- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Saturday, 17 May 2014 16:26
- Hits: 3479
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ย่อลง-แรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง ชะลอ
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลงตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผิดหวังผลประกอบการบจ.
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : สหรัฐ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน (คาด +1.015 ล้านยูนิต มี.ค. +0.997 ล้านยูนิต) และการอนุญาตก่อสร้างเดือน เม.ย. รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือน พ.ค. ยุโรป ดุลการค้าเดือน มี.ค. คาด เกินดุล 1.6 หมื่นล้านยูโร (1.36 หมื่นล้านยูโร ก.พ.)
+วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อ +601ลบ. (ซื้อสะสม 2 วันรวม 791 ลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +1.15 พันลบ. (ซื้อสะสม 4 วัน รวม +4.24 พันลบ.)
-การเมือง ยังหารือเลือกตั้งไม่สำเร็จ ลุ้นต่อสัปดาห์หน้า กกต. เตือนจัดเลือกตั้งไม่ทันวันที่ 20 ก.ค. ท่าทีกองทัพเริ่มเปลี่ยนหลังออกมาแถลงอาจต้องใช้กำลังเข้าดูแลหากปัญหาความรุนแรงบานปลายขึ้น
คาดดัชนีฯ วันนี้ ลดลง แนวรับ 1385/1380 จุด แนวต้าน1403/1410 จุด จากแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงชะลอ และวิตกความรุนแรงการเมืองช่วงสัปดาห์หน้าเราคงแนะนำ Trading Buy หุ้นเพิ่มคำนวณ MSCI และหุ้นปันผลดี
กลยุทธ์: รายเดือน แนะนำ ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น แนะนำ เล่นเก็งกำไรรายตัวหุ้นผลประกอบการดีในไตรมาสแรก วันนี้แนะนำ TTCL DEMCO BLA และ BH BJCHI MEGA TTCL NYT (เข้าคำนวณดัชนี MSCI)
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.0%) ได้แก่ PDI BH UTP CFRESH SMPC ICHI NYT หุ้นที่ลงกว่า 4.0% SITHAI MFEC PAF LHBANK TWS TASCO TRUE RS
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ PTT+267 CPF+244 KBANK +191 SCC+167 BH+137 TRUE +126 ADVANC +114 ด้านขาย KTB -231 SPALI-53
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 134 ADVANC 63 PTT 57
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัวลง จากแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงโลก เริ่มชะลอลง หลังเศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอกว่าคาด ส่วนปัจจัยในประเทศ วิตกความรุนแรงช่วงสุดสัปดาห์ หลังครบกำหนดเส้นตายกปปส.วันนี้ ขณะที่ 1Q57F GDP ไทยประกาศวันจันทร์หน้า คาด 0.6%y-y แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะแย่กว่าคาด แนะนำเก็งกำไร หุ้นมีข่าวดี BH BJCHI MEGA TTCL NYT ถูกเพิ่มคำนวณในดัชนีฯ MSCI
คาดดัชนีฯ วันนี้ อ่อนตัวลง แนวต้าน 1403/1410 จุด แนวรับ 1385/1380 จุด ปัจจัยการเมืองในประเทศยังเป็นความเสี่ยง โดยเฉพาะช่วงสุดสัปดาห์และต้นสัปดาห์ หลังจากสิ้นสุดกำหนดเส้นตายของกปปส. รวมถึงการออกมาแสดงท่าทีของผบ.ทบ. ขณะที่กำหนดวันเลือกตั้ง ยังมีความไม่แน่นอน รวมถึงเช้าวันจันทร์หน้า ไทยจะรายงาน 1Q57F GDP มีความเสี่ยงสูงที่อาจต่ำกว่าคาดการณ์ของเราที่ 0.6%y-y -1.9% qoq (Vs Consensus +0.3%y-y , 4Q56 +0.6% yoy +0.6% qoq) ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คาดแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอาจลดลง อิง ยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯที่ต่ำสุดรอบ 10 เดือนที่ 2.49% และการอ่อนตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯเป็นวันที่สอง รวมถึงเศรษฐกิจยุโรปอาจอ่อนแอกว่าคาด เราคงคำแนะนำ เก็งกำไร BH BJCHI MEGA TTCL NYT จากการเข้าคำนวณในดัชนีฯ MSCI
