- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 June 2018 17:57
- Hits: 1672
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยและเพื่อนบ้านปรับฐานสะท้อนความเสี่ยง สงครามการค้าโลก และเงินทุนไหลออก จนทำให้ SET index มีค่า P/E ต่ำกว่า 15 เท่า ถือเป็นจังหวะทยอยสะสม กลยุทธ์การลงทุน ให้ลงทุนในหุ้น 40% ที่เหลือถือเงินสด และเน้นหุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น (BBL, KBANK, PLANB) หรือหุ้นสาธารณูปโภค (RATCH, TTW, EASTW) และลดน้ำหนักหุ้น Global ที่มี upside จำกัด Top picks BBL (FV@B220) และ RATCH (FV@B61) หรือให้พักเงินในกองทุนที่มี div yield สูง เช่น SPF, POPF
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยศุกร์ที่ผ่านมา...SET แกว่งตัว หุ้นพลังงานหนุน
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยบวกแรงในช่วงเช้า แต่ลดช่วงบวกช่วงบ่าย และปิดตลาดที่ 1,634.98 จุด เพิ่มขึ้น 0.54 จุด (+0.03%) มูลค่าการซื้อขายกว่า 4.9 หมื่นล้านบาท โดยมีหุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ หนุนตลาด คือ PTT(+1.05%) PTTEP(+2.78%) PTTGC(+1.25%) IVL(+1.83%) และตามด้วยหุ้นรายตัว AOT, CPALL และ ADVANC ปิดบวกเช่นกัน ตรงข้ามกับกลุ่มธ.พ. ไหลลงปิดลบเป็นสัปดาห์แรกหลังฟื้นตัวขึ้นไปในช่วงก่อน และกลุ่มโรงพยาบาล BDMS BH ปรับตัวลดลง แม้ไตรมาส 2 จะเป็น low season ของกลุ่มฯ แต่ระยะถัดไปยังเติบโตได้ต่อเนื่องตามตลาดประกันสุขภาพและผู้ป่วยชาวจีน และเข้าสู่ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากที่ลงทุนไปก่อนหน้า
คาด SET Index ยังผันผวน 1620-1650 จุด สงครามการค้าที่ยังขยายตัวในวงกว้าง คู้ค้าหลักของโลกต่างกดดันสหรัฐ ซึ่งหากสหรัฐยังไม่ลดท่าที่แข็งกร้าว อาจนำไปสู่การค้าขายโลกที่ลดลง กดดันเศรษฐกิจโลก ขณะที่ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้น หลังที่ประชุม OPEC กลุ่ม Cartel เห็นพร้องกันให้เพิ่มกำลังการผลิตชดเชยเฉพาะส่วนที่หายไปของอิหร่าน และเวเนซุเอลา และดอลลาร์ที่ชะลอการแข็งค่าช่วงสั้นๆ แต่ยังเชื่อว่าราคาน้ำมันได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ปัญหา Over supply จะยังมีอยู่หากข้อตกลงให้คงการผลิตน้ำมันในกลุ่ม Cartel สิ้นสุดลงปลายปีนี้
OPEC สรุปให้เพิ่มผลิตน้ำมัน ชดเชยอิหร่านและเวเนซุเอลา ที่หายไป
ผลการประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC และNon OPEC กรุงเวียนนา (Cartel)ปลายสัปดาห์ที่แล้วได้ ให้เพิ่มกำลังการผลิต โดยมิได้ระบุปริมาณการผลิตเพิ่ม เพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปหลังจากสหรัฐคว่ำบาตร ทั้ง 2 ประเทศในช่วงเดือน พ.ค. คือ เวเนซุเอล่าผลิตวันละ 1.4 ล้านบาร์เรล (หรือราว 4.5%) และอิหร่านผลิตวันละ 3.81 ล้านบาร์เรล ราว 11.9%
แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีน้ำมันซาอุดิอาระเบียระบุเพิ่ม 1 ล้านบาร์เรล/วัน แต่คาดว่าจะผลิตจริงได้เพียง 6.24 แสนบาร์เรล/วัน) มีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. สะท้อนจากที่ กลุ่ม Cartel ได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน มากกว่าข้อตกลงในกลุ่ม Cartel ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงสิ้นปีนี้)
ยังให้น้ำหนัก การประชุม Cartel ครั้งถัดไป คือ 3 ธค. คาดว่าน่าจะสิ้นสุดข้อตกลงให้คงกำลังการผลิตที่จะสิ้นสุดสิ้นปีนี้หรือไม่ ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะ Oversupply เพราะราคาน้ำมันที่เกิน 70 เหรียญฯ ดูเหมือนสหรัฐจะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ สะท้อนจากเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่อง ล่าสุด ผลิต 10.9 ล้านบาร์เรล/วัน
