- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 08 June 2018 17:58
- Hits: 1356
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index วันนี้ยังแกว่งตัวจำกัดในกรอบ 1725-1745 จุด ปัจจัยที่มีน้ำหนักช่วงนี้คือการประชุม G-7 ประเด็นการกีดกันการค้าที่ผลกระทบจะขยายตัวในวงกว้าง และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่จะประชุม 11-12 มิ.ย. มองว่าจะหนุน Dollar Index ให้มีทิศทางแข็งค่า กดดันหุ้นน้ำมัน กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play (แบงก์ ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และค้าปลีก) ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ และกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นระยะสั้น จากการถ่ายทอดบอลโลก Top picks BJC(FV@B69) และ PLANB([email protected])
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..SET Index ผันผวนตลอดวัน
วานนี้ SET Index ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1746.50 จุด ก่อนจะย่อตัวลงมาปิดที่ 1,733.05 จุด ลดลง 5.65 จุด หรือ -0.32% มูลค่าการซื้อขาย 5.09 หมื่นล้านบาท แรงกดดันจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวลดลง ทั้งกลุ่มพลังงาน PTT PTTEP หลังสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นกว่าคาด ตามด้วยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ( KBANK SCB) ราคาหุ้นย่อตัวลงช่วงท้ายตลาดฯ ขณะที่มีหุ้นรายตัวปรับขึ้นโดดเด่น โดยเฉพาะ BEAUTY เพิ่มขึ้น 7.89% และ DTAC บวก 2.17%
คาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้ดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบบ 1725-1745 จุด ปัจจัยที่จะมีผลต่อตลาดสัปดาห์นี้ต่อเนื่องสัปดาห์หน้า คือ การประชุม G-7 จะส่งผลกระทบต่อการกีดกันทางการค้าในวงกว้าง และการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในการประชุม Fed 11-12 มิ.ย. น่าจะหนุน Dollar Index มีทิศทางแข็งค่า กดดันหุ้นน้ำมัน ก่อนที่จะมีการประชุม OPEC 22 มิ.ย. ที่มีโอกาสยกเลิกการควคุมการผลิตน้ำมัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index วันนี้ยังแกว่งตัวจำกัดในกรอบ 1725-1745 จุด ปัจจัยที่มีน้ำหนักช่วงนี้คือการประชุม G-7 ประเด็นการกีดกันการค้าที่ผลกระทบจะขยายตัวในวงกว้าง และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่จะประชุม 11-12 มิ.ย. มองว่าจะหนุน Dollar Index ให้มีทิศทางแข็งค่า กดดันหุ้นน้ำมัน กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play (แบงก์ ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และค้าปลีก) ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ และกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นระยะสั้น จากการถ่ายทอดบอลโลก Top picks BJC(FV@B69) และ PLANB([email protected])
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ …..SET Index ผันผวนตลอดวัน
วานนี้ SET Index ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1746.50 จุด ก่อนจะย่อตัวลงมาปิดที่ 1,733.05 จุด ลดลง 5.65 จุด หรือ -0.32% มูลค่าการซื้อขาย 5.09 หมื่นล้านบาท แรงกดดันจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวลดลง ทั้งกลุ่มพลังงาน PTT PTTEP หลังสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นกว่าคาด ตามด้วยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ( KBANK SCB) ราคาหุ้นย่อตัวลงช่วงท้ายตลาดฯ ขณะที่มีหุ้นรายตัวปรับขึ้นโดดเด่น โดยเฉพาะ BEAUTY เพิ่มขึ้น 7.89% และ DTAC บวก 2.17%
คาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้ดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบบ 1725-1745 จุด ปัจจัยที่จะมีผลต่อตลาดสัปดาห์นี้ต่อเนื่องสัปดาห์หน้า คือ การประชุม G-7 จะส่งผลกระทบต่อการกีดกันทางการค้าในวงกว้าง และการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในการประชุม Fed 11-12 มิ.ย. น่าจะหนุน Dollar Index มีทิศทางแข็งค่า กดดันหุ้นน้ำมัน ก่อนที่จะมีการประชุม OPEC 22 มิ.ย. ที่มีโอกาสยกเลิกการควคุมการผลิตน้ำมัน