การเมืองในประเทศ เลือกตั้งยังวุ่น การหารือระหว่างกกต. และรัฐบาลวานนี้ประเด็นการเลือกตั้งต้องถูกยกเลิก เนื่องจากมีผู้ชุมนุมเข้าไปบริเวณที่จัดการประชุม โดยกกต. กล่าวว่าจะนัดได้อีกทีเป็นสัปดาห์หน้า ส่งผลให้มีโอกาสสูงขึ้นที่การเลือกตั้งไม่ทันวันที่ 20 ก.ค. ซึ่งถือเป็นข่าวร้าย ด้านท่าทีล่าสุดของกองทัพที่วานนี้ออกมาแถลง ระบุพร้อมใช้กำลังทหารเข้าคลีคลายสถานการณ์ หากเกิดความรุนแรงต่อชีวิตประชาชน เพิ่มความเป็นไปได้ต่อการทำรัฐประหาร แม้ว่าสมมติฐานหลักของเราเวลานี้ยังเชื่อว่าไม่มีรัฐประหารก็ตาม
ประเด็นจับตาต่อจากนี้ วุฒิสภาจะประชุมในวันนี้ในแนวทางการหาทางออกประเทศ ซื่งเริ่มมีกระแสมากขึ้นต่อข้อเสนอให้รัฐบาลรักษาการณ์ลาออกเพื่อเปิดทางให้กับรัฐบาลเฉพาะกาลเข้ามาปฏิรูปและบริหารประเทศ แต่ท่าทีพรรคเพื่อไทยยังแข็งกร้าว และออกมาแถลงตอบโต้ว่าทำไม่ได้ตามกฏหมายเช่นกัน โดยอาจมีการส่ง เรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินกรณีอำนาจหน้าที่ของนายนิวัฒน์ธำรง
ต่างประเทศ ตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ปรับลง หลังยุโรปประกาศจีดีพีไตรมาส 1/57 ออกมาต่ำกว่าคาดที่ +0.2% qoq ต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดตัวเลขจีดีพีของไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว สู่ระดับ 0.2% จากเดิมอยู่ที่ 0.3% และมีความเป็นห่วงเรื่องเงินฝืดต่อเนื่อง หลังอัตราเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 0.7% ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกเทขายจากผลประกอบการ Wal Mart ออกมาต่ำกว่าคาด และมีแรงเทขายทำกำไรในหุ้นขนาดเล็ก
กลยุทธ์ลงทุน: ทยอยขายทำกำไร สำหรับการลงทุนระยะ 2 เดือน (ความเสี่ยงขาลงอยู่ที่ 1314/1300 จุด) ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำเก็งกำไรสั้น รายตัว BH BJCHI MEGA TTCL NYT (จากการเข้าดัชนี MSCI) รายวันแนะ TTCL DEMCO BLA (ประกาศผลประกอบการดี) หรือรอซื้อบริเวณแนวรับ 1350 จุด เน้นหุ้นปันผลดี ยิลด์เฉลี่ยสูงกว่า 4% แนะนำ BTS INTUCH ADVANC
*ระยะเดือน (ดูรายงาน Monthly เดือน พ.ค.) ถือเงินสด 60% ของพอร์ต เน้นเลือกลงทุนหุ้นปันผลสูง มีประเด็นบวก แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT PSL BANPU IVL (Global play) STPI TTCL JAS RS (ประเด็นบวกระยะสั้น)
ทางเทคนิค : ดีดตัวกลับได้ดีกว่าคาด
ภาพใหญ่ระยะ 2 ปี ของทิศทางดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ใน Downtrend Channel กรอบ 1150-1400 จุด ส่วนระยะสั้น ดัชนีฯ ยังสามารถประครองตัว หลังดีดกลับได้ดีหลังทดสอบแนวรับเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง-ยาว (SMA 50/200 วัน) ที่บริเวณ 1370-1375 จุด ประกอบกับวอลุ่มที่หนาแน่นขึ้น ทำให้มีโอกาสทดสอบแนวต้านสำคัญบริเวณ 1400-1403 จุด แนวต้านถัดไป 1410 จุด หากไม่ผ่านยังมีโอกาสปรับเป็นขาลงได้ใหม่ โดยมีแนวรับที่ 1370/1350 จุด ขณะที่แนวรับหลักอยู่ 1314/1300 จุด
ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: วันนี้วุฒิสภาหารือทางออกประเทศ, ท่าทีกองทัพเริ่มเปลี่ยน
ประเด็นการเมือง (Update):
