WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KTBบล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

ฝรั่งกลับมาขายหนัก ถอยมารอดูประชุม FOMC”

Weekly SET Outlook (04 June - 08 June)

  เรายังให้กรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ ไว้ที่ 1710-1750 จุด .... ดัชนีฯน่าจะยังแกว่งในกรอบนี้เป็นสัปดาห์ที่สอง  ตัวแปรสำคัญของตลาด คือแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศที่กลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง หลังหยุดพักไปในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน บ่งชี้ว่า การลดพอร์ตของนักลงทุนยังมีต่อ หากมีปัจจัยลบเข้ามาอีก ช่วงต้นสัปดาห์นักลงทุนน่าจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูผลการประชุม FOMC และ ECB อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่า หากผลการประชุมธนาคารกลางสองแห่ง (FED-ECB) ไม่ได้ส่งสัญญาณลบต่อตลาด คาดดัชนีฯมีโอกาสที่จะกลับขึ้นไปทดสอบ 1750 จุด อีกครั้ง

Recommendation

  เรายังมองว่า ที่ระดับดัชนีฯ 1710 จุด ยังเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง แม้ตลาดยังมีข่าวลบ และยังต้องรอข่าวสำคัญช่วงปลายสัปดาห์  ในเชิงกลยุทธ์ ในภาพรมเราแนะนำเป็น “ถือ” เพื่อรอดูทิศทางตลาด แต่สำหรับการเข้าลงทุนหรือเก็งกำไร น่าจะใช้จังหวะที่ดัชนีฯอ่อนตัวลงไปใกล้ 1710 จุด เป็นจังหวะรอซื้อหุ้น กลุ่มหลักๆ คาดจะยังเป็นหุ้นบางตัวในกลุ่มธนาคาร--น้ำมัน  หุ้นที่น่าช้อนซื้อหากดัชนีปรับตัวลง หุ้นใหญ่จะเป็น  BBL , PTT* , TOP* และ CPF ….. ขณะที่หุ้นที่มีปัจจัยหนุน ในส่วนของการเลือกตั้ง เราแนะนำ CK* และ WHA …..กลุ่มที่ราคาปรับตัวลงมามาก นักลงทุนเริ่มกลับมาให้ความสนใจ หุ้นกลุ่มนี้ประกอบด้วย HTECH , WORK* , RS , BEAUTY

Technical  :  CBG, RS, ANAN 

  * เป็นหุ้นที่แนะนำโดย KTBST ยังไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์

Mongkol Puangpetra & Fundamental Research Team

OO9888

บล.ยูโอบีเคย์เฮียน : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 11-06-18

จับตาข่าวสารและข้อมูลจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป

  การประชุมกลุ่ม G7 ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 50% ของโลก จบลงได้ไม่ค่อยดีนัก โดยยังคงไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางการค้า อย่างไรก็ตามเรามองว่าตลาดจะเริ่มให้น้ำหนักความสำคัญไปยังทิศทางนโยบายการเงินในการประชุมของกลุ่มธนาคารกลางสำคัญในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันที่ 13 มิ.ย. และยุโรป (ECB) ในวันที่ 14 มิ.ย. ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯเป็นสิ่งที่ตลาดคาดอยู่แล้ว แต่เราคาดหากมีการส่งสัญญาณจำกัดการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลิอของปี (อาทิ ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะขึ้นอีกเพียง ครั้ง) จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาด ขณะที่การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน ที่สิงคโปร์ ฝนวันพรุ่งนี้ ไม่มีนัยยะต่อการลงทุน แต่อาจเป็น sentiment บวกต่อจิตวิทยาการลงทุนโดยรวม

  ทิศทางตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นการแกว่งตัวอยู่ในกรอบแนวโน้มขาลง (sideway down) ซึ่งเรามองว่าอยู่ในช่วงปลายๆ โดยปัจจัยลบภายนอกจะยังเป็นแรงกดดันหลักต่อการฟื้นตัวของตลาดในระยะสั้น การเก็งกำไรในช่วงนี้จึงยังคงเน้นเก็งกำไรรายตัวในกลุ่มที่เกี่ยวกับ 1) Window dressing น่าสนใจกลุ่ม ธนาคาร อาหาร 2) ฟุตบอลโลกบวกต่อ ค้าปลีก ROBINS, MAKRO*, CPALL 3) หุ้นเก็งกำไรอื่น อาทิ AAV SAT AH TKS แม้หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงถูกกดดันจากประเด็นกังวลต่อการเลื่อนใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ (IFRS9) เราคาดจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังการหารือในวันที่ 20 มิ.ย.นี้

  Investment Theme เลือกเก็งกำไรรายตัวในหุ้นที่เป็นป้าหมาย Window dressing // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) PTT 2) IVL 3) BANPU // กลุ่มธนาคาร ชอบได้แก่ BBL, KTB, SCB // หุ้นกลุ่มไฟฟ้า BCPG, BGRIM, GULF*, EA // ผลการดำเนินงานผ่านจุดแย่สุด BANPU, BPP*, SAPPE, GUNKUL*, MONO*

