- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 14 June 2018 17:52
- Hits: 1718
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เร่งตัวเร็วกว่าคาด หนุน Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มจากเดิมอีก 1 ครั้งรวมเป็น 4 ครั้งในปีนี้ ยิ่งทำให้ dollar แข็งค่าขึ้น ตรงข้ามค่าเงินเอเชียจะอ่อนตัว สถานการณ์นี้ตอกย้ำว่าไทยกำลังเข้าสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น หากเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งจะหนุนหุ้นแบงก์ให้ outperform ตลาด ยังเลือก BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227) เป็น Top picks และยังชอบ BJC(FV@B69), PLANB([email protected]) ได้ประโยชน์จากกระแสบอลโลก
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..ขายหุ้นใหญ่ กด SET Index หลุด 1720 จุด อีกครั้ง
วานนี้ SET Index แกว่งตัวแดนลบตลอดวันก่อนจะปิดที่ระดับ 1,718.34 จุด ลดลง 8.95 จุด หรือ -0.52% แต่มูลค่าการซื้อขายไม่มากนัก 4.32 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมเป็นแรงขายของหุ้นขนาดใหญ่ที่กดดันตลาดฯ นำโดย กลุ่มพลังงาน PTT PTEP PTTGC และ IVL ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก CPALL HMPRO และ MAKRO ส่วนหุ้นรายตัวอื่นๆ อย่าง AOT(-1.10%) และ SCC ร่วงต่ออีก 0.45% สวนทางหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มธ.พ. (BBL KBANK KTB) ฟื้นตัวสวนทางตลาด ส่วนรายหุ้นอย่าง WHA กลับมายืนแดนบวก ปิดที่ 4.24 บาท (+0.47%) หลังจากระหว่างวันราคาหุ้นลงไป 4.14 บาท
คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวน แนวรับ 1,710 จุด แนวต้าน 1,730 จุด โดยให้น้ำหนักกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางโลก ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะไทยน่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยใน 4Q61
Fed ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด...เงินเฟ้อพุ่งแรง อาจขึ้นดอกเบี้ยฯอีก 2 ครั้งในปีนี้
ที่ประชุม Fed (12-13 มิ.ย.) สรุปขึ้นดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ (เป็นการขึ้นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่ขึ้นครั้งแรกปลายปี 2558) อีก 0.25% เป็น 2.0% เพราะเงินเฟ้อพุ่งแรงกว่าคาด โดยแตะ 2.8% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ดังที่รายงานไปวานนี้
หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้พบว่า ดอกเบี้ยนโยบายยังต่ำกว่าเงินเฟ้อ 0.8% และหากเงินเฟ้อยังเพิ่มในอัตราเร่ง ทำให้การขึ้นดอกเบี้ย Fed ยังคงเร่งตัวขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในการประชุมที่เหลือ 4 ครั้งปีนี้ (คือรอบ ก.ย. และ ธ.ค.) สิ้นปีนี้ ดอกเบี้ยฯจะอยู่ที่ 2.5% (รวมขึ้น 4 ครั้งในปี 2561) และขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ดอกเบี้ยจะขึ้นไปแตะ 3.75% สิ้นปี 2563 ซึ่งสูงกว่ารอบก่อนที่ให้กรอบสูงสุดที่ 3.5%
เป็นที่สังเกตว่าในรอบนี้ถ้อยแถลงแตกต่างจากรอบ มี.ค. คือ Fed มองเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดีขึ้น จึงได้ปรับเพิ่ม GDP Growth เป็น 2.8% จากเดิม 2.7%.ในปี 2561 แต่คงปี 2562-2563 ที่เดิม 2.4% และ 2% เช่นเดียวกับปรับลดอัตราการว่างงานคาดปี 2561 เหลือ 3.6% จากเดิม 3.8% และปี 2562-2563 เหลือ 3.5% จากเดิม 3.6% เท่ากันทั้ง 2 ปี ขณะที่เงินเฟ้อ ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.1% เท่ากันในปี 2561-2563 จากเดิมคาด 1.9%
การขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และหนุนตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นติดต่อกันหลายปี แต่เมื่อการขึ้นดอกเบี้ยมาถึงจุดที่เริ่มเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการบางกลุ่มฯ ที่พึ่งพาเงินกู้ยืม (ยกเว้นธนาคาร ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น) จะกลับมากดดันตลาดหุ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นสหรัฐ คือผลตอบแทนน่าจะอยู่ในภาวะถดถอยและคงต้องเลือกหุ้นเป็นรายตัวจึงจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด
