- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 04 May 2018 20:02
- Hits: 2816
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงหนุน SET Index จะยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1785-1800 จุด ขณะที่การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ยังไม่น่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในวันนี้ ส่วนค่าเงินเอเชียยังคงถูกกดดันมีทิศทางอ่อนค่า หลังเงินเฟ้อสหรัฐยังเพิ่ม และการขึ้นดอกเบี้ยยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการรายงานงบ Real sector งวด 1Q61 ยังมีน้ำหนักหนุนดัชนีน้อย กลยุทธ์ เน้น“Domestic Play” ชอบ DTAC(FV@B68) และเพิ่ม QH([email protected]) ซึ่งมีกำไรมั่นคง
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. แรงขายกลุ่มแบงก์ กดดันตลาด
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1,797 จุด และย่อลงมาปิดที่ 1790.80 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.33 จุด หรือ 0.02% มูลค่าการซื้อขาย 5.87 หมื่นล้านบาท ทิศทางการเคลื่อนไหวในหลายกลุ่มฯ ยังกระจัดกระจาย มีเพียงแรงซื้อกระจุกตัวอยู่เพียงกลุ่มพลังงาน (PTT, GULF) ตามด้วยการ rebound ของหุ้นโรงพยาบาล (BCH BDMS BH) ขณะที่หุ้นของกลุ่ม ธ.พ. มีแรงขายสลับออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ (KBANK BBL SCB KTB) เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่ม ICT ทั้ง TRUE ADVANC INTUCH ที่มีแรงขายออกมาเช่นกัน
เงินเฟ้อสหรัฐยังเกินดอกเบี้ยนโยบาย หนุนเงินดอลลลาร์แข็งค่า
หลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) เมื่อกลางสัปดาห์ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5-1.75% ตามเดิม โดยยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% แม้ล่าสุดจะขยับขึ้น 2.4% แต่เป็นที่สังเกตว่า Fed ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งน่าจะเป็นเพราะไม่ต้องการไปสกัดกั้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2561 IMF คาดโต 2.9% อย่างไรก็ตามตลาดแรงงานปัจจุบันใกล้จุดอิ่มตัว (Full employment) (วันนี้จะมีรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน เม.ย. ตลาดคาดเพิ่มขึ้นที่ 1.9 แสนราย จาก 1 แสนรายในเดือน มี.ค. หนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกัน คาดลดลงเหลือ 4% จาก 4.1%(ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์) อาจเป็นปัจจัยหนุนเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากฝั่งของความต้องการ หรือ Demand Pull ได้ หากเศรษฐกิจร้อนแรง
ขณะที่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้เงินเฟ้อสหรัฐมีโอกาสจะขึ้นเร็วและแรง หนุนให้เงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางแข็งค่า หรือเพิ่มขึ้น 3% จากจุดต่ำสุด 16 เม.ย. หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560
ตรงกันข้ามจะหนุนให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่า ล่าสุดอ่อนค่าราว 1.3% นับจากจุดต่ำสุด 14 เม.ย. เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 12% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี (ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่) น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ไม่น่าจะได้ข้อสรุปเร็ว
