WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  สต็อกน้ำมันที่ลดลง และ OPEC คงกำลังการผลิต หนุนราคาน้ำมันฟื้นตัวแตะ 70 เหรียญฯ ทำต้นทุนสายการบินเพิ่ม ขณะที่การรายงานงบ 1Q61 ของแบงก์ คาดดีขึ้นจาก 4Q61 แต่ปัจจัยบวกจากยอดขอลงทุนผ่าน BOI ใน 1Q61 ทะลุ 2 แสนล้านบาท และความคืบหน้ารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่า SET Index จะแกว่งในกรอบ 1765-1783 จุด.....Top picks เลือก  PLANB([email protected]) เป็นหุ้น Growth ราคาหุ้นยัง Laggard และ SC([email protected]) จุดเด่นจากเปิดโครงการแนวราบ เน้นตลาดกลาง-บน รวมทั้ง Dividend Yield สูง และเพิ่ม BANPU ([email protected]) มีโอกาสปรับมูลค่าเพิ่มราว 19.5% จากราคาถ่านหินที่สูงกว่าประมาณการ
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. ตลาดฟื้นตัว หุ้นใหญ่ BBL, KBANK, KTB หนุน
  วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวแรง  และปิดตลาดที่ 1771.56 จุด เพิ่ม 16.03 จุด หรือ 0.91% มูลค่าการซื้อขาย 5.02 หมื่นล้านบาท แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ CPALL PTT EA SCC ตามด้วยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มธ.พ. KTB SCB BBL และหุ้นที่ผลประกอบการโดดเด่นอย่าง KTC (+5.77%) รวมถึงหุ้นนิคมฯ ทั้ง WHA  AMATA บวกแรง 7% และ 6.97% ตามลำดับ  ซึ่งน่าจะเกิดจากยอดขอ BOI ในงวด 1Q61 ดีกว่าตลาดคาด ตรงกันข้าม BANPU ราคาลดลง 4.46% จากประเด็นรัฐบาลจีนยืดระยะเวลาควบคุมนำเข้าถ่านหินผ่านท่าเรือขนาดเล็กต่อในปี 2561 อย่างไรก็ตามถือว่ากระทบต่อ BANPU น้อย  เพราะปกติมีการ ส่งถ่านหินผ่านท่าเรือขนาดใหญ่ 
  คาดว่าวันนี้ SET Index กลับมรแกว่งตัวบวกในกรอบ 1765-1783 จุด จากแรงหนุนหุ้นน้ำมัน ตามราคาน้ำมันดิบทื่ฟื้นตัว  และ  การรายงานงบของธนาคาร คาดว่าน่าจะมีแรงขายรับงบ หลังจากนี้
ราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะ 70 เหรียญฯ กระทบต้นทุนสายการบิน  
  สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบ ลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล (เทียบกับตลาดคาดลดลง 5 แสนบาร์เรล)  บวกกับปัญหาความขัดแยังในตะวันออกกลาง (อิหร่านซึ่งมีโอกาสที่จะถูกสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าอีกครั้ง  และซาอุดิอาระเบียซึ่งถูกโจมตีจากกลุ่มกบฎเยเมนปลายสัปดาห์ที่แล้ว)   รวมถึง ร่วมมือลดกำลังการผลิตในกลุ่ม OPEC และ Non OPEC ยังมีอยู่จนถึงปลายปีนี้
  ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนหนุนให้ราคาน้ำมันดิบดูไบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่งอยู่ที่   70.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล  หรือ จากต้นปีถึงปัจจุบัน  65 เหรียญฯ ยังใกล้เคียงสมมติฐาน ASPS หนุน PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 13%   ขณะที่กระทบกลุ่มขนส่ง   โดยเฉพาะสายการบินที่มีต้นทุนกว่า 30-40% ของต้นทุนรวม  และมีการป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าน้อย  คือ  AAV เพียง 10% ของปริมาณใช้ ส่วน BA และ  THAI  สัดส่วน 40%    ทั้งนี้หากราคาน้ำมันดิบเพิ่มมากกว่าสมมติฐาน 5 เหรียญ จะกระทบกำไรสุทธิปี 2561 ต่อ   AAV,  BA และ THAI ลดลง 32%, 90% (%ลดลงมากเพราะฐานกำไรเล็ก), 89.9%  ตามลำดับ และกระทบต่อ Fair value ราว  9.8%, 2.2% และ 5.8%  จึงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นทุกตัวในกลุ่ม