  ภาพรวมกลยุทธ์: การหลุด 1725 จุด ทำให้มีความเสี่ยงซึ่มลง โดยกรอบใหญ่ยังอยู่ในช่วง 1700-1750 จุด // หุ้นแนะนำวันนี้ CPF, BBL / เก็งกำไร TTA (เป้า 8.7 ตัดขาดทุน 7.6), SAPPE (เป้า 31.50 ตัดขาดทุน 28.00)

  แนวรับ 1716 / แนวต้าน : 1730 จุด สัดส่วน : เงินสด 30% : พอร์ตหุ้น 70%

ประเด็นการลงทุน

  G7 จบไม่สวย – ผลการประชุม G7 จบลงด้วยความขัดแย้งเช่นเดิมหลังการตอบโต้และวิพากวิจารย์เกี่ยวกับมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก-อะลูมิเนียมระหว่างสหรัฐฯและชาติพันธมิตรอื่นๆ นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้ประกาศขู่เรียกเก็บภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนด้วยอัตราสูงถึง 25% ซึ่งสร้างความวิตกทางการค้าในวงกว้าง

  ราคาน้ำมันโลกปรับฐานต่อ – ราคาน้ำมันทรุดลงต่อหลังถูกกระทบจากการปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันของเจพีมอร์แกนอุปสงค์ในจีนที่ลดลง รวมถึงการเพิ่มสูงขึ้นของการผลิตในสหรัฐฯ

  ทรัมป์ปฏิเสธคำร้องยกเว้นเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมจากไทย – ทรัมป์ระบุไม่ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากไทย โดยยังคงยืนยันเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากไทยในอัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ

  ยอดขอตั้งโรงงานโต 0.89% หวังฟื้นครึ่งปีหลัง – กรอ.เผยยอดขอใบอนุญาตตั้งโรงงาน รง.และขยายกิจการ ช่วง เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.61) เพิ่มขึ้น 0.89%yoy ขณะที่มูลค่าการลงทุนลดลง 26.16%yoy ทั้งนี้ กรอ.เชื่อว่าตัวเลขดังกล่าวจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ

  ประเด็นติดตาม: 12 มิ.ย. – การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน / 13 มิ.ย. – ประชุมเฟด / 14 มิ.ย. – ประชุมอีซีบี / 22 มิ.ย. – ประชุมโอเปค / 22 มิ.ย. – TH ศาลฯพิจารณารับคำฟ้องการยึดอำนาจของคสช.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

นักกลยุทธ์: กิจพณ ไพรไพศาลกิจ

Email: [email protected]

OO9889

บล.ทิสโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 11-06-18

สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET -11.01 จุด ต่างชาติขายหนักขึ้นจับตาปัจจัยตปท.

  SET แกว่งอิงแดนลบในกรอบ 1721-36 นลท.ระมัดระวังต่อแนวโน้ม Bond Yield ทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้น รอติดตาม นโยบายการเงินในการประชุม FED, ECB, BOJ ช่วงกลางเดือน มิ.ย. นี้ วอลุ่มเทรดต่ำกว่า หมื่นลบ.ครั้งแรกในรอบ สัปดาห์ ต่างชาติขายสุทธิหนักขึ้น 3.27 พันลบ. วันติด และ Short S50 Futures 5,548 สัญญา วันติด

ทิศทางตลาดวันนี้ : อ่อนตัวลง แรงขายต่างชาติระลอกใหม่จับตาประชุมการเงิน

  หุ้นโลกเมื่อวันศุกร์ (มิ.ย.) ปิดกระจัดกระจาย นลท.กังวลความขัดแย้งในการประชุม G7 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงเล็กน้อย 21 เซนต์ มาที่ 65.74$/bbl จากการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางอุปสงค์ในจีนที่ลดลง  มอง SET มีโอกาสอ่อนตัวลงต่อ จากแรงขายต่างชาติกลับมาหนักขึ้นระลอกใหม่ ผสานแรงกดดันจากปัจจัยตปท. โดยการประชุม G7 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่เพิ่งผ่านมา เกิดความไม่ลงรอยในที่ประชุม เนื่องจากปธน.ทรัมป์ ขอกลับก่อน ไม่ลงนามแถลงการณ์ร่วม และโจมตีผู้นำแคนาดาอย่างรุนแรง นอกจากนี้ นลท.ยังจับตาการประชุมธ.กลางสำคัญของโลกในช่วงสัปดาห์นี้ โดยการประชุม FED 12-13 มิ.ย. คาดจะขึ้นดบ.ตามตลาดคาด แต่ยังต้องติดตาม Dot Plot จะเปลี่ยนจากครั้งก่อนใน มี.ค. หรือไม่การประชุม ECB 14 มิ.ย. แม้คาดว่าอัตราดบ.จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่อาจจะพิจารณาแผนการลดมาตรการ QE  ส่วนการประชุม BOJ 14-15 มิ.ย. คาดยังคงนโยบายการเงินตามเดิม แนวรับ 1715-20, 1710 แนวต้าน 1730, 1740