วันนี้เป็นวันที่สองของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน หลังจากเดือน เม.ย. ทั้งสองประเทศประกาศจะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในอัตราเท่ากัน 25% จากฝ่ายตรงข้าม และวงเงินที่ใกล้เคียงกันราว 5 หมื่นล้านเหรียญ โดยสินค้าที่สหรัฐประกาศจะขึ้นภาษีจากจีน คือสินค้าเทคโนโลยี อาทิ อุปกรณ์โทรคมนาคม, ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ขณะที่จีนจะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ อาทิ ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์, เนื้อหมู เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวของทั้งสองประเทศยังไม่ได้บังคับใช้จริง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเจรจาในรอบนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะผ่อนคลายลง เพราะหากทั้ง 2 ฝั่งแข็งกร้าวใส่กัน ก็น่าจะกระทบต่อทั้ง 2ประเทศ เพราะทั้งสหรัฐและจีนล้วนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญในเวทีโลก โดยสหรัฐมีการค้า(X+M)กับจีนราว 16.4% ของการค้าทั้งหมด (จีนยังได้ดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุดราว 47% ของยอดขาดดุลการค้าทั้งหมดในปี 2560) และอาจกระทบในวงกว้างคือ ประเทศในแถบเอเซียค้าขายกับจีนราว 50% ของการค้าทั้งหมด ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบ (Supply chain) ไปจีน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงหนุน SET Index จะยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1785-1800 จุด ขณะที่การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ยังไม่น่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในวันนี้ ส่วนค่าเงินเอเชียยังคงถูกกดดันมีทิศทางอ่อนค่า หลังเงินเฟ้อสหรัฐยังเพิ่ม และการขึ้นดอกเบี้ยยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการรายงานงบ Real sector งวด 1Q61 ยังมีน้ำหนักหนุนดัชนีน้อย กลยุทธ์ เน้น“Domestic Play” ชอบ DTAC(FV@B68) และเพิ่ม QH([email protected]) ซึ่งมีกำไรมั่นคง
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. แรงขายกลุ่มแบงก์ กดดันตลาด
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1,797 จุด และย่อลงมาปิดที่ 1790.80 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.33 จุด หรือ 0.02% มูลค่าการซื้อขาย 5.87 หมื่นล้านบาท ทิศทางการเคลื่อนไหวในหลายกลุ่มฯ ยังกระจัดกระจาย มีเพียงแรงซื้อกระจุกตัวอยู่เพียงกลุ่มพลังงาน (PTT, GULF) ตามด้วยการ rebound ของหุ้นโรงพยาบาล (BCH BDMS BH) ขณะที่หุ้นของกลุ่ม ธ.พ. มีแรงขายสลับออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ (KBANK BBL SCB KTB) เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่ม ICT ทั้ง TRUE ADVANC INTUCH ที่มีแรงขายออกมาเช่นกัน
เงินเฟ้อสหรัฐยังเกินดอกเบี้ยนโยบาย หนุนเงินดอลลลาร์แข็งค่า
หลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) เมื่อกลางสัปดาห์ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5-1.75% ตามเดิม โดยยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% แม้ล่าสุดจะขยับขึ้น 2.4% แต่เป็นที่สังเกตว่า Fed ยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งน่าจะเป็นเพราะไม่ต้องการไปสกัดกั้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2561 IMF คาดโต 2.9% อย่างไรก็ตามตลาดแรงงานปัจจุบันใกล้จุดอิ่มตัว (Full employment) (วันนี้จะมีรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน เม.ย. ตลาดคาดเพิ่มขึ้นที่ 1.9 แสนราย จาก 1 แสนรายในเดือน มี.ค. หนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกัน คาดลดลงเหลือ 4% จาก 4.1%(ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์) อาจเป็นปัจจัยหนุนเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากฝั่งของความต้องการ หรือ Demand Pull ได้ หากเศรษฐกิจร้อนแรง
ขณะที่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้เงินเฟ้อสหรัฐมีโอกาสจะขึ้นเร็วและแรง หนุนให้เงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางแข็งค่า หรือเพิ่มขึ้น 3% จากจุดต่ำสุด 16 เม.ย. หลังจากที่อ่อนค่ากว่า 13% นับจากปลายปี 2560
