WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  คาด SET ฟื้นตัวต่อ แต่ยังติด 1785-1790 จุด โดยจะมีแรงกดดันจากหุ้นน้ำมัน หลังสต๊อกน้ำมันมากกว่าคาด และมี supply จากสหรัฐที่เพิ่มขึ้น รวมถึงดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าต่อ แม้จะอ่อนตัวระยะสั้นก็ตาม ส่วนในประเทศ การเลือกตั้งอาจถูกเลื่อนออกไป แต่เชื่อว่าการเดินหน้าโครงการลงทุนภาครัฐยังคงมีต่อ ส่วนการรายงานงบ Real sector งวด 1Q61 มีน้ำหนักหนุนดัชนีน้อย กลยุทธ์ เน้น“Domestic Play” ชอบ DTAC(FV@B68
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. วอลลุ่มท้ายตลาดหนุน SET Index ปิดเหนือ 1790
  วานนี้การเคลื่อนไหวของดัชนีฯ ช่วงเช้าแกว่งสลับบวกลบก่อนที่ช่วงท้ายตลาดได้แรงซื้อหนุนดัชนีขึ้นมาปิดที่ 1791.13 จุด เพิ่มขึ้น 11.02 จุด หรือ 0.62% มูลค่าการซื้อขาย 5.65 หมื่นล้านบาท  แรงซื้อช่วงท้ายตลาดเข้ามาหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นโดดเด่นทั้งน้ำมัน PTT PTTEP  ปิโตรฯ IVL ส่วนหุ้นถ่านหินอย่าง BANPU (+6.19%) ทำ new high รอบ 3 สัปดาห์  เนื่องจากราคาหุ้น laggard  มากเมื่อเทียบกับ PTT, PTTEP ด้วยหุ้นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ นำโดย  KTB  ปรับตัวชึ้น xx%หลังจากสถาบันจัดอันดับเครดิต  Fitch  ได้ปรับเพิ่มเรตติ้งการกู้ยืมระยะสั้นจากเดิม F3  เป็น F2  และ ปรับเพิ่มการกู้ยืมระยะยาว จาก เดิม BBB เป็น AA+ โดยยังคง BBL, SCB, KBANK  ส่วนหุ้นธนาคารเล็กทั้ง KKP และ TCAP  ลดลง หลังขึ้น XD  และมีแรงขายทำกำไร BLA หลังราคาหุ้นขึ้น 5% ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
คาดว่าวันนี้ SET Index ยังแกว่งตัวในกรอบ 1790-1760  จุด โดยประเด็นที่กดดันน่าจะมาจากราคาน้ำมันดิบโลก หลังการประกาศสต๊อกน้ำมันสูงกว่าคาด และ earings result  รายตัว
Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด Dollar เริ่มย่อตัว แต่จะมีทิศทางแข็งค่าต่อ 
  ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วานนี้เป็นไปตามคาดคือ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5-1.75%   โดยยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อ  2%  เช่นเดิม แม้ล่าสุดจะขยับขึ้น  2.4% และการจ้างงานใกล้จุดอิ่มที่ (Full employment)  สะท้อนจากอัตราการว่างงานทรงตัวต่อเนื่องที่ 4.1% ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์   ขณะที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงถือเป็นความเสี่ยงต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ
  นอกจากนี้ GDP Growth งวด 1Q61 ที่ชะลอตัวลง เหลือ   2.3%qoq ชะลอจาก  2.9%qoq ใน 4Q60 แต่หากเทียบกับงวด 1Q60 จะขยายตัว 2.9%  ถือว่ายังสอดคล้องกับ IMF คาดทั้งปี 2561 ที่  2.9% 
  โดยรวมทำให้คาดว่า Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ 2 ครั้ง ในการประชุมที่เหลืออีก 5 ครั้งในปีนี้   (ครั้งถัดไปคือรอบ  มิ.ย. และ ก.ย. ขึ้นครั้งละ 0.25%)   ทำให้ดอกเบี้ยฯ สิ้นปีนี้อยู่ที่ราว 2.25% แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางเงินเฟ้อนับจากนี้ และยังเป็นปัจจัยหนุน เงินดอลลาร์อยู่ในทิศทางแข็งค่า แม้จะอ่อนตัวในช่วงสั้นๆ ก็ตาม  ตรงกันข้ามจะหนุนให้เงินบาทกลับมาอ่อนตัว ซึ่งจะดีต่อการส่งออกในงวด 2Q61 ซึ่งเป็นช่วง high seasons
สต๊อกน้ำมันเพิ่มมากกว่าคาด กดดันราคาน้ำมันลงต่อ
  สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2  ที่  6.2 ล้านบาร์เรล (มากกว่าตลาดคาดเพิ่มขึ้น 7.3 แสนบาร์เรล)  เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันลดลง  ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัญหา Oversupply ในสหรัฐยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 825 หลุม (สูงสุดในรอบ 3 ปี)  หนุนกำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐ ล่าสุด ขึ้นมาที่ 10.62 ล้านบาร์เรล/วัน(อันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย)   และตั้งเป้า 11 ล้านบาร์เรลฯ ในปลายปีนี้   ทำให้อุปทานน้ำมันที่คาดว่าจะคลี่คลายใน 2H61 อาจจะเลื่อนออกไปปีหน้า
