WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
   ความกังวลต่อการกีดกันการค้าเพิ่มมากขึ้น หลังสหรัฐเพิ่มวงเงินที่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ กดดันเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนราคาน้ำมันดิบโลกอ่อนตัวต่อเนื่อง จากปัญหา Oversupply เพราะการควบคุมการผลิตใกล้สิ้นสุดลง กลยุทธ์ให้สะสมหุ้นที่มีเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น/ปลอดหนี้ (BBL, KBANK, PLANB) หรือหุ้นสาธารณูปโภค  (RATCH, TTW, EASTW) Top picks BBL(FV@B220) และ PLANB([email protected]) วันนี้เพิ่ม  RATCH(FV@B61) เป็น Defensive stock มีฐานะเงินสดสุทธิ
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. เกิด Panic Sell ตลาดหุ้นทั่วโลก 
   วานนี้การเคลื่อนไหวตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคความกังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่ขยายตัวในวงกว้างขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 5  และเป็นการปรับตัวลงแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. ปี 2559 โดยระหว่างวันดัชนีลงลึกถึงระดับ 1633 จุด ก่อนจะขึ้นมาปิดที่ระดับ 1,639.54 จุด ลดลงกว่า 40.14 จุด หรือ -2.39% พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.46 หมื่นล้านบาท หุ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรมยังเผชิญกับแรงขายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ ทั้งกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี (PTT PTTEP PTTGC IVL) กลุ่ม ธ.พ. (KBANK SCB BBL KTB) รวมถึงกลุ่ม ICT และกลุ่มค้าปลีก ส่วนหุ้นที่เข้าคำนวณ SET50-SET100 ในรอบครึ่งปีหลัง อย่าง GLOW DELTA KTC RATCH สามารถยืนแดนบวกสวนทิศทางตลาดฯ ได้ 
   SET Index ยังคงแกว่งทิศทางลดลงกรอบ 1620-1648 จุด ยังให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าจีน-สหรัฐ  เพราะการที่สหรัฐเพิ่มวงเงินขึ้นสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ทำให้การประเมินผลกระทบยากขึ้น แต่แน่นอนกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกมากขึ้น 

การค้าโลกกระทบมากขึ้น สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนกว่าเดิม 2.5 เท่า 
   สหรัฐประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน โดยเพิ่มวงเงินจากที่ประกาศแล้ว 5 หมื่นล้านเหรียญฯ เป็น  2.5 แสนล้านเหรียญฯ ถือว่าเหนือความคาดหมาย จากที่เคยประกาศขู่จีนในช่วงก่อนเข้าสงครามการค้าเพียง 1 แสนล้านเหรียญฯ เชื่อว่าผลกระทบน่าจะเกิดต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในวงกว้าง
  ทั้งนี้แม้จีนค้าขายกับสหรัฐ 16.4 % ของการค้าสหรัฐทั้งหมด  (ใกล้กับแคนาดาและเม็กซิโกราว  15%  และ 14.3%) แต่จีนกลับได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงถึง 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด (แคนาดาและเม็กซิโก ได้ดุลการค้ากับสหรัฐเพียง 2.2%  และ 8.9% ตามลำดับ)  ขณะที่จีนค้าขายกับเอเชียราว 50% ของการค้าทั้งหมด (ยุโรป 19%) โดยเอเชีย ผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน  ผลกระทบทางอ้อมต่อเอเชียจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งสหรัฐขยายวงเงินกีดการค้ามากยิ่งกระทบมากขี้น
   ไทยค้าขายกับจีนสูงสุด  18%  (รองลงมาญี่ปุ่น 11.5% และสหรัฐ 9.7%)  จึงกระทบต่อไทย โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานการผลิตในจีนคือ    คือ HANA   เพราะเป็นเพียงบริษัทเดียวในกลุ่มชิ้นส่วนฯ ที่มีฐานการผลิตในจีนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมด และมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐรวม 13% ของรายได้รวม โดยรวมคาดว่ากระทบต่อกำไรสุทธิทั้งปีราว 3% (ได้มีการปรับลดลงไปแล้ว) ส่วนผู้ส่งออกรายอื่นๆ DELTA, KCE, SVI  มิได้มีฐานการผลิตในจีน แต่ส่งออกไปจีน  จึงน่าจะรับผลกระทบทางอ้อม  ทั้งนี้ขึ้นกับสัดส่วนการส่งออกไปจีน โดยคาดกระทบต่อกำไรสุทธิเฉลี่ยราว 1-3%        
   ตรงข้ามมีผู้ส่งออกที่อาจจะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ คือผู้ส่งออกเนื้อหมู เพราะหากจีนประสบปัญหาขาดแคลนสุกร มีโอกาสที่จีนจะเจรจาเปิดให้นำเข้าสุกรจากเวียดนามและไทย น่าจะดีต่อ TFG  มีโครงสร้างรายได้จากธุรกิจสุกรในประเทศ 21% ของรายได้รวม และ CPF เท่ากับ 14% ของรายได้รวม
กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด เงินบาทอ่อนค่าใกล้ 33 บาทต่อเหรียญฯ  
   การประชุมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย กนง. 20 มิ.ย. นี้ คาดว่ายังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แต่ในประชุมรอบถัดไปๆ ที่เหลืออีก 4 ครั้งในปีนี้ น่าจะส่งสัญญาณสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายที่กินเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากไตรมาส 2 ของปี 2558 ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเช่นเดียวกับต่างประเทศ โดย ASPS ประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นมาที่ 1.72% จาก 1.49% ใน พ.ค. และจะเร่งเป็น 1.8%  และ 1.9% ในเดือน ก.ค. และ ส.ค.  พร้อมแตะ 2% ใน ก.ย. และ  2.3% ใน  ธ.ค. นี้  ซึ่งยิ่งห่างดอกเบี้ยฯ ปัจจุบันที่ 1.5% กนง. 
   ไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังล่าช้าในการขึ้นดอกเบี้ย  เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ซึ่งขึ้นไปแล้วทุกประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ประเทศที่ขึ้นหลังสุดคือ อินเดีย เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัว ขณะมาเลเซีย นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนตั้งแต่ต้นปี 2561 ตามด้วยฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ขึ้นดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในเดือน พ.ค.
   หากไทยขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า ผลกระทบที่จะตามมาคือ เงินบาทจะยิ่งอ่อนค่า ซึ่งจะยิ่งกดดันสินค้านำเข้าโดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันที่แปลงเป็นเงินบาทสูงขึ้น (ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ  ที่เห็นส่งออก เพราะโรงกลั่นมีกำลังการผลิตเกินความต้องการ จึงต้องนำเข้านำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนที่เหลือใช้ในประเทศจึงส่งออก) การขึ้นดอกเบี้ยจึงช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท โดยประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 33-33.5 บาทต่อดอลลาร์   ภาย ใน  3Q61
Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
   วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ แต่เริ่มเปิดทำการเป็นปกติในวันนี้ หลังจากหยุดยาวตั้งแต่ 11 มิ.ย. 61 ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคยังเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าสูงถึง 994 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวัน 744 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 152 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 81 ล้านเหรียญ หรือ 2.64 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12 มูลค่ารวมกว่า 3.69 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.62 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
   ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิ 6.7 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.82% แต่ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 2.89%
กังวลต่อสงครามการค้ามากขึ้นเน้นหุ้น Domestic ทีปลอดหนี้  PLANB
   นับจากวันที่สหรัฐประกาศรายชื่อเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน (15 มิ.ย.) จากสงครามการค้าที่ดูเหมือนจะสงบลง กลับรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ผนวกกับล่าสุดที่สหรัฐขยายมูลค่าเรียกเก็บภาษีอีก 2 แสนล้านเหรียญ ยิ่งซ้ำเติมความกังวลต่อการค้าและเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น
  นอกเหนือจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวทั่วโลก หนุนการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ  สะท้อนจากเงินเฟ้อพุ่งขึ้น มิใช่มาจากต้นน้ำมัน ที่ขยับสูงขึ้น (Cost Push) แต่ผลจากอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำมาก  ทำให้แรงดันของเงินเฟ้อด้าน demand เพิ่มขึ้น  (Demand Pull)  ทั้งเรื่องกีดทางการค้าและการขึ้นดอกเบี้ยฯ จึงน่าจะกดดันเศรษฐกิจสหรัฐ และ เศรษฐกิจโลก   เพราะ World Bank ประเมินว่าทุก 5 หมื่นล้านเหรียญฯ ที่มีการกีดกันการค้า กระทบการค้าโลกราว 9% ซึ่งผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นชัดเจนในปี 2562 
  ขณะที่ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ชัดเจนในขณะนี้ แต่ตลาดหุ้นในฐานะที่เป็น leading economic indicator จึงนำหน้าปรับลงก่อน  ในส่วนของตลาดหุ้นไทยก็ต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อกำไรสุทธิบริษัทในปีหน้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่า EPS ปีนี้ไว้ที่ 110.7 บาท เติบโตกว่า 13%yoy  ยังเป็นไปได้ แต่ปีหน้า EPS ที่ 115.8 บาท เติบโต 4.6%yoy  อาจจะยากขึ้น  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ  
  1. ราคาน้ำมันดิบดูไบจะยังคงยืนอยู่เหนือสมมติฐานฯ ที่ 70 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2562 ของ ASPS จะเป็นไปได้หรือไม่ ท่ามกลางความกังวลปัญหา oversupply  
  2. ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ (spread) ปิโตรเคมี ปี 2562 ตั้งสมมติฐานไว้ที่ทรงตัวในระดับสูงจากปีนี้ หากสงครามการค้ากดดันต่อ demand-supply ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ย่อมจะส่งผลต่อ spread และมีผลต่อประมาณการฯ หุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี
  3. หุ้นส่งออกที่มิใช่อาหาร โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีฐานการผลิตในจีน หากสงครามการค้ายังหาทางออกไม่ได้ จะส่งผลโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนฯ
กลยุทธ์การลงทุน จึงเน้นไปที่หุ้นที่เติบโตในประเทศ (Domestic Play) หรือหุ้นที่มีเกราะป้องกันดอกเบี้ยขาขึ้น คือ
  1. หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย ยังแนะนำ BBL(FV@B220), KBANK (FV@B227) และ TCAP (FV@B65)
  2. หุ้นประกันฯ จากภาระสำรองเบี้ยฯ ที่ลดลง ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุน (ดอกเบี้ยและเงินปันผล) ในพันธบัตร ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน จะเพิ่มขึ้น แนะนำ BLA ([email protected])
  3. หุ้นที่มีสถานะเงินสด (Net Cash) มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
  กลุ่มรับเหมาฯ คือ STEC, SYNTEC, PYLON, STPI, BJCHI
  กลุ่มยานยนต์ คือ IRC, STANLY
   ธุรกิจสื่อนอกบ้าน คือ PLANB เป็นต้น
  รวมทั้งหุ้นที่หนี้สินน้อยกว่า 1 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ผลกระทบจำกัดเช่นกัน คือ   TTW, EASTW, RATCH BJC, ADVANC เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10274

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!