WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 


“ติดตามผลประชุมเฟด & กำไร 1Q61”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ต่างประเทศ –เฟดจะมีการประชุมคืนนี้เป็นวันสุดท้าย ต้องติดตามผลประชุม ปัจจัยลบคือ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าที่ 92.466 อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐใกล้ระดับ 3% อีกครั้ง ทั้งนี้ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญนั้น พุ่งขึ้น 1.9% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว จึงมีความกังวลเรื่องเงินไหลออกได้ โภคภัณฑ์พากันปรับตัวลง เพราะไปเก็งกำไรดอลลาร์แทน ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้เปิดมาอ่อนลง
  ในประเทศ – SET Index วันจันทร์ปรับขึ้น 2.09 จุดปิดที่ 1780.11 โดยนลท.ต่างชาติขายสุทธิถึง 2.7 พันลบ. สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.1 พันลบ. ขณะที่พอร์ตบล. และรายย่อยซื้อสุทธิเล็กน้อย นับว่า SET ปรับขึ้นในอัตราน้อยกว่าเพื่อนบ้าน ก่อนวันหยุดแรงงาน 1 พ.ค.61 ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี กลับมาอ่อนน้อยกว่า 3% แต่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯยังสูงขึ้น ในช่วงนี้ปัจจัยที่มีน้ำหนักอยู่ที่รายงานกำไรบจ.งวด 1Q61 ซึ่งจะทยอยออกมาถึงกลางเดือนพ.ค. ด้านต่างประเทศคือ การประชุมเฟด 1-2 พ.ค.61 และศุกร์ 4 พ.ค.61 มีถ้อยแถลงของเฟดสาขาต่างๆ เพื่อติดตามทิศทางดอกเบี้ย และประกาศ GDP ฝั่งยุโรป ในสัปดาห์นี้ กลยุทธ์เน้นหุ้นรายตัว (Selective Buy) ในหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดี และมีประเด็นที่น่าสนใจในระยะนี้ (Good Story) ตามบทวิเคราะห์รายตัว
  Update กลุ่มและหุ้น : CPALL –คาดการณ์กำไรหลัก 1Q60 เติบโตสดใสเป็น 19% y-o-y ที่ 5.7 พันล้านบาท อัตราเติบโตสาขาเดิม (SSSG) ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเป็นบวก 3.4% y-o-y แต่ของขายส่ง คือ MAKRO อยู่ในเกณฑ์ทรงตัว ด้านข่าวลบเรื่อง รายได้จากการให้บริการเช่น จ่ายบิลอาจลดน้อยลง หลังธนาคารประกาศลดค่าธรรมเนียม แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่จำกัด เพราะมีสัดส่วนรายได้และกำไร EBIT เพียง 1-1.5% และ 5% ตามลำดับ ยังคงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาพื้นฐาน 95.00 บาท ซึ่งประเมินด้วยวิธี DCF
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพมีลักษณะแกว่งลง ซื้อใหม่เน้นค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1785-1790, 1800 Stop loss ถ้าหลุด 1770 (SET ปิดที่ 1780.11) โดยมีแนวรับ 1760-1750
  สำหรับการ Scan หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็นJMT,WHA,DTAC,TPIPP,HMPRO,SAMART,GULF,SAT ที่ยังคงอยู่ใน List ได้แก่ TRUE,SGP,GPSC,BEM,JMART,TFG หุ้นที่หลุด List ไม่มี และที่ให้หาจังหวะ Take profit เป็น BJC,CENTEL,TVO,PSL,GLOBAL
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ตลาดหุ้นยุโรป วันจันทร์ปิดอยู่ในโซนบวก
  # แต่อยู่ในลักษณะแกว่งตัวแคบๆมากกว่า เพื่อติดตามรายงานผลประกอบการของบริษัทต่างๆที่ทยอยประกาศออกมาในช่วงนี้ ขณะที่มีข่าวควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งรวมถึงการควบรวมกิจการระหว่าง เจ เซนส์บูรี พีแอลซี ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของอังกฤษ และอัสด้า ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกในเครือของวอลมาร์ท ขณะที่วานนี้ปิดทำการเพราะเป็นวันแรงงาน
-สหรัฐเผยดัชนี PCE พุ่ง 2.0% ในเดือนมี.ค.เทียบรายปี เพิ่มขึ้นมากสุดรอบกว่า 1 ปี
  # กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พุ่งขึ้น 2.0% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือน ก.พ.เราเห็นว่าเป็นลบที่เศรษฐกิจสหรัฐยังร้อนแรง ซึ่งมีผลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด แต่ยังต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงาน
+ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอื่นๆประกาศวานนี้ แต่ดูอ่อนลง
  # กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 1.7% ในเดือนมี.ค. หลังจากขยับขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนก.พ. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค.
  # ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ลดลงสู่ระดับ 57.3 ใน เดือนเม.ย. จากระดับ 59.3 ในเดือนมี.ค. ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าดัชนีจะปรับตัวลงสู่ระดับ 58.4
• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศออกมาสัปดาห์นี้
  # ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนเม.ย.จาก ADP, ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนเม.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดุลการค้าเดือนมี.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), คำสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมี.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.
