WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
 
กลยุทธ์การลงทุน
          คาดดัชนีฯแกว่งตัวลงในกรอบ  1725-1750 จุด เชื่อมีแรงขาย PTTEP และ PTT  หลังราคามันโลกร่วง 4%  กังวลปริมาณผลิตน้ำมันโลกเพิ่ม หลังโอเปคเตรียมเพิ่มกำลังผลิต ตามด้วย.เงินเฟ้อโลกที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนน้ำมัน หนุนดอกเบี้ยโลกเข้าสู่ขาขึ้นชัดเจน ผลักดัน Fund Flow ไหลจากประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่การเมืองในประเทศมีผลต่อดัชนีมากขึ้นเน้นลงทุนหุ้นปลอดภัย Domestic Play มี P/E ต่ำ + เงินปันผลสูง คือ SCC (FV@B 600)  BCH ([email protected]) หลุมหลบภัย
ย้อนรอยหุ้นไทยวันศุกร์…..กลุ่มพลังงานฉุดตลาด กลุ่มรับเหมาหนุนตลาด  
          วันศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวัน โดยระหว่างวันดัชนีฯ ลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1,725 จุด ก่อนจะฟื้นขึ้นมาปิดบวก 1741.21 จุด เพิ่ม 8.70 จุด จากแรงหนุนของหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นหลัก มูลค่าการซื้อขาย 5.48 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มพลังงาน PTT มีแรงรีบาวด์กลับขึ้นมา 2.45% หลังจากถูกแรงขายกดดันมาตลอดสัปดาห์ ตามด้วย TOP +2.91% ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ของ ธ.พ. ปรับตัวขึ้นทิศทางเดียวกัน ส่วนหุ้นกลุ่มรับเหมาฯ (CK ITD STEC) ปรับตัวขึ้นโดดเด่นยกกลุ่มรับกระแสโครงการก่อสร้างภาครัฐเดินหน้าเต็มที่ ตรงข้ามกับหุ้นค้าปลีกอย่าง BEAUTY  ปิดที่ 17.30 (-9.42%) ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงสุดในรอบ 6 เดือน
          คาด SET Index ยังแกร่วตัวในกรอบแนวรับ  1,725 จุด แนวต้าน 1,750 จุด โดยให้น้ำหนักกับทิศทางราคาน้ำมันมีโอกาสลดลงต่ำกว่า 70 เหรียญฯ เงินเฟ้อโลกที่เพิ่มขึ้นและปัญหาเมืองในประเทศและต่างประเทศ ที่มีผลต่อภาวะการลงทุน
ราคาน้ำมันดูไบอาจหลุด 70 เหรียญฯ หากยกเลิกคุมการผลิตน้ำมัน  
          ราคาน้ำมันดิบโลกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับลดลงเฉลี่ยราว 4%จากวันก่อนหน้า  และมีแนวโน้มที่จะลงต่อในวันนี้  ทั้งนี้เป็นผลจาก
          ความกังวล Supply น้ำมันดิบในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น  จากก่อนหน้าที่มีการควบคุมการผลิต  โดยกลุ่ม OPEC และรัสเซีย ตกลงร่วมกันปรับลดกำลังการผลิตตั้งแต่  พ.ย. 2559 แต่ล่าสุดคาด จะกลับมาเดินหน้าผลิต เพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่จะหายไปของ 2 ประเทศในกลุ่ม OPEC ที่ถูกสหรัฐคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ คืออิหร่านผลิตวันละ 3.75 ล้านบาร์เรล ราว 11.7%ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC  ทั้งหมด แต่ส่งออกวันละ 2.5 ล้านบาร์เรล    และเวเนซุเอลาผลิต 1.55 ล้านบาร์เรลหรือ 4.3% ส่งออกวันละ 1.19 ล้านบาร์เรล 
          ในอดีต สหรัฐยังนำเข้าน้ำมันสูงราว 15.3 ล้านบาร์เรล/วัน    (ผลิตในประเทศราว  5.4 ล้านบาร์เรล/วัน   แต่บริโภคน้ำมัน 20.7 ล้านบาร์เรล/วัน) แต่ปัจจุบันสหรัฐเข้าลดลงเหลือวันละ  9 ล้านบาร์เรลฯ เพราะสามารถผลิตน้ำมันดิบได้วันละ  10.73  ล้านบาร์เรล  มากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้  แต่ยังบริโภคน้ำมัน 19.8 ล้านบาร์เรล (ดังรูป)
          Dollar index  ปัจจุบัน มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว หรือแข็งค่าราว  5.1% นับตั้งแต่จุดต่ำสุด กลางดือน เม.ย.   ยังกดดันกรอบการเคลื่อนไหวราคาน้ำมันดิบโลก 
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันคาดว่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี ytd 66 เหรียญฯ ยังคงแนะนำ Switch  หุ้นน้ำมันทุกตัว หลังจากก่อนหน้าได้ปรับลดคำแนะนำ  PTTEP(FV@B137) ไปเมื่อ 28 ก.พ. 2561 และ PTT(FV@B54) เมื่อวันที่ 26 เม.ย.   แนะนำให้ Switch ไป BANPU([email protected]) ยังมี upside มากกว่า
รัฐบาลใหม่อิตาลี เพิ่มความเสี่ยงต่อการออกจากยุโรปมากขึ้น  
