- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 23 March 2018 16:38
- Hits: 8628
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว 1780-1805 จุด การกีดกันการค้าโลกมีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ-จีน ซึ่งจีนถือเป็นหัวเรือใหญ่ในเอเชีย และวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น BOE ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับ FED ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ยกเว้นเอเชียยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ยังแนะนำหุ้น Growth (AH, BPP, PTTEP, SAPPE, TVO, BJC) Defensive (BBL, BCH, RJH) และหมู-ไก่ส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น (GFPT, TFG, CPF) Top pick PTTEP(FV@B137) ราคาน้ำมันยังยืนเหนือ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ...ตลาดเปิดสวย ปิดแดง
SET index วานนี้ บวกขึ้นกว่า 10 จุด ตามตลาดภูมิภาค แต่พลิกกลับมาเป็นลบในช่วงบ่าย ก่อนจะที่ 1,798.55 ลดลง 2.88 จุด หรือ 0.16% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 5.01 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ตลาดถูกกดดันด้วย 4 กลุ่มหลัก นำโดย กลุ่มธ.พ. ลบต่อเนื่องเกือบทั้งสัปดาห์ นำโดย KBANK ลดลง 0.9% BAY ลดลง 1.16% SCB ลดลง 0.68% ขณะที่ KTB, BBL สวนทางขึ้นมา บวกไป 1.02% และ 0.49% ตามด้วยกลุ่มขนส่ง อย่าง AOT ลดลง 0.73% THAI ลดลง 1.25% ต่อด้วยกลุ่ม ICT โดยทั้ง INTUCH, ADVANC ปรับตัวลง 1.69% 0.48% ตามลำดับ สวนทางกับ TRUE ปิดบวกเล็กน้อย เพิ่มขึ้น 0.71% และกลุ่มโรงพยาบาล โดยเฉพาะ BDMS ลดลง 1.76%
สำหรับกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มค้าปลีก CPALL เพิ่มขึ้น 0.28% คาดได้ปัจจัยบวกจาก กำลังซื้อผู้บริโภคหนุน หลังการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา และกลุ่มพลังงาน-ปิโตร นำโดย PTT PTTGC เพิ่มขึ้น 0.37%, 1.29% หุ้นโรงไฟฟ้า GULF เพิ่มขึ้น 1.08% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวขึ้น คือ SCC เพิ่มขึ้น 0.80% และ DELTA เพิ่มขึ้น 1.88%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสปรับลดลงในกรอบ 1780-1805 จุด
สหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้าและจำกัดจีนลงทุนบริษัทสหรัฐ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
การกีดกันทางการค้าของสหรัฐมีน้ำหนักต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกมากขึ้น หลังจากยกเว้น GSP แก่ 112 ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย และการขึ้นภาษีนำเข้า Safe Guard 4 รายการ เครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์, เหล็ก และอลูมิเนียม และอยู่ระหว่างพิจารณาเก็บภาษีน้ำมันไบโอดีเซลและยางรัด
ขณะนี้สหรัฐกำลังเจรจากับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ (16.4% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของสหรัฐ) และได้ดุลการค้าสหรัฐสูงสุด 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด จึงเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าในหลายรายการ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีและโทรคมนาคม ที่กล่าวหาว่าจีนละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้มาตรการที่สหรัฐจะกดดันจีน คือ
ขึ้นภาษีนำเข้า 25% สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งน่าจะกระทบมูลค่าสินค้าประมาณ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก(WTO) สินค้าจีนที่ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
จำกัดการลงทุนของจีนในสหรัฐ เพื่อป้องกันมิให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทในสหรัฐ
มาตรการดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อคู่ค้าหลักของจีน โดยเฉพาะคู่ค้าจีนในแถบเอเชีย ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตส่งออกสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน ได้แก่ ฮ่องกง มีสัดส่วนการค้ากับจีนราว 9.0%, ญี่ปุ่น 8.14%,เกาหลีใต้ 7.48%, ออสเตรเลีย 3.2%, เวียดนาม 2.91%, มาเลเซีย 2.57%, ไทย 2.24% เป็นต้น ซึ่งถือว่ากดดันการค้าโลกในระยะถัดไป