'วุฒิฯ'แถลงผ่าทางตันปท.มีรัฐบาลกลางตามรธน. องค์กรที่ได้หารือกับวุฒิสภาเห็นร่วมกันว่าต้องมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ ส่วนแนวทางจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอการพิจารณาของที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 16 พ.ค. เวลา 13.00 น ขณะที่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรมว. พาณิชย์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ได้ประสานมายังวุฒิสภา เพื่อขอหารือใน ช่วงบ่ายวันที่ 17 พ.ค.นี้ ด้วย
ผบ.ทบ.ระบุพร้อมใช้กำลังทหารเข้าคลีคลายสถานการณ์ หากเกิดความรุนแรงต่อชีวิตปชช. ผบ.ทบ. ระบุว่า หากสถานการณ์ภายในประเทศรุนแรงมากขึ้น จนมีแนวโน้มถึงขั้นจะเกิดการจลาจลกองทัพอาจมีความจำเป็นต้องใช้กำลังทหารเข้าคลี่คลายสถานการณ์ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และประเทศชาติโดยรวม พร้อมระบุ การใช้ช่องทางตามกฎหมาย หรือการพูดคุยประชุมหารือกัน อาจไม่ประสบผลมากนักในช่วงเวลานี้ เพราะมีข้อถกเถียงและโต้แย้งมากมาย และอาจ ไม่ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
กกต.จะนัดรัฐบาลหารืออีกครั้ง หลัง"สุเทพ"นำกปปส.ชุมนุมภายในกองทัพอากาศ กกต.จะนัดรัฐบาลหารือกรณีจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหลังวานนี้ไม่สามารถประชุมต่อได้เนื่องจากมีมวลชนกลุ่ม กปปส. เข้ามาภายในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นสถานที่ประชุม
พท.ออกเเถลงการณ์ค้านตั้งนายกฯนอกรธน. โดยสรุปดังนี้ ว่า 1. การดำเนินการของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ในการเรียกประชุมวุฒิสภา นั้น ไม่ อาจกระทำได้ 2. รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร และไม่ได้ให้อำนาจประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ วุฒิสภาจึงไม่มีอำนาจพิจารณาในเรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ 3. นายนิวัฒน์ ธำรงค์ บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นการดำนินการโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี 4. แม้จะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามความต้องการของนายสุเทพฯ กับพวก ก็ไม่อาจดำเนินการปฏิรูปประเทศได้ เพราะต้องอาศัยกระบวนการทางรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญการตรากฎหมายและแก้ไขกฎหมาย เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้
กกต.แก้ระเบียบรับสมัครทางไปรษณีย์ได้ โดยให้เพิ่มข้อความในข้อ 74/1 ในกรณีมีเหตุจำเป็นเฉพาะพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการสมัครรับเลือกตั้ง ตามข้อ 74 ได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้ดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งในท้องที่ที่เห็นว่าจะสามารถดำเนินการรับสมัครได้สำเร็จเรียบร้อย หรือดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด่วนพิเศษที่จัดส่งโดยองค์กรของรัฐหรือเอกชน หรือดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งทางอินเทอร์เน็ตได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ยืมงบกลางต่อ 2 หมื่นล.จ่ายหนี้'ข้าวชาวนา' กระทรวงพาณิชย์เตรียมเสนอให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล กกต. พิจารณากรอบการขอยืมเงินเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังเพื่อนำไปชำระค่าข้าวให้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำนาปี 2556/57 ซึ่งยังคงค้าง 7 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้านี้คืนเงินยืมจากงบกลางจำนวน 2 หมื่นล้านบาทแล้ว
2. การประกาศผลประกอบการ 1Q57F ของบจ. คาดว่าจะส่งผลต่อหลักทรัพย์รายบริษัทฯ ในสัปดาห์นี้
Thai-บจ. จะสิ้นสุดฤดูประกาศผลประกอบการภายในสัปดาห์นี้ (15 พ.ค.)
