WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
       เข้าสู่โหมดพักฐาน โดยแนวรับ 1,375 จุด ยังแข็งแกร่ง กลยุทธ์ยังเน้นเป็นหุ้นรายตัวที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ยังเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick และแนะนำลงทุนระยะสั้น BJCHI ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนข่าวบวก ที่จะเข้าคำนวณ SET100 และยังเข้าคำนวณ MSCI Global Small Cap อีก



อัตราการว่างงานและเงินเฟ้อ เข้าเงื่อนไข สหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น
       สหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาด ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญล่าสุด ยังคงตอกย้ำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน พบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกสิ้นสุดวันที่ 10 พ.ค. ลดลง 24,000 ราย ต่ำกว่าคาด (ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 และ ต่ำสุดในรอบ 7 ปี) ทำให้อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. อยู่ที่ 6.3% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED กำหนดไว้ที่ 6.5% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการบริภาคภาคครัวเรือนได้ ขณะเดียวกันพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.3%mom หรือ 2%yoy (ตามราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 เดือน รวมทั้งการเพิ่มของราคาน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเป้าหมายที่ Fed กำหนด


      การที่อัตราการว่างงาน และดัชนี CPI มาถึงเป้าหมายเศรษฐกิจที่ FED กำหนดไว้ ทำให้โอกาสที่สหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.25% น่าจะมีโอกาสเร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่อาจจะมาหักล้างการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะสั้นก็คือ การฟื้นตัวผู้ประกอบการภาคธุรกิจขนาดกลางและเล็กยังมีความเสี่ยง ซึ่งสอดคล้องดัชนีการผลิตภาคอุตฯ เดือน เม.ย. ต่ำกว่าคาด โดยหดตัวถึง 0.6%mom (ตลาดคาดหดตัว 0.1%mom) ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนจากผลการประชุมของ FED ในครั้งถัดไปวันที่ 17-18 มิ.ย.
ญี่ปุ่นพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือ เป็นที่คาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะประสบภาวะชะลอตัวในงวด 2Q57 (หลังจากที่ขยายตัวสูง 2.7%yoy ในงวด 1Q57 สูงสุดตั้งแต่ปี 2554) สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. ต่ำลด 0.5%mom (ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ส.ค.2554) ซึ่งน่าจะเป็นผลกระทบจากการขึ้นภาษีการขายในต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2% โดยล่าสุด เม.ย. 1.6% ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แสดงจุดยืนที่พร้อมจะใช้มาตรการทางการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่น่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้

 

การได้รัฐบาลใหม่ยังเลื่อนลอย VS กลุ่มชุมนุมยังกดดันการเจรจาหาทางออก
      การเมืองเข้าสู่โหมดของความแตกแยกชัดเจนขึ้น การหารือเพื่อหาทางออก ยังถูกกดดันจากกลุ่มผู้ชุมนุมต่อเนื่อง สะท้อนจากวานนี้การหารือ เรื่องกำหนดการเลือกตั้งระหว่าง กกต. และ รัฐบาล เป็นอันต้องล้มเลิกไปอีกครั้ง หลังจากที่กลุ่ม กปปส. เคลื่อนผู้ชุมนุมเข้าไปในที่ประชุม ทำให้มีโอกาสที่จะการเลืออกตั้ง ตามที่เคยกำหนดไว้ 20 ก.ค. หรือ 3 ส.ค.2557 เกิดขึ้นยาก (หรือมีอาจถูกต้องเลื่อนออกไป) ขณะที่ในฝั่งของ กลุ่มวุฒิสมาชิก แม้ยังเดินหน้าหารือกับองค์กรต่างๆ ต่อเนื่อง และ ดูเหมือนว่าจะมีความเห็นร่วมประการหนึ่งคือ ต้องเร่งรัดให้มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการในการได้มาซึ่งรัฐบาลตามแนวคิดดังกล่าว ยังมีอยู่หลากหลาย (ไม่ว่าจะเป็นตามช่องทางที่อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญหมวดทั่วไป (มาตรา 1-7) หรือ หมวดที่เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี (มาตรา 171–183) หรือโดยการจัดการเลือกตั้งทั่วไป) ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่า กลุ่ม วุฒิสมาชิกน่าจะมีการแถลงถึงผลสรุป และแนวทางในการดำเนินการในช่วงบ่ายวันนี้ (16 พ.ค.2557)


