- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 24 May 2018 17:33
- Hits: 678
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การเลือกตั้งของไทยน่าจะเกิดขึ้นได้ในเดือน พ.ค.2562 แต่หนุนตลาดได้เล็กน้อย โดยถูกหักล้างจากแรงเทขายของต่างชาติ ทำให้ SET Index จะยังแกว่งในกรอบ 1744-1760 จุด กลยุทธ์ Domestic Play เน้นหุ้น laggards ในกลุ่มรับเหมาฯ (CK, ITD, SEAFCO) และวัสดุก่อสร้าง (SCC, TPIPL) หลังเริ่มเห็นงานประมูลภาครัฐออกมา โดยเฉพาะทางด่วนดาวคะนอง-พระราม3 Top picks เลือก ITD ([email protected]), CK (FV@B34) และ SCC (FV@B600)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. คลายกังวลการเมือง แต่หุ้นพลังงานยังร่วง
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย แกว่งสลับบวกลบก่อนจะปิดที่ระดับ 1,753.60 จุด ลดลง 7.11 จุด (-0.40%) มูลค่าการซื้อขาย 6.42 หมื่นล้านบาท ภาพรวมของดัชนีฯ แกว่งทรงตัวตลอดวันหลังตลาดคลายกังวลหลังทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่มาของ ส.ว. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามคำสั่งวินิจฉัยร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 30 พ.ค. นี้ด้วย ส่วนรายอุตสาหกรรมมีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ยังเผชิญกับแรงขายต่อเนื่อง PTT(-3.17%) PTTEP(-3.34%) กดดันดัชนีฯ ร่วงเกือบ 7 จุด ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม ธ.พ. ย่อตัวลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มบันเทิงตอบรับประเด็นบวก หลัง คสช.ประกาศใช้ม.44 ช่วยทีวีดิจิทัลพักชำระค่าใบอนุญาต 3 ปี และสนับสนุนค่า MUX 50% อีก 2 ปี และกลุ่ม ร.พ. กลับมาฟื้นตัวเด่นสวนตลาดฯ
คาด SET Index ยังคงแกว่งผันผวน แนวรับ 1,744 จุด แนวต้าน 1,760 จุด โดยให้น้ำหนักไปที่ประเด็นการเมือง และการกีดกันการค้าสหรัฐ
การกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ยังกดดันการค้าโลก
แม้สงครามการค้าสหรัฐ– จีนยังไม่ได้ข้อสรุป โดยสหรัฐได้เลื่อนกำหนดการขึ้นภาษีนำเข้าออกไปชั่วคราว แม้จีนได้ประกาศลดภาษีนำเข้ารถยนต์ลงจากเดิม 25% เหลือ 15% และภาษีชิ้นส่วนยานยนต์เหลือ 6% จากเดิม 10% มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2561
แต่ดูเหมือนว่าท่าทีสหรัฐยังคงเดินหน้าแข็งกร้าวลดการขาดดุลการค้ากับทั่วโลก สะท้อนจาก เมื่อวานนี้สหรัฐเตรียมพิจารณาขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จากทั่วโลก 25% (จากเดิม 1.5%) พิจารณาภายใต้ข้อกฎหมาย 232 เดียวกับกรณีขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมในช่วง เดือน มี.ค.2561
ทั้งนี้เนื่องจากรถยนต์เป็นสินค้านำเข้าอันดับ 1 ที่สหรัฐนำเข้าจากทั่วโลก (ประมาณ 7.3% ของสินค้านำเข้าทั้งหมด) และคาดว่ามาตรการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ของสหรัฐน่าจะกระทบต่อแคนาดา ราว 26% ของการนำเข้ารถยนต์ที่สหรัฐนำเข้าจากโลก รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 22% , เม็กซิโกราว 14% เยอรมนี 14%, เกาหลีใต้ 8.9%, อังกฤษ 5.1%, อิตาลี 2.7% เป็นต้น ขณะที่ไทย ราว 0.16%)
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในส่วนของไทย พบว่า ไทยส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนราว 1.01 หมื่นล้านเหรียญหรือ 12.35% ของสินค้าส่งออกของไทยไปทั่วโลก (สินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง) และส่งออกไปตลาดสหรัญราว 3.14% ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด แต่อย่างไรตามน่าจะหักล้างได้จากการที่จีนลดภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนฯ ดังที่รายงานไปวานนี้
สต็อกน้ำมันดิบกลับเพิ่ม สวนทางตลาดคาดจะลด
