- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 20 April 2018 17:58
- Hits: 425
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET รีบาวด์ขึ้นได้เหนือความคาดหมายปิดบวกถึง 23.38 จุด โดยกลุ่มพลังงานนำตลาดได้ตามคาด โดยหุ้นในกลุ่มปตท. 3 ตัวกระทบ SET ถึงเกือบ 15 จุดจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ขณะที่กลุ่มธนาคารซึ่งอยู่ในช่วงประกาศกำไร 1Q18 ส่วนใหญ่ปรับตัวลง นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิ 1.6 พันลบ. (และ Net Long ใน Index Futures สูงกว่า 1 หมื่นสัญญา) ส่วนสถาบันในประเทศยังซื้อเร่งขึ้นเป็น 4.6 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways พักฐานหลังจากที่ปรับตัวขึ้นแรงวานนี้ ขณะที่ความกังวลเรื่อง Bond Yield เริ่มกลับมาอีกครั้งหลังล่าสุดปรับตัวขึ้นเหนือ 2.9% และเข้าใกล้จุดสูงเดิมในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะที่ผลประกอบการกลุ่มธนาคารส่วนใหญ่ออกมาใกล้เคียงคาดทำให้ขาดปัจจัยหนุนและนักลงทุนต่างรอดูผลกระทบจากการฟรีค่าธรรมเนียมใน 2Q18 มากกว่า ขณะที่วันนี้ต้องติดตามการพิจารณาสูตราคาน้ำมันของกบง. เราจึงมองว่าหุ้นที่ยัง Laggard และคาดมีกำไร 1Q18 น่าจะเป็นเป้าในการถูกเก็งกำไรและจะสามารถ Outperform ตลาดได้ในระยะนี้
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีผลประกอบการ 1Q18 แข็งแกร่งโดยเฉพาะตัวที่ Laggard ตลาด
หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BDMS, CPN, ERW, KBANK, SYNEX
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$387ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$210ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$52ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าหลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสและการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> BEM <<
แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 10 บาท
แนวโน้มกำไร 1Q18 เติบโตดีทั้ง Q-Q และ Y-Y จากสถิติผู้โดยสารรถไฟฟ้า +6% Y-Y และรถบนทางด่วนเพิ่มทุกเส้นทาง +2% Y-Y บวกกับมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
คาดกำไรปีนี้ +18% Y-Y เป็น 3.7 พันลบ. จากต้นทุนที่ลดลงตามการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อเต็มปี
มีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ลบ. ใน 2Q18 รวมถึงมี Upside จากการเปิดประมูลทางด่วน 2 สาย และรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ซึ่ง BEM มีความได้เปรียบเพราะเป็นส่วนต่อเนื่องจากของเดิมที่มี
กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET รีบาวด์ขึ้นได้เหนือความคาดหมายปิดบวกถึง 23.38 จุด โดยกลุ่มพลังงานนำตลาดได้ตามคาด โดยหุ้นในกลุ่มปตท. 3 ตัวกระทบ SET ถึงเกือบ 15 จุดจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ขณะที่กลุ่มธนาคารซึ่งอยู่ในช่วงประกาศกำไร 1Q18 ส่วนใหญ่ปรับตัวลง นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิ 1.6 พันลบ. (และ Net Long ใน Index Futures สูงกว่า 1 หมื่นสัญญา) ส่วนสถาบันในประเทศยังซื้อเร่งขึ้นเป็น 4.6 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways พักฐานหลังจากที่ปรับตัวขึ้นแรงวานนี้ ขณะที่ความกังวลเรื่อง Bond Yield เริ่มกลับมาอีกครั้งหลังล่าสุดปรับตัวขึ้นเหนือ 2.9% และเข้าใกล้จุดสูงเดิมในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะที่ผลประกอบการกลุ่มธนาคารส่วนใหญ่ออกมาใกล้เคียงคาดทำให้ขาดปัจจัยหนุนและนักลงทุนต่างรอดูผลกระทบจากการฟรีค่าธรรมเนียมใน 2Q18 มากกว่า ขณะที่วันนี้ต้องติดตามการพิจารณาสูตราคาน้ำมันของกบง. เราจึงมองว่าหุ้นที่ยัง Laggard และคาดมีกำไร 1Q18 น่าจะเป็นเป้าในการถูกเก็งกำไรและจะสามารถ Outperform ตลาดได้ในระยะนี้
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีผลประกอบการ 1Q18 แข็งแกร่งโดยเฉพาะตัวที่ Laggard ตลาด
หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BDMS, CPN, ERW, KBANK, SYNEX
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$387ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$210ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$52ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าหลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสและการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> BEM <<
แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 10 บาท
แนวโน้มกำไร 1Q18 เติบโตดีทั้ง Q-Q และ Y-Y จากสถิติผู้โดยสารรถไฟฟ้า +6% Y-Y และรถบนทางด่วนเพิ่มทุกเส้นทาง +2% Y-Y บวกกับมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
คาดกำไรปีนี้ +18% Y-Y เป็น 3.7 พันลบ. จากต้นทุนที่ลดลงตามการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อเต็มปี
มีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ลบ. ใน 2Q18 รวมถึงมี Upside จากการเปิดประมูลทางด่วน 2 สาย และรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ซึ่ง BEM มีความได้เปรียบเพราะเป็นส่วนต่อเนื่องจากของเดิมที่มี