3. จีดีพีไทย ไตรมาส 1/57 (ประกาศวันที่ 19 พ.ค. นี้) เราคาด 0.6% yoy แต่อาจมี downside จากที่คาด
ธปท.คาดจีดีพีไตรมาส1/57หดตัว
ธปท. เผยจากข้อมูลเศรษฐกิจ พบว่าขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่แน่นอนสูงและยืดเยื้อมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจไตรมาส 1/2557 จะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/2556 ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศของรัฐบาลและเอกชนเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ได้อยู่ในภาวะช็อกตลาด หลังจากที่ค่าประกันความเสี่ยงของไทยได้ปรับขึ้นเล็กน้อยมายู่ที่ 124.5 ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 จากระดับ 123 ในวันที่ 10 เมษายน 2557 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีค่าประกันความเสี่ยงลดลง อาทิ มาเลเซียลดลงมาอยู่ที่ 93.5 จาก 97 ซึ่งสะท้อนว่าตลาดการเงินคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
4.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้
ภายในสัปดาห์นี้: จีน ยอดสินเชื่อสกุลหยวน เดือนเม.ย. 8 แสนล้านหยวน (Vs 1.05 ล้านล้านหยวนใน มี.ค.)
วันศุกร์ : สหรัฐ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน (คาด +1.015 ล้านยูนิต มี.ค. +0.997 ล้านยูนิต) และการอนุญาตก่อสร้างเดือน เม.ย. รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือน พ.ค. ยุโรป ดุลการค้าเดือน มี.ค. คาด เกินดุล 1.6 หมื่นล้านยูโร (1.36 หมื่นล้านยูโร ก.พ.)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ศก.ญี่ปุ่นโตสูงสุดกว่า 2 ปี เหตุผู้บริโภคเร่งซื้อก่อนขึ้น VAT จีดีพี ขยายตัว 5.9% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในผลสำรวจ ของรอยเตอร์คาดไว้ที่ 4.2% และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่จีดีพีขยายตัว 10.8% ในไตรมาส 3 ของปี 2011 ซึ่งญี่ปุ่นกำลัง นตัวขึ้นจากเหตุแผ่นดินไหวและการรั่วไหลของรังสีนิวเคลียร์ เมื่อเทียบรายไตรมาส เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 1.5% ในไตรมาส เดือน ม.ค.-มี.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.0 % ปริมาณการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 2.1% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเท่ากับตัวเลขคาดการณ์ โดยการบริโภคภาคเอกชนครองสัดส่วนราว 60 % ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
สิงคโปร์ เผยยอดขายบ้านเดี่ยวดิ่งเกือบ 50% ในเดือน เม.ย. ข้อมูลของรัฐบาลสิงคโปร์ระบุว่า ยอดขายบ้านเดี่ยวของกลุ่มผู้ประกอบ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ ดิ่งลง 46% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักงานปรับปรุงการพัฒนาเมืองพบว่า ผู้ประกอบการขายบ้านเดี่ยวได้เพียง 745 หลังในเดือน เม.ย. เทียบกับ 1,384 หลังในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วแต่ปริมาณยอดขายเพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบรายเดือน โดยมียอดขายจำนวนทั้งสิ้น 480 หลังในเดือน มี.ค.