ตรงกันข้ามจะหนุนให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่า ล่าสุดอ่อนค่าราว 1.3% นับจากจุดต่ำสุด 14 เม.ย. เช่นเดียวกับริงกิตของมาเลเซีย แข็งค่าลดลงเหลือราว 12% นับจากต้นปี 2560 หรือกว่า 1 ปี (ยกเว้นรูเปียะห์อินโดนีเซียและเงินเปโซของฟิลิปปินส์ยังอ่อนค่าอยู่) น่าจะดีต่อการส่งออกของไทยนับจากงวด 2Q61
การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐฯ ไม่น่าจะได้ข้อสรุปเร็ว
วันนี้เป็นวันที่สองของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน หลังจากเดือน เม.ย. ทั้งสองประเทศประกาศจะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในอัตราเท่ากัน 25% จากฝ่ายตรงข้าม และวงเงินที่ใกล้เคียงกันราว 5 หมื่นล้านเหรียญ โดยสินค้าที่สหรัฐประกาศจะขึ้นภาษีจากจีน คือสินค้าเทคโนโลยี อาทิ อุปกรณ์โทรคมนาคม, ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ขณะที่จีนจะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ อาทิ ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์, เนื้อหมู เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวของทั้งสองประเทศยังไม่ได้บังคับใช้จริง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเจรจาในรอบนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะผ่อนคลายลง เพราะหากทั้ง 2 ฝั่งแข็งกร้าวใส่กัน ก็น่าจะกระทบต่อทั้ง 2ประเทศ เพราะทั้งสหรัฐและจีนล้วนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญในเวทีโลก โดยสหรัฐมีการค้า(X+M)กับจีนราว 16.4% ของการค้าทั้งหมด (จีนยังได้ดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุดราว 47% ของยอดขาดดุลการค้าทั้งหมดในปี 2560) และอาจกระทบในวงกว้างคือ ประเทศในแถบเอเซียค้าขายกับจีนราว 50% ของการค้าทั้งหมด ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบ (Supply chain) ไปจีน
ร่างพรบ.กำกับดูแล non-bank กระทบน้อยกว่าคาด
ภาครัฐอยู่ระหว่างจัดทำร่าง พรบ.การกำกับผู้ให้บริการทางการเงิน กลุ่ม Non-bank (สินเชื่อเช่าซื้อ และทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น) มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพราะที่ผ่านมาไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการคิดเบี้ยปรับ ค่าบริการ และค่าอื่นๆ สำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียน โดยขณะนี้ได้ผ่านการทำประชาวิจารณ์ จากฝั่งของผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งดูเหมือนจะผ่อนคลายลง
ทั้งนี้ภายใต้เกณฑ์การปฏิบัติตามกฏหมายในปัจจุบันนั้น ผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะบียนจะคิดอัตราดอกเบี้ย 15% และ + เบี้ยปรับ MRR+10% (แต่รวมแล้วไม่เกิน 15%)
ขณะที่ ร่าง พรบ.ใหม่ ได้กำหนด ให้มีเบี้ยปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าใช้จ่ายผู้ให้บริการทางการเงิน ให้เป็นไปตามที่ รมต.ประกาศตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สคบ. ธปท. สมาคมเช่าซื้อ แต่ยังมิได้ระบุว่าเป็นจำนวนเท่าใด (เท่ากับเกณฑ์ใหม่ คิดดอกเบี้ย 15%+ เบี้ยปรับไม่เกิน 15%)
ประเด็นนี้จึงมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการน้อย โดยเฉพาะ MTC(FV@B51) (สัดส่วนสินเชื่อรถยนต์ 32%: รถมอเตอร์ไซค์ 38%) ซึ่งปัจจุบันคิดอัตราดอกเบี้ย 15% + อื่นๆ ซึ่งต่ำกว่า MRR+10% อยู่มาก ต่ำกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมทำให้เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจาก พรบ.ใหม่นี้
