WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน

  คาด SET Index แกว่งตัว 1745-1763 จุด ตลาดน่าจะได้แรงหนุนจากหุ้นที่กำไร 1Q61 เติบโต (PLANB) ขณะที่กลุ่ม ธ.พ. น่าจะเห็น sell on fact (TISCO รายงานกำไรดีกว่าคาด) ขณะที่ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสงครามการค้าหนุนเงินเฟ้อและดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้นเร็วกว่าคาด กระทบเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในระยะกลาง Top picks เลือก  PLANB(FV@B>7.3) เป็นหุ้น Growth แต่ราคาหุ้นยัง Laggard หากเทียบกับ VGI ที่ราคาหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว และ SC(FV@B>5.25) มีจุดเด่นการเปิดโครงการแนวราบ และ ยังเน้นตลาดกลาง-บน และ มี Dividend Yield สูง  

ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. แรงขายหุ้นใหญ่กดดันดัชนีร่วงแรง

  วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบและย่อลงลึกกว่า 13 จุด ก่อนจะขึ้นมาปิดตลาดที่ 1755.53 จุด ลดลง 11.64 จุด หรือ 0.66% มูลค่าการซื้อขาย 5.47 หมื่นล้านบาท ตลาดฯ เผชิญกับแรงขายของหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL (-4.31%) และ MAKRO (-2.11%) ตามด้วย  PTT, AOT, SCC, SCB (XD@4 บาท) ยกเว้น PTTEP บวกแรง 3.39% ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น จากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และ BEAUTY  ทำ all time high ที่ 22.90 บาท ราว 4.11% เป็นเพราะได้พันธมิตรจากจีน ในการขายสินค้าข้ามพรหมแดน (Cross border e-commerce ขายผ่าน website ของ TMALL, KALOA) อีก 2 รายรวมเป็น 3 ราย   ซึ่งรับยกเว้นศุลกากร และ ภาษีท้องถิ่นในจีน (ทาง ASPS ได้รวมยอดขายจีนเกือบ 100 ล้านบาทต่อไตรมาส หรือราว 10% ของรายได้รวม แล้ว)  

คาดว่าวันนี้ SET Index ยังแกว่งตัวในกรอบ 1745-1760 จุด วันนี้ให้น้ำหนักกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q61 และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสงครามการค้าจีนสหรัฐ  จะกดดันต่อเงินเฟ้อและดอกเบี้ยเข้าสู่ขาขึ้นเร็วกว่าคาด

ปัจจัยแวดล้อมหนุนเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าคาดกดดันตลาดหุ้นโลก 

  ปัจจัยต่างประเทศที่มีน้ำหนักกดดันตลาดหุ้นโลกคือ สงครามการค้าสหรัฐ-จีน  หลังจากทั้ง 2 ประเทศประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าอัตราเท่ากันที่  25% และวงเงินใกล้กันราว 5 หมื่นล้านเหรียญ ในฝั่งสหรัฐสินค้าที่กีดกันคือ กลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร 1300 รายการ  โดยต้องรอการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนภายในวันที่ 15 พ.ค. และหลังจากนั้นอีก 1 เดือนถึงจะมีผลบังคับใช้ ขณะที่จีน 234 รายการ  หลักๆ คือ  ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์, หมู เป็นต้น ยังไม่มีผลบังคับใช้เช่นกัน โดยดูท่าทีสหรัฐอีกครั้ง

  และความเสี่ยง ความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังมีอยู่  โดยวานนี้กองทัพอิสราเอล ได้ยิงขีปนาวุธโจมตีฐานทัพอากาศของซีเรียครั้งใหม่ หลังจาก 14 เม.ย.  3 ประเทศมหาอำนาจ คือสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส ร่วมโจมตีคลังเก็บอาวุธเคมีซีเรีย  สร้างความกังวลจะเกิดสงครามสหรัฐ –รัสเซีย (หนุนหลังซีเรีย) แต่สถานการณ์ผ่อนคลาย หลังสหรัฐถอนกำลังทหารออกจากซีเรีย หนุนราคาน้ำมันดิบดูไบขึ้นแตะ 70 เหรียญฯ แต่ไม่น่าจะผ่าน เพราะความต้องการน้ำมันโลกอาจชะลอตัวกว่าคาด และสหรัฐยังผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกวัน (เฉลี่ยจากต้นปี-ปัจจุบัน  65 เหรียญฯ ยังสอดคล้องสมมติฐานปี 2561 ของ  ASPS