เงินเฟ้อไทยเร่งตัว กนง. หนีไม่พ้นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สิ้นปีนี้
ดังที่กล่าวตอนต้นว่า เงินเฟ้อเร่งตัวมากขึ้น จากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นดังกล่าวข้างต้น และหนุนให้ธนาคารกลางทั่วโลก เริ่มหันมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวตามสหรัฐมากขึ้นตามลำดับ คาดว่าฝั่งประเทศพัฒนาแล้วที่จะปรับตาม นอกจากแคนาดา และอังกฤษ แล้วน่าจะเป็นยุโรป ซึ่งเงินเฟ้อเดือนพ.ค. อยู่ที่ 1.9% จาก 1.2% ใน เม.ย. แต่ปัญหาของประเทศสมาชิกยุโรปที่ยังอ่อนแอ ( กลุ่ม PIIGS :โปรตุเกส ไอร์แลนด์, อิตาลี กรีซ และสเปน) ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยอาจจะค่อยเป็นค่อยไป ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)14 มิ.ย. คือวันนี้ ซึ่งน่าจะส่งสัญญาณสิ้นสุดการใช้ QE ภายในปีนี้ และน่าจะทยอยดึงเงินออกจากระบบ พร้อมกับ ขึ้นดอกเบี้ยในปี 2562
ทั้งนี้ยกเว้นญี่ปุ่น อาจจะล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ เพราะเริ่มติดกับปัญหาเงินเฟ้อต่ำอีกครั้ง ล่าสุด เหลือ 0.4% ใน พ.ค. จาก 1% ใน มี.ค. 2561 จึงอาจจะเห็นการลดปริมาณ QE ลงจากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 80 ล้านล้านเยน ที่จะครบกำหนดปี 2562 ติดตามผลการประชุม BOJ 14-15 มิ.ย. นี้
ส่วนประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียได้ขึ้นดอกเบี้ยล่วงหน้าไปแล้วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ
จีน ขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นไปตั้งแต่ ปี 2560 ราว 3 ครั้ง (แต่ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.35%)
ต้นปี 2561 มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% ที่ 3.25% (ครั้งแรกในรอบ 3 ปี)
กลาง พ.ค. 2561 ฟิลิปปินส์ขึ้นดอกเบี้ยฯ (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) 0.25% เป็น 3.25%
พ.ค. อินโดนีเซีย ขึ้นดอกเบี้ยฯ ติดต่อกัน 2 ครั้ง รวม 0.5% เป็น 4.75% (ครั้งแรกใน 4 ปี)
ปลาย พ.ค. อินเดีย ขึ้นดอกเบี้ยฯ (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) 0.25% เป็น 6.25%
เงินเฟ้อของไทยที่เร่งตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับต่างประเทศ ทำให้คาดว่า กนง. น่าจะหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์ของ ASPS ประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. น่าจะแตะ 1.72% เพิ่มในอัตราเร่งจาก 1.49% ใน พ.ค. และจะแตะ 2% ใน ก.ย. นี้ เทียบกับ ดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 1.5% เท่านั้น ในสถานการณ์นี้ถือว่าบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะดอกเบี้ยขาขึ้นจะทำให้การปรับขึ้น yield ได้เร็วกว่าต้นทุนเงินฝาก หนุน Spread ชดเชยผลกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมที่ค่อยๆ ลดลงนับจาก 2Q61 ชอบ BBL(FV@B220), KBANK(FV@B227)
ระยะกลาง-ยาว ราคาน้ำมันอ่อนตัว เพราะ oversupply & Dollar แข็งค่า
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลงอีกครั้งที่ 4.14 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล) ผลจากการนำเข้าน้ำมันลดลง 2.47 แสนบาร์เรล/วัน เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าปัญหา Oversupply จะกลับมากังวลอีกครั้ง โดยคาดว่าการควบคุมการผลิตน้ำมันของ ประชุมกลุ่มโอเปก และประเทศ Non OPEC น่าจะใกล้สิ้นสุด (หลังจากทำข้อตกลงควบคุมกำลังการผลิตนับตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงสิ้นปีนี้) โดยคาดว่า รัสเซียและประเทศสมาชิก OPEC บางแห่ง เช่น ซาอุดิอาระเบีย ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต ติดตามผลการประชุมของผู้ผลิตน้ำมันณ กรุงเวียนนาวันที่ 22 มิ.ย.
