- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 19 June 2018 19:26
- Hits: 1421
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1670-1695 จุด เพราะการฟื้นตัวของน้ำมัน แต่เป็นเพียงระยะสั้น เพราะการประชุมกลุ่ม OPEC น่าจะยกเลิกการควบคุมการผลิตน้ำมัน พร้อมจะเพิ่มปริมาณการผลิต ขณะที่ยังเชื่อว่าโอกาสที่ กนง. จะยุติการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายใกล้สิ้นสุด ช่วยหนุนบางกลุ่มคือ แบงก์/ประกันชีวิต และหุ้นที่ปลอดหนี้สิน Top picks BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) และ PLANB([email protected]) ปลอดหนี้ ไม่กระทบดอกเบี้ยขาขึ้น และระะยะสั้นยังได้ประโยชน์จากบอลโลก
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..หุ้นทุกกลุ่มฯ เผชิญแรงขาย ฉุด SET Index หลุด 1700 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค และปิดตลาดที่ ระดับ 1,679.68 จุด ลดลง 25.14 จุด หรือ -1.47% มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมเป็นการขายหุ้นแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานฯ ซึ่งหุ้นขนาดใหญ่ทั้ง PTT และ PTTEP ราคาหุ้นปรับตัวลงอีก 2% และ 3% ตามลำดับ ตามราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวลงต่อเนื่องและหลุด 70 เหรียญฯ จากความกังวลของกลุ่มโอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมีโดย IVL ราคาหุ้นร่วงเกือบ 6% มาปิดที่ 55.25 บาท ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ขณะที่ PTTGC (-3.89%) หุ้นกลุ่มอื่นๆ ทั้งค้าปลีก (CPAL, HMPRO, BJC) และ ธ.พ. (KBANK SCB BBL) ต่างก็ปรับตัวลงเช่นกัน ส่วนการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่ม ICT มีเพียง ADVANC และ INTUCH ที่ปรับตัวขึ้น ส่วนหุ้นอื่นๆในกลุ่มปรับตัวลง ยังมีประเด็นการประมูลคลื่น 1800 MHz ให้ติดตามหลังทั้ง 3 บริษัท (TRUE DTAC ADVANC) ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่น ทำให้การประมูลในวันที่ 4 ส.ค. ถูกยกเลิกไปชั่วคราว
คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1670-1695 จุด โดยให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าจีน-สหรัฐ เพิ่มมากขึ้น เพราะสหรัฐจะเพิ่มวงเงินขึ้นสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 2 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค และปิดตลาดที่ ระดับ 1,679.68 จุด ลดลง 25.14 จุด หรือ -1.47% มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมเป็นการขายหุ้นแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานฯ ซึ่งหุ้นขนาดใหญ่ทั้ง PTT และ PTTEP ราคาหุ้นปรับตัวลงอีก 2% และ 3% ตามลำดับ ตามราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวลงต่อเนื่องและหลุด 70 เหรียญฯ จากความกังวลของกลุ่มโอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมีโดย IVL ราคาหุ้นร่วงเกือบ 6% มาปิดที่ 55.25 บาท ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ขณะที่ PTTGC (-3.89%) หุ้นกลุ่มอื่นๆ ทั้งค้าปลีก (CPAL, HMPRO, BJC) และ ธ.พ. (KBANK SCB BBL) ต่างก็ปรับตัวลงเช่นกัน ส่วนการเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่ม ICT มีเพียง ADVANC และ INTUCH ที่ปรับตัวขึ้น ส่วนหุ้นอื่นๆในกลุ่มปรับตัวลง ยังมีประเด็นการประมูลคลื่น 1800 MHz ให้ติดตามหลังทั้ง 3 บริษัท (TRUE DTAC ADVANC) ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่น ทำให้การประมูลในวันที่ 4 ส.ค. ถูกยกเลิกไปชั่วคราว
คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1670-1695 จุด โดยให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าจีน-สหรัฐ เพิ่มมากขึ้น เพราะสหรัฐจะเพิ่มวงเงินขึ้นสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 2 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก
สหรัฐฯ เตรียมภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ กดดันตลาดหุ้นโลก
สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ขยายตัวในวงกว้างขึ้น หลังสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้า วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ และจีนประกาศตอบโต้คืนทันทีเช่นกัน วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ เท่ากัน(ดังตาราง) และ วานนี้ประธานาธิปดีทรัมป์ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ พิจารณาสินค้าขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนรอบใหม่ 10% โดยเพิ่มมูลค่าสินค้าอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ เป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งถือว่าแรงและ เหนือความคาดหมายจากก่อนหน้าคาดที่ 1 แสนล้านเหรียญฯ เท่านั้น เชื่อว่าผลกระทบน่าจะเกิดต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในวงกว้าง
สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ขยายตัวในวงกว้างขึ้น หลังสหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้า วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ และจีนประกาศตอบโต้คืนทันทีเช่นกัน วงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ เท่ากัน(ดังตาราง) และ วานนี้ประธานาธิปดีทรัมป์ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ พิจารณาสินค้าขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนรอบใหม่ 10% โดยเพิ่มมูลค่าสินค้าอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ เป็น 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งถือว่าแรงและ เหนือความคาดหมายจากก่อนหน้าคาดที่ 1 แสนล้านเหรียญฯ เท่านั้น เชื่อว่าผลกระทบน่าจะเกิดต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในวงกว้าง
ปัจจุบันจีนถือคู่ค้าหลักของสหรัฐ คือ จีนส่งออกราว 16.4 % ของการค้าทั้งหมดของสหรัฐ ใกล้เคียงแคนาดาและเม็กซิโกราว 15% และ 14.3% แต่จีนกลับได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงถึง 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด (แคนาดาและเม็กซิโก ได้ดุลการค้ากับสหรัฐเพียง 2.2% และ 8.9% ตามลำดับ) การขึ้นภาษีจากจีนเพื่อกดดันยอดเกินดุลของจีนที่มีสหรัฐให้ลดลง
หากการกีดกันการค้ายังยืดเยื้อ และวงเงินมากขึ้นน่าจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย จะมีต้นทุนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามภาษีที่เพิ่ม และกดดันอัตราเงินเฟ้อในที่สุด เช่นเดียวกับฝั่งผู้ประกอบการทางสหรัฐ เกษตรกระทบมากสุด (ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ขณะที่ผู้ประกอบการจีนที่จะเป็น กลุ่มยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ขณะที่จีนค้าขายกับเอเชียราว 50% ของการค้าทั้งหมด (ยุโรป 19%) โดยเอเชีย ผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน โดยไทยค้ากับจีนสูงสุด 18% (รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 11.5% และสหรัฐ 9.7%) บริษัทจดทะเบียนที่คาดได้รับผลกระทบครั้งนี้ คือ HANA เพราะเป็นเพียงบริษัทเดียวในกลุ่มชิ้นส่วนฯ ที่มีฐานการผลิตในจีนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมด และมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐรวม 13% ของรายได้รวม แต่โดยรวมคาดว่ากระทบต่อกำไรสุทธิทั้งปีราว 3% ซึ่งได้มีการปรับลดลงไปแล้ว ส่วนผู้ส่งออกรายอื่นๆ อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อม ตรงข้ามมีผู้ส่งออกที่อาจจะได้รับประโยชน์ที่อาจจะเป็นช่องทางในการส่งออกไปจีนมากขึ้น เช่น การส่งออกเนื้อหมูไปจีน เป็นต้น
เงินบาทยังอ่อนค่า ตราบเงินเฟ้อเพิ่มแต่การขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า
การประชุมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย กนง. 20 มิ.ย. นี้ คาดว่ายังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แต่คาดว่าในประชุมรอบถัดไปๆ ที่เหลืออีก 4 ครั้งจนถึงสิ้นปีนี้ 2561 (8 ส.ค., 19 ก.ย. ฯลฯ) กนง. น่าจะส่งสัญญาณสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายที่กินเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากไตรมาส 2 ของปี 2558 ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ ASPS ประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นมาที่ 1.72% จาก 1.49% ใน พ.ค. และจะเร่งเป็น 1.8% และ 1.9% ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. พร้อมแตะ 2% ใน ก.ย. ทำสถิติสูงสุด 2.3% ในเดือน ธ.ค. 2562 ซึ่งยิ่งห่างดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 1.5% กนง. จึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยฯ
แต่กระนั้นก็ถือว่าการขึ้นดอกเบี้ยไทยยังล่าช้ากว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งขึ้นไปแล้วทุกประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ประเทศที่ขึ้นหลังสุดคือ อินเดีย เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัว ขณะมาเลเซีย นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนตั้งแต่ต้นปี 2561 ตามด้วยฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ขึ้นดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในเดือน พ.ค.