ส่วน SAWAD(FV@B64) (รถยนต์/กระบะ 47%: รถมอเตอร์ไซค์ 16%) ไม่กระทบเพราะมีการปรับโครงสร้างกิจการ ไปอยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ซึ่งไม่มีกำหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ย ส่วนเบี้ยปรับคิดในอัตราที่กำหนด คือ MRR+10% (แต่รวมแล้วไม่เกิน 15%) โดยในปัจจุบัน SAWAD คิดอัตราดอกเบี้ย+เบี้ยปรับเฉลี่ยต่ำมากเพียง 21% จึงไม่เป็นประเด็นที่กังวล
หุ้นในภูมิภาคทุกแห่ง ยังถูกเทขายต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องอีก 917 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวัน 408 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 340 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ยังมีเทขายออกมา โดยอินโดนีเซียขายสุทธิ 55 ล้านเหรียญ ตามด้วยฟิลิปปินส์ 19 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 96 ล้านเหรียญ หรือ 3.04 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.76 หมื่นล้านบาท) ขณะที่สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 2.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 9.36 พันล้านบาท และคงเป็นการขายตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) อีก 1.2 พันล้านบาท และขายติดต่อกันกว่า 8 วันทำการ มูลค่ารวม 1.65 หมื่นล้านบาท ทำให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังอยู่ที่ระดับ 2.64% (สูงสุดในรอบเกือบ 11 เดือน) ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ยังทรงตัวอยู่บริเวณ 2.95%
ยามที่ตลาดหุ้นผันผวน แนะนำ QH มีฐานรายได้กระจายตัว
ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องสงครามการค้าจีน–สหรัฐฯ ที่อาจจะกระทบประเทศคู่ค้าในวงกว้าง รวมถึงความผันผวนของตลาดทั่วหุ้นโลก ขณะที่ประเด็นการเมืองยังต้องติดตาม ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำหุ้น Defensive รับมือความผันผวนของตลาดฯ คัดกรองโดย เลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันเลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
QH เป็นหุ้นที่มีฐานรายการกระจายตัว เช่น แม้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย แต่มีเพื่อเช่าด้วย ตั้งแต่อาคารสำนักงาน และโรงแรม รวมถึงการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวในบริษัทร่วม เช่น LHFG, HMPRO เป็นต้น ซึ่งกำไรที่เกิดจากธุรกิจให้เช่า และเงินลงทุนคิดเป็น 40% ของกำไรปกติ ที่เหลือ 60% เป็นกำไรจากอสังหาริมทรัพย์
แต่อย่างไรก็ตามผลกำไรของบริษัทอาจจะไม่เติบโตมากนัก โดยเฉลี่ยราว 8% ในปี 2561-2562 โดยปี 2561 คาดกำไรปกติราว 3.72 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 8% จากปี 2560 โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะมี presale ราว 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโครางการแนวราบ 15 แห่ง มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท
ประเมินมูลค่าหุ้นอิง SOTP ปี 2561 4.3 บาท แยกเป็นมูลค่าหุ้นจากบริษัทร่วม 3 บาท และอีก 1.3 บาท เป็นมูลค่าของ QH และยังมีจุดเด่นที่เงินปันผลสูงเฉลี่ย 7% ต่อปี
Earnings Preview…ยังมีส่วนหนุนตลาดน้อย
SYNTEC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 149 ล้านบาท ลดลง 38%QoQ (+ 41%YoY) แม้มีการรับรู้รายได้จากโครงการใหม่เข้ามามากถึง 5 โครงการ แต่การรับรู้รายได้ช่วงแรกจะค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามจะรับรู้มากขึ้นในงวด 2Q61 เป็นต้นไป อีกทั้งยังมีโอกาสเห็นกำไรพิเศษจากการขายที่ดินจำนวน 55 ไร่ นอกจากนี้ โอกาสได้รับงานใหม่ยังมีเข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลให้ Backlog ปัจจุบัน มีสูงกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท รองรับการสร้างรายได้ถึงปี 2562
