- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 May 2018 18:08
- Hits: 1711
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Sell on fact รับงบ 1Q61 ในหุ้น Real sector และ fund flow ยังไหลออกจากภูมิภาค ยังกดดันดัชนีแกว่งตัวลงต่ำกว่า 1750 จุด กลยุทธ์วันนี้จึงเลือกหุ้น Domestic Play 1) ประโยชน์จาก EEC (WHA, EASTW) 2) ผันผวนน้อย P/E ต่ำ ปันผลสูง (QH, LH, BBL) และ 3) ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (HANA, GFPT, CPF) Top picks WHA([email protected]) BANPU([email protected]) และ BLA([email protected]) ซึ่งได้ประโยชน์จาก Bond yield 10 ปี
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. Sell on fact กดดัน SET หลุด 1750 จุด
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญกับแรงขาย sell on fact รับ 1Q61 กดดันดัชนีร่วงลง 10.01 จุด ปิดตลาดที่ 1746.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.9 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่น ที่ประกาศงบฯ อย่าง ESSO ราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า 10.8% พบว่ากำไรงวด 1Q61 หดตัว เช่นเดียวกับ TOP (-3%) และ SPRC (-3.7%) อีกกลุ่มที่แรงเทขายออกมาคือค้าปลีก CPALL แฃะ BJC ซึ่งใกล้ทยอยรายงานงบในสัปดาห์นี้ ขณะที่กลุ่ม โรงพยาบาลมีแรง rebound กลับ หลังถูกเทขายมาตลอดสัปดาห์ ส่วนแรงขายกลุ่ม ธ.พ. เริ่มเบาลงหลัง KBANK ปิดบวก ส่วน SCB BBL ลดลงเล็กน้อย
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบ โดยน่าจะต่ำกว่า 1750 จุด โดยยังเป็นแรงขายรับงบจนถึงกลางสัปดาห์หน้า เป็นปัจจัยกดดันตลาดหลัก
พลังงานทดแทนเติบโตจำกัด หลังรัฐเลือกซื้อไฟฟ้าจากต้นทุนต่ำ
ผลจากการที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) เข้าพบรัฐมนตรีพลังงาน เมื่อ 4 พ.ค. ที่ผ่าน เพื่อหารือประเด็นที่กระทรวงฯ จะชะลอรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ล่าสุดกระทรวงพลังงานชี้แจงว่าจะยังมีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปีข้างหน้าอยู่ (2561-2565) แต่เปลี่ยนนโยบายมาเลือกรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ที่ราคาขายต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาที่รับซื้อจากสายส่ง ในอัตรา 3.6 บาท/หน่วย (Grid Parity) อีกทั้งคาดแผน PDP จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. 2561
ประเด็นนี้ยังนำไปสู่การลดความคาดหวังต่อการเติบโตในกลุ่มพลังงานทดแทน โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน 8.6 พันเมกะวัตต์ คิดเป็น 43.9% ของกำลังการผลิตตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ฉบับปี 2558-2579 ที่ 1.96 หมื่นเมกะวัตต์ ทำให้คงเหลือกำลังการผลิตอีกราว 1.1 หมื่นเมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 19 ปี คิดเป็นเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นปีละเพียง 580 เมกะวัตต์
ส่งผลให้กระทรวงพลังงานยังยืนยันการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ราคาขายต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาที่รับซื้อจากสายส่งราว 3.6 บาท/หน่วย (Grid Parity) เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าไฟฟ้ากับประชาชน ปัจจุบันต้นทุนการผลิตโรงไฟฟ้า เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ขยะและชีวมวล ซึ่งมีต้นทุนการก่อสร้างสูงที่สุดเฉลี่ยราว 100-120 ล้านบาท/เมกะวัตต์ (โรงไฟฟ้าลมและโซลาร์ที่มีต้นทุนการก่อสร้างอยู่ที่ 70-80 ล้านบาท/เมกะวัตต์ และ 40-50 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ตามลำดับ)
เงินเฟ้อกดดันฟิลิปปินส์ ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังคงดอกเบี้ยฯที่ 0.5% แต่คาดไปขึ้นในครั้งหน้า เพราะเงินเฟ้อล่าสุด 2.5%(สูงกว่าเป้า 2.0%) และมีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยราว 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ (หลังขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปี เมื่อ พ.ย. 2560) ขณะที่สหรัฐรายงานเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 2.5% จาก 2.4%ในเดือนก่อนหน้า ทำให้ Fed มีโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยฯ ในรอบประชุมถัดไปคือ รอบ มิ.ย. และหากเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอาจจะขึ้นมากกว่าคาด 2 ครั้งๆละ 0.25% ภายในปีนี้
ขณะที่ฝั่งเอเชีย ยังคงใช้นโยบายการเงินผสมผสาน เห็นได้จากการประชุมธนาคารกลาง 2 แห่งวานนี้ คือ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ให้ขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% เป็น 3.25% (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) เพราะเงินเฟ้อพุ่งสูง 4.5%yoy ใน เม.ย. (เป้าหมาย 31%) จากราคาน้ำมันและอาหารสดที่สูงขึ้น รวมถึงผลของการปฎิรูปภาษี แต่ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ให้คงดอกเบี้ยฯที่ 3.25% หลังขึ้นดอกเบี้ยไปเมื่อ ม.ค. 2561 (ครั้งแรกในรอบ 3 ปี) เพราะเงินเฟ้อสูง แต่ล่าสุดได้ลดลง 1.3%yoyจาก 2.7% เดือน ม.ค.