  นอกจานี้เงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าในระยะกลาง-ยาว ยังกดดันราคาน้ำมันดิบโลก  ซึ่งทำให้คาดว่าราคาน้ำมันดูไบยังไม่ผ่านแนวต้าน  70 เหรียญบาร์เรล  (ytd 65เหรียญฯ)  ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันล้วนมี upside จำกัด ทั้ง PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B54) จึงแนะนำ Switch ไป BANPU([email protected])  ซึ่ง ยัง laggards มากเมื่อเทียบกับหุ้นทั้ง 2
ศาลฯ นัดแถลงผลวินิจฉัย พ.ร.ป. 2 ฉบับ 23 พ.ค. เลือกตั้งอาจเลื่อนเป็น 2Q62
  ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัย กรณีขอให้ตีความว่าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 23 พ.ค. 2561ทั้งนี้หากผลการวินิจฉัยออกมาว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะเริ่มกระบวนการนำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ  แต่หากศาลฯ เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไข ซึ่งคาดหวังว่าจะใช้เวลาไม่นานหากเป็นการแก้ไขในชั้นของ สนช. เมื่อแล้วเสร็จจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ
  หากเป็นกรณีที่ ศาลฯ วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ กระบวนการที่จะเดินจากนี้ใช้ระยะเวลาสูงสุดตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด คาดว่าจะเห็นการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2561 หลังจากนั้นภายใน 90 วัน หรือราว ก.ย. 2561 ก็น่าจะมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งทำให้ พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว.ฯ มีผลบังคับทันที่ ส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะมีผลบังคับในอีก 90 วันข้างหน้า หรือ ธ.ค.2561 ส่วนการเลือกตั้งกำหนดให้จัดภายใน 150 วันหลังกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้ ซึ่งก็น่าจะทำให้กำหนดการเลือกตั้งถูกกำหนดในช่วง 2Q62 อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามขั้นตอนการปฎิบัติจากนี้ไปอีกหลายเรื่อง ซึ่งทำให้ปัจจัยการเมืองยังสร้างแรงกดดันต่อ SET Index
ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
  วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค 276 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 179 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 11 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 37 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.34 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.46 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.50 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติยังขายสุทธิ 4.89 พันล้านบาท โดยเฉพาะตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) ยังถูกขายอีก 3.7 พันล้านบาท และขายติดต่อกันกว่า 7 วัน ด้วยมูลค่ารวม 1.54 หมื่นล้านบาท หนุนให้ Bond Yield 10 ปี ของไทยยังขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.64% (สูงสุดในรอบเกือบ 11 เดือน) ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ยังทรงตัวอยู่ที่ 2.96%
 โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 1 ใน EEC จะทำ TOR ดีต่อรับเหมาฯ
โ  ครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐมีความคืบหน้าขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะโครงการร่วมทุนรัฐและเอกชนร่วมลงทุน (PPP)  หลังจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กำลังอยู่ในระหว่างการเร่งจัดทำ TOR และน่าจะขายซองประมูลได้ภายในเดือนนี้ โครงการเร่งด่วนที่จะตามคือ คือ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงินราว 1.2 แสนล้านบาท สัมปทาน 30 ปี  (1 ใน โครงการ EEC) 
ล่าสุดมีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจลงทุนเช่นกัน โดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งสรุปผลการศึกษาและจัดทำร่าง TOR   น่าจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอในเดือน ส.ค. ก่อนลงนามสัญญาในเดือน พ.ย. และน่าจะลงมือก่อสร้างได้ในเดือน ก.พ. 62