ผลกระทบที่ตามมาหากไทยขึ้นดอกเบี้ยล่าช้าคือ เงินบาทจะยิ่งอ่อนค่า ซึ่งจะยิ่งกดดันสินค้านำเข้าโดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันที่แปลงเป็นเงินบาทสูงขึ้น (ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ที่เห็นส่งออก เพราะโรงกลั่นมีกำลังการผลิตเกินความต้องการ จึงต้องนำเข้านำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนที่เหลือใช้ในประเทศจึงส่งออก) การขึ้นดอกเบี้ยจึงช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท โดยประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 33-33.5 บาทต่อดอลลาร์ ภาย ใน 3Q61
หุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 รอบ 2H61 ชอบ BGRIM เข้า 3 ดัชนี, RATCH เข้า 4 ดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื่อหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณใน SET50 และ SET100 รอบ 2H61 ในเย็นวันที่ 18 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา และมีผล 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 61 ซึ่งมีหุ้นที่เข้า/ออก SET50 6 คู่ และหุ้นที่เข้า/ออก SET100 อีก 11 คู่
หากการกีดกันการค้ายังยืดเยื้อ และวงเงินมากขึ้นน่าจะกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย จะมีต้นทุนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามภาษีที่เพิ่ม และกดดันอัตราเงินเฟ้อในที่สุด เช่นเดียวกับฝั่งผู้ประกอบการทางสหรัฐ เกษตรกระทบมากสุด (ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ขณะที่ผู้ประกอบการจีนที่จะเป็น กลุ่มยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ขณะที่จีนค้าขายกับเอเชียราว 50% ของการค้าทั้งหมด (ยุโรป 19%) โดยเอเชีย ผู้ส่งออกวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน โดยไทยค้ากับจีนสูงสุด 18% (รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 11.5% และสหรัฐ 9.7%) บริษัทจดทะเบียนที่คาดได้รับผลกระทบครั้งนี้ คือ HANA เพราะเป็นเพียงบริษัทเดียวในกลุ่มชิ้นส่วนฯ ที่มีฐานการผลิตในจีนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมด และมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐรวม 13% ของรายได้รวม แต่โดยรวมคาดว่ากระทบต่อกำไรสุทธิทั้งปีราว 3% ซึ่งได้มีการปรับลดลงไปแล้ว ส่วนผู้ส่งออกรายอื่นๆ อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อม ตรงข้ามมีผู้ส่งออกที่อาจจะได้รับประโยชน์ที่อาจจะเป็นช่องทางในการส่งออกไปจีนมากขึ้น เช่น การส่งออกเนื้อหมูไปจีน เป็นต้น
เงินบาทยังอ่อนค่า ตราบเงินเฟ้อเพิ่มแต่การขึ้นดอกเบี้ยล่าช้า
การประชุมของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย กนง. 20 มิ.ย. นี้ คาดว่ายังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แต่คาดว่าในประชุมรอบถัดไปๆ ที่เหลืออีก 4 ครั้งจนถึงสิ้นปีนี้ 2561 (8 ส.ค., 19 ก.ย. ฯลฯ) กนง. น่าจะส่งสัญญาณสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายที่กินเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากไตรมาส 2 ของปี 2558 ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ ASPS ประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. จะเพิ่มขึ้นมาที่ 1.72% จาก 1.49% ใน พ.ค. และจะเร่งเป็น 1.8% และ 1.9% ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. พร้อมแตะ 2% ใน ก.ย. ทำสถิติสูงสุด 2.3% ในเดือน ธ.ค. 2562 ซึ่งยิ่งห่างดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 1.5% กนง. จึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยฯ
แต่กระนั้นก็ถือว่าการขึ้นดอกเบี้ยไทยยังล่าช้ากว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งขึ้นไปแล้วทุกประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ประเทศที่ขึ้นหลังสุดคือ อินเดีย เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัว ขณะมาเลเซีย นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนตั้งแต่ต้นปี 2561 ตามด้วยฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ขึ้นดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในเดือน พ.ค.