ตรงข้ามกับอินโดนีเซีย และอินเดียและที่ลดดอกเบี้ย 0.25% ไป 2 ครั้ง และ 1 ครั้ง ตามลำดับเมื่อปลายปี 2560 เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า และเงินเฟ้อต่ำ ขณะที่การประชุม กนง. 16 พ.ค. คาดยังคงดอกเบี้ยฯ 1.5%
โดยภาพรวมทำให้เงินเอเชียยังกลับมาอ่อนค่า หลังจากแข็งค่าในช่วง 1-2 ปีผ่านมา โดยเงินบาท น่าจะแกว่งตัวขึ้น 32.25-32.5 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากที่แข็งค่ากว่า 11.54% นับจากปลายปี 2559 (ที่ 36.4 บาท ปลายเดือน ก.ย. 2558) ซึ่งน่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61 และหุ้นส่งออกน่าจะได้ประโยชน์คือ TU, HANA, GFPT, CPF
ต่างชาติยังขายหุ้นภูมิภาค แต่เริ่มชะลอ
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Ascension of Jesus” โดยภาพรวมพบว่าต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 แต่แรงขายเบาลงเหลือ 50 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 116 ล้านเหรียญ (ซื้อเป็นวันที่ 2) ตลาดที่ขายคือ 1) เกาหลีใต้ 127 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) 2) ฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และ 3) ไทยขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ หรือ 579 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13 มีมูลค่ารวมกว่า 2.84 หมื่นล้านบาท) สวนทางสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 861 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิวันเดียว)
ส่วนตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 1.01 พันล้านบาท (ขายต่อเนื่องนับจากกลาง เม.ย. 61 จนถึงปัจจุบันราว 5.07 หมื่นล้านบาท) สงผลให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยขยับขึ้นต่อเนื่อง อยู่ที่ 2.716% (สูงสุดในรอบ 11 เดือน) เข้าใกล้ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดอยู่ 2.966%
BLA จะได้ประโยชน์จาก Bond Yield ขาขึ้น
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 2.716% จากสัปดาห์ที่แล้วที่ 2.639% และจากสิ้นเดือน เม.ย. ที่ 2.617% ส่งผลดีต่อธุรกิจประกันชีวิต เนื่องจากจะทำให้ภาระหนี้สินตามสัญญาประกันภัยลดลง (คิดลดตามวิธีมูลค่าปัจจุบัน) โดยเฉพาะ BLA ([email protected]) ที่ผลประกอบการ 1Q61 ยังคงเติบโตได้ (+58%yoy, +0.5%qoq) จากการบันทึกโอนกลับสำรองเบี้ยประกันชีวิต (LAT Reserve) ถึง 660 ล้านบาท หลังจากที่โอนกลับฯ ไปในงวด 4Q60 สูงถึง 1.02 พันล้านบาท (คาด 2Q61 ไม่มีการโอนกลับฯ แล้ว) นอกจากนี้ การครบกำหนด (maturity) ของกรมธรรม์ระยะสั้นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา ช่วยให้ภาระสำรองเบี้ยฯ ลดลงตามไปด้วย
ส่วนด้านสินทรัพย์ โดยเฉพาะพอร์ตลงทุนรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำไว้ในช่วงที่ผ่านมา แต่จะทยอยดีขึ้นในระยะยาวถัดไป