  ล่าสุด  IMF ยังคงคาดการณ์ GDP Growth โลกปี 2561-2562 ที่ 3.9% ตามเดิม และคาดมูลค่าการค้า (Trade volume) เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 4.7%  ในปี  2562  จาก 5.1% ในปี  2561 เนื่องจากความกังวลปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะสงครามการค้า และคาดว่าผลกระทบน่าจะเพิ่มขึ้นปีถัดไป  โดยเฉพาะด้านเงินเฟ้อโลก จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาด ซึ่งจะ กดดันให้ดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าคาด  ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ในที่สุด

TISCO กำไรงวด 1Q61 ดีกว่าคาดสำรองฯ ลดลง

  เข้าสู่ช่วงการรายงานงวด 1Q61 ของธนาคาร ซึ่งวานนี้ TISCO รายงานงบเป็นบริษัทแรก โดยมีกำไรสุทธิมากกว่าคาด 6% อยู่ที่ 1.77 พันล้านบาท เติบโต 16.03%qoq และ 18.45%yoy  เป็นผลมาจากการบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ดีกว่าคาดจากทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งช่วยหักล้างผลกระทบจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและ NIM ที่ต่ำกว่าคาดมาก ในส่วนของภาพรวมคุณภาพสินเชื่อยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวม ที่ทรงตัวระดับต่ำใกล้เคียงกับ ณ สิ้นงวด 4Q60 ขณะที่การตั้งสำรองหนี้สูญลดลง qoq แต่เพิ่มขึ้น yoy แม้จะสูงสุดในกลุ่มฯ แต่ช่วยลดภาระและความกังวลต่อแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ในช่วงที่เหลือของปี 2561 เพื่อรองรับหลักเกณฑ์ TFRS 9 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2562 ไปได้มาก   

  สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิ 2Q61 มีโอกาสอ่อนตัวจาก 1Q61 เนื่องจากการลดลงของกำไรจากการขายเงินลงทุน รวมถึงธุรกรรมด้านตลาดทุนที่ลดความสดใสลดลง ขณะที่ภาพรวมธุรกิจหลักด้านสินเชื่อ คาดว่าใกล้เคียงกับงวด 1Q61 โดยเฉพาะ NIM ซึ่งยังเห็นการลดลงต่อเนื่อง ผลกระทบจาก yield ที่อ่อนตัวลงจากยอดชำระคืนหนี้ในกลุ่มสินเชื่อ high yield ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ยังลดลงต่อเนื่อง         

  เข้าสู่ช่วงการรายงานงวด 1Q61 ของธนาคาร ซึ่งวานนี้ TISCO รายงานงบเป็นบริษัทแรก โดยมีกำไรสุทธิมากกว่าคาด 6% อยู่ที่ 1.77 พันล้านบาท เติบโต 16.03%qoq และ 18.45%yoy  เป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น กำไรสุทธิจากเงินลงทุน และรายได้อื่นๆที่เพิ่มเข้ามา ในส่วนของการตั้งสำรองหนี้สูญแม้จะเพิ่มขึ้น yoy แต่ลดลง qoq เช่นเดียวกับ NPLs มีการปรับตัวลดลง ตามการปรับตัวดีขึ้นจากการควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ 

PLANB กำไร 1Q61 เติบโตมากจากสื่อนอกบ้าน

  การทำ Earnings preview ที่มิใช่กลุ่มธนาคาร ที่ทาง ASPS  เริ่มทยอยออกมาคือ AEONTS (FV@B>180) คาดกำไรสุทธิ 4Q60/61 เติบโต 13.3% qoq และ 1.8% yoy  เพราะเข้าสู่ช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อคาดยังแข็งแกร่ง แม้การตั้งสำรองหนี้สูญคาดจะเพิ่มทำระดับสูงสุดรายไตรมาสในรอบ 5 ปี แต่ช่วยลดแรงกดดันฯ เมื่อ มีการประกาศใช้มาตรฐาน TFRS 9 

สำหรับแนวโน้มกำไรปี 2561/62-63 คาดเติบโตแผ่วลงจากฐานที่สูง แต่ภาพรวมธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่อง ด้วยราคาหุ้นสะท้อนพื้นฐานบวกไปมาก จึงลดคำแนะนำเป็นให้ switch (เดิมแนะนำซื้อ)