สต็อกน้ำมันดิบล่าสุด พลิกมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่ 5.77 ล้านบาร์เรล ขณะที่ตลาดคาดลด 1.5 ล้านบาร์เรล ผลจากการส่งออกน้ำมันปรับลดลง 8.18 แสนบาร์เรล/วัน(เทียบกับสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ปัญหา Oversupply ในสหรัฐยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะยังทรงตัวที่ 844 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐ ล่าสุดขึ้นมาที่ 10.725 ล้านบาร์เรล/วัน(อันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย) และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามความกังวล Supply น้ำมันตะวันออกกลางอาจจะหายไป หลังสหรัฐคว่ำบาตร 2 ประเทศ คือ 1) อิหร่าน (ผลิตราว 3.75 ล้านบาร์เรลหรือ 11.7%ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด) จะมีผลในอีก 180 วัน หรือภายใน 4 พ.ย. 2561 และ 2) เวเนซุเอลา ผลิตราว 1.55 ล้านบาร์เรลหรือ 4.3%ของกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC ทั้งหมด) ถูกสหรัฐคว่ำบาตรไปเมื่อ 21 พ.ค.เนื่องจากไม่ยอมรับผลการชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร
และค่าเงิน Dollar ยังแข็งค่าต่อเนื่องน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ให้แกว่งตัวบริเวณ 70 เหรียญฯ (ytd 65เหรียญฯ) ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทุกตัวล้วนมี Upside จำกัดทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) ยังแนะนำให้ Switch ไป BANPU([email protected]) ยังมี upside มากกว่า
ผู้ค้าปลีกน้ำมันหลักอย่าง PTG อาจกระทบ หากลดค่าการตลาด
หุ้นพลังงานอาจจะกระทบบรรยากาศการซื้อขายใน 2 เรื่องคือ มีข่าวว่าผู้ให้บริการปั๊มน้ำมัน อาจจะถูกกดดันให้ลดค่าการตลาด ซึ่งปกติค่าการตลาดเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณราคาขายปลีกที่หน้าปั๊มน้ำมัน หากเกิดขึ้นจริง จะกระทบ ผู้ให้บริการค้าปลีกเป็นธุรกิจหลักคือ PTG ส่วนผู้ค้าปลีกอื่น ๆ เช่น ESSO, BCP, SPRC ธุรกิจหลักคือโรงกลั่น ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 80% ของรายได้ ที่เหลือจึงเป็นธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ส่วน PTT มีสัดส่วนธุรกิจขายปลีกราว 2% ของกำไรเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะลดค่าการตลาดเท่าไหร่ แต่ถือว่ากระทบ sentiment ช่วงสั้นต่อหุ้นในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ PTG
BGRIM อาจะกระทบมูลค่าหุ้น 5 บาท หากย้ายโรงไฟฟ้า 2 แห่งไม่ได้
ตามที่ข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์เช้าวันนี้ระบุว่า โรงไฟฟ้า 2 แห่งของ BGRIM(BGPR1 และ BGPR2 กำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ เท่ากัน) กำลังการผลิตรวม 240 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการย้ายจากที่ตั้งเดิมคือ นิคมฯ วี. อาร์. เอ็ม ต. รางบัว จ. ราชบุรี ไปยัง นิคม ฯ บางบ่อ สมุทรปราการ เนื่องจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (กนอ) ได้ประกาศยกเลิกเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวใน จ. ราชบุรี
ตามแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่ง จะเสร็จภายในปี 2564 และมีสัญญาซื้อไฟฟ้ากับ EGAT (PPA) เรียบร้อยแล้ว จากการสอบถามทางบริษัทเปิดเผยว่า การย้ายโรงไฟฟ้าสามารถทำได้ และบริษัททราบประเด็นนี้มานานแล้ว หากพื้นที่เดิมมีปัญหา อ่านรายละเอียด News Plus วันนี้
เชื่อว่ายังมีเวลาอีก 3 ปีที่จะสามารถย้ายโรงงานและก่อสร้างได้ทันตาม PPA แต่เนื่องจากนักวิเคราะห์ ASPS รวมประมาณการโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งไปแล้ว ตามหากมีปัญหายืดเยื้อ และไม่สามารถก่อสร้าง และรับรู้รายได้ตามแผน คาดว่าจะกระทบต่อประมาณปี 2564 เป็นต้นไปและกระทบต่อมูลค่าหุ้น 5 บาท จากมูลค่าเหมาะสมปัจจุบันที่ 33.5 บาท
พ.ร.ป. ที่มา สว. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ลุ้น พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. 30 พ.ค. นี้
ศาลรัฐธรรมนูญลงมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยบทบัญญัติส่วนที่ส่งให้ตีความเป็นบทเฉพาะกาลใช้บังคับในวาระเริ่มแรกเท่านั้น และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 และ 229 ขั้นตอนต่อไปจะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีเพื่อเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
ส่วนอีกฉบับหนึ่งอยู่ในกระบวนการวินิจฉัย คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ศาลรัฐธรรมนูญมีกำหนดที่จะลงมติว่าขัอแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ใน 30 พ.ย. นี้ หากศาลฯ วินิจฉัยว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนของการเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ เช่นกัน
ภายใต้สมมติฐานว่า พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับ ได้ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในเดือน มิ.ย. 2561 ก็คาดหมายเบื้องต้นว่า จะเห็นการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในไม่เกิน 90 วัน หรือตกในช่วงเดือน ก.ย. นี้ เมื่อลงประกาศแล้ว พ.ร.ป. ว่าด้วยที่มา ส.ว.ฯ จะมีผลบังคับใช้ทันที ยกเว้น พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน หลังจากลงประกาศ ซึ่งน่าจะตกอยู่ในช่วงไม่เกินเดือน ธ.ค.2561
ส่วนกำหนดการเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้ต้องจัดการให้แล้วเสร็จภายใน 150 หลังจากกฎหมายประกอบฯทั้งหมดมีผลบังคับใช้ ซึ่งหากไปตามกำหนดข้างต้น การเลือกตั้งน่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกินเดือน พ.ค. ปีหน้า แต่ก็อาจจะเกิดได้เร็วกว่านั้นหากขั้นตอนในการเตรียมการเลือกตั้งมีความพร้อมก่อน 150 วัน (อาจเลือกตั้งภายใน 90 วัน หรือ 120 วัน หลังกฎหมายมีผลบังคับ ซึ่งก็จะตกราว มี.ค. หรือ เม.ย.2562) กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้ง ส.ส.ควรเกิดขึ้นในช่วงเวลา มี.ค. – พ.ค.2562 ถือว่าอยู่ในความคาดหมายแล้ว
ทีวีดิจิตอลระยะยาวยังรอดยาก รัฐช่วยเหลือแค่แก้ปัญหาระยะสั้น
ทีวีดิทัลได้ข้อสรุป หลังวานนี้ คสช. มีคำสั่งให้ใช้มาตรา 44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ถือว่าเป็นไปตามที่คาดบางส่วน โดยสิ่งที่ตรงกับที่คาดไว้ก่อนหน้าคือ ให้ กสทช. ลดค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (MUX) ลง 50% ของค่าเช่าทั้งหมด เป็นเวลา 2 ปี ให้กับผู้ประกอบการทุกราย
ส่วนข้อแตกต่างคือ การเลื่อนชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ให้พักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 3 ปี เฉพาะผู้ที่แจ้งความประสงค์จะขอพักชำระหนี้เท่านั้น (ไม่ได้ให้สิทธิ์กับผู้ประกอบการทุกราย)
ข้อแตกต่างอีกประการ คือ ไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนหรือโอนใบอนุญาต ให้กับผู้ประกอบการรายใหม่หรือรายเดิม ซึ่งต้องไม่ใช่ชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้เฉพาะรายใหม่ที่สนใจเท่านั้น
อย่างไรก็ตามมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน (กระแสเงินสดดำเนินงาน หรือ CFO ติดลบ) อาทิ MCOT, GRAMMY, AMARIN, NATION, NEWS เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุมีการควบรวมกิจการ 2-3 กลุ่มคือ
กลุ่มคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ร่วมทุนใน AMARIN และ GRAMMY
กลุ่มปราสาททองโอสถ ร่วมทุนใน PPTV และ GRAMMY
กลุ่มจิราธิวัฒน์ ร่วมทุนใน POST
ขณะที่บางรายที่มี CFO เพียงพอ เช่น BEC, WORK, MONO, RS น่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้ แต่มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวน่าจะช่วยเสริมสภาพคล่องได้ในระยะสั้น ส่วนที่เหลือน่าจะต้องหาพันธมิตร หรือ ผู้ร่วมทุนเพื่อการอยู่รอด (ยกเว้น TNN ที่เป็นของกลุ่ม CP Group)