ผลกระทบที่ตามมาหากไทยขึ้นดอกเบี้ยล่าช้าคือ เงินบาทจะยิ่งอ่อนค่า ซึ่งจะยิ่งกดดันสินค้านำเข้าโดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันที่แปลงเป็นเงินบาทสูงขึ้น (ไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิ ที่เห็นส่งออก เพราะโรงกลั่นมีกำลังการผลิตเกินความต้องการ จึงต้องนำเข้านำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนที่เหลือใช้ในประเทศจึงส่งออก) การขึ้นดอกเบี้ยจึงช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท โดยประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 33-33.5 บาทต่อดอลลาร์ ภาย ใน 3Q61
หุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 รอบ 2H61 ชอบ BGRIM เข้า 3 ดัชนี, RATCH เข้า 4 ดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื่อหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณใน SET50 และ SET100 รอบ 2H61 ในเย็นวันที่ 18 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา และมีผล 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 61 ซึ่งมีหุ้นที่เข้า/ออก SET50 6 คู่ และหุ้นที่เข้า/ออก SET100 อีก 11 คู่
นอกจากนี้ตลาดยังประกาศดัชนีใหม่เพิ่มอีก 2 ดัชนี คือ SETCLMV และ SETTHSI มีจำนวนหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบในดัชนี 31 และ 45 หลักทรัพย์ตามลำดับ โดยจะเริ่มเผยแพร่ค่าดัชนีพร้อมกันวันที่ 2 ก.ค. 61 นี้ มีรายละเอียดดังนี้
ดัชนี SETCLMV คือ กลุ่มหลักทรัพย์ ที่มีรายได้จากประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) อย่างน้อย 10% จากรายได้รวมของบริษัท หรือมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท, มี Market Cap. เฉลี่ยอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท และมีสภาพคล่องสูงตามเกณฑ์ของตลาดฯ
ดัชนี SETTHSI คือ กลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) ชุดล่าสุดที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประเมินตามตัวชี้วัดด้านสิงแวดล้อม, สังคม และบริษัทภิบาล เช่น มี CG Score ตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป เป็นต้น มี Market Cap. เฉลี่ยอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท และมีสภาพคล่องสูงตามเกณฑ์ของตลาดฯ
ส่วนรายชื่อหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 ที่ประกาศส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยฯคาดการณ์ไว้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis วันที่ 4 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา แต่การคำนวณครั้งนี้ตลาดฯหย่อนเกณฑ์สภาพคล่องลงมากกว่าคาด ทำให้มีหุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องน้อยอย่าง GLOW และ DELTA เข้ามาแทนที่หุ้น SAWAD และ ESSO ที่มี Market Cap.เฉลี่ย 3 เดือน ลำดับที่ 49 และ 50
และหากพิจารณาจากราคาหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 พบว่า ยังไม่ได้ตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้ามากนัก เนื่องจาก SET Index ปรับตัวลงแรงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลกถึง 2.74% (mtd) แต่ด้วยระยะเวลาที่เหลือราว 2 สัปดาห์ ก่อนจะถึงวันเข้าคำนวณ (2 ก.ค. 61) จึงพอที่จะเก็งกำไรในหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 และ SET100 ได้ดังนี้
กลยุทธ์การลงทุนหุ้นเข้าคำนวณ SET50 และ SET100 ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริงราว 2 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.3% ด้วยความเป็นไปได้ถึงกว่า 84%
กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นเข้าคำนวณ SET50 ให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริงราว 2 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ มีโอกาสได้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 3.0% ด้วยความเป็นไปได้ถึงราว 70%
ขณะที่เข้าเฉพาะ SET100 ไม่ค่อยมีนัยสำคัญต่อราคาหุ้นมากนัก
