- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 01 June 2018 17:15
- Hits: 1226
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แรงขายต่างชาติ และการกีดกันการค้าโลกยังกดดัชนีฯ วันนี้รอดูเงินเฟ้อไทยเดือน พ.ค.หากใกล้ เคียง ASPS คาด 1.4% โอกาสเห็นเงินเฟ้อที่ 2% ใน 3Q61 จะสูงขึ้น กดดัน กนง.ขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มแบงก์ หนุน Spread ชดเชยรายได้ non-interest income ที่ลดลง คาดดัชนียืนเหนือ 1700 จุด มี P/E 15.5 เท่า กลยุทธ์เน้นหุ้น Domestic Play และกลุ่ม underperform ตลาด...ธนาคาร รับเหมาก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง Top picks SCC(FV@B600), BBL(FV@B220) และเพิ่ม BANPU([email protected]) ราคาหุ้น laggard เทียบกับหุ้นน้ำมัน
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้... หุ้นพลังงานหนุน SET index ฟื้นตัว
วานนี้ SET index ฟื้นตัว โดยระหว่างวันบวกขึ้นไปเกือบ 10 จุด ก่อนจะปิดที่ 1,726.97 จุด เพิ่มขึ้น 1.83 จุด (+0.11%) ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 9.99 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากดัชนี MSCI มีการปรับหุ้นเข้า-ออก ทั้งนี้หุ้นหนุนดัชนีส่วนใหญ่เป็นหุ้นใหญ่กลุ่มพลังงาน PTT(+1.46%), PTTEP(+1.51%), EGCO(+2.99%) และรายตัว AOT, BDMS ตรงข้ามยังมีแรงขายกลุ่มธ.พ. และยังมีแรงกดดันจากหุ้น KTC ปรับตัวลงท้ายตลาด ปิดที่ 349 บาท ลดลงราว 4.65% ็น
คาดดัชนีหุ้นไทยยังคงอ่อนตัวตามปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะสงครามการค้าจีน-สหรัฐ และ ราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัวกดดันหุ้น PTT, PTTEP ส่วนในประเทศกระทรวงพาณิชย์ประกาศเงินเฟ้อเดือน พ.ค. วันนี้ คาดว่าจะสูง 1.4% ซึ่งน่าจะกดดันให้ กนง. ต้องเริ่มใช้นโยบายการเงินตึงตัว
สหรัฐฯขึ้นภาษี สวนทางจีนลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค
ขณะที่การตอบโต้การค้า ผ่านการขึ้นภาษีนำเข้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ยังไม่มีข้อสรุป (รอผลการประกาศรายชื่อสินค้าที่จะเก็บภาษีขึ้น 15 มิ.ย. นี้) แต่ดูเหมือนจีนจะมีท่าทีผ่อนปรนลงโดยการประกาศลดภาษีนำเข้าจากทั่วโลก 2 รอบ กว่า 10 รายการ คือ ครั้งแรกเมื่อ 22 พ.ค. 2561 จีนลดภาษีนำเข้ารถยนต์ทั่วโลก ครั้งแรกในรอบ 10 ปี เหลือ 15% จากเดิม 25% และลดภาษีชิ้นส่วนยานยนต์เหลือ 6% จากเดิม 10% และ ล่าสุดวานนี้ ปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค หลักๆ เพิ่ม อาทิ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ในครัวเรือน, อาหารแปรรูป และ เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและสุขภาพ เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1ก.ค. 2561
ตรงข้ามกับ สหรัฐยังมีท่าที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มประเทศพันธมิตร โดยวานนี้ สหรัฐ ได้ประกาศยกเลิก การละเว้น ไม่เก็บภาษีนำเข้า เหล็กและอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ จาก แคนาดา, เม็กซิโก และยุโรป จากที่เคยยกเว้น เมื่อปลายมี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ สหรัฐประกาศขึ้นภาษีกับทุกประเทศที่เข้าข่ายสร้างความสั่นคลอนทางเศรษฐกิจให้กับสหรัฐ ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีใช้ มาตรา 232 ภายใต้กฎหมาย Trade Expansion Act ในการลดหรือจำกัดการนำเข้าสินค้าที่มีปริมาณสูง จนอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงได้
อย่างไรก็ตามการตอบโต้ทางการค้าจากบางประเทศน่าจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะยุโรปจะขึ้นภาษี มอเตอร์ไซค์ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน, กางเกงยีนส์ ลีวายส์ และ วิสกี้ เบอร์เบิ้น ของสหรัฐ มูลค่าราว 3.3 พันเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบริษัทไทยน่าจะได้ประโยชน์จากจีนลดภาษีนำเข้าคือ
กลุ่มค้าปลีก โดยหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ อาทิ BEAUTY(FV@B21) มียอดขายจากต่างประเทศ 10%ของรายได้รวม และ 90%ส่งออกไปตลาดจีน DDD (ฝ่ายวิจัยไม่ได้ศึกษา) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งมียอดขายไทย 70 % และต่างประเทศ 30% ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการขายไปตลาดจีน และมีสินค้าหลักคือผลิตภัณฑ์บำรุงหน้า (78% ของยอดขาย)
กลุ่มเกษตรและอาหาร คาดว่าผู้ประกอบรายย่อยจะได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด เนื่องจาก CPF(FV@B30) มีรายได้ที่มาจากส่งออกไปตลาดจีนน้อยมาก (รายได้จากการส่งออกราว 5% ของรายได้รวม) หลักๆ กุ้งส่งออกไปญี่ปุ่นราว 50% ของตลาดส่งออกรวม รองลงมาคือ สหรัฐ 35% และยุโรป 15% เช่นเดียวกับ TU(FV@B21) มีรายได้ที่มาจากส่งออกทูน่าไปตลาดจีนเพียง 1% หลักๆพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐมากสุดราว 16%ของตลาดส่งออกรวม รองลงมาคือ ยุโรป 7% และอื่นๆ 15%
หุ้นน้ำมันจะปรับฐานอีกครั้ง หลังสต็อกน้ำมันเพิ่มกว่าคาด
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลงอีกครั้งที่ 3.66 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 4 แสนบาร์เรล) ผลจากการนำเข้าน้ำมันลดลง 5.28 แสนบาร์เรล/วัน ประกอบกับ Dollar index ที่แข็งค่า แม้อ่อนตัวในช่วงสั้น (แข็งค่าราว 5.1%นับตั้งแต่จุดต่ำสุด กลางเดือน เม.ย.)
ภาพรวมเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบโลกน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 70 เหรียญฯ (ราคาน้ำมันเฉลี่ย ytd 66 เหรียญฯ) โดยคาดยังถูกกดดันจากปัญหา Oversupply ในสหรัฐยังมีอยู่สะท้อนจากหลุมขุดเจาะยังทรงตัวที่ 854 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐ ล่าสุด ขึ้นมาที่ 10.77 ล้านบาร์เรล/วัน จาก 10.725 ล้านบาร์เรล/วัน ในสัปดาห์ที่แล้ว (อันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย) และตั้งเป้า 11ล้านบาร์เรลฯ ปลายปีนี้
ยังคงแนะนำให้ลดน้ำหนักหุ้นน้ำมันทุกตัว หลังจากก่อนหน้าได้ปรับลดคำแนะนำ PTTEP(FV@B137) ไปเมื่อ 28 ก.พ. 2561 และ PTT(FV@B54) เมื่อวันที่ 26 เม.ย. และให้ลงทุน BANPU([email protected]) ซึ่งยังมี upside มากกว่า
คาดเงินเฟ้อ พ.ค.แตะ 1.4% เร่ง กนง. ขึ้นดอกเบี้ยใน 4Q61
วันนี้กระทรวงพาณิชย์น่าจะประกาศเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 2561 ซึ่ง ASPS คาดว่าจะขยับจาก 1.07% ในเดือน เม.ย. ขึ้นมา 1.4% ในเดือน พ.ค. และน่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วง 2H61 โดยน่าจะแตะที่ 2% ในเดือน ก.ย. 2561 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเงินบาทยังอ่อนค่าไปแตะ 32.5 บาท และน่าจะแตะ 33 บาท สิ้นปีนี้ ซึ่งทำให้ กนง.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย ในช่วง 4Q61 โดยคาดว่าจะนี้ 1 ครั้ง ราว 0.25% ซึ่ง เป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี
ทั้งนี้ถือว่าไทยขึ้นดอกเบี้ยล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้นำล่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนหน้าคือ หากนับตั้งแต่ต้นปี เริ่มจาก มาเลเซีย ขึ้น 0.25% ครั้งแรกในรอบ 3 ปี และ กลางเดือน พ.ค. ฟิลิปปินส์ ขึ้นดอกเบี้ยฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี 0.25% เป็น 3.25% และ ล่าสุดคือ อินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 นโยบายติดต่อกัน 2 ครั้ง ภายในเดือน พ.ค.
