- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 04 June 2018 17:42
- Hits: 983
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีปรับฐาน แต่ยังเหนือ 1700 จุด กดดันจากหุ้นน้ำมัน หลังการร่วมมือคงกำลังการผลิตใกล้สิ้นสุด แต่ได้จะแรงหนุนของหุ้นแบงก์และวัสดุก่อสร้าง เพราะเชื่อว่าเงินเฟ้อที่เร่งตัว หนุนไทยเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใน 4Q61 บวกต่อ Spread ธนาคาร และ การเปิด TOR งานก่อสร้างภาครัฐเริ่มเกิดขึ้น หนุน GDP Growth ปีนี้ขึ้นแตะ 4.4% และสินเชื่อแบงก์ ทำให้เพิ่มน้ำหนักลงทุนเป็น 40% เน้นลงทุนหุ้นธนาคาร (BBL, KBANK) และวัสดุก่อสร้าง (SCC) Top picks SCC(FV@B600), BBL(FV@B220) และ KBANK(FV@277)
ย้อนรอยหุ้นไทยศุกร์ที่ผ่านมา... SET index อ่อนตัว แต่แบงก์ดูดีขึ้น
ดัชนีหุ้นไทยศุกร์ที่ผ่านมาอยู่ในแดนลบทั้งวัน โดยมีแรงกดดันจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ และราคาน้ำมันดิบโลกที่อ่อนตัว ทั้งนี้ SET index ปิดที่ 1,719 จุด ลดลง 7.15 จุด (-0.41%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูง 5.77 หมื่นล้านบาท และเงินเฟ้อเดือน พ.ค. อยู่ที่ 1.49% ทำให้กนง.อาจต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ถือเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มธ.พ. SCB KBANK ขึ้นหนุนตลาด ตามด้วย SCC (+1.35%) KTC (+2.58%) ส่วนกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ ค่อนข้างผันผวน PTT ลดลง 1.44%, PTTGC -2.52%, TOP-5.44% ขณะที่หุ้น SUPER ปิดฟอร์ล 1.04 บาท ท่ามกลางกระแสข่าว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ปฎิเสธข่าวไม่ได้ขายหุ้น
คาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้ คาดว่ายังแกว่งตัวแต่ยังยืนเหนือ 1700 จุด โดยให้น้ำหนักกับแนวโน้มเงินเฟ้อโลก รวมถึงไทย หากมีการขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้ จะช่วยชะลอ fund flow ไหลออก และหุ้นน้ำมันมีโอกาสลงต่อ เพราะโอกาสยกเลิกความร่วมมือคงการผลิตน้ำมันของ OPEC และ รัสเซียใกล้สิ้นสุดลง
อัตราว่างงานสหรัฐ 3.8% ต่ำสุดรอบ 18 ปี หนุนขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐในฝั่งของตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 2.23 แสนรายและมากกว่าตลาดคาดที่ 1.9 แสนราย หนุนให้อัตราการว่างงานในเดียวกัน ลดลงเหลือ 3.8% (ต่ำสุดในรอบ 18 ปี) ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่อยู่ในภาวะจ้างงานเต็มที่ (Full employment) หนุนโอกาส Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ 12-13 มิ.ย. 0.25% ตามคาด และขึ้นอีก 1 ครั้งภายในปีนี้ ขณะที่ปี 2562 และ 2563 มีแผนขึ้น 3 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ ทำให้ดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2561-2563 อยู่ที่ 2.25%, 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ หนุนให้ค่าเงิน Dollar มีแนวโน้มแข็งค่า
ขณะที่ค่าเงินในฝั่งเอเชียคาดว่าเริ่มชะลอการอ่อนค่า เช่น เงินรูเปียะห์อินโดนีเซีย และเงินเปโซฟิลิปปินส์ หลังจากธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 ปี 0.25% เป็น 3.25% ไปเมื่อกลางเดือน พ.ค. และธนาคารกลางอินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 2 ครั้ง ภายในเดือน พ.ค. รวม 0.5% เป็น 4.5% (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี)
ส่วนเงินบาท คาดว่ายังมีแนวโน้มโอกาสอ่อนค่าต่อ เพราะที่ผ่นามาเงินบาทมีทิศทางแข็งค่ากว่าสกุลอื่นๆในภูมิภาค แต่คาดว่าจะเริ่มชะลอการอ่อนค่าเมื่อ กนง. เริ่มส่งสัญญาณการกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวอีกครั้ง ซึ่งน่าจะราว 4Q61 ช่วยชะลอ Fund flow ไหลออก