ข่าวดี ยอดขอลงทุน BOI ไตรมาสแรกทะลุ 2 แสนล้าน-รถไฟเชื่อม 3 สนามบินคืบหน้า
  ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นตามลำดับ  เริ่มจากฝั่งเอกชน พบว่า  ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) งวด 1Q61 เพิ่มขึ้น 228.54%yoy อยู่ที่ 2.03 แสนล้านบาท  และคิดราว 28%ของยอดที่ BOI ตั้งเป้าในปี 2561ที่ 7.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้หลักๆเป็นการขอในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, ท่องเที่ยว, ยานยนต์ และแปรรูปอาหาร ซึ่งน่าจะดีต่อนิคม WHA, AMATA, TICON เป็นต้น
  ส่วนภาครัฐ การทำ TOR  รองรับการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา  ระยะทาง 220 กม. ) มีความคืบหน้า ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คาดว่าจะเสร็จ  ภายในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า  โดยจะเปิดให้บริษัทต่างชาติถือหุ้น 51% เข้าร่วมประมูลได้ และน่าจะเปิดขายซองประมูลได้ช่วง พ.ค. และขายซอง ช่วง  ก.ย. – ต.ค.  และน่าจะสรุปรายชื่อเสนอ ครม. อนุมัติ ราวเดือน พ.ย. นี้
  ด้วยมูลค่าโครงการที่สูงเกือบ 3 แสนล้านบาท ไม่รวมวงเงินที่เอกชนต้องเสนอเพื่อซื้อกิจการของแอร์พอร์ตลิงก์เข้ามารวมไว้ในโครงการด้วย (ปัจจุบันยังขาดทุน) ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนที่มี Project IRR ระยะเวลา 50 ปี ต่ำเพียง 5.17%  คาดว่า  เอกชนที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมประมูลน้อยราย  เพราะต้องเป็นจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่มีพันธมิตรรอบด้าน (บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีฐานเงินทุนแข็งแรง บริษัทบริหารการเดินรถ และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์)  เช่น CK ที่มีบริษัทลูกอย่าง BEM โดยอาจหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์เข้ามาร่วมด้วย  และ STEC ที่มีพันธมิตรเดิมคือ   RATCH และ BTS ในนามกิจการร่วมค้า BSR ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี)   
  ความคืบหน้าทั้ง 2 ฝั่งน่าจะหนุน  เศรษฐกิจไทยในปีนี้ราว 4.2% (ประเมินโดย ASPS)  กำหนดให้ การลงทุนเอกชนขยายตัว 3% จาก 1.7%ในปี 2560 และลงทุนภาครัฐขยายตัว 3.2% จาก -1.2% ในปี 2560     แต่การเติบโตของไทยยังต่ำสุดในอาเซียน
จีนทำเข้ม คุมนำเข้าถ่านหินระลอกสอง แต่ BANPU กระทบน้อย
  ราคาหุ้น BANPU([email protected]) ที่ลดลงแรงวานนี้น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1) คาดงวด 1Q61  จะพลิกกลับมาขาดทุน 500 ล้านบาท เพราะต้องบันทุนค่าใช้จ่ายในการแพ้คดีโรงไฟฟ้าหงสาที่แพ้เป็นเงิน 2.5 พันล้านบาท ครั้งเดียวในงวดนี้ แต่หากพิจารณา กำไรปกติ อยู่ที่ 3.26 พันล้านบาท เติบโต 11.4%qoq หนุนจากปริมาณขายและราคาขายที่ขยับสูงขึ้น 
