- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 09 April 2018 16:16
- Hits: 4350
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
Trade War สหรัฐ-จีนระอุ หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท กดดันกระทบเศรษฐกิจโลกและราคาสินทรัพย์เสี่ยง ตลาดหุ้นสหรัฐฯดิ่ง ราคาน้ำมันดิบปรับลง ดอลลาร์อ่อนค่า น่าจะกดดันตลาดมากขึ้น SET Index ยังจะปรับฐานต่อในกรอบ 1715–1745 จุด กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้น Domestic Play เลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า…Top Picks ยังเลือก MAJOR (FV@B34), CPF (FV@B30) และเพื่อลดความผันผวนแนะนำ Pair Trade โดย Short Sell VGI และ Long VGI-W1
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ฟื้นตัวแค่ช่วงสั้น
วันศุกร์ SET index ฟื้นตัว ตามตลาดหุ้นในภูมิภาค ปิดตลาดที่ 1,739.92 จุด เพิ่มขึ้น 14.94 จุด หรือ 0.87% ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 6.1 หมื่นล้านบาท นำโดยกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT PTTEP PTTGCและหุ้นโรงไฟฟ้า EA ตลาดลดความกังวล ภาวะน้ำมันล้นตลาดในช่วงสั้น หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลง ตามด้วยหุ้นบัตรเครดิต KTC ปรับตัวขึ้นสูงถึง 21.80% ราคาปิดใกล้เคียงจุดสูงสุด 2 วันก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มธ.พ. ยังไม่ฟื้น และหุ้น ADVANC ลดลงจากการขึ้นเครื่อง XD
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวลงในกรอบ 1715-1745 จุด โดยยังให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนวงเงินเพิ่มเป็น 1.5 แสนล้านเหรียญฯ และการปรับลดกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กระทบกำไรรวมของตลาด
สหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 1 แสนล้านเหรียญฯ สงครามการค้าโลกระอุหนัก
สงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังคงกดดันตลาดหุ้นโลก เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจาการค้ากันนอกรอบ อย่างไรก็ตามปลายสัปดาห์ที่แล้วสหรัฐได้ออกมาตรการกดดันจีนเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 25% อีก 1 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งรวมกับครั้งก่อน 5 หมื่นล้านเหรียญเป็น 1.5 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 29.7% ของการนำเข้าจากจีนของสหรัฐ ทั้งนี้สินค้าที่จะถูกเก็บเพิ่มเติมคือ เครื่องใช้อุปโภคบริโภค อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า และอาหาร, เครื่องดื่ม เป็นต้น
ขณะที่ทางด้านจีน เชื่อว่าน่าจะมีการตอบโต้ตามมา โดยล่าสุดจีน ได้ขึ้นภาษีนำเข้า 2 รอบอัตรา 25% วงเงินรวม 5.3 หมื่นล้านเหรียญฯ เช่น ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์ หรือคิดราว 45% ของการนำเข้าจากสหรัฐทั้งหมดของจีน)
สงครามการค้าถือเป็นจุดเริ่มต้น เชื่อว่าผู้บริโภคขั้นสุดท้ายจะได้รับรุนแรงพอๆ กับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะกดดันเงินเฟ้อ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกในที่สุด ดังเช่นเหตุการณ์ในอดีต สมัยประธานาธิบดี George W. Bush ปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 30% (สูงกว่าทรัมป์ขึ้น 25%) ระยะเวลาราว 2 ปี ตั้งแต่ มี.ค.2545 -ธ.ค. 2546 หนุนเงินเฟ้อมาที่ 2.3% ในเดือน ต.ค. 2546 จาก 1.1% ในเดือน มี.ค.2545และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นมาที่ 6.2% จาก 5.2%(ดังรูป) จากผลกระทบของสงครามการค้าข้างต้น เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และต้องอาศัยเวลาในการปรับตัว