กลยุทธ์การลงทุน : 1-2 เดือนนี้เริ่มทยอยสะสม / เก็งกำไรแนะใช้กรอบ 1710-50

  มองการอ่อนตัวของหุ้นไทยจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกช่วง 1-2 เดือนนี้เริ่มน่าสนใจต่อการทยอยสะสมเพื่อการลงทุนแล้ว ส่วนการเก็งกำไร-เทรดดิ้งสั้น แนะใช้ SET กรอบ 1710-50 ลงซื้อ-ขึ้นขายหากปิดต่ำกว่า 1710 = Stop

ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Trading Pick MEGA – ผู้บริหารมองกำไร 2Q18F จะดีกว่า 1Q18 เนื่องจากยอดขายเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นบ.คงเป้ารายได้และกำไรปีนี้เติบโต 8-10% จากยอดขายทั้งในและตปท.ที่ขยายตัว รวมทั้งการออกสินค้าใหม่อีกจำนวน 10 รายการ สอดคล้องกับกำไรปีนี้ของเราที่คาดโต 9%, เป้าพื้นฐาน 43.75 บ. / FTSE SET ทบทวนดัชนี ใช้ราคาปิด 15 มิ.ย. FTSE SET Large Cap – ไม่มีการเปลี่ยนแปลง , FTSE SET Mid Cap เข้าใหม่ ตัว – GOLD, GULF, MBK, THG ออก ตัว – GL, THCOM, CCET, SAMART, ICHI, TTCL , FTSE SET Small Cap เข้าใหม่ 17 ตัว – DDD, EASTW, COL, TCB, GL, THCOM, TR, QHPF, CCET, SAMART, HUMAN, SKR, ICHI, RSP, WP, HTC, TTCL ออก ตัว – GOLD, CMR, SST, SYMC, CFRESH, KKC, GEL / FTSE ทบทวนดัชนี ใช้ราคาปิด 15 มิ.ย. All-world - GULF , Mid-cap – GULF , Small-cap – TOA / หุ้นคาดเข้า SET50 ชอบ BGRIM, RATCH, TOA / SET100 ชอบ ERW, GOLD, PLANB, PRM, RS, THANI / พ.ร.บ.EEC มีผลบังคับใช้แล้วและการเมืองชัดเจนขึ้น หนุนความเชื่อมั่นและวงจรลงทุนรอบใหม่ กลุ่มรับเหมา CK, UNIQ, SEAFCO, PYLON นิคมฯ AMATA, ROJNA, WHA แบงก์ BAY, BBL, KBANK, SCB ค้าปลีก CPALL, BJC, HMPRO / หุ้นรับอานิสงส์บอลโลก ชอบ BJC, HMPRO, TRUE / การฟื้นตัวต่อเนื่องของอุตฯ ยานยนต์ AH, PCSGH, SAT, NYT

หุ้น Weekly GURU ซื้อ SCC (เป้าสั้น 468 บ.), TVO (31.5 บ.) / ถือ EA (41 บ.), IVL (ปรับเป้าสั้นขึ้นจาก 61 บ. เป็น 62.5 บ.), / ขายเปลี่ยนตัว ROJNA (-0.7%) / ขายตัดขาดทุน SEAFCO (-2.7%)

หุ้นเด่น มิ.ย. (Smart Tactics) CK, CPN, PCSGH, RATCH, ROJNA, TOA, TVO

ปัจจัยติดตาม

วันที่              ปท.              เหตุการณ์

11 มิ.ย.     US-CH          สหรัฐฯ จะลดจำนวนวันวีซ่าที่ออกให้คนจีน โดยเฉพาะกับผู้ที่จะไปศึกษาด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์

                 JP              การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน M2 & M3 ญี่ปุ่นใน พ.ค.คำสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นใน เม.ย.

12-15 มิ.ย.     TH               ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศรายชื่อหุ้นใน SET50 / SET100 Index สำหรับช่วงครึ่งปีหลัง

12 มิ.ย.          US-KP    ผู้นำสหรัฐฯ นัดหารือกับผู้นำเกาหลีเหนือครั้งประวัติศาสตร์ที่สิงคโปร์

                  JP          ดัชนีราคาผู้ผลิตญี่ปุ่นใน พ.ค.ดัชนีชี้วัดภาวะอุตฯ (Tertiary Industry Index) ญี่ปุ่นใน เม.ย.           

                  EU          ผลสำรวจคาดการณ์ภาวะธุรกิจ (ZEW Survey Expectations) ของสหภาพยุโรปในเดือน มิ.ย.

                   US        ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ใน พ.ค.งบประมาณรายเดือนสหรัฐฯ ใน พ.ค.

ที่มา : Bloomberg, DB, TISCO Research

อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 18171  โทร 02-633-6467 e-mail : [email protected]

ธนพล บำรุงพงศ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 46537  โทร 02-633-6471 e-mail : [email protected]

OO9890

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!