ขณะที่ สหรัฐยังมีการเพิ่มกำลังการผลิตต่อเนื่อง ล่าสุด ผลิต 10.9 ล้านบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจาก 10.8 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ก่อนหน้า ประกอบกับ Dollar Index มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง (ช่วงกลาง เม.ย. - ปัจจุบัน ค่าเงินดอลลาร์ แข็งค่าราว 4.99%) น่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไป ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งกดดันน้ำมันดิบดูไบชะลอตัวลงใกล้ 70 เหรียญฯ (ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย ytd 65.2 เหรียญฯ)และ น่าจะกดดันหุ้นน้ำมันที่ราคาหุ้นใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นปี 2561 หรือมี upside จำกัด คือ PTT(FV@B54) และ PTTEP(FV@B137) ยกเว้นหุ้นถ่านหินที่ยังมี upsideคือ BANPU([email protected])
Fund Flow ถูกกดดันจากการเข้าสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้หยุดทำการ 1 วัน เช่นเดียวกับอินโดนีเซียที่ยังหยุดทำการไปถึงวันที่ 19 มิ.ย. 61 ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า นักลงทุนต่างชาติรอดูผลการประชุม Fed ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 197 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันที่ถูกขายสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 20) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 135 ล้านเหรียญ หรือ 4.33 พันล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 8 มีมูลค่ารวม 1.44 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 686 ล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 14 วัน มีมูลค่ารวม 2.22 หมื่นล้านบาท) ต่อจากนี้คาดว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย จากการเข้าสู่วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 764 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) หนุน Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.79% แต่ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ เนื่องจากวานนี้ Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 2.0% และมีโอกาสขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี หนุน Bond Yield 10 ปี สหรัฐฯ พุ่งขึ้นเหนือ 3% อีกครั้ง ก่อนจะลงมาปิดที่ 2.98%
เงินเฟ้อกับการขึ้นดอกเบี้ย หนุนหุ้นแบงก์ outperform ตลาด
สัปดาห์นี้ยังต้องให้น้ำหนักไปที่ต่างประเทศเป็นหลัก เริ่มจากประชุมธนาคารกลางที่เหลืออีก 2 แห่ง คือ การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันนี้ว่าจะยุติการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายผ่าน QE ปลายปีนี้หรือไม่ ตามด้วยการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) 14-15 มิ.ย. นี้ คาดยังคงมาตรการผ่อนคลายตามเดิม ซึ่งยังมีผลกระทบต่อ fund flow ไหลออกจากเอเซีย
ถัดมา 15 มิ.ย. สหรัฐจะเปิดเผยรายชื่อสินค้านำเข้าจากจีน ที่จะขึ้นภาษีจำนวน 1,300 รายการ มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญฯ ซึ่งต้องดูท่าทีของจีนที่จะมีการตอบโต้กลับหรือไม่
และ 22 มิ.ย. การประชุม OPEC และ Non-OPEC ต้องมาดูกันว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ทั้งซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ ซึ่งจะสร้างความกังวลกับปัญหา oversupply ที่เพิ่มมากขึ้น กดดันราคาน้ำมันต่อเนื่อง
โดยภาพรวมประเด็นต่างประเทศยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาวะการลงทุนใน SET index ทั้งปัญหากีดกันการค้ากดดันหุ้นกลุ่มส่งออก ขณะที่ราคาน้ำมันที่ผันผวนทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันแกว่งตัว และมีโอกาสปรับลงในช่วงถัดไป ยกเว้น ราคาถ่านหินช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น ทำระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินการของกลุ่มถ่านหิน แนะนำ BANPU ([email protected])
กลยุทธ์การลงทุนในระยะนี้ยังคงเน้นไปที่หุ้น Domestic Play เป็นหลัก คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นขาขึ้น บวกต่อ Spread และช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ธุรกรรม on-line ที่ลดลง แนะนำ BBL (FV@B220) KBANK (FV@B227) และ TCAP (FV@B65)
กลุ่มค้าปลีก ได้อานิสงส์เทศกาลฟุตบอลโลกช่วง 14 มิ.ย. – 15 ก.ค. นี้ โดยเฉพาะหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค แนะนำ BJC (FV@B69) และเก็งกำไร ROBINS (FV@B68)
รวมทั้ง PLANB ([email protected]) ซึ่งได้ประโยชน์จากการเป็นผู้นำสื่อนอกบ้านในช่วงที่เม็ดเงินโฆษณาช่วงฟุตบอลโลกถูกจำกัด และ MINT (FV@B51) ซึ่งมีธุรกิจร้านอาหาร จะได้ประโยชน์จากช่วงฟุตบอลโลกด้วย
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO10066