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) ที่ประชุมสนช. คว่ำการคัดเลือกบอร์ดกสทช. เพราะคุณสมบัติผู้เข้ารับการสรรหาเกือบ 10 คน ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการถือหุ้นกิจการสื่อ เรามองเป็น Sentiment เชิงลบ เพราะจะทำให้โครงการต่างๆอาจล่าช้า โดยเฉพาะ DTAC ที่ถูกกระทบมากที่สุดหากต้องเลื่อนประมูลคลื่น ตรงข้ามกับ TRUE และ ADVANC ที่ไม่กระทบจากคลื่นในมือที่มีเพียงพอ
(0) SCB รายงานกำไรสุทธิ 1Q18 ที่ 1.13 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 23.5% Q-Q (จากการตั้งสำรองฯที่ลดลง) แต่ลดลง 4.6%Y-Y เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น 21% Y-Y ทั้งจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและลงทุนระบบไอที เงินให้สินเชื่อ +1.4% Q-Q ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าในกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งส่งผล NIM ลดลงมาที่ 3.18% จาก 3.28% ในไตรมาสก่อน คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น NPL ratio อยู่ที่ 2.77% ลดลงจาก 2.84% ในไตรมาสก่อน และ Coverage ratio สูงขึ้นเป็น 141.9% จาก 137.3% คงประมาณการและราคาเหมาะสม 155 บาท แนะนำถือ
(0) TMB รายงานกำไร 1Q18 ที่ 2,280 ลบ. +1% Q-Q และ +8.7% Y-Y ใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาดไว้ รายได้รวมน้อยกว่าที่เราคาด ซึ่งเกิดจากรายได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคาดเพราะสินเชื่อที่มี Low loan yield (สินเชื่อที่อยู่อาศัย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ NIM ลดลง < 3% เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ดีกว่าคาด โดย Cost to income ratio อยู่ที่ 45% เราคงประมาณการกำไรปีนี้ที่ 1 หมื่นลบ. +15.6% Y-Y คงราคาเหมาะสมที่ 3.30 บาท และยังแนะนำซือ ราคาหุ้นที่ร่วงก่อนหน้านี้มาจากความกังวลเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนที่มากไป เพราะ TMB ไม่ได้เก็บอยู่แล้ว
(0) BAY รายงานกำไร 1Q18 ที่ 6.2 พันลบ. +9.4% Q-Q, +10% Y-Y ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ เราประทับใจที่รายได้หลักที่เติบโต 1.8% Q-Q และ 11% Y-Y ซึ่งมาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการเติบโตของสินเชื่อ แต่สังเกตว่า NIM อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 3.76% จาก 3.84% ใน 4Q17 จาก Portfolio mix ที่เป็น Corporate มากขึ้น ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย +2.2%Q-Q, +15.7%Y-Y และควบคุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพกว่าที่คาดไว้ กำไร 1Q18 คิดเป็น 25% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ 2.48 หมื่นลบ. (+6.9% Y-Y) เราจึงคงประมาณการเดิมไว้ก่อน และคงราคาเหมาะสมที่ 42 บาท แนะนำถือ
(+) THANI กำไร 1Q18 อยู่ที่ 364 ลบ. +13.6% Q-Q และ +47.9% Y-Y ดีกว่าที่เราและตลาดคาดจากรายได้ดอกเบี้ยรับที่มากกว่าคาด และดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำกว่าคาด รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการขายที่น้อยกว่าที่คาดไว้ เรามีแนวโน้มปรับประมาณการกำไรทั้งปีขึ้น คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 9.40 บาท
(0) ที่ประชุมสนช. คว่ำการคัดเลือกบอร์ดกสทช. เพราะคุณสมบัติผู้เข้ารับการสรรหาเกือบ 10 คน ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการถือหุ้นกิจการสื่อ เรามองเป็น Sentiment เชิงลบ เพราะจะทำให้โครงการต่างๆอาจล่าช้า โดยเฉพาะ DTAC ที่ถูกกระทบมากที่สุดหากต้องเลื่อนประมูลคลื่น ตรงข้ามกับ TRUE และ ADVANC ที่ไม่กระทบจากคลื่นในมือที่มีเพียงพอ
(0) SCB รายงานกำไรสุทธิ 1Q18 ที่ 1.13 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 23.5% Q-Q (จากการตั้งสำรองฯที่ลดลง) แต่ลดลง 4.6%Y-Y เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น 21% Y-Y ทั้งจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและลงทุนระบบไอที เงินให้สินเชื่อ +1.4% Q-Q ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าในกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งส่งผล NIM ลดลงมาที่ 3.18% จาก 3.28% ในไตรมาสก่อน คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น NPL ratio อยู่ที่ 2.77% ลดลงจาก 2.84% ในไตรมาสก่อน และ Coverage ratio สูงขึ้นเป็น 141.9% จาก 137.3% คงประมาณการและราคาเหมาะสม 155 บาท แนะนำถือ
(0) TMB รายงานกำไร 1Q18 ที่ 2,280 ลบ. +1% Q-Q และ +8.7% Y-Y ใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาดไว้ รายได้รวมน้อยกว่าที่เราคาด ซึ่งเกิดจากรายได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคาดเพราะสินเชื่อที่มี Low loan yield (สินเชื่อที่อยู่อาศัย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ NIM ลดลง < 3% เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ดีกว่าคาด โดย Cost to income ratio อยู่ที่ 45% เราคงประมาณการกำไรปีนี้ที่ 1 หมื่นลบ. +15.6% Y-Y คงราคาเหมาะสมที่ 3.30 บาท และยังแนะนำซือ ราคาหุ้นที่ร่วงก่อนหน้านี้มาจากความกังวลเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนที่มากไป เพราะ TMB ไม่ได้เก็บอยู่แล้ว