  2)  รัฐบาลจีนยืดระยะเวลา จำกัดการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ  จากเดิมที่ครบกำหนดสิ้นปี 2560  หลังจากที่เคยระงับการนำเข้าในช่วงกลางปี 2560 มาแล้วครั้งหนึ่ง  เหตุเพราะจีนต้องการสนับสนุนมาตรการระยะยาวที่จะลดการใช้ถ่านหินในประเทศลง รวมถึงต้องการให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น  ซึ่งประเด็นนี้ กระทบต่อผู้ส่งออก ระยะสั้น ๆ เพราะจีนเป็นทั้งผู้ใช้และนำเข้ารายใหญ่ของโลก และในทางปฏิบัติผู้ส่งออก-นำเข้าสามารถปรับเปลี่ยนการขนส่งไปใช้ท่าเรือขนาดใหญ่แทน ท่าเรือขนาดเล็ก และท่าเรือที่ถูกควบคุมได้
  ทั้งนี้ BANPU ส่งออกถ่านหินไปยังประเทศจีนราว 14% ของรายได้รวม ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 90% เป็นการขนส่งผ่านท่าเรือขนาดใหญ่ จึงคาดว่ากระทบน้อยโดยยังคงประมาณการเดิม   ซึ่งกำหนดให้ราคาขายถ่านหินที่ 70 เหรียญฯ ต่อ ตัน ขณะที่ดัชนีถ่านหินอยู่ที่ราว 100 เหรียญ ฯ หรือคิดเป็นราคาขายถ่านหินเท่ากับคุณภาพของ BANPU ที่ 80 เหรียญฯ นั่นหมายความว่านักวิเคราะห์ของ ASPS มีโอกาสปรับเพิ่มราคาขายถ่านหินอีก 10 เหรียญฯ ซึ่งจะทำให้ประมาณการกำไรเพิ่มปีละ 1200 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าหุ้นราว 5 บาท ซึ่งจะทำให้ มูลค่าหุ้นเพิ่มจากปัจจุบัน 19.5% เป็น 30.6 บาท จึงแนะนำให้สะสมที่ราคาอ่อนตัวในปัจจุบัน
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค ขายไทยลดลง
  วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 168 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 226 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อน) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศ แม้ต่างชาติยังขายสุทธิ แต่แรงขายเริ่มเบาลง คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 39 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) ตามมาด้วย อินโดนีเซีย 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 11 ล้านเหรียญ หรือ 338 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 มีมูลค่ารวม 9.17 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.70 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน มีมูลค่ารวม 1.37 หมื่นล้านบาท)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.08 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 2.34 พันล้านบาท และเป็นการขายติดต่อกัน 5 วัน ด้วยมูลค่ารวม 1.42 หมื่นล้านบาท โดยแรงขายส่วนใหญ่เป็นการขายเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้นกว่า (T<1) 1.37 หมื่นล้านบาท (คิดป็น 96.5% ของแรงขายทั้งหมด) จึงเป็นไปได้ว่าเม็ดเงินบางส่วนอาจเป็นการรอสลับเข้าตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ หลังจากต่างชาติขายหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีมาแล้วกว่า 6.79 หมื่นล้านบาท (ytd)
CPF รุกหนักธุรกิจกุ้ง ซื้อกิจการในบราซิล หวังเทคโนโลยีการเลี้ยง