แม้ราคาหุ้นที่ถูกคัดเข้า-ออก SET50, SET100 ส่วนใหญ่จะเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว แต่ยังมีบางบริษัทที่น่าสนใจ โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯชื่นชอบ
BGRIM([email protected]) มีโอกาสเข้าคำนวณถึง 3 ดัชนี คือ SET50, SET100 และยังถูกเข้าคำนวณในดัชนีใหม่อย่าง SETCLMV อีก คาดหวัง Upside ได้กว่า 29.4% และ
RATCH(FV@B61) เป็นหุ้น Defensive ที่มีโอกาสเข้าคำนวณ 4 ดัชนี คือ SET50, SET100, SETHD และยังถูกเข้าคำนวณในดัชนีใหม่ อย่าง SETTHSI อีก คาดหวัง Upside ได้สูงถึง 18.5%
ดัชนี SETCLMV คือ กลุ่มหลักทรัพย์ ที่มีรายได้จากประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) อย่างน้อย 10% จากรายได้รวมของบริษัท หรือมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท, มี Market Cap. เฉลี่ยอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท และมีสภาพคล่องสูงตามเกณฑ์ของตลาดฯ
ดัชนี SETTHSI คือ กลุ่มหลักทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) ชุดล่าสุดที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประเมินตามตัวชี้วัดด้านสิงแวดล้อม, สังคม และบริษัทภิบาล เช่น มี CG Score ตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป เป็นต้น มี Market Cap. เฉลี่ยอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท และมีสภาพคล่องสูงตามเกณฑ์ของตลาดฯ
ส่วนรายชื่อหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 ที่ประกาศส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยฯคาดการณ์ไว้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis วันที่ 4 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา แต่การคำนวณครั้งนี้ตลาดฯหย่อนเกณฑ์สภาพคล่องลงมากกว่าคาด ทำให้มีหุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องน้อยอย่าง GLOW และ DELTA เข้ามาแทนที่หุ้น SAWAD และ ESSO ที่มี Market Cap.เฉลี่ย 3 เดือน ลำดับที่ 49 และ 50
และหากพิจารณาจากราคาหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 พบว่า ยังไม่ได้ตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้ามากนัก เนื่องจาก SET Index ปรับตัวลงแรงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลกถึง 2.74% (mtd) แต่ด้วยระยะเวลาที่เหลือราว 2 สัปดาห์ ก่อนจะถึงวันเข้าคำนวณ (2 ก.ค. 61) จึงพอที่จะเก็งกำไรในหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 และ SET100 ได้ดังนี้
กลยุทธ์การลงทุนหุ้นเข้าคำนวณ SET50 และ SET100 ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริงราว 2 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.3% ด้วยความเป็นไปได้ถึงกว่า 84%
กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นเข้าคำนวณ SET50 ให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริงราว 2 สัปดาห์ และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ มีโอกาสได้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 3.0% ด้วยความเป็นไปได้ถึงราว 70%
ขณะที่เข้าเฉพาะ SET100 ไม่ค่อยมีนัยสำคัญต่อราคาหุ้นมากนัก
แม้ราคาหุ้นที่ถูกคัดเข้า-ออก SET50, SET100 ส่วนใหญ่จะเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว แต่ยังมีบางบริษัทที่น่าสนใจ โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯชื่นชอบ
BGRIM([email protected]) มีโอกาสเข้าคำนวณถึง 3 ดัชนี คือ SET50, SET100 และยังถูกเข้าคำนวณในดัชนีใหม่อย่าง SETCLMV อีก คาดหวัง Upside ได้กว่า 29.4% และ
RATCH(FV@B61) เป็นหุ้น Defensive ที่มีโอกาสเข้าคำนวณ 4 ดัชนี คือ SET50, SET100, SETHD และยังถูกเข้าคำนวณในดัชนีใหม่ อย่าง SETTHSI อีก คาดหวัง Upside ได้สูงถึง 18.5%
Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาค
แม้วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและไต้หวันจะหยุดทำการ แต่ตลาดอื่นๆ ยังเปิดทำการ โดยภาพรวมแล้ว ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่า 421 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิอีก 310 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามด้วย ฟิลิปปินส์ต่างชาติขายต่อเนื่องอีก 24 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา) และ ไทยยังคงเดินหน้าขายสุทธิอีก 86 ล้านเหรียญ หรือ 2.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 11 มูลค่ารวมกว่า 3.43 หมื่นล้านบาท)
เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเป็นครั้งแรก มูลค่า 1.83 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่องถึง 16 วัน มูลค่ารวม 3.08 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 9.13 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.82%
แม้วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและไต้หวันจะหยุดทำการ แต่ตลาดอื่นๆ ยังเปิดทำการ โดยภาพรวมแล้ว ต่างชาติยังเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่า 421 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิอีก 310 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามด้วย ฟิลิปปินส์ต่างชาติขายต่อเนื่องอีก 24 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา) และ ไทยยังคงเดินหน้าขายสุทธิอีก 86 ล้านเหรียญ หรือ 2.8 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 11 มูลค่ารวมกว่า 3.43 หมื่นล้านบาท)
เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเป็นครั้งแรก มูลค่า 1.83 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่องถึง 16 วัน มูลค่ารวม 3.08 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติขายสุทธิสูงถึง 9.13 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.82%
ดัชนีหลุด 1700 จุด สะสมหุ้นแบงค์ และที่ Debt Free PLANB, HANA
ตลาดหุ้นโลกในช่วงนี้ยังมีปัจจัยกดดันใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น ล่าสุดสหรัฐได้ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเป็น 2 แสนล้านเหรียญฯ จากที่ประกาศไปล่าสุด 5 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยจะขึ้นภาษีในสินค้าอื่นๆ อีก 10% ถ้าจีนยังคงยืนกรานขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐกลับ
ประเด็นที่ 2 คือราคาน้ำมันโลกยังคงผันผวน แม้วานนี้ราคาจะดีดตัวขึ้นมา แต่ก็เป็นเพียงการรีบาวด์ช่วงสั้น ซึ่งยังคงต้องให้น้ำหนักไปที่การประชุม OPEC และ Non OPEC ในวันที่ 22 มิ.ย. นี้ ว่าจะมีข้อสรุปว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว น่าจะหนุนหุ้นกลุ่มน้ำมันรีบาวด์กลับเช่นกันและน่าจะหนุน SET index วันนี้ ฟื้นตัวใกล้ระดับ 1,700 จุด
ภายใต้สภาวะความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้น Domestic Play และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น คือ
1. หุ้น ธ.พ. จากการที่ NIM ดีขึ้น จากแนวโน้มความต้องการสินเชื่อรายใหญ่เพื่อการลงทุน ซึ่งโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับทันที ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงสั้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย และช่วยบรรเทาผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง ยังแนะนำ BBL(FV@B220) และยังชอบ KBANK (FV@B227) และ TCAP (FV@B65)
2. หุ้นประกันฯ จากภาระสำรองเบี้ยฯ ที่ลดลง ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุน (ดอกเบี้ยและเงินปันผล) ในพันธบัตร ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน จะเพิ่มขึ้น แนะนำ BLA ([email protected])
3. หุ้นที่มีสถานะเงินสด (Net Cash) มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
กลุ่มรับเหมาฯ คือ STEC, SYNTEC, PYLON, STPI, BJCHI
กลุ่มชิ้นส่วนฯ คือ HANA, DELTA, SVI
กลุ่มยานยนต์ คือ IRC, STANLY
ธุรกิจสนามบิน คือ AOT และ
ธุรกิจสื่อนอกบ้าน คือ PLANB เป็นต้น
