WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
กลยุทธ์การลงทุน
  ความเสี่ยงจากสงครามการค้าโลก และสหรัฐจำกัดการลงทุน รวมทั้ง Fund Flow ยังไหลออก ทำให้หุ้นไทยปรับฐานสะท้อนความเสี่ยง จน SET index มีค่า P/E ต่ำกว่า 15 เท่า เป็นจังหวะทยอยสะสมหุ้น กลยุทธ์จึงเน้นลงทุนในหุ้น 40% ที่เหลือถือเงินสด เน้นหุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB), หุ้นสาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW), หุ้นอาหารส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (CPF, TU, GFPT) แต่ลดน้ำหนักหุ้น Global ที่มี upside จำกัด Top picks ะ RATCH (FV@B61) และ DTAC (FV@B68
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้...SET Index ผันผวนหนัก จากบวก 12 จุด สู่ลบ 12 จุด
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวผันผวนตลอดวัน โดยระหว่างวันขึ้นไปทำจุดสูงสุดบวกได้กว่า 12 จุด แต่ท้ายที่สุดแล้วแรงขายที่มีอย่างต่อเนื่อง กดดันดัชนีให้ลดลงไป 12.70 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 1622.28 จุด เป็นการทำ new low อย่างต่อเนื่อง แต่มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างน้อยเพียง 4.41 หมื่นล้านบาท หุ้นที่กดดันดัชนี คือ กลุ่ม ธ.พ. (KBANK SCB KTB) กลุ่มปิโตรฯ (PTTGC  IVL) ยกเว้น PTT และ PTTEP รวมถึง RATCH และ DTAC  รีบาวด์ รับข่าว กสทช. ปรับเงื่อนไขประมูลคลื่น 1800 MHz
  สำหรับทิศทางตลาดวันนี้ คาด SET Index แกว่งผันผวน แนวรับ 1610 จุด แนวต้าน 1630 จุด ยังให้น้ำหนักไปที่สงครามการค้าผ่านการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐยังมีอยู่ และมีท่าที่แข็งกร้าวมากขึ้น โดยเตรียมออกมาตรการที่มิใช่ภาษีในการกีดกันการลงทุนโดยตรงของจีนในสหรัฐ ซึ่งถือว่ากดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในระยะนี้ต่อไป  
สหรัฐฯเตรียมกีดกัน FDI จากจีน หลังขึ้นภาษีนำเข้า 2.5 แสนล้านเหรียญฯ  
  สงครามการค้าโลก มีแนวโน้มขยายวงกว้างและรุนแรงขึ้น  หลังจากสหรัฐใช้มาตรการภาษี(Tariff) ต่อทั่วโลกทั้งหมด 7 สินค้า คือ เครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์, เหล็ก, อลูมิเนียม, น้ำมันไบโอดีเซล,  ยานยนต์และชิ้นส่วน และยางรัด  ทำให้หลายประเทศมีนโยบายตอบโต้การค้าสหรัฐ อาทิ ยุโรป, เม็กซิโก, แคนาดา, รัสเซีย, ตุรกีและอินเดีย  และที่สำคัญคือ สงครามการค้าสหรัฐ-จีน หลังจากสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าจีน 25% วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ และจีนตอบโต้คืนในอัตราภาษีและวงเงินเท่ากัน  ทำให้สหรัฐตอบโต้จีนรอบ 2 โดยเพิ่มวงเงิน อีก 2 แสนล้านเหรียญฯ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก  
  นอกจากนั้น สหรัฐเตรียมออกมาตรการที่มิใช่ภาษี(Non Tariff) ต่อจีนในปลายสัปดาห์นี้ 30 มิ.ย. คือ คาดห้ามบริษัทที่คนจีนถือหุ้นเกิน 25% เข้าซื้อหุ้นบริษัทในสหรัฐในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำคัญ  อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่, หุ่นยนต์ และ เครื่องบิน  เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  ผลกระทบจะเกิดทั้ง 2 ฝั่ง คือแม้จีนค้าขายกับสหรัฐ 16.4 % ของการค้าสหรัฐทั้งหมด  (ใกล้กับแคนาดาและเม็กซิโกราว  15%  และ 14.3%) แต่จีนกลับได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงถึง 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด (แคนาดาและเม็กซิโก ได้ดุลการค้ากับสหรัฐเพียง 2.2%  และ 8.9% ตามลำดับ)  ขณะที่จีนค้าขายกับเอเชียราว 50% ของการค้าทั้งหมด (ยุโรป 19%) โดยเอเชียผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน  ผลกระทบทางอ้อมต่อเอเชียจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งสหรัฐขยายวงเงินกีดการค้ามากยิ่งกระทบมากขี้น 
  และกระทบต่อเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของโลก ล่าสุดปี 2560 ราว   1.43 ล้านล้านเหรียญฯ ประเทศที่มีเงินลงทุนมากที่สุดคือ  ยุโรป 21.2% ของ FDI ทั้งโลก   รองลงมาคือ สหรัฐ 19.3%,จีน 9.5% , ฮ่องกง 7.3%   คาดว่าจะทำให้มีบางส่วนคาดจะย้ายมาฝั่งเอเซียในอนาคต