เดือน มิ.ย. ต่างชาติยังมีโอกาสขายหุ้นไทยต่อ
วานนี้ MSCI มีการปรับน้ำหนักหุ้นเข้า-ออกในดัชนี ส่งผลให้มีแรงซื้อขายจากต่างชาติเข้ามาหนาแน่นในช่วงท้ายตลาด โดยภาพรวมแม้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 799 ล้านเหรียญ (หลังจากขายติดต่อกัน 3 วัน) แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียงประเทศเดียว คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิสูงถึง 1097 ล้านเหรียญ สาเหตุหนึ่งเกิดจากมีหุ้นถูกเข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard ถึง 5 บริษัท (สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 34 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน 15 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 245 ล้านเหรียญ หรือ 7.86 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 9 วัน มีมูลค่ารวม 4.91 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 5.41 พันล้านบาท
สรุป Fund Flow เดือน พ.ค.61 หลากหลายปัจจัยภายนอกรุมเร้า ทั้งประเด็น Italexit และ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯที่พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 4 ปี กดดันให้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นทุกแห่งในภูมิภาคกว่า 4.5 พันล้านเหรียญ โดยเฉพาะไทยที่ถูกขายสุทธิมากที่สุด 1.62 พันล้านเหรียญ หรือ 5.18 หมื่นล้านบาท
ส่วนแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน มิ.ย. ยังมีประเด็นกดดันจากการเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ทั้งสหรัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านเริ่มทยอยปรับดอกเบี้ยขึ้นในเดือน พ.ค. เช่น อินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 2 ครั้ง และฟิลิปปินส์ 1 ครั้ง อืกทั้งยังมีความเสี่ยงจากประเด็นสงครามการค้า และการขึ้นภาษีของสหรัฐ กดดันให้ Fund Flow มีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 5 ปี ที่ต่างชาติมักขายสุทธิเฉลี่ยหุ้นไทยในเดือนนี้ราว 9.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ SET Index ตลอดทั้งเดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 0.15% เท่านั้น
SET Index ใกล้หลุด 1700 จุด ให้เพิ่มน้ำหนักลงทุนเป็น 40% จาก 30% ของพอร์ต
ตลาดหุ้นไทยปรับฐานจากบริเวณ 1800 จุด เมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย. มาอยู่ที่ 1727 จุด ณ สิ้นเดือน พ.ค. เป็นการลดลงถึง 4% การปรับฐานดังกล่าว สะท้อนถึงปัจจัยเชิงลบเฉพาะตัวที่เกิดขึ้นกับบางกลุ่มฯ ได้แก่
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ราคาหุ้นปรับฐานลงสะท้อนถึงการลดลงของค่าธรรมเนียมฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมรายย่อยประเภทการโอนเงินและชำระเงินผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ปี 2561 คาดหดตัวเล็กน้อยจากปี 2560 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้ค่าธรรมเนียมฯ จะค่อยๆ ชะลอตัวลงตั้งแต่ 2Q61 เป็นต้นไป ไม่ได้เป็นการลดลงแบบรุนแรง ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยน่าจะช่วยชดเชยผลกระทบไปได้ส่วนหนึ่งเพราะ เศรษฐกิจที่เติบโตดีกว่าคาด หนุน การเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งแนวโน้มเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น อาจจะนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหนุน Spread จึงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนขึ้นเป็น เท่ากับตลาด จากเดิม น้อยกว่าตลาด
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ปรับตัวลดลงจากการเปิดประมูลโครงการภาครัฐที่ล่าช้า เหตุเพราะ พรบ. จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ที่มีความยุ่งยากในระบบราชการ และการปรับรูปแบบให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่ดีเพราะมี Backlog จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นความคืบหน้างานประมูลภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 3 ที่น่าจะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนโครงการอื่นๆ จะทยอยตามมาในครึ่งปีหลัง ทำให้กลุ่มฯ นี้ เริ่มกลับมาเป็นที่น่าสนใจอีกครั้ง
กลุ่มพลังงาน ผลการดำเนินงานออกมาดีกว่าคาด เพราะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น แต่ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นแรงกว่าสมมติฐานน้ำมันที่ 65 เหรียญฯ ซึ่งอาจจะทำให้กำไรปี 2561 ดีกว่าคาด จากสต็อกน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามราคาราคาหุ้นน้ำมันส่วนใหญ่มี upside จำกัด ทั้ง PTT, PTTEP
กลุ่ม ICT ราคาหุ้นช่วงที่ผ่านมาสะท้อนถึงการแข่งขันที่รุนแรง และต้นทุนค่าใบอนุญาตที่สูงไปมากแล้ว จากนี้เชื่อว่าแม้การแข่งขันยังมีอยู่ แต่ต้นทุนจะไม่เพิ่มเร็วเหมือนช่วงที่ผ่านมา
ฝ่ายวิจัยประเมิน EPS ปี 2561 ที่ราว 110 บาท คำนวณดัชนีเป้าหมายอิง P/E 16.5 เท่า ได้ที่ 1815 จุด เทียบกับดัชนีปัจจุบัน มี upside ราว 5% ดังนั้นหากดัชนีหุ้นไทยเริ่มปรับฐานใกล้เคียง หรือ หลุด 1700 จุด หรือเทียบเท่าดัชนีที่ P/E 15-15.5 เท่า แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนจากปัจจุบันที่ 30% เป็น 40% โดยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ upderrform ตลาด คือ
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (CK, ITD, STEC) และ วัสดุก่อสร้าง (ส่วนใหญ่คือ SCC) ถือว่า underperfrom 2 ปีติดต่อกัน (ปี 2560 และ ytd) กว่า 25% เทียบกับดัชนีบวก 12% ตามมาด้วย
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (BBL, KBAN, TCAP) ปีนี้ underperform ตลาด แต่ปี 2560 ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาด
กลุ่มพลังงาน เลือกหุ้นที่ยัง laggard BANPU([email protected]) ราคาหุ้นยัง laggard เมื่อ เทียบกับหุ้นน้ำมันที่ราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2561 ทั้ง PTT, PTTEP
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9524