ส่วนหุ้นที่หนี้สินเกิน 1 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ผลกระทบจำกัด เช่น CPALL มี Gearing ราว 2.1 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ถึง 98.6%, BJC มี Gearing ราว 1.4 เท่า มีภาระดอกเบี้ยคงที่ทั้งหมด, ADVANC มี Gearing ราว 2.1 เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย คงที่ถึง 70%, CK มี Gearing ราว 1.6 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่ 74%, ANAN มี Gearing ราว 1.7 เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่ 78% เป็นต้น
ทั้งนี้ยกเว้นบริษัทที่มี Gearing สูง และมีสัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวน่าจะกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เช่น THAI มี Gearing สูงถึงกว่า 4.6 เท่า และ มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวถึง 40% และ DTAC และมี Gearing สูงราว 1.6 เท่า มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวทั้ง 100%
ตลาดหุ้นโลกในช่วงนี้ยังมีปัจจัยกดดันใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น ล่าสุดสหรัฐได้ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเป็น 2 แสนล้านเหรียญฯ จากที่ประกาศไปล่าสุด 5 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยจะขึ้นภาษีในสินค้าอื่นๆ อีก 10% ถ้าจีนยังคงยืนกรานขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐกลับ
ประเด็นที่ 2 คือราคาน้ำมันโลกยังคงผันผวน แม้วานนี้ราคาจะดีดตัวขึ้นมา แต่ก็เป็นเพียงการรีบาวด์ช่วงสั้น ซึ่งยังคงต้องให้น้ำหนักไปที่การประชุม OPEC และ Non OPEC ในวันที่ 22 มิ.ย. นี้ ว่าจะมีข้อสรุปว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว น่าจะหนุนหุ้นกลุ่มน้ำมันรีบาวด์กลับเช่นกันและน่าจะหนุน SET index วันนี้ ฟื้นตัวใกล้ระดับ 1,700 จุด
ภายใต้สภาวะความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้น Domestic Play และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น คือ
1. หุ้น ธ.พ. จากการที่ NIM ดีขึ้น จากแนวโน้มความต้องการสินเชื่อรายใหญ่เพื่อการลงทุน ซึ่งโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับทันที ขณะที่สัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงสั้น ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย และช่วยบรรเทาผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง ยังแนะนำ BBL(FV@B220) และยังชอบ KBANK (FV@B227) และ TCAP (FV@B65)
2. หุ้นประกันฯ จากภาระสำรองเบี้ยฯ ที่ลดลง ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุน (ดอกเบี้ยและเงินปันผล) ในพันธบัตร ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน จะเพิ่มขึ้น แนะนำ BLA ([email protected])
3. หุ้นที่มีสถานะเงินสด (Net Cash) มีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
กลุ่มรับเหมาฯ คือ STEC, SYNTEC, PYLON, STPI, BJCHI
กลุ่มชิ้นส่วนฯ คือ HANA, DELTA, SVI
กลุ่มยานยนต์ คือ IRC, STANLY
ธุรกิจสนามบิน คือ AOT และ
ธุรกิจสื่อนอกบ้าน คือ PLANB เป็นต้น
ส่วนหุ้นที่หนี้สินเกิน 1 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ผลกระทบจำกัด เช่น CPALL มี Gearing ราว 2.1 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยคงที่ถึง 98.6%, BJC มี Gearing ราว 1.4 เท่า มีภาระดอกเบี้ยคงที่ทั้งหมด, ADVANC มี Gearing ราว 2.1 เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย คงที่ถึง 70%, CK มี Gearing ราว 1.6 เท่า แต่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่ 74%, ANAN มี Gearing ราว 1.7 เท่า แต่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่ 78% เป็นต้น
ทั้งนี้ยกเว้นบริษัทที่มี Gearing สูง และมีสัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวน่าจะกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เช่น THAI มี Gearing สูงถึงกว่า 4.6 เท่า และ มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวถึง 40% และ DTAC และมี Gearing สูงราว 1.6 เท่า มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยลอยตัวทั้ง 100%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10220
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10220