หุ้นจะเข้า/ออก SET50-SET100 ใน 2H61 เด่นสุด BGRIM และ RATCH
ตามที่ฝ่ายวิจัยฯได้ประเมินเบื้องต้นถึงรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50, SET100 ซึ่งจะเริ่มใช้ช่วงเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2561 (ประกาศผลช่วงกลางเดือน มิ.ย.) และได้นำเสนอ Market Talk ในวันที่ 21 พ.ค. 61 ที่ผ่านมาแล้วนั้น ขณะนี้มีข้อมูลในการคำนวณครบสมบูรณ์ (1 มิ.ย. 2560 - 31 พ.ค. 2561) จึงได้ทบทวนรายชื่อหุ้นที่มีโอกาสถูกนำเข้าและคัดออกจาก SET50, SET100 รอบ 2H61 อีกครั้ง พบว่า รายชื่อหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก เพียงแค่สลับตำแหน่งโอกาสในการเข้าออกตามการเปลี่ยนแปลงของ Market cap โดยสรุปหุ้นที่มีโอกาสเข้า/ออก SET50 5 คู่ และเข้า/ออก SET100 อีก 15 คู่ (ดังตารางด้านล่าง) อย่างไรก็ตามรายชื่อหุ้นที่ได้นี้ยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตลาดฯ เป็นสำคัญ
กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม คือ แนะนำให้ซื้อก่อนเข้าคำนวณจริง ราว 1 เดือน (วันนี้) และขายทำกำไรในวันเข้าคำนวณ (เดือน 2 ก.ค. 61) ในหุ้นที่คาดว่าจะถูกเข้าคำนวณทั้งใน SET50 และ SET100 พร้อมกัน จะมีความเป็นไปได้กว่า 84% ที่ผลตอบแทนเป็นบวก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 7.7%
ขณะที่หุ้นถูกคัดเข้าเฉพาะ SET50 มีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.2% โดยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น 76% แต่จะ ค่อยๆปรับตัวลดลงหลังมีผลบังคับใช้ ตรงกันข้ามหุ้นที่ถูกคัดออก ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลงก่อนวันบังคับใช้ แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นจะค่อยๆ ฟื้นกลับมา ส่วนหุ้นที่ถูกคัดเข้า/ออก SET100 ไม่ค่อยมีนัยฯ มากนัก
กลยุทธ์การลงทุนแนะนำเก็งกำไรในหุ้นที่มีโอกาสถูกเข้าคำนวณทั้งใน SET50 และ SET100 อย่าง BGRIM([email protected]) และ RATCH(FV@B61) โดยซื้อก่อนวันเข้าคำนวณราว 1 เดือน และขายทำกำไรในวันที่เข้าคำนวณ ซึ่งคาดว่า Outperform ตลาดได้ดีในช่วงนี้ดังสถิติในอดีต โดยนักลงทุน(อ่านรายละเอียดอื่นๆ ได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis ฉบับเต็มในวันนี้)
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเล็กน้อย หลังจากขายติดต่อกัน 10 วันทำการ
วันแรกของเดือน มิ.ย. แม้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Pancasila Day” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า หลังจากแรงซื้อขายเข้ามาหนาแน่นตามการปรับน้ำหนักหุ้นเข้า-ออกในดัชนี MSCI เชื่อว่าต่อจากนี้น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 347 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13) ส่วนตลาดหุ้นอีก 3 ประเทศกลับซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 602 ล้านเหรียญ (ซื้อเป็นวันที่ 2), ไต้หวัน 73 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 4 ล้านเหรียญ หรือ 135 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 10 วัน มีมูลค่ารวม 3.92 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันซื้อสุทธิ 466 ล้านบาท
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติยังเดินหน้าซื้อสุทธิ 3.65 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 มีมูลค่ารวม 2.39 หมื่นล้านบาท) กดดัน Bond Yield 10 ปีของไทย ย่อตัวลงเล็กน้อย ล่าสุดอยู่ที่ 2.81%
กลยุทธ์เพิ่มหุ้นแบงก์: BBL, KBANK, SCC แต่ลด: PTT, PTTEP