สงครามการค้าขยายวงกว้าง ต่างชาติทิ้งหุ้นภูมิภาคต่อเนื่อง
  ประเด็นสงครามการค้ายังขยายวงกว้างและรุมเร้าตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นเอเชีย และยังกดดันให้ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ด้วยมูลค่า 557 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 330 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 85 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 58 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 8 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 27 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 78 ล้านเหรียญ หรือ 2.55 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16 มูลค่ารวมกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 740 ล้านบาท (หลังขายสุทธิเพียงวันเดียว)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 4.35 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังทรงอยู่ระดับ 2.82% เข้าใกล้ Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 2.88%
สื่อสารดูดีขึ้น หลังกสทช. ผ่อนคลายประมูลคลื่น 1800 MHz บวกต่อ DTAC-ADVANC
  หลังจากที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใดยื่นซองประมูลคลื่น 1800 MHz ล่าสุด กสทช. ได้ปรับเงื่อนไขประมูลใหม่ โดยปรับซอยย่อยคลื่น 1800 MHz ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 MHz อายุ 15 ปี ราคาตั้งต้นใบละ 1.24 หมื่นล้านบาท (ราคาต่อ MHz ใกล้เคียงรอบก่อน) และตัดเกณฑ์ N-1 ออก พร้อมให้นำคลื่น 900 MHz ออกมาประมูล 5 MHz อายุ 15 ปี ราคาตั้งต้นที่ 3.74 หมื่นล้านบาท (ราคาต่อ MHz ใกล้เคียงรอบก่อน) ซึ่งการนำคลื่น 850 MHz ของ DTAC ที่ครบกำหนดมาดัดแปลง (5 MHz จากทั้งหมด 10 MHz ซึ่งเดิม กสทช. กันไว้เพื่อใช้ในกิจการรถไฟทั้งหมด)  เพื่อตอบสนองความต้องการ DTAC  ทั้งนี้ กสทช. จะประกาศเงื่อนไขทั้ง 2 คลื่น ลงราชกิจจาฯ 5 ก.ค. พร้อมเปิดประมูล 900 MHz และ 1800 MHz วันที่ 18 และ 19 ส.ค. 61 ตามลำดับ
  ทั้งนี้ DTAC ยืนยันจะประมูล 900 MHz หาก กสทช. โดยมีเงื่อนไขให้ใช้สามารถทั้ง  เต็ม 10 MHz  จนกว่าจะคลื่นฯ นำไปใช้กับรถไฟใน 2 ปีข้างหน้า   และหากอนาคตมีการยืดเวลาจ่ายเงินงวดสุดท้ายให้ Operator อีก 2 ราย DTAC ควรได้รับสิทธิประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน   โดยรวม คาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมดูดีขึ้น เพราะช่วยผ่อนคลายต้นทุนสูงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา
  น่าจะดีต่อ DTAC (FV@B68) มากสุด  หากได้คลื่น 900 MHz ซึ่งเป็นคลื่นสั้นเหมาะกับการให้บริการ 3G  (ADVANC และTRUE มีอยู่แล้วและต้นทุนใกล้เคียงกันจึงไม่น่าจะเข้ามาประมูล)    จากเดิมที่คาดจะมีเฉพาะคลื่น 2100 MHz  (ให้บริการ 3G, 4G)  ระหว่างที่พัฒนาโครงข่ายภายใต้คลื่นใหม่ 2300 MHz  ซึ่งเพิ่งทำสัญญาเช่า TOT ถึงปี 2568 ปีละ 4500 ล้านบาท   (ส่วนบริการ 2G ต้องโรมมิ่งกับ ADVANC หากไม่ประมูล 1800 MHz เดือนละ 100 ล้านบาท แต่จะลดลงตามจำนวนลูกค้า 2G ที่ลดลง)   ขณะที่ราคาหุ้นได้ผ่านการปรับฐานจนมี upside 75% แนะนำ ซื้อ
  ADVANC (FV@B230)  ดีรองลงมา เพราะหากได้คลื่น 1800 MHz อย่างน้อย  5 MHz จะช่วย ลดความหนาแน่นจากการที่มีลูกค้าต่อคลื่น 1 MHz หนาแน่นสุดที่ 0.7 ล้านราย (DTAC (ไม่รวมคลื่นสัมปทาน) และ TRUE ใกล้เคียงกันที่ 0.48 และ 0.5 ล้านคน ตามลำดับ)   จึงคาด ADVANC จะประมูลกลับมาแต่ด้วยจำนวนคลื่นที่ต่ำกว่าสมมติฐานเดิมที่คาด 15 MHz  จะหนุนต่อกำไรเพิ่มขึ้น 1.7% และมูลค่าพื้นฐาน 3.7 บาทต่อหุ้น ยังแนะนำ ซื้อ  
  ส่วน TRUE ([email protected]) คลื่นเพียงพออยู่แล้ว คาดไม่ร่วมประมูล ช่วยประหยัดต้นทุน แต่อาจจะต้องแลกกับศักยภาพบริการที่ทิ้งห่างคู่แข่งลดลง (ดังภาพเปรียบเทียบกรณีที่ตั้งสมมติฐาน ADVANC ชนะประมูล 1800 MHz 5 MHz และ DTAC ชนะ 900 MHz 5 MHz)
การเมืองเริ่มขยับ เลือกตั้งเร็วสุด 24 ก.พ. 62 ช้าสุดไม่เกิน 5 พ.ค.62