       ขณะที่ทางด้านของสถานการณ์การชุมนุม หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ กราดยิงและระเบิด บริเวณพื้นที่ชุมนุมของ กปปส. และผู้บัญชาการทหารบาก ได้แถลงการณ์ 7 ข้อ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการระบุถึง เงื่อนไขที่จะทำให้ทหารอาจจำเป็นต้องออกมาระงับเหตุการณ๋ความรุนแรงอย่างเต็มรูปแบบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ส่วนทางกลุ่ม นปช. ได้ประกาศระดมผู้ชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 17–19 พ.ค.2557 และ กปปส. จะรอฟังแนวทางของวุฒิสมาชิก ก่อนกำหดนดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในวันจันทร์ที่ 19 พ.ค.2557 เห็นได้ว่าสถานการณ์การชุมนุมมีแนวโน้มร้อนแรง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น
      โดยภาพรวมของสถานการณ์ทางการเมืองได้เดินมาถึงจุดที่สำคัญ และอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าผลสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร ถือว่าเป็นความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในช่วงเวลานี้แนวโน้มการปรับลดประมาณกำไรตลาดยังมีอยู่ ตราบที่เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว 

      จนขณะนี้หุ้นในภาคการผลิตทยอยประกาศออกมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ ราว 82% มีกำไรสุทธิราว 1.62 แสนล้านบาท แต่หากรวมธ.พ. จะอยู่ที่ 2.18 แสนล้านบาท (เทียบกับที่กำไรใน 1Q56 1.79 แสนล้านบาท และ 2.4 แสนล้านบาท ตามลำดับ) ส่วนใหญ่เป็นไปตามคาด ได้แก่ พลังงานเกือบทุกแห่ง, ปิโตรเคมี พัฒนาบ้านขาย, อาหาร ซึ่งยกเว้น MINT ที่ดีกว่า เพราะมีรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยสูงกว่าคาด ส่วนหุ้นที่ออกมาดีกว่าคาดจะอยู่ในหุ้น Global เช่น ชิ้นส่วน KCE, HANA และตามมาด้วย BANPU ซึ่งมาจากรายการพิเศษคือ FX เป็นอสังหาริมทรัพย์ ส่วนที่ต่ำกว่าคาดอยู่ในบางอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก (BSBM) และวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะ SCC ที่ออกมาต่ำกว่าคาด แต่จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ เป็นต้น

       อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการกำไรใน 2 กลุ่มหลักคือ
ธนาคารพาณิชย์ โดยการปรับลดลงเพื่อสะท้อนการตั้งสำรองฯ ที่คาดว่าจะสูงขึ้นในงวด 2Q57 เป็นต้นไป ตามภาวะเศรษฐกิจน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ประมาณใหม่ของกลุ่มลดลงจากเดิม 3.43% ซึ่งน่าจะทำให้กำไรตลาดหายไปราว 0.7 บาทต่อหุ้น

       การประกาศงบงวด 1Q57 นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการกำไรของหุ้น real sector ในหุ้นหลัก ๆ คือ TOP, PTTGC เพื่อสะท้อนธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ที่ยังซบเซา จากปัญหาสินค้าเกินความต้องการจากการที่ปริมาณสินค้าใหม่ ถูกนำออกมาสู่ตลาดมากขึ้น กดดันราคาผลิตภัณฑ์ เช่น พาราไซลิน ระยะ 1-2 ปีอยู่ในวัฏจักรขาลง เป็นต้น และ เนื่องจาก PTT เป็นบริษัทแม่ที่ถือหุ้นใน TOP, PTTGC ทำให้มีการปรับลดประมาณการกำไรของ PTT ด้วยทำให้คาดว่ากำไรของกลุ่มพลังงานจะหายไปราว 3% จากประมาณการครั้งก่อนหน้า (8 ม.ค. 2557) ซึ่งน่าจะกดดันกำไรตลาด (EPS) หายไปราว 0.8 บาทต่อหุ้นหรือราว
       ขณะทั้งปี 2557 ASP ได้ประเมินกำไรสุทธิตลาด อยู่ที่ 8.82 แสนล้านบาท หรือหุ้นละ 100.96 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้น 11.86% จากปี 2557 (ประเมินเมื่อ 8 ม.ค. 2557 ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกของปี 2557 เทียบกับปี 2556 มีการปรับประมาณการกำไรตลาด 3 ครั้ง) ดังนั้นหลังการรายงานงบงวด 1Q57 อาจจะทำให้มีการปรับลดประมาณการกำไรตลาดลงอีกครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2557 มีโอกาสลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 1,464 จุด อิง P/E 14.5 เท่า กล่าวคือหาก EPS ลดลงระหว่าง 2-3% EPS ตลาดจะลดลงเหลือหุ้นละ 98.94 บาท และ 97.93 บาท ซึ่งจะทำให้ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2557 ลดลงเหลือราว 1,437 จุด และ 1,420 จุด ตามลำดับ

 