นับตั้งแต่ต้นปี SET Index ปรับลดลง 1.9%ytd เมื่อพิจารณาเป็นราย sector พบว่ากลุ่มฯ ที่มี market cap ใหญ่ที่กดดันตลาดฯ มากสุด คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (market cap. 12.6% ของทั้งตลาดฯ) ลดลงถึง 9.7%ytd จากความกังวลเรื่องการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ธุรกรรมการโอนเงินและชำระเงินผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ 2Q61 เป็นต้นไป กดดันกำไรสุทธิรวมปีนี้เติบโตไม่โดดเด่น
ตามด้วย กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (market cap. 4.8% ของทั้งตลาดฯ) ลดลง 7.9%ytd หลักๆ มาจาก SCC ที่ผลการดำเนินงาน 1Q61 ออกมาต่ำกว่าคาด ขณะที่ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างยังซบเซา
ขณะที่กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (market cap. 1% ของทั้งตลาดฯ) ลดลงถึง 11%ytd เนื่องจากการเปิดประมูลโครงการภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้ความน่าสนใจของกลุ่มฯ ลดลง
ตรงข้ามกับ กลุ่มพลังงาน (market cap. 22.4% ของทั้งตลาดฯ) เพิ่มขึ้น 4.6%ytd เนื่องจากผลการดำเนินงาน 1Q61 ออกมาดีกว่าคาด เพราะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากนี้ ภาพรวมของ SET Index จะกลับทิศทาง กล่าวคือ กลุ่มพลังงาน จะไม่ได้นำตลาดอีกต่อไป เพราะการประชุม OPEC วันที่ 22 มิ.ย. นี้ มีความเป็นไปได้ที่ OPEC จะกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เพื่อชดเชยส่วนที่หายไปจากอิหร่านและเวเนซูเอล่า รวมทั้งกำลังการผลิตของสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะจำกัดการขึ้นของราคาน้ำมัน
ตรงข้ามกับกลุ่มที่ underperform ทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้หลังจากนี้ คือ
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่จะได้รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาชดเชยผลกระทบรายได้ค่าธรรมเนียม จากเศรษฐกิจที่เติบโตดีกว่าคาดส่งผลบวกต่อการเติบโตของสินเชื่อปีนี้ รวมทั้งแนวโน้มเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจนอาจแตะ 2% ช่วงเดือน ก.ย. ทำให้ความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วง 4Q61 ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่ม ธ.พ.
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และ รับเหมาก่อสร้าง ที่ได้ sentiment เชิงบวกจากความคืบหน้างานประมูลภาครัฐ โดยเฉพาะทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 3 ที่น่าจะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนโครงการอื่นๆ จะทยอยตามมาในครึ่งปีหลัง ทำให้ทั้ง 2 กลุ่มฯ นี้ เริ่มกลับมาเป็นที่น่าสนใจอีกครั้ง
แม้ว่า market cap. ของ 3 กลุ่ม (ธ.พ.+วัสดุฯ+รับเหมาฯ) คิดเป็น 18.4% ของ market cap. ทั้งตลาด ใกล้เคียงกับ market cap. ของกลุ่มพลังงาน (22.4%) อาจทำให้ SET Index ขยับไปได้ไม่มาก แต่ในแง่ของ Valuation ตลาดหุ้นไทยที่ปรับฐานจนมี Expected P/E ที่ 15.6 เท่า ดัชนีเป้าหมายอิง P/E 16.5 เท่า ได้ที่ 1815 จุด เทียบกับดัชนีปัจจุบัน มี upside ราว 5.5% ดังนั้น ที่บริเวณใกล้ 1700 จุด จึงถือเป็นโอกาสดีในการเข้าลงทุน โดยเมื่อวันศุกร์ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 40% จากเดิม 30% ให้เน้นไปที่หุ้น Domestic Play คือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (CK, ITD) วัสดุก่อสร้าง (SCC) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (BBL, KBANK, TCAP) และยังชอบหุ้น Laggard ในกลุ่มพลังงาน BANPU([email protected])ราคาหุ้นยัง laggard เมื่อ เทียบกับหุ้นน้ำมันที่ราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2561 ทั้ง PTT, PTTEP
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9583