ราคาน้ำมันร่วงหนัก กังวล Trade War และ Over Supply ในสหรัฐฯ
ความกังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ดังกล่าวสร้างความกังวลต่อคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ประกอบกับความกังวล Oversupply จากสหรัฐยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะ ล่าสุด อยู่ที่ 808 หลุม สูงสุดในรอบ 3 ปี หนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 6 สัปดาห์มาอยู่ที่ 10.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยรวมเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบโลกชะลอตัวในช่วงสั้นทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวลง แต่ยังใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ) ยังแนะนำสะสมลงทุนระยะยาว PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 20.7% และ มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท ส่วนระยะสั้น อาจจะชะลอการลงทุน หรือ ซื้อเมื่อราคาย่อตัว
กลุ่มแบงก์ ความหวังอยู่ที่การลงทุนจากภาครัฐ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ASPS ปรับลดกำไร ธ.พ. ขนาดใหญ่ 6 แห่ง โดยปรับลดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สะท้อนสงครามการแข่งขันที่รุนแรง โดยยังคงสมมติฐานอื่นๆ คือ การเติบโตสินเชื่อสุทธิและ NIM ซึ่งยังต้องติดตาม การลงทุนภาครัฐ รวมถึง การตั้งสำรองฯ หนี้ที่มีปัญหา (ตามมาตรฐาน TFRS9 จะบังคับใช้ในปี 2562 แต่ล่าสุด ธปท. ได้ยืดการใช้ออกอีก 3 ปี แต่ ธ.พ. ส่วนใหญ่ตั้งสำรองฯ สูงคือ BBL อยู่ที่ 160% ของ NPL ตามมาด้วย BAY 149% และ KBANK 148% ยกเว้น KTB เพียง 121% และ SCB 136% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 140% (ส่วน KKP ตั้งสำรองต่ำเพียง 109% และ LHBANK 103% TCAP 130% ยกเว้น TISCO สูง 197%)
โดยรวมส่งผลให้กำไรสุทธิกลุ่มฯ ในปี 2561 ลดลง 10,337 ล้านบาท หรือราว 4.9% เหลือ 201,066ล้านบาท ส่วนปี 2562 ลดลง 16,048 ล้านบาท เหลือ 220,678 ล้านบาท โดยเป็นการลดลงจาก KBANK มากสุด โดยลดลง 9.5% ในปี 2561 และ ลดลง 10.9% ในปี 2562 ที่เหลือลดลงเฉลี่ย 5% ส่วนปี 2562 ลดลงราว 7%
โดยรวมทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นของธนาคาร (EPS) ปี 2561 ลดลงเหลือ 47.80 หรือ EPS Growth อยู่ที่ ราว 8% ในปี 2561 ลดลงเมื่อเทียบกับประมาณการก่อนหน้าที่สูงถึง 14% ซึ่ง EPS Growth ใหม่ถือว่าต่ำกว่า EPS Growht ของทั้งตลาด จึงปรับลดน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็นน้อยกว่าตลาด จากเดิมเท่าตลาด โดยเน้นการลงทุนในหุ้นใหญ่ที่มีโอกาสสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากธุรกิจใหม่เช่น BBL ร่วมมือกับ AIA ขายประกัน และยังมีโอกาสการเติบโตจากการลงทุนในขนาดใหญ่ในประเทศ
กลยุทธ์การลงทุน
Trade War สหรัฐ-จีนระอุ หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท กดดันกระทบเศรษฐกิจโลกและราคาสินทรัพย์เสี่ยง ตลาดหุ้นสหรัฐฯดิ่ง ราคาน้ำมันดิบปรับลง ดอลลาร์อ่อนค่า น่าจะกดดันตลาดมากขึ้น SET Index ยังจะปรับฐานต่อในกรอบ 1715–1745 จุด กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้น Domestic Play เลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า…Top Picks ยังเลือก MAJOR (FV@B34), CPF (FV@B30) และเพื่อลดความผันผวนแนะนำ Pair Trade โดย Short Sell VGI และ Long VGI-W1
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ฟื้นตัวแค่ช่วงสั้น