กีดกันการค้าแรงขึ้น ประชุม G-7 เชื่อเน้นการตอบโต้สหรัฐฯ
ปัจจัยต่างประเทศที่คาดว่ามีน้ำหนักวันนี้ถึงสัปดาห์หน้ามีอย่างน้อย 2-3 ประเด็นคือ
8-9 มิ.ย. มีการประชุมกลุ่มประเทศผู้นำ G7 ประกอบด้วย สหรัฐ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่นและ อังกฤษ ซึ่งน่าจะเน้นไปเรื่องสงครามการค้า หลังจาก 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาสหรัฐ มีท่าที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มประเทศพันธมิตร โดยได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า เหล็กและอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ จาก แคนาดา, เม็กซิโก และยุโรป จากที่เคยยกเว้นบางประเทศก่อนหน้า ทำให้บางประเทศ มีแผนตอบโต้ทางการค้าอาทิ ยุโรป, แคนาดา เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ แต่เป็นที่สังเกตว่า เกือบทุกประเทศมุ่งไปที่สินค้าเกษตร, อาหาร อาทิ ถั่วเหลือง, เนื้อหมู และวิสกี้เบอร์เบิ้น เพื่อกดดันสหรัฐ เนื่องจากเกษตรกรซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของรัฐบาลทรัมป์
12 มิ.ย. สหรัฐจะรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 2.6%yoy เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ที่ขยายตัว 2.5% ตอกย้ำให้การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 12-13 มิ.ย. คาดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสการขึ้นในรอบนี้ 84% และจะขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วงที่หลือของปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2561 จะอยู่ที่ราว 2.25% และน่าจะขึ้น 3 ครั้งในปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ครั้งละ 0.25% ขึ้นไปทำสถิติสูงสุด 3.5% ใกล้เคียงกับ ก.ย. ปี 2547 ก่อนที่จะเกิดปัญหา Sup prime ซึ่งน่าจะหนุน Dollar Index แข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งกดดันน้ำมันดิบโลกชะลอตัว
IFRS9 น่าจะเลื่อนไป 1 ปี แต่แบงก์ส่วนใหญ่เตรียมตัวพร้อมแล้ว
วานนี้หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงแรงในช่วงท้ายตลาด เนื่องจากตลาดน่าจะเกิดความสับสนใน 2 เรื่องคือ การยื่นงบการเงินฉบับเดียวของ SME กับการใช้มาตรฐานการบัญชี IFRS ในปี 2562 ในประเทศไทย
มาตรการจัดทำบัญชีเดียว สำหรับการยื่นเสียภาษีและใช้ประกอบการขอสินเชื่อของ SME ยังมีผลบังคับใช้ตามกำหนดเดิม คือ 1 ม.ค. 2562 กล่าวคือ ผู้ประกอบการ SME จะต้องจัดทำบัญชีชุดหนึ่งเพื่อยื่นภาษีต่อสรรพากร และควรเป็นชุดเดียวกับเมื่อยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จากปัจจุบันอาจจะมีการทำบัญชีหลายฉบับเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดย ธปท. ต้องการให้ SME จัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง โดยนำข้อมูลจากการดำเนินธุรกิจที่แท้จริง โดยเฉพาะรายได้และค่าใช้จ่ายมาทำการวิเคราะห์ เป็นแนวทางในการอนุมัติสินเชื่อ
มาาตรฐานบัญชีบัญชี IFRS 9 ฉบับใหม่ ซึ่ง หลักๆ คือ การรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน และการตั้งสำรองฯ จากการให้กู้ยืมเงินเร็วขึ้น (ต้องตั้งประมาณด้อยค่าตั้งแต่วันแรกที่มีการให้เงินกู้) ซึ่งจะส่งผลให้ ธ.พ. อาจต้องมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น ซึ่ง IFRS9 นี้ ต่างประเทศได้มีการบังคับใช้ไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 ส่วนไทยเดิมจะบังคับใช้ 1 ม.ค. 2562 แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเลื่อนการใช้ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจากสถาบันการเงินภาครัฐส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ธ.พ. ขนาดใหญ่หลายแห่งได้เตรียมพร้อมตั้งสำรองฯ ไว้ล่วงหน้าแล้ว สะท้อนจาก coverage ratio ที่อยู่ในระดับสูง (ดังตารางด้านล่าง) ยกเว้น KTB มี NPL Coverage ratio ณ สิ้นงวด 1Q61 ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะต้องตั้งสำรองฯ เพิ่ม อย่างไรก็ตาม การตั้งสำรองฯ ดังกล่าว ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในปีที่นำมาตรฐานบัญชีใหม่มาใช้ด้วย เพราะหากเศรษฐกิจชะลอตัว ก็กระทบต่อการตั้งสำรองฯ ลูกหนี้ เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ ASPS ได้รวมการสำรองฯ สะท้อนมาตรฐานใหม่ในปี 2561-2562 แล้ว
