนให้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ และปี 2562 ขึ้นอีก 3 ครั้ง และปี 2563 ขึ้น 2 ครั้ง จะทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.5% และปี 2562-2563 อยู่ที่ 3.25% และ 3.75% ตามลำดับ หนุน Dollar Index มีแนวโน้มแข็งค่า โดยตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 2.82%ytd เป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นทองคำและน้ำมันดิบในระยะต่อไป
สต๊อกน้ำมันลด แต่มีน้ำหนักน้อยกว่าสงครามการค้า
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลง 12.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดจะลดลง 4.48 ล้านบาร์เรล แม้สต็อกน้ำมันดิบจะลดลงมากกว่าคาด แต่ยังถูกหักล้างจาก Dollar Index ที่มีแนวโน้มแข็งค่า (แนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องราว 2.82% นับตั้งแต่ต้นปี) เพราะวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐยังมีอยู่ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอจากผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว และกำลังขยายตัวในวงกว้าง นอกจากนี้ปัญหา Oversupply ที่มีโอกาสเกิดขึ้น หากสัญญาณการคงกำลังการผลิตในกลุ่ม Cartel สิ้นสุดลง และ สหรัฐที่ยังคงเพิ่มการผลิตต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 10.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน น่าจะกดดันหุ้นน้ำมันลงมาต่ำกว่า 70 เหรียญฯ ขณะที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี Upside จำกัด แนะนำขายทั้ง PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137)
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัว หลังจีนถูกกดดันจากสงครามการค้า
ความกังวลต่อความต้องการโลกชะลอตัว จากผลกระทบจากสงครามทางการค้า จีน-สหรัฐ กดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดปรับตัวลดลง เริ่มจากทองแดง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน โทรคมนาคม อาคารและงานก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น โดยจีนเป็นผู้บริโภคทองแดงรายใหญ่ของโลก คือกว่า 45% ของการใช้ทองแดงทั่วโลก ซึ่งผลกระทบจากสงครามการค้า จะ ทำให้ความต้องการใช้ทองแดงของประเทศจีนมีแนวโน้มลดลง และเมื่อรวมกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าต่อเนื่อง ล้วนกดดันราคาทองแดงปรับลดลงต่อเนื่องจนล่าสุดอยู่ที่ 6,145 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงถึง 16.2% จากจุดสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ระดับ 7,332 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 61 ถือเป็นผลบวกต่อกลุ่มชิ้นส่วนฯ คือ
KCE ([email protected]) ซึ่งราคาวัตถุดิบทองแดงคิดเป็น 20% ของต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต (Raw material) หรือคิดเป็น 10% ของต้นทุนขาย โดยราคาทองแดงเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 เท่ากับ 6,915 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เพิ่มขึ้น 11.5% yoy ทั้งนี้ จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่าทุกๆ 1% ที่ราคาวัตถุดิบทองแดงเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากสมมติฐานราคาวัตถุดิบทองแดงที่ 6,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน จะทำให้กำไรสุทธิปี 2561 ของ KCE ลดลง 0.5% และ FV ลดลง 0.6% จากคาดการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม KCE อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสงครามการค้าในระยะยาว เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีน 10%