วันศุกร์ SET index ฟื้นตัว ตามตลาดหุ้นในภูมิภาค ปิดตลาดที่ 1,739.92 จุด เพิ่มขึ้น 14.94 จุด หรือ 0.87% ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 6.1 หมื่นล้านบาท นำโดยกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT PTTEP PTTGCและหุ้นโรงไฟฟ้า EA ตลาดลดความกังวล ภาวะน้ำมันล้นตลาดในช่วงสั้น หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลง ตามด้วยหุ้นบัตรเครดิต KTC ปรับตัวขึ้นสูงถึง 21.80% ราคาปิดใกล้เคียงจุดสูงสุด 2 วันก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มธ.พ. ยังไม่ฟื้น และหุ้น ADVANC ลดลงจากการขึ้นเครื่อง XD
คาดว่าวันนี้ SET Index แกว่งตัวลงในกรอบ 1715-1745 จุด โดยยังให้น้ำหนักต่อสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนวงเงินเพิ่มเป็น 1.5 แสนล้านเหรียญฯ และการปรับลดกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กระทบกำไรรวมของตลาด
สหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 1 แสนล้านเหรียญฯ สงครามการค้าโลกระอุหนัก
สงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังคงกดดันตลาดหุ้นโลก เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายจะเจรจาการค้ากันนอกรอบ อย่างไรก็ตามปลายสัปดาห์ที่แล้วสหรัฐได้ออกมาตรการกดดันจีนเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 25% อีก 1 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งรวมกับครั้งก่อน 5 หมื่นล้านเหรียญเป็น 1.5 แสนล้านเหรียญฯ หรือคิดราว 29.7% ของการนำเข้าจากจีนของสหรัฐ ทั้งนี้สินค้าที่จะถูกเก็บเพิ่มเติมคือ เครื่องใช้อุปโภคบริโภค อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า และอาหาร, เครื่องดื่ม เป็นต้น
ขณะที่ทางด้านจีน เชื่อว่าน่าจะมีการตอบโต้ตามมา โดยล่าสุดจีน ได้ขึ้นภาษีนำเข้า 2 รอบอัตรา 25% วงเงินรวม 5.3 หมื่นล้านเหรียญฯ เช่น ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, รถยนต์ หรือคิดราว 45% ของการนำเข้าจากสหรัฐทั้งหมดของจีน)
สงครามการค้าถือเป็นจุดเริ่มต้น เชื่อว่าผู้บริโภคขั้นสุดท้ายจะได้รับรุนแรงพอๆ กับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะกดดันเงินเฟ้อ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกในที่สุด ดังเช่นเหตุการณ์ในอดีต สมัยประธานาธิบดี George W. Bush ปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก 30% (สูงกว่าทรัมป์ขึ้น 25%) ระยะเวลาราว 2 ปี ตั้งแต่ มี.ค.2545 -ธ.ค. 2546 หนุนเงินเฟ้อมาที่ 2.3% ในเดือน ต.ค. 2546 จาก 1.1% ในเดือน มี.ค.2545และอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นมาที่ 6.2% จาก 5.2%(ดังรูป) จากผลกระทบของสงครามการค้าข้างต้น เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และต้องอาศัยเวลาในการปรับตัว
ราคาน้ำมันร่วงหนัก กังวล Trade War และ Over Supply ในสหรัฐฯ
ความกังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ดังกล่าวสร้างความกังวลต่อคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ประกอบกับความกังวล Oversupply จากสหรัฐยังมีอยู่ สะท้อนจากหลุมขุดเจาะ ล่าสุด อยู่ที่ 808 หลุม สูงสุดในรอบ 3 ปี หนุนกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 6 สัปดาห์มาอยู่ที่ 10.46 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยรวมเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบโลกชะลอตัวในช่วงสั้นทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวลง แต่ยังใกล้เคียงสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ) ยังแนะนำสะสมลงทุนระยะยาว PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 20.7% และ มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท ส่วนระยะสั้น อาจจะชะลอการลงทุน หรือ ซื้อเมื่อราคาย่อตัว
