- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 27 June 2018 16:30
- Hits: 1814
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความเสี่ยงจากสงครามการค้าโลกขยายวงกว้าง กระทบเศรษฐกิจโลกปลายปีนี้และเต็มที่ใน 2562 ทำให้กำไรตลาดหุ้นต่ำกว่าคาด และกระทบดัชนีเป้าหมายปีถัดไป (อิง P/E 16 เท่าที่เดิม) แต่ดัชนีที่ลดลงจาก 1842 จุด มาที่ 1624 จุด ราว 12% สะท้อนความเสี่ยงไประดับหนึ่ง กลยุทธ์ยังให้ลงทุนในหุ้น 40% เน้นหุ้น Domestic ปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) สาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW) อาหาร-ส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, GFPT) Top picksะ RATCH (FV@B61), DTAC (FV@B68) และเพิ่ม GFPT(FV@B14)
ย้อนรอยตลาดหุ้นวานนี้ ….แรงรีบาวด์หุ้นขนาดใหญ่ ประคองดัชนีฯ ปิดบวกเล็กน้อย
วานนี้ SET Index เคลื่อนไหวผันผวนตลอดวัน โดยช่วงเช้าเปิดตลาดร่วงลงเกือบ 7 จุด ก่อนจะได้แรงซื้อกลับเข้ามาหนุนให้ดัชนีฯ ปิดแดนบวกที่ระดับ 1623.98 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 1.70 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายยังเบาบางเพียง 4.86 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ด้รับแรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่ คือ KBANK, SCC, BBL, CPALL ตามด้วย IVL ตรงข้ามกับหุ้นใหญ่ในกลุ่มโรงพยาบาล BH(-2.29%) และ BDMS (-1.8%) และกลุ่ม ICT ที่ปรับลดลง
แนวโน้มดัชนีตลาดวันนี้น่าจะแกว่งตัว 1610-1635 จุด ยังให้น้ำหนักไปที่การกีดกันทางการค้า ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก กำไรตลาดหุ้นในปี 2562 ที่อาจจะต่ำกว่าสมมิตฐาน 15-20% ทำให้ดัชนีเป้าหมายระยะยาวลดลง
หุ้นน้ำมันฟื้นตัวเป็นจังหวะขาย ระยะยาวยังกดดันสงครามการค้าโลก
ราคาน้ำมันดิบโลกดีดตัวช่วงสั้น น่าจะเป็นผลมาจากความกังวล Supply ที่จะหายไป จากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่าน (ผลิตวันละ 3.81 ล้านบาร์เรล ราว 11.9% ของกำลังการผลิตในกลุ่ม OPEC) ซึ่งกำหนดให้ผู้ค้าขายกับอิหร่านต้องหยุดนำเข้าภายใน 4 พ.ย. นี้
ขณะที่ก่อนหน้าได้คว่ำบาตร เวเนซุเอล่า ไปแล้ว (ผลิตวันละ 1.4 ล้านบาร์เรล หรือราว 4.5% ของ OPEC) อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC และ Non OPEC กรุงเวียนนา (Cartel) ปลายสัปดาห์ที่แล้ว มีมติให้เพิ่มกำลังการผลิตคาดไม่เกิน 1 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปหลังจากสหรัฐคว่ำบาตร ทั้ง 2 ประเทศ
ขณะที่คาดว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันน่าจะกลับมาเพิ่มการผลิตน้ำมันอีกครั้ง เมื่อสิ้นสุดข้อตกลงให้คงกำลังการผลิตที่จะสิ้นสุดสิ้นปีนี้ เพราะราคาน้ำมันที่เกิน 70 เหรียญฯ ดูเหมือนสหรัฐจะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ สะท้อนจากเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่อง ล่าสุดผลิต 10.9 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งต้องติดตามผลการประชุม OPEC 3 ธ.ค. นี้
ขณะที่ Dollar Index แข็งค่าต่อเนื่อง แม้ชะลอการแข็งค่าช่วงสั้น (หลังจากแข็งค่าราว 2.9% นับตั้งแต่ต้นปี) จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในอัตราเร่ง และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกหากสงครามการค้ายืดเยื้อน่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไป (ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย ytd 67.8 เหรียญฯ) และน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี upside จำกัด คือ PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137) ยกเว้นหุ้นถ่านหินที่ยังมี upsideคือ BANPU([email protected])
สงครามการค้ากดดัน Fund Flow ไหลออกจากภูมิภาคมากกว่าปกติ
วานนี้ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 13 ด้วยมูลค่า 577 ล้านเหรียญ เป็นการขายสุทธิ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 339 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 209 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10), อินโดนีเซีย 32 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) ส่วนอีก 2 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย คือ ฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 27 วัน) และไทยซื้อสุทธิเล็กน้อย 2 ล้านเหรียญ หรือ 76 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 16 วัน) สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 449 ล้านบาท (หลังจากซื้อในวันก่อนหน้า)