ขณะที่ HANA ([email protected]) มีการใช้ทองแดงน้อย จึงได้รับประโยชน์ไม่มาก แต่กลับได้รับผลกระทบจากสงครามการค้ามากสุด เพราะมีฐานการผลิตในจีน คิดเป็นราว 22% ของกำลังการผลิตด้รวม หรือ รายได้จากาฐานการผลิตในจีนคิดเป็น 13% ของรายได้รวม แต่ได้รวมผลกระทบดังกล่าวไว้ในประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 แล้ว และ เป็นหุ้นที่ไม่มีหนี้สิน จึงปลอดภัยมากสุดในกลุ่ม
ตามด้วย สังกะสี (Zinc) ปีนี้ราคาลดลงไปแล้ว 23%ytd โดยเฉพาะช่วงกลางเดือน มิ.ย. ลดลงแรงจาก 3,212 เหรียญต่อตัน สู่ 2,564 เหรียญต่อตัน หรือลดลงถึงกว่า 20% ทำราคาต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี จากความกังวลที่สหรัฐขึ้นภาษีจีน กระทบต่อความต้องการ (demand) ในสินค้าโภคภัณฑ์และโลหะต่างๆ
ส่วน นิกเกิล (Nickel) เป็นโลหะที่นำมาใช้เคลือบโลหะเพื่อป้องกันสนิม ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า สเตนเลสสตีล โลหะอัลลอยด์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องยนต์และแบตเตอรี่ สำหรับราคานิกเกิลในตลาดล่วงหน้า LME (London Metal Exchange) วานนี้อยู่ที่ 13,795 เหรียญต่อตัน ลดลงจากวันก่อนหน้า 360 เหรียญ ซึ่งราคานิกเกิลลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน มิ.ย. ที่เคยสูงถึง 15,845 เหรียญต่อตัน หรือลดลงไปแล้วกว่า 13% และเป็นไปในทิศทางราคาสินค้าโลหะอื่นๆ ที่ลดลง จากความกังวลสงครามการค้าเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ ในฐานะเป็นผู้ส่งออกนิกเกิลรายใหญ่ลำดับ 2 ของโลก ได้ลดการส่งออกในปีนี้ลง 17% หลังทยอยปิดเหมืองและชะลอการเปิดเหมืองใหม่เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ราคานิกเกิลจึงมีโอกาสฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป จึงทำให้ราคานิกเกิลในปีนี้ปรับขึ้นมา 9.3%ytd
รวมถึง soft commodity เช่น เมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง สืบเนื่องจากประเทศจีน (ผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่สุดของโลกราว 97 ล้านตัน) ประกาศมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อสหรัฐฯ (ผู้ส่งออกถั่วเหลืองอันดับ 2 ของโลกจำนวน 56.2 ล้านตัน) โดยจัดเก็บภาษีนำเข้าถั่วเหลือง ในอัตรา 25% กดดันราคาเมล็ดถั่วเหลือง และราคากากถั่วเหลือง ในตลาดโลก (CBOT) ปรับตัวลดลง 18% และ 12% QTD มาอยู่ที่ 8.72 เหรียญสหรัฐ/บุชเชล และ 330 เหรียญสหรัฐ/ช็อตตัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ TVO([email protected]) ในฐานะผู้นำเข้าถั่วเหลืองมาแปรรูปเป็นกากถั่วเหลืองและน้ำมันพืช แม้แนวโน้มกำไรปกติ 2Q61 เติบโต QoQ และเด่นชัด YoY ส่วนหนึ่งจากฐานต่ำงวดปีก่อน และการฟื้นตัวของ Gross Margin เนื่องจากส่วนต่างราคากากถั่วเหลืองและถั่วเหลืองที่อยู่ในระดับสูง อานิสงค์จากภัยแล้งในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกากถั่วเหลืองเบอร์หนึ่งของโลก อย่างไรก็ตามผลกระทบจากสงครามการค้ามีน้ำหนักหักล้างประเด็นอื่นๆ กดดันราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองในตลาดโลก (CBOT) ฟื้นตัวช้า จะส่งผลให้ Gross Margin ช่วง 2H61 อ่อนตัวในงวด 1H61 ทำให้มีโอกาสปรับลดประมาณการกำไรปี 2561 – 62 คงแนะนำชะลอการลงทุน โดยภายใต้ยอดขายคงเดิม แต่ Gross Margin เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (ลดลง) ทุกๆ 1% จะส่งผลให้กำไรปกติและFV เพิ่มขึ้น (ลดลง) ประมาณ 10%
