- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 07 May 2018 17:44
- Hits: 2174
บล.ทิสโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET -10.93 จุด เจรจาการค้าไร้ข้อสรุป, ทุนตปท.ไหลออก
SET แกว่งอิงแดนลบในกรอบ 1777-92 ขาดปัจจัยใหม่กระตุ้น รอติดตามผลเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน มีแรงขายหุ้นขนาดใหญ่กดดันตลาดจากเงินทุนตปท.ไหลออกต่อเนื่อง หลังแนวโน้ม Bond Yield ปรับขึ้นและเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่า ต่างชาติขายสุทธิ 4.14 พันลบ. 10 วันติด และพลิก Short S50 Futures 5,232 สัญญา ยุติ Long 2 วันติด
ทิศทางตลาดวันนี้ : รีบาวด์จำกัด น้ำมันพุ่งเกือบ 2% สูงสุดใหม่รอบ 3 ปีครึ่ง
หุ้นโลกเมื่อวันศุกร์ (4 พ.ค.) พุ่งขึ้นแรง ขานรับตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 164,000 ตำแหน่ง กดอัตราการว่างงานลดลงแตะระดับ 3.9% ต่ำสุดในรอบ 18 ปี และการปรับตัวขึ้นของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี นำโดยหุ้น Apple ขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ หลัง Warren Buffett เข้าซื้อหุ้นเพิ่ม 75m ในช่วง Q1 ด้านการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเสร็จสิ้นแล้ว โดยรมว.คลังสหรัฐฯ ระบุเป็นไปได้ด้วยดี ขณะที่น้ำมันพุ่งขึ้นเกือบ 2% ทำจุดสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง จากวิกฤตศก.ในเวเนซุเอลาและความกังวลสหรัฐฯ อาจคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ หลังใกล้เข้าเส้นตาย 12 พ.ค.นี้ มอง SET มีโอกาสรีบาวด์ โดยเมื่อวันศุกร์ปิดที่แนวรับพอดี คาดจะได้อานิสงส์ Sentiment เชิงบวกจากหุ้นตปท.และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น แต่เรามองกรอบการฟื้นตัวเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากกระแสเงินทุนตปท.ไหลออกยังกดดันตลาดต่อเนื่องจากแนวโน้ม Bond Yield และเงินดอลลาร์ฯ แกว่งในทิศทางขาขึ้นในระยะสั้น ส่วนการขึ้น XD วันนี้จะถ่วง SET ลบราว 1.4 จุดโดยปริยายด้วย แนวรับ 1780+/-, 1770-75 แนวต้าน 1785-90
กลยุทธ์การลงทุน : หาจังหวะเทรดดิ้งสั้น ลงซื้อ-ขึ้นขาย ชอบหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่
แนะหาจังหวะเทรดดิ้งสั้น ลงซื้อ-ขึ้นขาย เล็งเป้าสั้น SET ขึ้นทดสอบบริเวณ 1800-1810 แต่เรามองบริเวณนี้ผ่านยาก ต้องระวังแรงเทขาย โดยใช้ Stop หาก SET ปิดต่ำกว่า 1770 ชอบหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ที่มีสตอรี่ดี (BEAUTY, BTS, CPN, HMPRO) และหุ้นเก็งงบ Q1 ออกมาดี
ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Trading Pick BJC – Consensus คาดกำไร 1Q18F อยู่ที่ 1.23 พันลบ. เพิ่มขึ้น 28% YoY จากการขยายตัวในทุกธุรกิจ, มองธุรกิจค้าปลีกได้ประโยชน์จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ทำจุดสูงสุดใหม่รอบ 40 เดือน และกระแสบอลโลกช่วงกลางเดือนหน้า, Consensus ให้เป้าพื้นฐาน 64.3 บ. / IRPC ปรับประมาณการกำไรปี 18-20F ลง 2-6% จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันตาม DB เป้าพื้นฐานใหม่ลดลงเป็น 7.9 บ. ยังแนะนำ “ซื้อ” / ICHI ปรับ PER ที่เหมาะสมลง (De-rating) เป็นระดับค่าเฉลี่ยประมาณ 26x ส่งผลให้เป้าหมายราคาหุ้นลดลงเป็น 7.8 บ. ยังแนะนำ “ถือ” / หุ้นมีโอกาสเข้า MSCI รอบนี้ (รู้ 14 พ.ค.) – KTC, BEAUTY, GULF ออก - KCE / TPIPL จะซื้อหุ้นคืนวงเงิน 2.5 พันลบ. จำนวน 1,009 ล้านหุ้น รอประชุมผถห.อนุมัติ 25 มิ.ย.นี้ และจะเริ่มซื้อหุ้นคืน 16 ก.ค. – 15 ม.ค. / Bond Yield ไทยเริ่มปรับขึ้นตาม Bond Yield สหรัฐฯ เป็นผลดีต่อ BLA / เงินบาทอ่อนค่าช่วยกระตุ้นบรรยากาศลงทุนหุ้นส่งออก-ท่องเที่ยว ชอบ DELTA, HANA, JWD, SAPPE, ERW, MINT / หุ้นงบที่คาดจะดี – โต YoY & QoQ ชอบ AOT, BDMS, BEM, BH, CK, ERW, GPSC, LH, MONO, MTC, PLANB, TVO / โต YoY ชอบ AP, BEAUTY, COM7, JWD, PTTGC, QH, RS, SF, WHA / นายกฯ เห็นชอบใช้ ม.44 ช่วยทีวีดิจิทัล ชอบ RS, MONO / การฟื้นตัวต่อเนื่องของอุตฯ ยานยนต์ AH, SAT, NYT / หุ้นเก็บตกปิดงบ-ปันผลช้า – BLAND (งบปีสิ้นสุด มี.ค.) / หุ้นได้ประโยชน์ EEC ชอบ CK, STEC, UNIQ, SEAFCO, AMATA, ROJNA, WHA / หุ้นปันผลดี (Div. Yield รอบนี้ > 3%) ชอบ AP, KTB, LH, MODERN, NYT, ROJNA
หุ้น Weekly GURU ซื้อ BJC (เป้าสั้น 63.5 บ.), GPSC (83 บ.), THAI (18 บ.) / ถือ COM7 (20.2 บ.) / ถึงเป้าทำกำไร TRUE (+5.2%) / ขายตัดขาดทุน AEONTS (-3.4%), MONO (-3.4%)
หุ้นเด่น พ.ค. (Smart Tactics) BEAUTY, BTS, CPN, HMPRO, PLANB, QH
ปัจจัยติดตาม
วันที่ ปท. เหตุการณ์
7 พ.ค . CH ตัวเลขปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนในเดือน เม.ย.
8 พ.ค. CH เงินทุนตปท.ที่ไหลเข้าลงทุนโดยตรง (FDI), ส่งออก, นำเข้า และดุลการค้าจีนใน เม.ย.
9 พ.ค. JP, US ดัชนีชี้นำศก.ญี่ปุ่นใน มี.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ ใน เม.ย., สต็อกสินค้าภาคค้าส่งสหรัฐฯ ใน มี.ค.
ที่มา : Bloomberg, DB, TISCO Research
นักวิเคราะห์ :
อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 18171 โทร 02-633-6467 e-mail : [email protected]
ธนพล บำรุงพงศ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 46537 โทร 02-633-6471 e-mail : [email protected]
OO8442
วันที่ ปท. เหตุการณ์
7 พ.ค . CH ตัวเลขปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนในเดือน เม.ย.
8 พ.ค. CH เงินทุนตปท.ที่ไหลเข้าลงทุนโดยตรง (FDI), ส่งออก, นำเข้า และดุลการค้าจีนใน เม.ย.
9 พ.ค. JP, US ดัชนีชี้นำศก.ญี่ปุ่นใน มี.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ ใน เม.ย., สต็อกสินค้าภาคค้าส่งสหรัฐฯ ใน มี.ค.
ที่มา : Bloomberg, DB, TISCO Research
นักวิเคราะห์ :
อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 18171 โทร 02-633-6467 e-mail : [email protected]
ธนพล บำรุงพงศ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 46537 โทร 02-633-6471 e-mail : [email protected]
OO8442