ตั้งแต่ต้นปี 2561 ตลาดหุ้นทั่วโลกถูกกดดันจากประเด็นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงสงครามการค้าที่ยังขยายวงกว้าง กดดันให้เงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคมากกว่าปกติ สังเกตได้จาก ล่าสุดต่างชาติขายหุ้นทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาค ด้วยมูลค่าสูงถึง 2.28 หมื่นล้านเหรียญ (ytd) สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2556 ที่เริ่มมีการส่งสัญญาณปรับลด QE ลง และปี 2561 นี้ ยังเป็นปีแรกที่ต่างชาติขายสุทธิทุกประเทศในภูมิภาค โดยตลาดหุ้นไทยถูกขายมากสุดเป็นอันดับ 2 โดยมียอดขายรวม 5.53 พันล้านเหรียญ หรือ 1.79 แสนล้านบาท (ytd) รองจากไต้หวัน 8.75 พันล้านเหรียญ คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 24% ของยอดขายหุ้นทั้งภูมิภาค (YTD)
ด้วยเม็ดเงินที่ไหลออกจำนวนมาก กดดันให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคตั้งแต่ต้นปี (ytd) ติดลบหลายประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ -18.1%, อินโดนีเซีย -8.3%, ไทย -7.4%, เกาหลีใต้ -4.7% และไต้หวันบวกเล็กน้อย 0.93% แต่ลดลงจากจุดสูงสุด ณ วันที่ 23 ม.ค. 61 มาแล้วกว่า -4.7% หากประเด็นสงครามการค้ายังยืดเยื้อ น่าจะกดดันให้ Fund Flow มีโอกาสยังไหลออกได้อีกในช่วงที่เหลือของปี
กลยุทธ์ให้เลือกหุ้น Domestic ผันผวนต่ำ/ปลอดภัยดอกเบี้ยขาขึ้น
ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในภาวะผันผวน จากความกังวลเรื่องสงครามการค้าทั้งมาตรการขึ้นภาษีและมาตราการที่มิใช่ภาษี จะกระทบต่อการค้าโลกชัดเจนในปีหน้า แต่เชื่อว่าสะท้อนผ่านการปรับฐานของตลาดหุ้นโลกไปแล้วระดับหนึ่ง ทั้งนี้ประเมินว่าผลจากสงครามการค้าน่าจะ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำไรตลาดหุ้นในปี 2562 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าน่าจะกดดันต่อดัชนีเป้าหมายปี 2562 หากยังอิง P/E 16 เท่า ในการคำนวณดัชนีเป้าหมาย
ฝ่ายวิจัยประเมิน Sensitivity Analysis ว่า ทุกๆ 5% ของกำไรตลาดฯ ที่ลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิปีหน้าหายไปราว 5.75 หมื่นล้านบาท (จากที่ประเมินไว้ทั้งปีที่ 1.1 ล้านล้านบาท) กระทบต่อ EPS ลดลงราว 5.8 บาท (จาก 116 บาท )และทำให้ดัชนีเป้าหมายปี 2562 ลดลงถึงกว่า 90 จุด แต่หากกระทบเพิ่มขึ้น EPS ลดลง ดัชนีเป้าหมายจะลดลงไปด้วย
จึงประเมินว่า SET Index ยังทรงตัวและอาจแกว่งซึมออกข้าง อย่างไรก็ตาม ระดับ Valuation ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ถือว่ามีความน่าสนใจ เพราะมี Expected P/E 14.7 เท่า จึงเหมาะกับการทยอยสะสมหุ้นดีเพื่อลงทุนระยะยาว กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้น 40% ของพอร์ต และเลือกลงทุนในหุ้นที่เติบโตในประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก คือ
1. หุ้นปันผลในกลุ่ม สาธารณูปโภค คือ TTW ([email protected]), EASTW([email protected]) และ RATCH(FV@B61) ซึ่งมี Dividend Yield สูงกว่า 4% จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 อีกทั้งเป็นหุ้นที่ถูกนำเข้าคำนวนดัชนี SET 50 – SET 100 รอบ 2H61, SETHD และ SETTHSI
2. หุ้น High Dividend Yield คือ PSH(FV@B28), QH([email protected]), INTUCH([email protected]),
3. หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย แนะนำ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) หรือปลอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (Debt Free) เช่น STEC (FV@B25), SYNTEC ([email protected]), PYLON ([email protected]), PLANB ([email protected])
6. หุ้นเกี่ยวกับการลงทุนภาครัฐและ EEC คือ STEC (FV@B25), AMATA ([email protected]), WHA ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10506