  ผลการประชุมร่วมระหว่าง คสช. ตัวแทนพรรคการเมือง 79 พรรค (ไม่รวม พรรคเพื่อไทย และ อนาคตใหม่) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเป็นแนวทางสำหรับการกำหนดวันเลือกตั้งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 24 ก.พ. 2562 , 31 มี.ค. 2562 หรือ 5 พ.ค.2562 ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยได้เคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้องติดตามในเรื่องการปลดล็อคให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง เนื่องจากมีหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการเฉพาะอย่างยิ่งการทำ ไพรมารีโหวต ซึ่งมีหลายองค์ประกอบที่ต้องดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต. ที่โดยหลักการจะดำเนินการได้หลังจากที่ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ (90 วันหลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา), การจัดตั้งสาขาพรรค , การเตรียมจำนวนสมาชิกพรรค ตลอดจนกระบวนการในการคัดสรรผู้ลงสมัครของพรรค ทั้งนี้ การทำไพรมารีโหวต นับเป็นเรื่องใหม่ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามได้มีการนำเสนอความเห็นจากบางฝ่ายในทิศทางที่อาจขอให้ยกเว้นการทำ ไพรมีโหวต สำหรับการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญปี 2560 เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ โดยหากจะยกเว้นการทำไพรมารีโหวตได้ จำเป็นต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตามแนวคิดในเบื้องต้นเบื้องต้น คาดว่าจะเห็นการปลดล๊อคให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้หลังจากที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  โดยภาพรวมของสถานการณ์ทางการเมืองถือว่ายังเดินไปตาม Roadmap และน่าจะสร้างแรงกดดันเชิงลบต่อ SET Index น้อยลง
ตลาดหุ้นปรับฐาน เลือกหุ้น Domestic Play, ผันผวนต่ำ, ปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น
  การที่สหรัฐดำเนินนโยบายแข็งกร้าวเพิ่มมากขึ้นด้วยมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) ด้วยการจำกัดไม่ให้บริษัทต่างชาติการลงทุนในบริษัทสหรัฐที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งยังเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยุติการตั้งกำแพงภาษี มิเช่นนั้นจะถูกตอบโต้อย่างรุนแรง มีการประเมินถึงผลกระทบต่อการค้าโลกว่าจะเห็นผลชัดเจนให้ปีหน้า ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้น ถือเป็น Leading Indicator ที่สะท้อนปัจจัยลบไปแล้วล่วงหน้า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ยังปรับตัวลดลงต่อ สะท้อนถึงความกังวลของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีหน้าที่อาจชะลอลงหลังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า แม้คาดกำไรสุทธิตลาดฯ ปีหน้าจะเติบโตราว 4%yoy ภายใต้หลัก conservative แล้วก็ตาม (ปีนี้เติบโตสูงกว่า 13%yoy) ฝ่ายวิจัยประเมินเบื้องต้นว่า ทุกๆ 5% ของกำไรตลาดฯ ที่ลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิหายไปราว 5.75 หมื่นล้านบาท (จากที่ประเมินไว้ทั้งปีที่ 1.1 ล้านล้านบาท) โดยรวมแล้ว ในระยะนี้ ภาวะการลงทุนยังมีความเสี่ยง แต่หากพิจารณาถึงระดับ Valuation ตลาดหุ้นไทยถือว่ามีความน่าสนใจ เพราะมี Expected P/E 14.7 เท่า จึงเหมาะกับการทยอยสะสมหุ้นดีเพื่อลงทุนระยะยาว กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้น 40% ของพอร์ต และเลือกลงทุนในหุ้นที่เติบโตในประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก คือ
  1. หุ้นเกี่ยวกับสาธารณูปโภค คือ TTW ([email protected]), EASTW([email protected]) และ RATCH(FV@B61) ซึ่งมี Dividend Yield สูงกว่า 4% จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่จะถูกนำเข้าคำนวนดัชนี SET 50 / 100, SETHD และ THSI
  2. หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก โครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย แนะนำ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และหุ้นปลอดหนี้สิน PLANB ([email protected])
  ขณะที่เงินบาทที่อ่อนค่าในระยะนี้ ดีต่อหุ้นอาหารส่งออก แนะนำ CPF, TU, GFPT
  รวมทั้งหุ้นที่ได้ปัจจัยบวกเฉพาะตัว คือ DTAC (FV@B68)
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10460

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!