โดยสรุปการลงทุนในหุ้นทีวีดิจิทัล ต้องพิจารณาความอยู่รอดในระยะยาว ซึ่งมิใช่มีการพัฒนา contents ให้สดใหม่ ตรงกับตลาดตลอดเวลาเท่านั้น แต่ต้องมีแผนธุรกิจเชิงรุก โดยเฉพาะการต่อยอดการทำธุรกิจเพิ่มเติมเช่น over the top (OTT) เนื่องจากคนรุ่นใหม่นิยมรับชมโทรทัศน์ที่ลดลงเหลือ 2 ชม. ต่อวัน แต่กลับนิยมชมทางออนไลน์เพิ่มขึ้น (ผ่านมือถือ, แท็ปเล็ต) วันละ 4 ชม. เช่น ผ่าน Facebook, Youtube, Online video (ข้อมูลของ We are social) เช่น BEC พัฒนาช่องทางของตนเองผ่าน Mello เป็นต้น ความนิยม OTT ทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 13% จากที่อยู่ในระดับ 5% ในปี 2555 โดยไหลจากโฆษณาแบบเดิม ๆ (Analog TV, สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ ลดลง)
ศาลรัฐธรรมนูญลงมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยบทบัญญัติส่วนที่ส่งให้ตีความเป็นบทเฉพาะกาลใช้บังคับในวาระเริ่มแรกเท่านั้น และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 และ 229 ขั้นตอนต่อไปจะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีเพื่อเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
ส่วนอีกฉบับหนึ่งอยู่ในกระบวนการวินิจฉัย คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ศาลรัฐธรรมนูญมีกำหนดที่จะลงมติว่าขัอแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ใน 30 พ.ย. นี้ หากศาลฯ วินิจฉัยว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนของการเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ เช่นกัน
ภายใต้สมมติฐานว่า พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับ ได้ถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในเดือน มิ.ย. 2561 ก็คาดหมายเบื้องต้นว่า จะเห็นการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในไม่เกิน 90 วัน หรือตกในช่วงเดือน ก.ย. นี้ เมื่อลงประกาศแล้ว พ.ร.ป. ว่าด้วยที่มา ส.ว.ฯ จะมีผลบังคับใช้ทันที ยกเว้น พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน หลังจากลงประกาศ ซึ่งน่าจะตกอยู่ในช่วงไม่เกินเดือน ธ.ค.2561
ส่วนกำหนดการเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้ต้องจัดการให้แล้วเสร็จภายใน 150 หลังจากกฎหมายประกอบฯทั้งหมดมีผลบังคับใช้ ซึ่งหากไปตามกำหนดข้างต้น การเลือกตั้งน่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างช้าไม่เกินเดือน พ.ค. ปีหน้า แต่ก็อาจจะเกิดได้เร็วกว่านั้นหากขั้นตอนในการเตรียมการเลือกตั้งมีความพร้อมก่อน 150 วัน (อาจเลือกตั้งภายใน 90 วัน หรือ 120 วัน หลังกฎหมายมีผลบังคับ ซึ่งก็จะตกราว มี.ค. หรือ เม.ย.2562) กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้ง ส.ส.ควรเกิดขึ้นในช่วงเวลา มี.ค. – พ.ค.2562 ถือว่าอยู่ในความคาดหมายแล้ว
ทีวีดิจิตอลระยะยาวยังรอดยาก รัฐช่วยเหลือแค่แก้ปัญหาระยะสั้น
ทีวีดิทัลได้ข้อสรุป หลังวานนี้ คสช. มีคำสั่งให้ใช้มาตรา 44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ถือว่าเป็นไปตามที่คาดบางส่วน โดยสิ่งที่ตรงกับที่คาดไว้ก่อนหน้าคือ ให้ กสทช. ลดค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (MUX) ลง 50% ของค่าเช่าทั้งหมด เป็นเวลา 2 ปี ให้กับผู้ประกอบการทุกราย
ส่วนข้อแตกต่างคือ การเลื่อนชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ให้พักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 3 ปี เฉพาะผู้ที่แจ้งความประสงค์จะขอพักชำระหนี้เท่านั้น (ไม่ได้ให้สิทธิ์กับผู้ประกอบการทุกราย)
ข้อแตกต่างอีกประการ คือ ไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนหรือโอนใบอนุญาต ให้กับผู้ประกอบการรายใหม่หรือรายเดิม ซึ่งต้องไม่ใช่ชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้เฉพาะรายใหม่ที่สนใจเท่านั้น
อย่างไรก็ตามมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน (กระแสเงินสดดำเนินงาน หรือ CFO ติดลบ) อาทิ MCOT, GRAMMY, AMARIN, NATION, NEWS เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุมีการควบรวมกิจการ 2-3 กลุ่มคือ