กลุ่มแบงก์ ความหวังอยู่ที่การลงทุนจากภาครัฐ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ASPS ปรับลดกำไร ธ.พ. ขนาดใหญ่ 6 แห่ง โดยปรับลดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ สะท้อนสงครามการแข่งขันที่รุนแรง โดยยังคงสมมติฐานอื่นๆ คือ การเติบโตสินเชื่อสุทธิและ NIM ซึ่งยังต้องติดตาม การลงทุนภาครัฐ รวมถึง การตั้งสำรองฯ หนี้ที่มีปัญหา (ตามมาตรฐาน TFRS9 จะบังคับใช้ในปี 2562 แต่ล่าสุด ธปท. ได้ยืดการใช้ออกอีก 3 ปี แต่ ธ.พ. ส่วนใหญ่ตั้งสำรองฯ สูงคือ BBL อยู่ที่ 160% ของ NPL ตามมาด้วย BAY 149% และ KBANK 148% ยกเว้น KTB เพียง 121% และ SCB 136% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 140% (ส่วน KKP ตั้งสำรองต่ำเพียง 109% และ LHBANK 103% TCAP 130% ยกเว้น TISCO สูง 197%)
โดยรวมส่งผลให้กำไรสุทธิกลุ่มฯ ในปี 2561 ลดลง 10,337 ล้านบาท หรือราว 4.9% เหลือ 201,066ล้านบาท ส่วนปี 2562 ลดลง 16,048 ล้านบาท เหลือ 220,678 ล้านบาท โดยเป็นการลดลงจาก KBANK มากสุด โดยลดลง 9.5% ในปี 2561 และ ลดลง 10.9% ในปี 2562 ที่เหลือลดลงเฉลี่ย 5% ส่วนปี 2562 ลดลงราว 7%
โดยรวมทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้นของธนาคาร (EPS) ปี 2561 ลดลงเหลือ 47.80 หรือ EPS Growth อยู่ที่ ราว 8% ในปี 2561 ลดลงเมื่อเทียบกับประมาณการก่อนหน้าที่สูงถึง 14% ซึ่ง EPS Growth ใหม่ถือว่าต่ำกว่า EPS Growht ของทั้งตลาด จึงปรับลดน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็นน้อยกว่าตลาด จากเดิมเท่าตลาด โดยเน้นการลงทุนในหุ้นใหญ่ที่มีโอกาสสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากธุรกิจใหม่เช่น BBL ร่วมมือกับ AIA ขายประกัน และยังมีโอกาสการเติบโตจากการลงทุนในขนาดใหญ่ในประเทศ
ต่างชาติยังดาหน้าขายหุ้นภูมิภาค รวมถึงไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ตลาดหุ้นไทยและไต้หวันหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 274 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 246 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนวันพฤหัสบดี ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ และมีเพียงตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิ 140 ล้านเหรียญ สวนทางกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิทุกประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 39 ล้านเหรียญ หรือ 1.23 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.86 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
ปรับลด EPS ตลาดปีนี้ 2% ตัดกำไรแบงก์-JAS ลง
หลังปรับลดกำไรสุทธิของกลุ่มแบงก์ เมื่อรวมกับการปรับลดประมาณการฯ ของกลุ่ม ICT ปี 2561 ลงราว 13% ผลจาก JAS ที่เลื่อนการรับรู้กำไรจากการขายทรัพย์สินไปอยู่ในปี 2562 แทนเดิมที่คาดบันทึกในปี 2561 ภายใต้ประมาณการใหม่กำไรสุทธิปี 2561 ของ JAS ลดลงมาอยู่ราว 2.6 พันล้านบาท ส่วนปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 หมื่นล้านบาท กดดันกลุ่มเติบโตเหลือราว 35% (เดิม 56%)