GUNKUL(FV@B4) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 ราว 188.2 ล้านบาท เพิ่มเล็กน้อย 3.5%qoq แม้มีแรงหนุนจากความเข้มแสงของโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่เพิ่มขึ้น แต่ถูกหักล้างจากไฟฟ้าพลังงานลมให้ผลผลิตน้อยตามฤดูกาล แต่มีแนวโน้มดีขึ้นใน 2Q61 (รับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลมใหม่ 2 โครงการ คือ GNP และ KWE) นอกจากนี้ยังได้ปัจจัยบวกจากความเข้มแสงที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าโซลาร์ เนื่องจากการเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็น high season ขณะเดียวกัน GUNKUL โดยยังมีแผนผลิตเชิงพาณิชย์อีก 6 แห่ง ซึ่งน่าจะเพิ่มทกำลังการผลิตที่ผลิตเชิงพาณิชย์ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 232 เมกะวัตต์ หนุนการเติบโตโดดเด่นในช่วง 2 ปีข้างหน้า (2561-62) เฉลี่ยปีละ 47.3%yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8349
ภาครัฐอยู่ระหว่างจัดทำร่าง พรบ.การกำกับผู้ให้บริการทางการเงิน กลุ่ม Non-bank (สินเชื่อเช่าซื้อ และทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น) มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เพราะที่ผ่านมาไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการคิดเบี้ยปรับ ค่าบริการ และค่าอื่นๆ สำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียน โดยขณะนี้ได้ผ่านการทำประชาวิจารณ์ จากฝั่งของผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งดูเหมือนจะผ่อนคลายลง
ทั้งนี้ภายใต้เกณฑ์การปฏิบัติตามกฏหมายในปัจจุบันนั้น ผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะบียนจะคิดอัตราดอกเบี้ย 15% และ + เบี้ยปรับ MRR+10% (แต่รวมแล้วไม่เกิน 15%)
ขณะที่ ร่าง พรบ.ใหม่ ได้กำหนด ให้มีเบี้ยปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าใช้จ่ายผู้ให้บริการทางการเงิน ให้เป็นไปตามที่ รมต.ประกาศตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สคบ. ธปท. สมาคมเช่าซื้อ แต่ยังมิได้ระบุว่าเป็นจำนวนเท่าใด (เท่ากับเกณฑ์ใหม่ คิดดอกเบี้ย 15%+ เบี้ยปรับไม่เกิน 15%)
ประเด็นนี้จึงมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการน้อย โดยเฉพาะ MTC(FV@B51) (สัดส่วนสินเชื่อรถยนต์ 32%: รถมอเตอร์ไซค์ 38%) ซึ่งปัจจุบันคิดอัตราดอกเบี้ย 15% + อื่นๆ ซึ่งต่ำกว่า MRR+10% อยู่มาก ต่ำกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมทำให้เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจาก พรบ.ใหม่นี้
ส่วน SAWAD(FV@B64) (รถยนต์/กระบะ 47%: รถมอเตอร์ไซค์ 16%) ไม่กระทบเพราะมีการปรับโครงสร้างกิจการ ไปอยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ซึ่งไม่มีกำหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ย ส่วนเบี้ยปรับคิดในอัตราที่กำหนด คือ MRR+10% (แต่รวมแล้วไม่เกิน 15%) โดยในปัจจุบัน SAWAD คิดอัตราดอกเบี้ย+เบี้ยปรับเฉลี่ยต่ำมากเพียง 21% จึงไม่เป็นประเด็นที่กังวล
หุ้นในภูมิภาคทุกแห่ง ยังถูกเทขายต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องอีก 917 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นไต้หวัน 408 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 340 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ยังมีเทขายออกมา โดยอินโดนีเซียขายสุทธิ 55 ล้านเหรียญ ตามด้วยฟิลิปปินส์ 19 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 96 ล้านเหรียญ หรือ 3.04 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.76 หมื่นล้านบาท) ขณะที่สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 2.9 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 9.36 พันล้านบาท และคงเป็นการขายตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) อีก 1.2 พันล้านบาท และขายติดต่อกันกว่า 8 วันทำการ มูลค่ารวม 1.65 หมื่นล้านบาท ทำให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังอยู่ที่ระดับ 2.64% (สูงสุดในรอบเกือบ 11 เดือน) ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ยังทรงตัวอยู่บริเวณ 2.95%