ญี่ปุ่น เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงเดือนที่ 5 ขณะภาษี VAT ส่งผลกระทบ สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคญี่ปุ่นร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนเม.ย. ขณะที่การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กระทบความเชื่อมั่นดัชนีความเชื่อมั่นสำหรับครัวเรือนทั่วไป ซึ่งรวมถึงมุมมองเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน อยู่ที่ระดับ 37.0 ในเดือน เม.ย. ลดลงจาก 37.5 ในเดือน มี.ค
เยอรมนี เผยอุปสงค์ในปท. หนุนศก. ขยายตัว 2 เท่าเป็น 0.8% ใน Q1 สำนักงานสถิติของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของเยอรมนีเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็น 0.8% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายไตรมาส อันเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ และสภาพอากาศที่อบอุ่น นอกจากนี้ ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีขยายตัว 2.5% เมื่อเทียบรายปี ในไตรมาสเดือน ม.ค.-มี.ค. และรัฐบาลระบุว่า คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว 1.8% ในปีนี้
ฝรั่งเศสเผยเศรษฐกิจชะงักงันโต 0% ใน Q1 ขณะการใช้จ่าย,ลงทุนอ่อนแอ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนทางธุรกิจที่อ่อนแอ เป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสยังคงชะงักงันในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยมีการขยายตัว 0% ขณะที่การปรับสินค้าคงคลังและการใช้จ่ายในภาคสาธารณะ เป็นเพียงปัจจัยที่ยังคงช่วยพยุงเศรษฐกิจฝรั่งเศสให้พ้นจากภาวะถดถอย โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของยูโรโซน ข้อมูลของไตรมาสแรกที่เปิดเผยในวันนี้ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของ นักวิเคราะห์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่าจะขยายตัว 0.2%
เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวต่ำกว่าคาดใน Q1 ขณะเงินเฟ้ออยู่โซนอันตราย สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ 18 ประเทศในยูโรโซนขยายตัวเพียง 0.2% ในไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบรายไตรมาส ต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดตัวเลขจีดีพีของไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว สู่ระดับ 0.2% จากเดิมอยู่ที่ 0.3% ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.7% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 0.5% ในเดือนมี.ค. และยังคงต่ำกว่า 1.0% ซึ่งถือเป็น"เขตอันตราย" ตามที่ธนาคารกลางยุโรปเคยเตือนไว้ก่อนหน้านี้
เฟด เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐร่วงหนักสุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรม ร่วงลง 0.6% ในเดือน เม.ย.ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2012 และอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงสู่ 78.6% ในเดือน เม.ย.
สหรัฐ เผย CPI เดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือน กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเม.ย.ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปีที่ผ่านมาและดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือน เม.ย.
สหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงเกินคาด กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงเกินคาด 24,000 ราย สู่ 297,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ค. นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 320,000 ราย
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลงวันเดียว สูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ และยิลด์พันธบัตร 10 ปี ต่ำสุดรอบ 10 เดือน สะท้อนนักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลดลงเป็นวันที่สอง โดยดัชนี DJIA ปิดร่วงลง 167.16 จุดหรือ -1.01% สู่ระดับ 16,446.81 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 17.68 จุดหรือ - 0.94% สู่ระดับ 1,870.85 จุด และ Nasdaq ปิดดิ่งลง 31.34 จุด หรือ - 0.76% สู่ระดับ 4,069.29 จุด ขณะที่ยิลด์พันธบัตร 10 ปีกลับร่วงลงมาที่ระดับต่ำสุดรอบ 10 เดือนที่ 2.49% (Vs ต้นสัปดาห์อยู่ที่ 2.66%) ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน ใ น วัน พ ฤ หัสบดี โดยดัช นี ด า ว โ จ น ส์และ S&P 500 ป รับ ตัวลงมา กที่สุด ใ น ร อ บกว่า 1 เดือน ขณะที่ หุ้นขนาดเล็กปรับตัวลงต่อ และบริษัทวอล-มาร์ทเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ดัชนีความผันผวนพุ่งขึ้น 8.2% ซึ่งเป็นการพุ่งขึ้นวันเดียวมากที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงลงในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่งในเดือนเม.ย. ขณะที่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วง ผิดหวังตัวเลขเศรษฐกิจ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลง FTSE ปิดร่วง 37.60 จุด หรือ -0.55% สู่ 6,840.89 จุด ดัชนี CAC40 ปิดดิ่งลง 56.11 จุด หรือ – 1.25% สู่ 4,444.93 จุด และ DAX ปิดลดลง 98.34 จุด หรือ –1.01% สู่ 9,656.05 จุด ผิดหวังตัวเลข Output ของ 1Q57 เติบโตเพียง 0.2%q-q และ นักลงทุนเทขายทำกำไรหุ้น IAG ซึ่งเป็นเจ้าของสายการบินบริติช แอร์เวย์ส และเทขายทำกำไรหุ้นอีซีเจ็ตด้วย โดยหุ้นสายการบินสองแห่งนี้ เคยพุ่งขึ้นราว 40 % ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเทรดเดอร์กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ระดับสูงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้หุ้นสองตัวนี้ดิ่งลง โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ครึ่งที่ระดับเหนือ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
+/-ราคาน้ำมันดิบ ปิดคละ แต่เบรนท์ปิดระดับสูงสุดตั้งแต่มีค.
วันพุธ Brent ส่งมอบมิย. ปรับขึ้น 0.25 ดอลลาร์ สู่ 110.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ครบกำหนดส่งมอบวานนี้ และส่งมอง กค.ร่วงลง 0.22 ดอลลาร์ เป็น 109.09 ดอลล์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิย. ร่วงลง 0.87 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 101.50 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดตลาดร่วงลงในวันพฤหัสบดี หลังจากปิดตลาดในแดนบวกมานานติดต่อกัน 3 วัน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่ เดือนมี.ค. เจ้าหน้าที่บริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ปอเรชันกล่าวว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียอยู่ที่ 300,000 บาร์เรลต่อวัน โดยแหล่งน้ำมันเอล ฟีล กลับมาผลิตน้ำมันอย่างเต็มกำลังความสามารถ และแหล่งน้ำมันวาฟาเริ่มผลิตน้ำมันอีกครั้งหลังจากการประท้วงสิ้นสุดลง
-ราคาทองคำ ปิดร่วงจากปัจจัยเทคนิคและรายงานผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ต่ำสุดรอบ 7ปี
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดลดลง 12.30 ดอลล์ หรือ -0.94% สู่ 1 , 2 9 3 . 6 0 ด อ ล ล า ร์ต่อ อ อ น ซ์ ร า ค า ท อ ง ส ป อ ต ที่ต ล า ด ส ห รัฐ ร่ว งลง 9 ดอลลาร์ หรือ 0.69% สู่ 1,296.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทางเทคนิค หลังจากราคาทองร่วงผ่านแนวรับสำคัญที่ 1,300 ดอลลาร์ลงไป ในขณะที่ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานและราคาผู้บริโภคบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งขึ้น จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐดิ่ง24,000 ราย สู่ 297,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 7 ปี ราคาผู้บริโภคสหรัฐปรับขึ้นในเดือน เม.ย.ในอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10 เดือน โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับขึ้น 0.3 % ในเดือน เม.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.2 % ในเดือน มี.ค.
+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่สอง หลังร่วง 4 วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 19 จุด หรือ 1.90% เป็น 1021 จุด หลังจาก ปี 56พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270