ตามด้วยกลุ่มเหล็ก ปรับลดการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2561 ลงราว 2.9% หลัง ภาพ Outlook ของ MCS ย่ำแย่ลง โดยเฉพาะมูลค่างานในมือ (Backlog) ซึ่งมีผลต่อการรับรู้รายได้ในอนาคต ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้ ASPS ปรับประมาณการกำไรปี 2561 ลง 38.4% เหลือ 418 ล้านบาท และทำให้การเติบโตของกลุ่มเหล็กเหลือ 26% (เดิม 30%) โดยสรุปส่งผลกระทบกำไรสุทธิของตลาดฯ ปี 2561 ลดลงจากเดิม 2% จาก 1.12 ล้านล้านบาท เป็น 1.09 ล้านล้านบาท และทำให้กำไรสุทธิตลาดฯ ต่อหุ้น (EPS) ลดลงจาก 112.39 บาท เป็นราว 110 บาท หรือ เติบโต 11.3% จากปี 2560 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 65 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2561, 70 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2562 และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2561 และ 62
โดยกลุ่มที่มีกำไรสุทธิเติบโตมากกว่าตลาดฯ ยังคงเป็นกลุ่มค้าปลีก 21% ตามด้วยกลุ่มประกันฯ และชิ้นส่วนฯ 18% ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ การเติบโตลดลงเหลือ 8% และกลุ่มพลังงานเติบโตเพียง 2% ขณะที่กลุ่มบันเทิง, รับเหมาฯ และ ICT เติบโตสูงจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้วที่ 484%, 260% และ 34% ตามลำดับ ขณะที่ระดับดัชนีปัจจุบัน จะให้ค่า Expected P/E ที่บริเวณ 15.6 เท่า ต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค ทั้งเวียดนามที่มี Expected P/E สูงถึง 20.2 เท่า ฟิลิปปินส์ที่ 17.8 เท่า มาเลเซีย 16.3 เท่า และอินโดนีเซียที่ 15.8 เท่า แม้จะเป็นระดับที่ไม่สูงมาก แต่เนื่องจากความเสี่ยงในเรื่องสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทำให้ตลาดหุ้นฯ ยังมีความเสี่ยงที่จะปรับฐานลงได้อีก
กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักลงทุนในหุ้น 40% ของเงินลงทุน โดยจะให้เพิ่มน้ำหนักลงทุนเมื่อเห็นว่าการปรับฐานใกล้สิ้นสุด ทั้งนี้ยังให้สะสมหุ้นที่ได้อานิสงส์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก คือ
หุ้นท่องเที่ยว-โรงแรม : เติบโตตามภาคท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งปกติจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไตรมาส 1 โดยปีนี้ประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยกว่า 37.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6%yoy จากปี 2560 เลือก CENTEL (FV@B56) เป็น Top pick เพราะมีจุดแข้งจากรายได้ที่มาจากธุรกิจโรงแรมและอาหารในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยเป้าหมายธุรกิจเน้นการเติบโตแบบ Organic ผ่านลงทุนโรงแรมใหม่และขยายสาขาอาหารในและต่างประเทศ ขณะที่มีโอกาสทำ M&A ช่วยเพิ่ม Inorganic Growth ในอนาคต คาดกำไรเติบโตเฉลี่ย 9% ในอีก 5 ปีข้างหน้า
หุ้นอาหารส่งออก ตามแนวโน้มการส่งออกหรือเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก ทั้ง ไก่ และหมู ที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากการเปิดตลาดจีน หุ้นที่ได้ประโยชน์คือ CPF (FV@B30), TFG (FV@B6) และ GFPT (FV@B17)
วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ตลาดหุ้นไทยและไต้หวันหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 274 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 246 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนวันพฤหัสบดี ตลาดหุ้นไต้หวันหยุดทำการ และมีเพียงตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกต่างชาติซื้อสุทธิ 140 ล้านเหรียญ สวนทางกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิทุกประเทศ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 39 ล้านเหรียญ หรือ 1.23 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิได้เพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันฯในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.86 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