ยามที่ตลาดหุ้นผันผวน แนะนำ QH มีฐานรายได้กระจายตัว
ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องสงครามการค้าจีน–สหรัฐฯ ที่อาจจะกระทบประเทศคู่ค้าในวงกว้าง รวมถึงความผันผวนของตลาดทั่วหุ้นโลก ขณะที่ประเด็นการเมืองยังต้องติดตาม ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำหุ้น Defensive รับมือความผันผวนของตลาดฯ คัดกรองโดย เลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดีมากขึ้นไป (มากกว่า 6), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ QH, SC, INTUCH, SCC, RATCH, TVO วันเลือก QH([email protected]) เป็น Top pick
QH เป็นหุ้นที่มีฐานรายการกระจายตัว เช่น แม้เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย แต่มีเพื่อเช่าด้วย ตั้งแต่อาคารสำนักงาน และโรงแรม รวมถึงการลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวในบริษัทร่วม เช่น LHFG, HMPRO เป็นต้น ซึ่งกำไรที่เกิดจากธุรกิจให้เช่า และเงินลงทุนคิดเป็น 40% ของกำไรปกติ ที่เหลือ 60% เป็นกำไรจากอสังหาริมทรัพย์
แต่อย่างไรก็ตามผลกำไรของบริษัทอาจจะไม่เติบโตมากนัก โดยเฉลี่ยราว 8% ในปี 2561-2562 โดยปี 2561 คาดกำไรปกติราว 3.72 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 8% จากปี 2560 โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะมี presale ราว 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโครางการแนวราบ 15 แห่ง มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท
ประเมินมูลค่าหุ้นอิง SOTP ปี 2561 4.3 บาท แยกเป็นมูลค่าหุ้นจากบริษัทร่วม 3 บาท และอีก 1.3 บาท เป็นมูลค่าของ QH และยังมีจุดเด่นที่เงินปันผลสูงเฉลี่ย 7% ต่อปี
Earnings Preview…ยังมีส่วนหนุนตลาดน้อย
SYNTEC ([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 อยู่ที่ 149 ล้านบาท ลดลง 38%QoQ (+ 41%YoY) แม้มีการรับรู้รายได้จากโครงการใหม่เข้ามามากถึง 5 โครงการ แต่การรับรู้รายได้ช่วงแรกจะค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตามจะรับรู้มากขึ้นในงวด 2Q61 เป็นต้นไป อีกทั้งยังมีโอกาสเห็นกำไรพิเศษจากการขายที่ดินจำนวน 55 ไร่ นอกจากนี้ โอกาสได้รับงานใหม่ยังมีเข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลให้ Backlog ปัจจุบัน มีสูงกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท รองรับการสร้างรายได้ถึงปี 2562
GUNKUL(FV@B4) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 ราว 188.2 ล้านบาท เพิ่มเล็กน้อย 3.5%qoq แม้มีแรงหนุนจากความเข้มแสงของโรงไฟฟ้าโซลาร์ที่เพิ่มขึ้น แต่ถูกหักล้างจากไฟฟ้าพลังงานลมให้ผลผลิตน้อยตามฤดูกาล แต่มีแนวโน้มดีขึ้นใน 2Q61 (รับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลมใหม่ 2 โครงการ คือ GNP และ KWE) นอกจากนี้ยังได้ปัจจัยบวกจากความเข้มแสงที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าโซลาร์ เนื่องจากการเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็น high season ขณะเดียวกัน GUNKUL โดยยังมีแผนผลิตเชิงพาณิชย์อีก 6 แห่ง ซึ่งน่าจะเพิ่มทกำลังการผลิตที่ผลิตเชิงพาณิชย์ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 232 เมกะวัตต์ หนุนการเติบโตโดดเด่นในช่วง 2 ปีข้างหน้า (2561-62) เฉลี่ยปีละ 47.3%yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8349