BOE ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) วานนี้ ยังดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามตลาดคาด แต่มีคณะกรรม 2 ใน 9 คนที่หนุนให้ขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามอย่างที่ตลาดคาด BOE จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งราว 0.5% ในปีนี้ โดยน่าจะขึ้นในการประชุมรอบถัดไปคือ เดือน พ.ค. ทั้งนี้หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในรอบ 10 ปี เมื่อเดือน พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ก.พ. ขยายตัว 2.7%yoy แม้ชะลอตัวเล็กน้อยจาก 3.0% ในเดือน ม.ค. จากผลจากค่าเงินปอนด์ที่เริ่มชะลอการอ่อนค่าลงนับตั้งแต่ Brexit
นับว่าสอดคล้องกับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งราว 0.5% ในการประชุมที่เหลือ 6 ครั้งปีนี้มาที่ 2.25% ส่วนอีก 2 ปีนับจากนี้จะขึ้นอีก 3 ในปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ทำให้ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ เพราะเชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง โดยได้ปรับ GDP growth ปีนี้เพิ่ม 0.2% เป็น 2.7% และเพิ่ม 0.3% เป็น 2.4% ในปีหน้า ทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้อระยะกลางที่ 2% แต่หากเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงมากกว่านี้ อาจจะทำให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากว่าที่กล่าวข้างต้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยตลาดหุ้น ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง พ.ค. 2547- มิ.ย. 2549
อย่างไรก็ตามการกีดทางการค้า และ ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ กลับกดดันค่าเงินดอลลาร์ให้มีทิศทางแกว่งตัว ซึ่งถือเป็นปัจจัยต่อสินค้าโภคภัณฑ์ระยะสั้น
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคบ้าง หลังจากขายมาตั้งแต่ต้นปี 2561
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 335 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือกลับมาซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 187 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 112 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน), อินโดนีเซีย 9 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 948 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน ด้วยมูลค่ารวม 6.8 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 440 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
แม้วานนี้ต่างชาติจะสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่น่าจะเป็นการสลับมาซื้อชั่วคราว เนื่องจากปัจจัยการกีดกันการค้า รวมถึงวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยยังกดดันดัชนีหุ้นโลก และยังสอดคล้องกับภาพรวม Fund Flow ในภูมิภาคตั้งแต่ต้นปี ยังเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ ด้วยมูลค่ากว่า 4.96 พันล้านบาท (ytd)
ดัชนีต่ำกว่า 1800 จุด เน้นหุ้น Laggards และเติบโตมากกว่าตลาด
แนวโน้มดัชนีวันนี้คงปรับตัวลง ด้วย Sentiment ลบ หวั่นเกิดสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น หลังประธานาธิบดี ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศมหาอำนาจอย่าง จีน (รายละเอียดตามข้างต้น) ขณะที่ในประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่เข้ามาหนุน กลยุทธ์การลงทุน จึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว 1780-1805 จุด แนะนำถือหุ้น 40% และเลือกเป็นหุ้นรายตัว มีดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น ราคามี upside สูง : กลุ่มค้าปลีก BJC (FV@B69) เศรษฐกิจที่เติบโต และมาตรการกระตุ้นการบริโภคทำให้การจับจ่ายใช้สอยยังหนุนนำ แม้ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมค้าปลีกจะมีมากขึ้น แต่ระยะยาวจะได้ผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจเสริมที่เข้าไปลงทุนในเวียดนามด้วย , นิคมอุตสาหกรรม WHA(FV @B4.89) ร่างพ.ร.บ. EEC อยู่ระหว่างการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มพลังงาน PTTEP(FV @B137) มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้ ประกอบราคาน้ำมันดิบโลก ยังทรงได้อยู่ในระดับสูงหนุนผลประกอบการปีนี้เติบโตโดดเด่น