ปรับลด EPS ตลาดปีนี้ 2% ตัดกำไรแบงก์-JAS ลง
หลังปรับลดกำไรสุทธิของกลุ่มแบงก์ เมื่อรวมกับการปรับลดประมาณการฯ ของกลุ่ม ICT ปี 2561 ลงราว 13% ผลจาก JAS ที่เลื่อนการรับรู้กำไรจากการขายทรัพย์สินไปอยู่ในปี 2562 แทนเดิมที่คาดบันทึกในปี 2561 ภายใต้ประมาณการใหม่กำไรสุทธิปี 2561 ของ JAS ลดลงมาอยู่ราว 2.6 พันล้านบาท ส่วนปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 หมื่นล้านบาท กดดันกลุ่มเติบโตเหลือราว 35% (เดิม 56%)
ตามด้วยกลุ่มเหล็ก ปรับลดการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2561 ลงราว 2.9% หลัง ภาพ Outlook ของ MCS ย่ำแย่ลง โดยเฉพาะมูลค่างานในมือ (Backlog) ซึ่งมีผลต่อการรับรู้รายได้ในอนาคต ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้ ASPS ปรับประมาณการกำไรปี 2561 ลง 38.4% เหลือ 418 ล้านบาท และทำให้การเติบโตของกลุ่มเหล็กเหลือ 26% (เดิม 30%) โดยสรุปส่งผลกระทบกำไรสุทธิของตลาดฯ ปี 2561 ลดลงจากเดิม 2% จาก 1.12 ล้านล้านบาท เป็น 1.09 ล้านล้านบาท และทำให้กำไรสุทธิตลาดฯ ต่อหุ้น (EPS) ลดลงจาก 112.39 บาท เป็นราว 110 บาท หรือ เติบโต 11.3% จากปี 2560 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 65 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2561, 70 เหรียญต่อบาร์เรลในปี 2562 และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2561 และ 62
โดยกลุ่มที่มีกำไรสุทธิเติบโตมากกว่าตลาดฯ ยังคงเป็นกลุ่มค้าปลีก 21% ตามด้วยกลุ่มประกันฯ และชิ้นส่วนฯ 18% ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ การเติบโตลดลงเหลือ 8% และกลุ่มพลังงานเติบโตเพียง 2% ขณะที่กลุ่มบันเทิง, รับเหมาฯ และ ICT เติบโตสูงจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้วที่ 484%, 260% และ 34% ตามลำดับ ขณะที่ระดับดัชนีปัจจุบัน จะให้ค่า Expected P/E ที่บริเวณ 15.6 เท่า ต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค ทั้งเวียดนามที่มี Expected P/E สูงถึง 20.2 เท่า ฟิลิปปินส์ที่ 17.8 เท่า มาเลเซีย 16.3 เท่า และอินโดนีเซียที่ 15.8 เท่า แม้จะเป็นระดับที่ไม่สูงมาก แต่เนื่องจากความเสี่ยงในเรื่องสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทำให้ตลาดหุ้นฯ ยังมีความเสี่ยงที่จะปรับฐานลงได้อีก
กลยุทธ์การลงทุนยังให้น้ำหนักลงทุนในหุ้น 40% ของเงินลงทุน โดยจะให้เพิ่มน้ำหนักลงทุนเมื่อเห็นว่าการปรับฐานใกล้สิ้นสุด ทั้งนี้ยังให้สะสมหุ้นที่ได้อานิสงส์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก คือ
หุ้นท่องเที่ยว-โรงแรม : เติบโตตามภาคท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งปกติจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไตรมาส 1 โดยปีนี้ประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยกว่า 37.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6%yoy จากปี 2560 เลือก CENTEL (FV@B56) เป็น Top pick เพราะมีจุดแข้งจากรายได้ที่มาจากธุรกิจโรงแรมและอาหารในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยเป้าหมายธุรกิจเน้นการเติบโตแบบ Organic ผ่านลงทุนโรงแรมใหม่และขยายสาขาอาหารในและต่างประเทศ ขณะที่มีโอกาสทำ M&A ช่วยเพิ่ม Inorganic Growth ในอนาคต คาดกำไรเติบโตเฉลี่ย 9% ในอีก 5 ปีข้างหน้า
หุ้นอาหารส่งออก ตามแนวโน้มการส่งออกหรือเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก ทั้ง ไก่ และหมู ที่คาดว่าจะได้อานิสงส์จากการเปิดตลาดจีน หุ้นที่ได้ประโยชน์คือ CPF (FV@B30), TFG (FV@B6) และ GFPT (FV@B17)
หุ้น Laggards คือ