ขณะที่คาดว่า Dollar Index แข็งค่าต่อเนื่อง แม้ชะลอการแข็งค่าช่วงสั้น (หลังจากแข็งค่าราว 2.3%นับตั้งแต่ต้นปี) จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในอัตราเร่ง และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกหากสงครามการค้ายืดเยื้อน่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไป (ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย ytd 67.8 เหรียญฯ) และน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี upside จำกัด คือ PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137) ยกเว้นหุ้นถ่านหินที่ยังมี upsideคือ BANPU([email protected])
ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคติดต่อกัน 11 วัน, ไทยถูกขาย 15 วัน
ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 ด้วยมูลค่า 662 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 340 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 200 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 69 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 27 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 26 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 27 ล้านเหรียญ หรือ 875 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 15 มูลค่ารวมกว่า 4.53 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 508 ล้านบาท (หลังซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 2.79 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยยืนอยู่ระดับ2.84% เริ่มเข้าใกล้ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 2.87%
ตลาดหุ้นโลกปรับฐาน ความเสี่ยงหมดไปหรือยัง
ตลาดหุ้นโลกปรับฐานแรงในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แรงกดดันหลักมาจากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า ทั้งจีน ยุโรป แคนาดา เม็กซิโก และประเทศอื่นๆ ในเอเซีย ที่มีการขึ้นภาษีตอบโต้กัน และยังหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ และเงินดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลให้มีการย้ายเงินทุนจากสินทรัพย์เสี่ยงสู่สินทรัพย์ปลอดภัย แต่เป็นที่สังเกตว่าตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วปรับฐานลงไม่แรงนัก เช่น สหรัฐ S&P500 ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.9%ytd ส่วน Dow Jones ลดลงเล็กน้อย -0.6%ytd ขณะที่ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศยุโรป ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 0 – 1%ytd ส่วนเอเซีย ญี่ปุ่น -1.7%ytd และฮ่องกง -2.1%
ตรงข้ามกับ Emerging Market ตลาดหุ้นปรับฐานลงมากกว่า เนื่องจากกระแส Fund Flow ไหลออกต่อเนื่อง เช่น มาเลเซีย -5.8%ytd ไทย -6.8%ytd อินโดนีเซีย -8.4%ytd จีน -12.6%ytd ฟิลิปปินส์ -17.4%ytd
เป็นที่สังเกตว่า SET Index ปรับฐาน 6.8% ใกล้เคียงกับมาเลเซีย แต่น้อยกว่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และจีน ซึ่งสะท้อนผลกระทบจากความรุนแรงของความเสี่ยงข้างต้น แต่หากพิจารณาด้านพื้นฐาน พบว่า การเติบโตค่อยเป็นค่อยไป แต่ PER ตลาดหุ้นไทยที่ลดลงต่ำกว่า 15 เท่า จึงเป็นระดับที่น่าจะเข้าสะสมเป็นรายหุ้น กลยุทธ์การลงทุน ให้น้ำหนักการลงทุน 40% โดยเลือกหุ้นที่เติบโตในประเทศ (Domestic Play) เป็นหลัก คือ
1.หุ้นเกี่ยวกับสาธารณูปโภค คือ TTW([email protected]), EASTW([email protected]) และ RATCH(FV@B61) ซึ่งมี Dividend Yield สูงกว่า 4% จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง มีค่า Beta ต่ำกว่า 1 อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่จะถูกนำเข้าคำนวนดัชนี SET 50 / 100, SETHD และ THSI
2.หุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก โครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย แนะนำ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และหุ้นปลอดหนี้สิน PLANB ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10436