โดยรวม ฝ่ายคาดกำไรสุทธิปี 2561 ของ BLA จะเติบโตโดดเด่น 25%yoy และจะเติบโตต่ออีก 14%yoy ในปี 2562 จากการเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ระยะกลาง-ยาว มากขึ้น ส่วนผลกระทบจากการที่ BBL เพิ่มพันธมิตร AIA ในช่องทาง bancassurance คาดส่งผลกระทบต่อเบี้ยฯ รับสุทธิในช่องทางนี้แน่นอน แต่เชื่อว่าการปรับกลยุทธ์ธุรกิจจะช่วยผลักดันอัตราการกำไรของธุรกิจและมูลค่ากิจการให้เพิ่มขึ้น จากภาระสำรองเบี้ยฯ และการดำรงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ RBC 2 ที่บรรเทาลง จึงแนะนำ ซื้อ
Sell on fact รับงบ 1Q61 ยังมีอยู่
โค้งสุดท้ายของช่วงประกาศผลประกอบการ คาดเห็นดัชนี SET ผันผวนมากยิ่งขึ้น จากแรงขายรับงบฯ ทั้งดีและแย่กว่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า (yoy และ qoq) ซึ่งนับจากเย็นวานนี้ มี การประกาศงบ 1Q61 จนถึงเย็นวานนี้ แล้ว 172 บริษัท คิดเป็น 55% ของ Market Cap ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 2.14 แสนล้านบาท หากเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศแล้ว พบว่า มากกว่างวด 1Q60 ที่ทำกำไรสุทธิรวม 2.04 แสนล้านบาท และมากกว่า 4Q60 ที่มีกำไรสุทธิรวม 1.82 แสนล้านบาท (กำไรสุทธิ 1Q61 ที่สูงมาจากการบันทึกกำไรพิเศษของ EGCO กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท) และหากนับผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่ากำไรสุทธิ 1Q61 รวมกันอยู่ที่ 1.54 แสนล้านบาท มากกว่า 1Q60 ที่ 1.38 แสนล้านบาท
ส่วนหุ้นที่รายงานงบ 1Q61 วานนี้สรุปดังนี้คือ :
COM7(BUY: FV@B21) กำไรสุทธิ 1Q61 อยู่ที่ 174 ล้านบาท เพิ่ม 46%yoy หนุนจากยอดขายสาขาเดิม (SSSG)ที่ยังสูงเฉลี่ย 15% จากจำนวนเครื่องสินค้าและราคาเฉลี่ยต่อเครื่องที่สูงขึ้น ตาม iPhone รุ่นใหม่ ส่วนงวด 2Q61 คาด SSSG ยังดีต่อเนื่อง และรายได้ธุรกิจลูกค้าองค์กร มีแนวโน้มเติบโตเร่งขึ้น ทำให้มีโอกาสที่กำไรปี 2561 จะดีกว่าประมาณการ แต่ยังรอดูอีกระยะหนึ่ง
GFPT (BUY: FV@B14) กำไรสุทธิ 1Q61 อยู่ที่ 145 ล้านบาท ลดลง yoy และ qoq หลักๆมาจากธุรกิจไก่ในประเทศที่ฟื้นตัวช้า และส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทย่อย (GFN) ที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานใหม่ ส่วนประเด็นบวกกจากการส่งออกไก่ไปจีน จะทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป แต่โดยรวมคาดทิศทางผลการดำเนินงาน 2Q61 ที่ยังไม่กลับเป็นปกติ ฝ่ายวิจัยจึงมีการประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ลงเฉลี่ยถึง 30% จากเดิม ภายหลังลดประมาณการ มูลค่าพื้นฐานใหม่อยู่ที่ราว 14 บาท (เดิม 17 บาท)