(0) BAY รายงานกำไร 1Q18 ที่ 6.2 พันลบ. +9.4% Q-Q, +10% Y-Y ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ เราประทับใจที่รายได้หลักที่เติบโต 1.8% Q-Q และ 11% Y-Y ซึ่งมาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการเติบโตของสินเชื่อ แต่สังเกตว่า NIM อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 3.76% จาก 3.84% ใน 4Q17 จาก Portfolio mix ที่เป็น Corporate มากขึ้น ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย +2.2%Q-Q, +15.7%Y-Y และควบคุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพกว่าที่คาดไว้ กำไร 1Q18 คิดเป็น 25% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ 2.48 หมื่นลบ. (+6.9% Y-Y) เราจึงคงประมาณการเดิมไว้ก่อน และคงราคาเหมาะสมที่ 42 บาท แนะนำถือ
(+) THANI กำไร 1Q18 อยู่ที่ 364 ลบ. +13.6% Q-Q และ +47.9% Y-Y ดีกว่าที่เราและตลาดคาดจากรายได้ดอกเบี้ยรับที่มากกว่าคาด และดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำกว่าคาด รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการขายที่น้อยกว่าที่คาดไว้ เรามีแนวโน้มปรับประมาณการกำไรทั้งปีขึ้น คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 9.40 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
17-27 เม.ย.- ไทย: ผลประกอบการ 1Q18 ของกลุ่มแบงก์
20 เม.ย.- ไทย: กบง. พิจารณาสูตรราคาน้ำมันใหม่
- ญี่ปุ่น: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.)
23 เม.ย.- ไทย: ดุลการค้า (มี.ค.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง แอปเปิ้ล หลังตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการสมาร์ทโฟนจะเริ่มชะลอตัวลง
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเล็กน้อยโดยได้รับอานิสงค์จากหุ้นในกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
(-) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงโดยเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวัน หลังบริษัท ไต้หวันเซมิคอนดัคเตอร์ เจอแรงเทขายจากความต้องการสมาร์ทโฟนที่คาดว่าจะลดลง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความกังวลในตลาดฟิลิปปินส์จากเงินเฟ้อที่พุ่งแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในอนาคต
() ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆของโลก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สดใส ทำให้ล่าสุดค่าเงินปรับขึ้นมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.25-31.30 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ลดลง 0.18 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 68.29 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังเกิดแรงขายทำกำไรจากการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้า
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 4.70 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,348.80 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและตลาดคลายกังวลในคาบสมุทรเกาหลี
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com
FB : FINNANSIA SYRUS SECURITIES LINE : @fnsyrus
OO7777
17-27 เม.ย.- ไทย: ผลประกอบการ 1Q18 ของกลุ่มแบงก์
20 เม.ย.- ไทย: กบง. พิจารณาสูตรราคาน้ำมันใหม่
- ญี่ปุ่น: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.)
23 เม.ย.- ไทย: ดุลการค้า (มี.ค.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง แอปเปิ้ล หลังตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการสมาร์ทโฟนจะเริ่มชะลอตัวลง
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเล็กน้อยโดยได้รับอานิสงค์จากหุ้นในกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
(-) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงโดยเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวัน หลังบริษัท ไต้หวันเซมิคอนดัคเตอร์ เจอแรงเทขายจากความต้องการสมาร์ทโฟนที่คาดว่าจะลดลง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความกังวลในตลาดฟิลิปปินส์จากเงินเฟ้อที่พุ่งแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในอนาคต
() ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆของโลก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สดใส ทำให้ล่าสุดค่าเงินปรับขึ้นมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.25-31.30 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ลดลง 0.18 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 68.29 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังเกิดแรงขายทำกำไรจากการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้า
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 4.70 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,348.80 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและตลาดคลายกังวลในคาบสมุทรเกาหลี
Contact person : Jitra Amornthum Register : 014530
Tel: 02-646-9966
www.fnsyrus.com
FB : FINNANSIA SYRUS SECURITIES LINE : @fnsyrus
OO7777