ทั้งนี้ ราคากากถั่วเหลืองที่อ่อนตัวลงกลับเป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากจะมีวัตถุดิบกากถั่วเหลือง (ปกติใช้กากถั่วเหลืองราว 30% ของวัตถุดิบอาหารสัตว์) ในการผลิตอาหารสัตว์ถูกลง ส่งผลบวกต่อ CPF (FV@B30) GFPT (FV@B14) TFG ([email protected]) และ BR ([email protected]) นอกจากนี้การที่จีนตั้งกำแพงภาษีนำเข้นเนื้อหมูจากสหรัฐ ยังเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกเนื้อหมูลไปจีนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ยางพารา แนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราในจีน(ผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก) ที่ลดลง ตามเศรษฐกิจจีนที่เติบโตในอัตราชะลอลง และภาวะ oversupply จากการที่ประเทศไทย (ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่) มีฝนตกชุกกว่าปกติ ขณะที่การการฟื้นตัวของราคายางพาราเป็นไปค่อนข้างยาก ยังอาจจะเผชิญผลกระทบจากสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน มูลค่า 2 แสนล้านดอลลลาร์ฯ ในอัตรา 10% อีกเช่นกัน โดยราคายางแท่งล่าสุดอยู่ที่ 1.30 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ต่ำกว่าราคายางแท่งเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 เท่ากับ 1.43 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และปรับลดลง 15.5% จากราคาสูงสุดเดือน ม.ค. ที่ 1.54 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เป็นลบต่อ STA ([email protected]) ในฐานะผู้ประกอบการยางธรรมชาติแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก สัดส่วนรายได้จากยางแท่งราว 70% จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่า ทุกๆ 5% ที่ราคายางแท่งเปลี่ยนแปลงลดลงจากสมมติฐานราคายางแท่งปี 2561 ที่ 1.50 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและ Fair value ปี 2561 ให้ลดลง 3.0% และ 0.2% จากเดิม
น้ำตาล ภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำตาลโลกยังเผชิญปัจจัยกดดันจากส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลที่เกินดุลในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยบทวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยน้ำตาลชั้นนำของโลก F.O. Lichts ฉบับเดือนเม.ย. 61 ได้คาดการณ์ส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลในปี 2560/61 (สิ้นปีบัญชีต.ค. 61) ไว้ที่ 10.5 ล้านตัน และคาดส่วนเกินผลผลิตน้ำตาลโลกจะลดลงเหลือ 6.1 ล้านตันในปี 2561/62 กดดันราคาน้ำตลาดดิบโลกอ่อนตัวลงจนล่าสุดอยู่ที่ 11.29 เซ็นต์/ปอนด์ ต่ำกว่าราคาน้ำตาลดิบโลกเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีบัญชี 2560/61 อยู่ที่ 13.01 เซ็นต์/ปอนด์ และต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยกำหนดสมมติฐานราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยปี 2560/61 ไว้ที่ 14.50 เซ็นต์/ปอนด์ อย่างไรก็ตาม บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ได้ทำสัญญาขายน้ำตาลล่วงหน้าปี 2560/61 ไว้ทั้งหมดแล้ว ที่ราคาเฉลี่ยราว 14.50 เซ็นต์/ปอนด์ ซึ่งฝ่ายวิจัยประเมินว่า KSL ก็ได้ทำสัญญาขายล่วงหน้าไว้ที่ราคาใกล้เคียงกัน
หมู ราคาสุกรในประเทศทยอยฟื้นตัวจนล่าสุดอยู่ที่ 59 บาท/กก. หรือเพิ่มขึ้น 5.4% จากสัปดาห์ก่อน จากปัญหาสุกรล้นตลาดในไทยเริ่มคลี่คลายดีขึ้น และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือให้ซื้อขายสุกรหน้าฟาร์มเริ่มต้นที่ 60 บาท/กก. สูงกว่าต้นทุนการเลี้ยงสุกรของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ 54 บาท/กก. แล้ว ผลจากเกษตรกรรายย่อยลดการเลี้ยงสุกรลง หลังจากที่เผชิญผลขาดทุนกว่า 10 เดือนแล้ว โดยราคาสุกรเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 เท่ากับ 51.29 บาท/กก. ลดลง 10.8% yoy ต่ำกว่าสมมติฐานราคาสุกรเฉลี่ยปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 56 บาท/กก. เล็กน้อย แต่ฝ่ายวิจัยประเมินว่าราคาสุกรจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นในงวด 2H61 ส่งผลบวกต่อ CPF (FV@B30) และ TFG ([email protected]) ซึ่งมีรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ 14% และ 21% ตามลำดับ