ส่วนผลกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง จากผลกระทบของ Disruptive Technology คาดว่าจะค่อย ๆ สะท้อนในงบธนาคารในอีก 5 ปีข้างหน้า (เพราะปัจจุบันการโอนเงินผ่านธุรกรรม online คิดเป็นเพียง 30% ของทั้งหมดเท่านั้น) อย่างไรก็ตามผลกระทบน่าจะเบาบางลง หากมีการขึ้นดอกเบี้ยใน 2H61 ตามเงินเฟ้อในประเทศที่ไล่ขึ้นมา ส่งผลดีต่อ spread ดอกเบี้ย ราคาหุ้นธนาคารที่ลงถือเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสม จึงยังแนะนำ BBL(FV@B220), KBANK (FV@B227) และ TCAP(FV@B65)
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในกลุ่ม TIP
แม้วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่า 336 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 252 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไต้หวัน 177 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 17) อินโดนีเซีย 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 76 ล้านเหรียญ หรือ 2.42 พันล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 4) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.13 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 10 วัน มีมูลค่ารวม 1.86 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติยังเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 2.55 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่ารวม 5.88 หมื่นล้านบาท) กดดันให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับตัวลงมาต่ำกว่าสหรัฐฯ โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของไทยอยู่ที่ 2.77%, สหรัฐฯ 2.93%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9835
ปัจจัยต่างประเทศที่คาดว่ามีน้ำหนักวันนี้ถึงสัปดาห์หน้ามีอย่างน้อย 2-3 ประเด็นคือ
8-9 มิ.ย. มีการประชุมกลุ่มประเทศผู้นำ G7 ประกอบด้วย สหรัฐ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่นและ อังกฤษ ซึ่งน่าจะเน้นไปเรื่องสงครามการค้า หลังจาก 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาสหรัฐ มีท่าที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มประเทศพันธมิตร โดยได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า เหล็กและอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ จาก แคนาดา, เม็กซิโก และยุโรป จากที่เคยยกเว้นบางประเทศก่อนหน้า ทำให้บางประเทศ มีแผนตอบโต้ทางการค้าอาทิ ยุโรป, แคนาดา เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ แต่เป็นที่สังเกตว่า เกือบทุกประเทศมุ่งไปที่สินค้าเกษตร, อาหาร อาทิ ถั่วเหลือง, เนื้อหมู และวิสกี้เบอร์เบิ้น เพื่อกดดันสหรัฐ เนื่องจากเกษตรกรซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของรัฐบาลทรัมป์
12 มิ.ย. สหรัฐจะรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 2.6%yoy เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย.ที่ขยายตัว 2.5% ตอกย้ำให้การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 12-13 มิ.ย. คาดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในครั้งนี้ ซึ่งผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาสการขึ้นในรอบนี้ 84% และจะขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้งภายในช่วงที่หลือของปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2561 จะอยู่ที่ราว 2.25% และน่าจะขึ้น 3 ครั้งในปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ครั้งละ 0.25% ขึ้นไปทำสถิติสูงสุด 3.5% ใกล้เคียงกับ ก.ย. ปี 2547 ก่อนที่จะเกิดปัญหา Sup prime ซึ่งน่าจะหนุน Dollar Index แข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งกดดันน้ำมันดิบโลกชะลอตัว