กลุ่มคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ร่วมทุนใน AMARIN และ GRAMMY
กลุ่มปราสาททองโอสถ ร่วมทุนใน PPTV และ GRAMMY
กลุ่มจิราธิวัฒน์ ร่วมทุนใน POST
ขณะที่บางรายที่มี CFO เพียงพอ เช่น BEC, WORK, MONO, RS น่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้ แต่มาตรการช่วยเหลือดังกล่าวน่าจะช่วยเสริมสภาพคล่องได้ในระยะสั้น ส่วนที่เหลือน่าจะต้องหาพันธมิตร หรือ ผู้ร่วมทุนเพื่อการอยู่รอด (ยกเว้น TNN ที่เป็นของกลุ่ม CP Group)
โดยสรุปการลงทุนในหุ้นทีวีดิจิทัล ต้องพิจารณาความอยู่รอดในระยะยาว ซึ่งมิใช่มีการพัฒนา contents ให้สดใหม่ ตรงกับตลาดตลอดเวลาเท่านั้น แต่ต้องมีแผนธุรกิจเชิงรุก โดยเฉพาะการต่อยอดการทำธุรกิจเพิ่มเติมเช่น over the top (OTT) เนื่องจากคนรุ่นใหม่นิยมรับชมโทรทัศน์ที่ลดลงเหลือ 2 ชม. ต่อวัน แต่กลับนิยมชมทางออนไลน์เพิ่มขึ้น (ผ่านมือถือ, แท็ปเล็ต) วันละ 4 ชม. เช่น ผ่าน Facebook, Youtube, Online video (ข้อมูลของ We are social) เช่น BEC พัฒนาช่องทางของตนเองผ่าน Mello เป็นต้น ความนิยม OTT ทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 13% จากที่อยู่ในระดับ 5% ในปี 2555 โดยไหลจากโฆษณาแบบเดิม ๆ (Analog TV, สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ ลดลง)
ต่างชาติขายหุ้นไทยเกือบ 5 พันล้านบาท…สูงสุดในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 4 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 223 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการในวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซียถูกสลับมาซื้อสุทธิ 40 ล้านเหรียญ (หลังขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 21 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศยังถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 91 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ถุกขายสุทธิมากสุดในภูมิภาค 154 ล้านเหรียญ หรือ 4.94 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.78 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติเริ่มสลับมาซื้อสุทธิบ้างราว 5.9 พันล้านบาท เนื่องจากหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาดหุ้นรวมถึงผลตอบแทน Bond Yield 10 ปี ของไทยที่ขยับตัวขึ้นมาสูงถึง 2.857% (สูงสุดในรอบ 1 ปี 2 เดือน) โดยพุ่งขึ้นมากว่า 28 bps. ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังมีค่าน้อยกว่า Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่ 2.99% จึงเชื่อว่า Fund Flow มีโอกาสไหลออกไปสู่ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9223
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 4 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 223 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการในวันก่อนหน้า) และอินโดนีเซียถูกสลับมาซื้อสุทธิ 40 ล้านเหรียญ (หลังขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 21 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศยังถูกขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 91 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ถุกขายสุทธิมากสุดในภูมิภาค 154 ล้านเหรียญ หรือ 4.94 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.78 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติเริ่มสลับมาซื้อสุทธิบ้างราว 5.9 พันล้านบาท เนื่องจากหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาดหุ้นรวมถึงผลตอบแทน Bond Yield 10 ปี ของไทยที่ขยับตัวขึ้นมาสูงถึง 2.857% (สูงสุดในรอบ 1 ปี 2 เดือน) โดยพุ่งขึ้นมากว่า 28 bps. ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังมีค่าน้อยกว่า Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่ 2.99% จึงเชื่อว่า Fund Flow มีโอกาสไหลออกไปสู่ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO9223