อสังหาฯ LH(FV@B13) QH([email protected]) SIRI([email protected]) SC([email protected]) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง STEC(FV@B25) CK(FV@B34) และ SEAFCO(FV@B12)
และ บันเทิง เน้นไปที่หุ้นโรงภาพยนตร์ คือ MAJOR(FV@B34) ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. เป็นช่วงปิดเทอม บวกกับมีหนังที่น่าจะสร้างรายได้ดีเข้าฉายในช่วงนี้ อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่มี BETA ต่ำ ที่ 0.62 และมีปันผลสูง ปกติราคาหุ้นมักให้ผลตอบแทนเป็นบวกในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี
อสังหาฯ LH(FV@B13) QH([email protected]) SIRI([email protected]) SC([email protected]) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง STEC(FV@B25) CK(FV@B34) และ SEAFCO(FV@B12)
และ บันเทิง เน้นไปที่หุ้นโรงภาพยนตร์ คือ MAJOR(FV@B34) ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. เป็นช่วงปิดเทอม บวกกับมีหนังที่น่าจะสร้างรายได้ดีเข้าฉายในช่วงนี้ อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่มี BETA ต่ำ ที่ 0.62 และมีปันผลสูง ปกติราคาหุ้นมักให้ผลตอบแทนเป็นบวกในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี
กลยุทธ์ลดความผันผวน แนะ Pairs Trade VGI (Short)/VGI-W1(Long)
คาดตลาดหุ้นไทยยังผันผวนตามตลาดหุ้นโลกสูง ทำให้การลงทุนช่วงนี้มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย แต่มีอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนลงได้ คือ Pairs Trade โดยฝ่ายวิจัยฯ แนะนำให้เปิดสถานะ Short Sell หุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องจนเกินมูลค่าพื้นฐาน อย่าง VGI([email protected]) (ล่าสุด 7.75 บาท) พร้อมกับซื้อหลักทรัพย์ VGI-W1 (ล่าสุด 0.36 บาท) ซึ่งราคายัง Laggard และไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเหมือนหุ้นแม่ อีกทั้งราคาล่าสุดยังต่ำกว่าราคาตามทฤษฎีที่ 0.89 บาท อยู่มาก และยัง in the money กว่า 0.75 บาท หรือ Discount อยู่อีก 0.39 บาท ทำให้ราคาหุ้น VGI และ VGI-W1 มีโอกาสลู่เข้าหากันสูง และยังเป็นโอกาสเหมาะสมในการใช้กลยุทธ์ Pairs Trade ณ เวลาตลาดฯผันผวนเช่นนี้ (รายละเอียดอื่นๆ เช่น ผลลัพธ์ของการ Back Test ในช่วง 1 ปี, จำนวน SBL หรือหลักทรัพย์ที่ขอยืมได้จาก ASPS สามารถติดตามได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis เช้านี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7255
คาดตลาดหุ้นไทยยังผันผวนตามตลาดหุ้นโลกสูง ทำให้การลงทุนช่วงนี้มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย แต่มีอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนลงได้ คือ Pairs Trade โดยฝ่ายวิจัยฯ แนะนำให้เปิดสถานะ Short Sell หุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องจนเกินมูลค่าพื้นฐาน อย่าง VGI([email protected]) (ล่าสุด 7.75 บาท) พร้อมกับซื้อหลักทรัพย์ VGI-W1 (ล่าสุด 0.36 บาท) ซึ่งราคายัง Laggard และไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเหมือนหุ้นแม่ อีกทั้งราคาล่าสุดยังต่ำกว่าราคาตามทฤษฎีที่ 0.89 บาท อยู่มาก และยัง in the money กว่า 0.75 บาท หรือ Discount อยู่อีก 0.39 บาท ทำให้ราคาหุ้น VGI และ VGI-W1 มีโอกาสลู่เข้าหากันสูง และยังเป็นโอกาสเหมาะสมในการใช้กลยุทธ์ Pairs Trade ณ เวลาตลาดฯผันผวนเช่นนี้ (รายละเอียดอื่นๆ เช่น ผลลัพธ์ของการ Back Test ในช่วง 1 ปี, จำนวน SBL หรือหลักทรัพย์ที่ขอยืมได้จาก ASPS สามารถติดตามได้ในบทวิเคราะห์ Quantitative Analysis เช้านี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7255