PSH (BUY: FV@B28) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ใกล้เคียงคาด ที่ 862 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.6% yoy หลักๆ เกิดจากยอดโอนดอนโดที่ขยายตัว 49% yoy (จากการส่งมอบ 2 โครงการใหม่ คือ The Tree สุขุมวิท 64 และ Plum Condo โชคชัย 4 รวมถึงมีการโอนฯ ต่อเนื่องจาก 3 โครงการหลักใน 4Q60) สำหรับผลประกอบการช่วงที่เหลือของปีคาดฟื้นตัวดีขึ้น ตามกำหนดการเปิดโครงการใหม่และการส่งมอบคอนโดฯ 5 โครงการ ส่วนด้าน Backlog ปัจจุบันรองรับเป้ารายได้ขายฯ 50%
TOP (Switch:FV@103B) กำไรสุทธิงวด 1Q61 ดีกว่าคาดเล็กน้อย อยู่ที่ 5.6 พันล้านบาท ลดลง 19.0%qoq แม้จะมี Fx gain แต่ถูกกดดันจากค่าการกลั่น และกำไรจากสต๊อกน้ำมันที่ลดลงอย่างมีนัย นอกจากนี้ คาดว่าในช่วง 2H61 และต่อเนื่องในปี 2562 การเติบโตของ TOP ยังจะถูกกดดันจากธุรกิจอะโรเมติก เนื่องจาก supply ใหม่ๆ ที่ออกมา จะกดดัน spread ผลิตภัณฑ์มากขึ้น
IVL (BUY: FV@B64) กำไรสุทธิงวด 1Q61 เท่ากับ 5.8 พันล้านบาท ลดลง 41.9%qoq เพราะมีการบันทึกกำไรพิเศษน้อยกว่างวด 4Q60 (FX 214 ล้านบาท สินค้าคงเหลือ 474 ล้านบาท และเงินชดเชยจากการเคลมประกันจากการต้องหยุดผลิตของธุรกิจ feedstock 663 ล้านบาท) หากพิจารณาเฉพาะกำไรปกติ เพิ่มขึ้น 20.2%qoq อยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท หนุนจาก spread ของทุกผลิตภัณฑ์และปริมาณขายที่ดีขึ้น ขณะที่แนวโน้มในอนาคตคาดยังเติบโตได้ดี และให้น้ำหนักไปที่แผนการขยายการลงทุนของ IVL ที่มีอย่างต่อเนื่อง เพราะจะช่วยเพิ่มมูลค่าระยะยาวได้อย่างมีนัยฯ
ADVANC (Buy: FV@B230) กำไรสุทธิ 1Q61 เติบโตตามคาด เพิ่มขึ้น 4.4%qoq (+4.5%yoy) หากไม่รวมขาดทุน FX 124 ล้านบาท กำไรปกติอยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท เติบโต 6.3%qoq (+11.6%yoy) เป็นผลมาจากการควบคุมค่าใช้จ่าย และรายได้บริการที่เติบโตได้ดีทุกส่วน นอกจากนี้ยังรายรู้ได้จาก CSL ตั้งแต่ ก.พ. 61 สำหรับระยะถัดไป คาดกำไรปกติเติบโตได้ใกล้เคียงกับ 1Q61 ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่า ADVANC จะชนะประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งคาดว่าต้องเริ่มต้นรับรู้ต้นทุนคลื่นตั้งแต่ 4Q61 จึงอาจจะเห็นกำไรเติบโตช้าลงได้ จึงยังคงคาดกำไรปี 2561 เติบโต 5.6% และเพิ่มขึ้นได้อีก 4.2% ในปี 2562
CHG (BUY: [email protected]) กำไรสุทธิเติบโต เท่ากับ 193.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.6% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด โดยรายได้หลักๆ มาจากผู้ป่วยเงินสดที่เติบโตกว่า 31% YoY ตามการระบาดของไวรัสโรตา การขยายพื้นที่บริการ และผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้จากผู้ป่วยประกันสังคมจะลดลง 5% YoY จากฐานที่สูง อย่างไรก็ตามจะยังคงเห็นกำไรการเติบโตที่ดีได้ต่อเนื่อง แม้การเปิด รพ. จุฬารัตน์ 304 ในช่วง พ.ค.-มิ.ย. 61 จะมีค่าเสื่อมราคากดดันกำไร 10-15 ล้านบาท/ไตรมาส โดยจะรับรู้ 1-2 เดือน ใน 2Q61 และหลังจากนั้นจะรับรู้เต็มไตรมาส ซึ่งได้รวมไว้ในประมาณการทั้งปี 2561 แล้ว
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8684