  ถือเป็นประเด็นบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ราคาหุ้นยัง laggard อย่างมาก อาทิ CK และ STEC ที่ได้ประโยชน์ตรงจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขณะที่โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ผู้รับเหมาที่เคยได้รับงานก่อสร้างท่าเรือมาก่อน ทั้ง ITD และ NWR น่าจะได้ประโยชน์มากสุด
ลดกำไร DELTA ลงปีละ 24% จากต้นทุนสูงขึ้น
  DELTA เผชิญปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนรุนแรงขึ้นในปี 2561 เนื่องจากความต้องการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบชิ้นส่วนฯสูงขึ้น อาทิ แผงวงจร (Integrated Circuit) กดดันแนวโน้มประสิทธิภาพการทำกำไรในปี 2561 ลดลง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการใช้เวลาสั่งซื้อวัตถุดิบยาวนานขึ้น (lead time) เป็น 4-6 สัปดาห์ จากปกติอยู่ที่ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานงวด 2Q61 รุนแรงกว่างวด 1Q61 นำไปสู่การปรับลดประมาณการกำไรปี 2561-62 ลง 25.7% และ 22.4% จากเดิม
  โดยภายหลังปรับลดประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2561 จะลดตัวลง 12.6% yoy ขณะที่คาดกำไรจากการดำเนินงานในปี 2561 จะลดลงถึง 24.1% yoy จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบข้างต้น
  กำหนดมูลค่าพื้นฐานใหม่เท่ากับ 60 บาท (เดิม 77.60 บาท) อิงวิธี DCF (WACC 11.58%) ราคาหุ้นปัจจุบันมี downside จากมูลค่าพื้นฐานกว่า 10% จึงยังคงคำแนะนำขาย
Earnings results งวด 1Q61: GLOW ดีกว่าคาด
  วานนี้มีหุ้นในกลุ่มมิใช่ธนาคารฯ รายงานงบ 1Q61 เพิ่มคือ  GLOW (FV@B)   กำไรสุทธิ 2.6 พันล้านบาท เพิ่ม 34.9%qoq   ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม จากผลของฤดูกาล  และ Fx gains ที่เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนจากผลของเงินบาทที่แข็งค่า  และยังคาดว่างวด  2Q61 คาดกำไรจะทรงตัวระดับสูงใกล้เคียงงวด 1Q61  แต่กำไรโดยรวมในปี 2561 น่าจะทรงตัวจากปี 2560 และ มีลักษณะชะลอตัว ตราบที่ไม่มีโครงการใหม่ๆ     เกิดขึ้น เพราะโรงไฟฟ้า IPP  ทยอยใกล้หมดอายุ กำไรส่วนใหญ่จะมาจากโรงไฟฟ้า SPP (ประมาณ 60% ของรายได้)  
ส่วนหุ้นที่นักวิเคราะห์ ASPS ทยอยทำ Earnings preview ออกมาเพิ่มเติมมีดังนี้
  MCS ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ พลิกกลับมาเป็นบวกอยู่ที่ 141 ล้านบาท (เทียบ 1Q60 ที่มีผลขาดทุน 63 ล้านบาท)  จากที่ส่งมอบโครงสร้างเหล็กของโครงการ OH-1 และแม้ตัด FX Loss คาดมีกำไรปกติสูงถึง 151 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มผลกำไรในปี 2561 ประเมินว่าจะหดตัว 19% จากปี 2560  เพราะอัตราการทำกำไรที่ลดลง (จากงานที่กำไรต่ำ และ ผลของเงินบาทที่แข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินเยน) แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าดีขึ้นในปี 2562  ขณะที่ MCS ยังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่เป็นคนไทยมีประสบการณ์ด้านการผลิต มาดูแลด้านการตลาดเต็มตัว แทนผู้บริหารเดิมที่ชำนาญตลาดญีปุ่น จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนได้เช่นเดิมหรือไม่ เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม 
  ORI (Switch: [email protected]) คาดกำไรปกติ 1Q61 อยู่ที่ 141 ล้านบาท แม้เพิ่ม 96% yoy แต่กลับลดลง 55% qoq  เพราะมียอดโอนลดลง แต่ช่วงที่เหลือของปีจะดีขึ้นตามยอดการโอนคอนโดใหม่ จำนวน 6 โครงการ
     AP ([email protected]) คาดกำไรปกติ 1Q61 อยู่ที่ 785 ล้านบาท  เพิ่ม 43% yoy (แต่ลดลง 42.1% qoq) จากยอดโอนฯ แนวราบ และอัตรากำไรที่ดีขึ้น และแนวโน้มจะดีขึ้นนับจาก 2H61   จากการเปิดตัวโครงการใหม่ 27 โครงการ, ยอดโอนคอนโดใหม่ 5 โครงการ และรับรู้ส่วนแบ่งกำไรบริษัท  JV มากขึ้น
  BLA ([email protected]) คาดกำไรสุทธิ 1Q61 เท่ากับ 1.46 พันล้านบาท  ลด 16.3% qoq (แต่เพิ่ม 58.2% yoy )  รายได้พิเศษจากการโอนกลับสำรองเบี้ยประกันชีวิต (LAT Reserve) มีแนวโน้มลดลงจากงวด 4Q61  (1 พันล้านบาท เหลือ 600 ล้านบาท)  ที่แปรผกผันกับดอกเบี้ยตลาดที่เริ่มขยับตัวขึ้น (ส่วนใหญ่ อิง Bond Yield 10) 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO8296

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!