MSCI Plays : BJCHI โดดเด่น
      วานนี้ Morgan Stanley Capital International ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนี MSCI ได้ประกาศรายชื่อหุ้นที่จะถูกนำเข้าและคัดออกในดัชนี MSCI Global Standard และ MSCI Global Small Cap (Emerging Markets) มีผลตั้งแต่ 2 มิ.ย. นี้ (จะใช้ราคาปิด 30 พ.ค. นี้เข้าคำนวณ) ซึ่งหุ้นไทยที่ถูกคัดเลือกเข้า MSCI Global Standard มีเพียงบริษัทเดียว คือ BH ส่วนหุ้นที่ถูกคัดเลือกเข้า MSCI Global Small Cap คือ BJCHI, MEGA, NYT และ TTCL ขณะที่หุ้นที่ถูกคัดออกคือ BH, GSTEL, GRAMMY, SITHAI, TUF และ UMI
   ทั้งนี้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2551 พบว่า หุ้นที่ถูกคัดเลือกเพิ่มเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard มักจะให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยราว 5.6% ด้วยความน่าจะเป็น 80% หากซื้อหุ้นดังกล่าวก่อนวันที่เริ่มนำเข้าคำนวณราว 1 สัปดาห์ และขายในวันที่ถูกเข้าคำนวณ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวานนี้ ราคาหุ้นล่าสุดของ BH ปรับขึ้นขึ้นแรง 8% และแรงเกินกว่า Fair Value ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ จึงไม่แนะนำซื้อลงทุนเพิ่ม
ขณะที่หุ้นที่ถูกคัดเลือกเพิ่มเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap สามารถกำหนดการลงทุนได้เป็น 2 ช่วง คือ
   ซื้อหุ้นก่อนเข้าคำนวณ 1 วัน และขายทำกำไรในวันที่ถูกเข้าคำนวณ จะให้ผลตอบแทนราว 1.2% ด้วยโอกาสที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 70%
   ซื้อหุ้นในวันที่เข้าคำนวณและขายหลังจากนั้น 1 เดือน จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 11.6% ด้วยความน่าจะเป็นราว 70%
   ฝ่ายวิจัยแนะนำ BJCHI ([email protected]) เป็น Top pick เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง เน้นวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหมืองแร่ (คล้ายกับ STPI และ SRICHA) โดยมีฐานะลูกค้าหลักอยู่ในประเทศออสเตรเลีย และบราซิล เป็นต้น ปัจจุบันมี backlog อยู่ราว 3.2 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับ Backlog ในอดีตที่สูงกว่าปีละ 4 - 5.5 พันล้านบาท จึงต้องหวังพึ่งงานใหม่ๆ ที่จะเข้ามา ซึ่งในขณะนี้จะมีงานใหม่จากประเทศบราซิลและออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามในระยะสั้น BJCHI มีประเด็นเก็งกำไรได้จากโอกาสที่ BJCHI จะถูกคัดเลือกเข้า SET100 ในเดือน ก.ค. นี้ รวมไปถึงงานประมูลใหม่เพิ่มเติมที่คาดว่าจะทราบผลเร็วๆนี้ ในขณะที่มีค่า Expected P/E ที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ BJCHI มี P/E 11.8 เท่า, P/B 2.6 เท่า, Dividend Yield 5.1% ขณะที่ SRICHA มี P/E 10.6 เท่า, P/B 4.2 เท่า, Dividend Yield 7.8% และ STPI มี P/E 10.2 เท่า, P/B 3.6 เท่า, Dividend Yield 3.6%



ต่างชาติยังคงซื้อต่อเนื่อง แต่เริ่มแผ่วลง
      วานนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่ลดลง 43% เหลือราว 433 ล้านเหรียญฯ แต่ยอดซื้อหลักยังคงมาจากเกาหลีใต้ ที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 สูงถึง 344 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 8% จากวันก่อนหน้า ตามมาด้วยไต้หวันแม้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่กลับลดลงถึง 75% เหลือราว 64 ล้านเหรียญฯ ขณะที่ประเทศในกลุ่ม TIP เป็นการซื้อสุทธิเบาบาง กล่าวคือ ไทยซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 19 ล้านเหรียญฯ (601 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากวันก่อนหน้า) และ ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 7 ล้านเหรียญฯ (ลดลงถึง 89% จากวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดในอินโดนีเซียปิดทำการเนื่องจากวัน Vesak Day
       ทั้งนี้ หากพิจารณากระแสเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศในกลุ่ม TIP ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จะพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิในประเทศอินโดนีเซียมากที่สุดราว 3 พันล้านเหรียญฯ (หรือราว 67% ของยอดขายในช่วงก่อนหน้า) ตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ซื้อสุทธิราว 1.1 พันล้านเหรียญฯ (ราว 81% ของยอดขาย) และสุดท้ายคือไทย เพียง 923 ล้านเหรียญฯ และ คิดเป็น 13% ของยอดขายเท่านั้น ทำให้เชื่อว่าแรงขายจากนักลงทุนกลุ่มนี้ในตลาดหุ้นไทยมีอย่างจำกัด และไม่น่าจะเทขายออกมาอย่างหนักในช่วงนี้

 

ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!