          ประเด็นทางการเมืองโลกดูจะมีน้ำหนักกดดันตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดการจัดตั้งรัฐบาลใน อิตาลียังคงยืดเยื้อ เพราะนับตั้งแต่วันเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 4 มี.ค. จนกระทั่งวันที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา เพิ่งได้ตัวนายกรัฐมนตรีคนกลาง  เพราะผลการเลือกตั้ง  ไม่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงเกินกว่า 40% จึงต้องตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งแต่ละพรรคมีแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกัน การเจรจาจึงใช้เวลามาก ท้ายที่สุดแล้ว พรรคที่ได้คะแนนลำดับที่ 1 คือ พรรค 5-Star Movement (M5S) (เน้นนโยบายประชานิยม และมีแนวคิดแยกตัวจากสหภาพยุโรป) ได้เจรจาร่วมมือกับพรรคที่ได้คะแนนลำดับที่ 3 คือ พรรค Northern League (พรรคการเมืองขวาจัด-ต่อต้านผู้อพยพ) จัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ แต่เนื่องจากมีแนวคิดทางการเมืองที่ต่างกัน ประธานาธิบดีอิตาลี จึงแต่งตั้งนายกฯ คนกลางขึ้นมาดังกล่าวข้างต้น
          อย่างไรก็ตาม มีปัญหาใหม่เกิดขึ้น เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกฯ อิตาลี ได้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีใหม่ แต่ประธานาธิบดีได้คัดค้านบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวคิดคัดค้านการใช้เงินยูโรเพียงสกุลเดียว เหตุดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการเลือกตั้งใหม่ และการมีการถอดถอนประธานาธิบดีด้วย
          เหตุการณ์ดังกล่าว ตอกย้ำถึงแนวคิดการถอนตัวจากสหภาพยุโรป และทำให้ความกังวลเรื่อง ITALEXIT กลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของอิตาลียังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะภาระหนี้สินต่างประเทศที่เป็น Sovereign Bonds สูงถึง 3.5 แสนล้านยูโร อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระมัดระวังปัญหาหนี้ยุโรปอีกครั้ง
เงินเฟ้อโลกเพิ่ม ตามตันทุนน้ำมัน หนุนดอกเบี้ยสู่ขาขึ้นชัดเจน  
          สัปดาห์นี้ให้น้ำหนักการรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.  ของทั่วโลก  เริ่มจาก  ยุโรป  จะรายงาน 31 พ.ค. นี้ ซึ่งตลาดคาดเพิ่มขึ้น  1.6%yoy จาก 1.2% ในเดือน เม.ย. ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% โดยยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสใช้นโยบายการเงินตึงตัว  ภายหลังหลังมาตรการ QE สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561  แต่การขึ้นดอกเบี้ยน่าจะช้ากว่า เนื่องจากประเทศสมาชิกยุโรปบางประเทศ PIIGS  เศรษฐกิจยังฟื้นตัวล่าช้า   โดยเฉพาะปัญหา Italexit ของ  ของอิตาลีที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา 
          และ ไทย คาด กระทรวงพาณิชย์จะรายงานอัตราเงินเฟ้องวด เดือน พ.ค.  วันที่ 1 มิ.ย.  ทาง ASPS  คาดเงินเฟ้อมีแนวโน้มขึ้นไปแตะบริเวณ 1% จาก 1.07%yoy เมื่อเดือน เม.ย. และน่าจะค่อยๆขยับขึ้นจนถึงราว 2% ในเดือน ก.ย.   เนื่องจากราคาน้ำมันที่เกิน 70 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล  ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานราคาน้ำดิบที่กำหนดไว้ราว 65 เหรียญ และเงินบาทกลับมาอยู่ในทิศทางอ่อนค่า อาจกดดัน กนง. ต้องทบทวนการใช้นโยบายการเงินอ่อนตัว โดยน่าจะมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะเป็นช่วง 4Q61 ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น
ต่างชาติเดินหน้าขายหุ้นไทย มากสุดในภูมิภาค
          วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 340 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะ 2 ประเทศเดิม คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 389 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 55 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 21 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยขายสุทธิมากสุดในภูมิภาคกว่า 83 ล้านเหรียญ หรือ 2.66 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 7 วัน มีมูลค่ารวม 2.41 หมื่นล้านบาท)  สวนทาง สถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.40 พันล้านบาท
          ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 อีก 6.60 พันล้านบาท เนื่องจากหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาดหุ้น และให้น้ำหนักกับสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงผลตอบแทน Bond Yield 10 ปี ของไทยที่จูงใจมากขึ้น โดยยืนอยู่ในระดับ 2.85% แต่ยังมีค่าน้อยกว่า Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่ 2.93% ทำให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกอีก
กลยุทธ์การลงทุน พักเงินในหุ้นปลอดภัย
          ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับฐานลงต่อ จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบโลก ตามที่กล่าวข้างต้น  ถัดมา แม้ระดับ PER ของไทยถูกลง 15.86 เท่า เทียบกับภูมิภาค อินโดนีเซีย 15.41 เท่า  ฟิลิปปินส์ 17.40 เท่า มาเลเซีย 16.20 เท่า เวียดนาม 16.22 เท่า และเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว Dow Jones 16.30 เท่า S&P500 17.14 เท่า โซนยุโรป 13.32-14.92 ท่า และญี่ปุ่น 16.31 เท่า แต่ยังไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนมากนัก ตราบที่ Fund Flow ยังไม่ไหลกลับเข้ามาอย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากส่วนต่างของผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ 
          และปัญหาการเมืองในประเทศ โดยเฉพาะวันที่ 30 พ.ค. นี้ ซึ่งศาลฯ จะนัดลงมติ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผลออกมาว่าไม่ขัดฯ คาดจะเกิดการเลือกตั้งได้ไม่เกินเดือน พ.ค.2562 แต่ผลออกมาในทางตรงกันข้าม จะยิ่งเป็นผลกดดันตลาดในเชิงลบ ขณะเดียวกันการเมืองต่างประเทศที่เริ่มส่อเค้าลุกลาม นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีน้ำหนักกดดันต่อดัชนี จากนี้มากยิ่งขึ้น 
          กลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้น PER ต่ำ - ปันผลสูง อาทิ SCC(Buy:FV@B600) คาดกำไร 2Q61 จะฟื้นตัว หนุนด้วยธุรกิจปิโตรเคมี และธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จากการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเงินปันผลจากธุรกิจลงทุน และ LH (Buy: [email protected]) ยอด Presale ยังจะคงสูงขึ้นจากการเปิดคอนโดฯ ใหม่ บวกกับการขายอพาร์ทเม้นท์สหรัฐ 1 แห่ง หนุนกำไรพิเศษปีนี้ และปันผลที่สูงถึง 7.3% (ราว 0.8 บาท)
          และหุ้นปลอดภัยที่มีความผันผวนต่ำ อย่างหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล BCH (Buy: [email protected]) แรงหนุนจากผู้ป่วยจีนที่กลับมาใช้บริการ World Medical หลังชะลอตัวใน 1Q61 ซึ่งตรงกับเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ การเปิดและขยายโรงพยาบาลใหม่รองรับฐานผู้ป่วยที่รักษาโรคยากใน Excellent Center ช่วยหนุนให้ทั้งรายได้และอัตรากำไรเพิ่มขึ้น
 
นักวิเคราะห์ : 
          ภรณี ทองเย็น    เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
          เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม     เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
          พบชัย ภัทราวิชญ์    เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
          ภราดร เตียรณปราโมทย์     เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
          ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์    เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
          โยธิน ภูคงนิล     ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
          วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร     ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9328

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!