•/+ ภาวะตลาดหุ้น : ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงเป็นวันที่ 3
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,099.05 จุด ลดลง 64.10 จุด หรือ -0.27% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,654.80 จุด เพิ่มขึ้น 6.75 จุด หรือ +0.25% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,130.70 จุด เพิ่มขึ้น 64.44 จุด หรือ +0.91%
  # ดาวโจนส์ปิดปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (1 พ.ค.) จากการที่นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนรู้ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ พร้อมจับตาสถานการณ์ด้านการค้าอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P 500 และดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
• ภาวะตลาดน้ำมัน : ราคาปรับลด เก็งกำไรดอลลาร์แทน กังวลสหรัฐผลิตเพิ่ม
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 1.32 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 67.25 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 1.56 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 73.13 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # น้ำมันได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่า และรายงานจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า การผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอดูการตัดสินใจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านอีกครั้งหรือไม่
+ ภาวะตลาดทองคำ : ราคาปรับลง 0.94% หลังค่าเงิน US$ แข็งค่า
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 12.4 ดอลลาร์ หรือ 0.94% ปิดที่ 1,306.8 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้ลดความน่าดึงดูดของราคาทองคำ นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นใกล้ระดับ 3.0% อีกครั้งเมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหลักทรัพย์
+ เศรษฐกิจไทย มี.ค.61 อยู่ในเกณฑ์ดี
  # เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้า เติบโต 6.3% y-o-y และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 16.3% y-o-y สอดคล้องกับการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ
  # ด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกือบทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน
  # สำหรับการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง ส่วนหนึ่ง จากผลของฐานที่สูงในปีก่อน การใช้จ่ายภาครัฐลดลงตามรายจ่ายลงทุนขณะที่รายจ่ายประจำยังคงขยายตัว
  # ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเป็นสำคัญ
  # อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามรายรับจากภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สิน (ที่มา: ธปท.)
-/• คสช.ยังไม่ลงนาม การใช้มาตรา 44 ช่วยเหลือ TV ดิจิตัล
  # จากก่อนหน้าที่หลักทรัพย์กลุ่มนี้ ได้แก่ BEC, RS, WORK, MCOT, MONO รับข่าวดีไปส่วนหนึ่งแล้ว ในเรื่องมาตรการช่วยเหลือ ทั้งพักค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3 ปี และช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโครงข่ายไปอีก 2 ปี จึงยังต้องติดตาม ว่าในที่สุดจะมีมาตรา 44 ออกมาหรือไม่ โดยเฉพาะกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมอีกครั้งเป็นปลาย พ.ค.61 นี้แล้ว หากกลายเป็นว่าไม่มีหรือล่าช้า ก็อาจส่งผลลบต่อหลักทรัพย์หมวดนี้ได้
-ITD มีข่าว รฟม.จะขึ้น Black List ไม่ให้ประมูลงาน เพราะข่าวล่าเสือดำ
  # ถือเป็นข่าวลบ หลังจากบริษัทไม่มีความเคลื่อนไหว เรื่องเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงของบริษัท คือ นายเปรมชัย กรรณสูตรที่ถูกกล่าวหาหลายข้อหา ในคดีไปฆ่าเสือดำซึ่งเป็นสัตว์สงวน
+ WHA ผู้บริหารให้สัมภาษณ์ กำไร 1Q61 เติบโตก้าวกระโดด สอดคล้องกับที่เราทำ Preview
  # ประเด็นบวกระยะสั้น คาดกำไร 1Q61 โต 9.7 เท่าตัว y-o-y เป็น 789 ล้านบาท ปัจจัยหลักคือ มีรายได้จากการขายสินทรัพย์เข้า REIT เพิ่มใน 1Q61 ที่ 1.6 พันล้านบาท ขณะที่ y-o-y ไม่มีการขายแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการขายที่ล่าช้ามาจาก 4Q60 แนวโน้มธุรกิจปี 61 มีความสดใสต่อเนื่อง เพราะมีที่ดินนิคมฯในเชต EEC มากถึง 9 พันไร่ คาดว่าจะขายดีตั้งเป้าขายปีนี้ที่ 1,400 ไร่ คงคำแนะนำ ซื้อ ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 5.20 บาท
+ BEM, BTS เก็งกำไรข่าวเข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินหลัก EEC
  # รัฐจะเปิดประมูลการร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินหลัก EEC คือ สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา จะมีทั้งงานในส่วนโยธาและบริหารเดินรถ ในมูลค่างานถึง 2 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นงานใหญ่ และมีศักยภาพในอนาคตอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการจับคู่พันธมิตรเพื่อเข้าร่วมประมูล สาย CK คือ ร่วมกับลูกคือ BEM ส่วนสาย BTS จะเป็นกลุ่มเดิมที่เคยจับคือ STEC และมีข่าวเพิ่มเติมว่า PTT สนใจจะเข้าในกลุ่มนี้ด้วย แต่ยังไม่ยืนยัน ถ้าหากจริงก็ถือว่ากลุ่มนี้จะแข็งแกร่งมาก คงคำแนะนำ ซื้อ สำหรับ BEM, BTS และ CK
• จะมีการเปลี่ยนชื่อ และสัญลักษณ์การซื้อขายสำหรับ MTLS และ FER
  # ในวันที่ 2 พ.ค.61 บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (MTLS) เปลี่ยนเป็น บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (MTC) และในวันที่ 4 พ.ค.61 บริษัท เฟอร์รั่ม จำกัด (มหาชน) (FER) เปลี่ยนเป็น บริษัท เซเว่น ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (7UP)
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO8224

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!