IFRS9 น่าจะเลื่อนไป 1 ปี แต่แบงก์ส่วนใหญ่เตรียมตัวพร้อมแล้ว
วานนี้หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงแรงในช่วงท้ายตลาด เนื่องจากตลาดน่าจะเกิดความสับสนใน 2 เรื่องคือ การยื่นงบการเงินฉบับเดียวของ SME กับการใช้มาตรฐานการบัญชี IFRS ในปี 2562 ในประเทศไทย
มาตรการจัดทำบัญชีเดียว สำหรับการยื่นเสียภาษีและใช้ประกอบการขอสินเชื่อของ SME ยังมีผลบังคับใช้ตามกำหนดเดิม คือ 1 ม.ค. 2562 กล่าวคือ ผู้ประกอบการ SME จะต้องจัดทำบัญชีชุดหนึ่งเพื่อยื่นภาษีต่อสรรพากร และควรเป็นชุดเดียวกับเมื่อยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จากปัจจุบันอาจจะมีการทำบัญชีหลายฉบับเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดย ธปท. ต้องการให้ SME จัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง โดยนำข้อมูลจากการดำเนินธุรกิจที่แท้จริง โดยเฉพาะรายได้และค่าใช้จ่ายมาทำการวิเคราะห์ เป็นแนวทางในการอนุมัติสินเชื่อ
มาาตรฐานบัญชีบัญชี IFRS 9 ฉบับใหม่ ซึ่ง หลักๆ คือ การรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน และการตั้งสำรองฯ จากการให้กู้ยืมเงินเร็วขึ้น (ต้องตั้งประมาณด้อยค่าตั้งแต่วันแรกที่มีการให้เงินกู้) ซึ่งจะส่งผลให้ ธ.พ. อาจต้องมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น ซึ่ง IFRS9 นี้ ต่างประเทศได้มีการบังคับใช้ไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 ส่วนไทยเดิมจะบังคับใช้ 1 ม.ค. 2562 แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเลื่อนการใช้ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจากสถาบันการเงินภาครัฐส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ธ.พ. ขนาดใหญ่หลายแห่งได้เตรียมพร้อมตั้งสำรองฯ ไว้ล่วงหน้าแล้ว สะท้อนจาก coverage ratio ที่อยู่ในระดับสูง (ดังตารางด้านล่าง) ยกเว้น KTB มี NPL Coverage ratio ณ สิ้นงวด 1Q61 ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะต้องตั้งสำรองฯ เพิ่ม อย่างไรก็ตาม การตั้งสำรองฯ ดังกล่าว ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจในปีที่นำมาตรฐานบัญชีใหม่มาใช้ด้วย เพราะหากเศรษฐกิจชะลอตัว ก็กระทบต่อการตั้งสำรองฯ ลูกหนี้ เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารของ ASPS ได้รวมการสำรองฯ สะท้อนมาตรฐานใหม่ในปี 2561-2562 แล้ว
ส่วนผลกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลง จากผลกระทบของ Disruptive Technology คาดว่าจะค่อย ๆ สะท้อนในงบธนาคารในอีก 5 ปีข้างหน้า (เพราะปัจจุบันการโอนเงินผ่านธุรกรรม online คิดเป็นเพียง 30% ของทั้งหมดเท่านั้น) อย่างไรก็ตามผลกระทบน่าจะเบาบางลง หากมีการขึ้นดอกเบี้ยใน 2H61 ตามเงินเฟ้อในประเทศที่ไล่ขึ้นมา ส่งผลดีต่อ spread ดอกเบี้ย ราคาหุ้นธนาคารที่ลงถือเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสม จึงยังแนะนำ BBL(FV@B220), KBANK (FV@B227) และ TCAP(FV@B65)
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในกลุ่ม TIP
แม้วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ด้วยมูลค่า 336 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 252 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไต้หวัน 177 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 17) อินโดนีเซีย 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 76 ล้านเหรียญ หรือ 2.42 พันล้านบาท (ขายสุทธิวันที่ 4) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.13 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 10 วัน มีมูลค่ารวม 1.86 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติยังเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 2.55 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่ารวม 5.88 หมื่นล้านบาท) กดดันให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับตัวลงมาต่ำกว่าสหรัฐฯ โดยล่าสุด Bond Yield 10 ปี ของไทยอยู่ที่ 2.77%, สหรัฐฯ 2.93%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9835