  CPF (FV@B30) เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 40% ของทุนชำระแล้ว ของบริษัท Camanor ในประเทศบราซิล ด้วยมูลค่า 17.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เทียบเท่า 547 ล้านบาท) คาดจะใช้กระแสเงินสดภายในกิจการเข้าซื้อกิจการเสร็จภายในเดือนพ.ค. 61 (CPF มีเงินสด ณ สิ้นปี 2560 อยู่ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้ราว 3 หมื่นล้านบาท/ปี) โดย Camanor ประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งและแปรรูปกุ้งขั้นต้นในประเทศบราซิล ปัจจุบันมีกำลังการเลี้ยงกุ้งราว 2 พันตัน/ปี (คิดเป็น 7% ของการเลี้ยงกุ้งของ CPF ในไทย) และมีแผนจะขยายฟาร์มเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันตัน/ปี ในปี 2562    และ ยังเป็นผู้คิดค้นและเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งระบบปิดชื่อ AquaScience ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงกุ้งความหนาแน่นสูง 
  การเข้าซื้อกิจการดังกล่าว CPF สามารถคาดหวัง synergy ทางธุรกิจ คือ 1) แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการทำธุรกิจกุ้ง โดย Camanor เชี่ยวชาญการเลี้ยงกุ้งระบบปิดความหนาแน่นสูง ส่วน CPF มีความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาพันธุ์กุ้ง ซึ่งจะทำให้การควบคุมโรคระบาดได้ดีขึ้นและต้นทุนการเลี้ยงกุ้งลดลงได้ในอนาคต และ 2) กระจายความเสี่ยงด้านฐานการผลิตกุ้ง ซึ่ง CPF สามารถใช้ Camanor เป็นฐานการส่งออกกุ้งแปรรูปได้ในอนาคต คาด CPF จะบันทึกส่วนแบ่งกำไรจาก Camanor เข้ามาในปี 2561 จะเท่ากับ 23 ล้านบาท 
แบงก์ทยอยแจ้งงบ ไม่น่าตื่นเต้น...สถานีต่อไป non-bank 
  ขณะที่นักวิเคราะห์ ASPS เริ่มทยอยทำ Earnings preview หุ้นมิใช่กลุ่มธนาคาร เริ่มจาก  AEONTS (Switch:FV@B180) คาดกำไรสุทธิ 4Q60/61 เติบโต 13.3% qoq (1.8% yoy)  เพราะเป็นช่วงเทศกาล ใช้จ่ายปลายปี  แต่ยังมีการตั้งสำรองฯที่สูง และแนวโน้มกำไรชะลอตัวใน 1-2  นับจากนี้
  PLANB([email protected])  คาดกำไร 120 ล้านบาท  เพิ่ม 20% จากงวด 1Q60  (เพิ่ม  36% จากงวด 4Q60  ซึ่งฐานกำไรต่ำ)  ซึ่งเติบโตจากทุกช่องทาง (Digital transit และ สนามบิน เป็นต้น)   แต่กำไรงวด 1Q61 คิดเป็น  17% ของประมาณการกำไรปี 2561 (กำไร  718 ล้านบาท  หรือเติบโต 56% จากปี 2560)  และจะค่อย ๆ  เพิ่มเป็นขั้นบันไดในไตรมาสถัดๆ ไป  จึงแนะนำให้ ขายVGI(Switch:[email protected]) ซึ่งทำสื่อนอกบ้านเช่นกัน แต่ราคาหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว มายัง PLANB  ซึ่งราคายังมี upside  ราว 29%  
  และ EASTW([email protected]) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q61 เติบโต 3.7%qoq แต่ลดลงกว่า 34.1%yoy จากปริมาณการขายน้ำดิบที่ลดลง เพราะแหล่งน้ำยังมีปริมาณน้ำสะสมสูง จากที่ฝนตกมากผิดปกติเมื่อเทียบกับปี 2560  แต่คาดแนวโน้มกำไรงวด 2Q61 จะปรับตัวดีขึ้นเพราะเป็นช่วง  High Season  บวกกับเศรษฐกิจฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาโครงการ EEC ที่คืบหน้าหนุนกำไรธุรกิจในระยะยาว  
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7706

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!