  และ ตามด้วย PLANB(FV@B>7.3)  ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทำการประเมินกำไรงวด 1Q61 ในเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ 120 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 20% จากงวด 1Q60  (เพิ่มขึ้น  36% จากงวด 4Q60  ซึ่งมีฐานต่ำเพราะผลกระทบจากเหตุการณ์ตุลาคมปี 2560) โดยมาจากการเติบโตของทุกช่องทาง ได้แก่ Digital transit และ สนามบิน เป็นต้น ทำให้อัตราการใช้สื่อขยับจาก 59% ในงวด 1Q60  เป็น 70% 

กำไรงวด 1Q61 คิดเป็น  17% ของประมาณการกำไรปี 2561 ที่ประเมินไว้ 718 ล้านบาท  หรือเติบโต 56% จากปี 2560 เพราะการขายกำลังการผลิตสื่อเพิ่มขึ้นราว 10-15% PLANB จึงเป็นหุ้นที่มีการเติบโตโดดเด่น ใกล้เคียงกับ VGI(Switch:FV@B>6.9)  ที่ทำสื่อนอกบ้านเช่นกัน  ปัจจุบันราคาหุ้นเต็มมูลค่า ขณะที่ PLANB ยังมี upside  ราว 29% เป็นหุ้น domestic ที่โดดเด่นที่สุด 

ต่างชาติขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค ด้วยมูลค่าขายรวมสูงสุดในเดือนนี้

  วานนี้ต่างชาติยังคงเดินหน้าขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าสูงถึง 779 ล้านเหรียญ (สูงสุดในเดือนนี้) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันขายสุทธิ 341 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 250 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน), อินโดนีเซีย 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 122 ล้านเหรียญ หรือ 3.81 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวม 8.8 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่ซื้อสุทธิ 2.25 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน มีมูลค่ารวม 1.20 หมื่นล้านบาท)

  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.91 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.91 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4)

การปรับฐานของดัชนียังมีอยู่  ตราบที่ยังไม่มีประเด็นใหม่

  เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะปรับฐานและผันผวนในลักษณะ sideway-down (ดังที่นำเสนอในกลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 2/2561) โดยอาจจะมีการฟื้นตัวรีบาวด์เป็นบางช่วง ประเด็นกดดันยังมาจากปัจจัยต่างประเทศ ทั้งสงครามการค้าสหรัฐและจีนที่จะปัจจัยกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะยาว อีกทั้งความขัดแย้งทางทางภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่ตะวันออกกลางยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องให้น้ำหนัก

  นอกจากนี้ ยังมีการทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง โดยช่วงที่เหลือของเดือน เม.ย. มีบริษัทขึ้น XD จำนวน 49 บริษัท กดดันดัชนี 5.641 จุด และเดือน พ.ค. มีบริษัทขึ้น XD จำนวน 193 บริษัท กดดันดัชนี 7.37 จุด ซึ่งช่วงที่ผ่านมา บริษัทที่ขึ้น XD ราคาหุ้นมักปรับลงแรงกว่า Dilution Effect ที่ควรจะเป็น จึงถือเป็นอีกปัจจัยกดดันตลาดฯ

  รวมทั้งการปรับลดประมาณการกำไรฯ ปีนี้ลงในกลายกลุ่มฯ ทั้งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่ม ICT กลุ่มเหล็ก กลุ่มบันเทิง กลุ่มชิ้นส่วนฯ กลุ่มรับเหมาฯ (ดังที่นำเสนอไปวานนี้) ในเบื้องต้นฝ่ายวิจัยจึงได้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของตลาดฯ ปี 2561 ลดลงจาก 1.11 ล้านล้านบาท เป็น 1.09 ล้านล้านบาท ลดลง 2.49 หมื่นล้านบาท หรือ 2.2% และทำให้กำไรสุทธิตลาดฯ ต่อหุ้น (EPS) ลดลงจาก 112.4 บาท เป็น 109.9 บาท มี EPS Growth ที่ราว 12%  ขณะที่ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2561 อิง P/E 16 เท่า อยู่ที่ 1758 จุด ใกล้เคียงกับดัชนีปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ผันผวน ดัชนีอาจขยับไปซื้อขายกันบน P/E ที่สูงขึ้นเป็น 16.5 เท่า จะได้ดัชนีเป้าหมายที่ 1813 จุด มี Upside น้อยมากเพียง 3% จึงยังแนะนำให้ทยอยขายหุ้นที่เต็มมูลค่า และเลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการเติบโต ราคาหุ้นยังมี upside เงินปันผลสูง และราคาหุ้นผันผวนต่ำ

ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

OO7636

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!