ไก่ ราคาไก่เป็นในประเทศล่าสุดยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องที่ระดับ 34 บาท/กก. ใกล้เคียงต้นทุนการเลี้ยงไก่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ 33 บาท/กก. เนื่องจากประเทศไทยยังเผชิญปัญหาไก่ล้นตลาดอยู่ โดยราคาไก่เป็นเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 อยู่ที่ 33.78 บาท/กก. ลดลง 12.0% yoy และต่ำกว่าสมมติฐานราคาไก่เป็นเฉลี่ยปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 36 บาท/กก. ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแนวโน้มราคาไก่เป็นในงวด 2H61 จะทยอยฟื้นตัว จากการเข้าช่วงฤดูกาลส่งออกไก่สู่ต่างประเทศ และแนวโน้มการส่งออกไก่สดแช่แข็งและชิ้นส่วนไก่สู่จีนได้มากขึ้นถือเป็นช่องทางระบายไก่สู่ต่างประเทศได้อีกทาง ส่งผลบวกต่อ CPF (FV@B30) GFPT (FV@B14) และ TFG ([email protected]) ซึ่งมีรายได้จากธุรกิจไก่ในประเทศ 10%, 70% และ 70% ตามลำดับ
ตลาดชาติยังหลบออกจากตลาดฯ ตราบที่สงครามการค้ายังรุนแรง
ประเด็นการกีดกันการค้าของสหรัฐกดดันให้วานนี้ต่างชาติโยกเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาค 173 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า มีเพียง 2 ประเทศที่ถูกซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 125 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 30 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ ถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวัน 304 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิอีก 23 ล้านเหรียญ หรือ 767 ล้านบาท (เป็นการขายสุทธิทุกวันตลอดเดือน ก.ค. 61 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ารวม 1.52 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 199 ล้านบาท (ตลอดเดือน ก.ค. 61 ที่ผ่านมา ขายสุทธิเพียงวันเดียว และมีมูลค่าซื้อรวมกว่า 2.20 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 1.37 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเป็นวันที่ 5) กดดันให้ Bond Yield 10 ปี ขยับลดลงมาอยู่ที่ 2.75%
ตลาดขาลง หลบเข้าหุ้น Domestic หรือหุ้นอาหารที่ได้ประโยชน์บาทอ่อน
สงครามการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น เพราะมิได้จบเพียง 5 หมื่นล้านเหรียญฯ แต่ได้ขยายวงเงินอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ เป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ตามคำขู่ของประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งจะผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกระลอก 2 ไทยมิอาจจะเลี่ยงผลกระทบได้ ดังที่เคยกล่าวไว้ว่า ไทยค้าขายกับจีนราว 18.1% ของการค้าทั้งหมด ขณะที่จีนค้าขายกับเอเชีย 50% ของการค้าทั้งหมดของจีน และ ไทยค้าขายกับเอเชียสูงถึง 60% ภาคส่งออกจึงกระทบมากสุด และ Fund Flow ที่ยังไหลออกจากไทยต่อเนื่องนับจาก ปี 2556 จะกดดันมีโอกาสทบทวนปรับลดประมาณการดัชนีเป้าหมายใหม่ ผ่านการปรับลด P/E ภายใต้สมมติฐาน EPS ตลาดปี 2561 เดิม 110.78 บาท แต่จะปรับลดกำไรปี 2562 ลง
กลยุทธ์การลงทุนให้น้ำหนักลงทุน 40% เน้นหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ และมีเกราะป้องกันจากดอกเบี้ยขาขึ้น ชอบ TTW, RATCH, BJC, DTAC, ADVANC, BBL, KBANK และ BH (ติดตามอ่านรายละเอียดรายงานฉบับยาว ใน Investment Strategy 9 ก.ค. 2561)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO11146