ราคาหุ้นยัง Laggard : กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC (FV @B600) ศักยภาพของบริษัทที่แข็งแกร่ง รายได้มีโอกาสการเติบโตจากการลงทุนของภาครัฐและเอกชน, กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA (FV @B46) แม้จะมีการปรับประมาณการกำไรลง แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงมาจนมี upside สูงถึง 33% และมี Div Yield สูงเกือบ 6%, กลุ่มส่งออก-อาหาร GFPT(FV @17) ได้อานิสงค์จากการส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้น หักล้างเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าได้, กลุ่มโรงพยาบาล BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 15.6%, กลุ่มธ.พ. BBL(FV@B235) โครงสร้างสินเชื่อกว่า 41% เป็นสินเชื่อรายใหญ่ ที่น่าจะเติบโตได้ดีตามแรงหนุนของโครงการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มการเติบโตเร่งตัวตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 14.0% yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6917
การกีดกันทางการค้าของสหรัฐมีน้ำหนักต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลกมากขึ้น หลังจากยกเว้น GSP แก่ 112 ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย และการขึ้นภาษีนำเข้า Safe Guard 4 รายการ เครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์, เหล็ก และอลูมิเนียม และอยู่ระหว่างพิจารณาเก็บภาษีน้ำมันไบโอดีเซลและยางรัด
ขณะนี้สหรัฐกำลังเจรจากับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ (16.4% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของสหรัฐ) และได้ดุลการค้าสหรัฐสูงสุด 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด จึงเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าในหลายรายการ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีและโทรคมนาคม ที่กล่าวหาว่าจีนละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้มาตรการที่สหรัฐจะกดดันจีน คือ
ขึ้นภาษีนำเข้า 25% สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งน่าจะกระทบมูลค่าสินค้าประมาณ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก(WTO) สินค้าจีนที่ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
จำกัดการลงทุนของจีนในสหรัฐ เพื่อป้องกันมิให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทในสหรัฐ
มาตรการดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อคู่ค้าหลักของจีน โดยเฉพาะคู่ค้าจีนในแถบเอเชีย ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตส่งออกสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน ได้แก่ ฮ่องกง มีสัดส่วนการค้ากับจีนราว 9.0%, ญี่ปุ่น 8.14%,เกาหลีใต้ 7.48%, ออสเตรเลีย 3.2%, เวียดนาม 2.91%, มาเลเซีย 2.57%, ไทย 2.24% เป็นต้น ซึ่งถือว่ากดดันการค้าโลกในระยะถัดไป
BOE ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) วานนี้ ยังดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามตลาดคาด แต่มีคณะกรรม 2 ใน 9 คนที่หนุนให้ขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามอย่างที่ตลาดคาด BOE จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งราว 0.5% ในปีนี้ โดยน่าจะขึ้นในการประชุมรอบถัดไปคือ เดือน พ.ค. ทั้งนี้หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในรอบ 10 ปี เมื่อเดือน พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน ก.พ. ขยายตัว 2.7%yoy แม้ชะลอตัวเล็กน้อยจาก 3.0% ในเดือน ม.ค. จากผลจากค่าเงินปอนด์ที่เริ่มชะลอการอ่อนค่าลงนับตั้งแต่ Brexit
นับว่าสอดคล้องกับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งราว 0.5% ในการประชุมที่เหลือ 6 ครั้งปีนี้มาที่ 2.25% ส่วนอีก 2 ปีนับจากนี้จะขึ้นอีก 3 ในปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 ทำให้ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ เพราะเชื่อมั่นเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง โดยได้ปรับ GDP growth ปีนี้เพิ่ม 0.2% เป็น 2.7% และเพิ่ม 0.3% เป็น 2.4% ในปีหน้า ทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้อระยะกลางที่ 2% แต่หากเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงมากกว่านี้ อาจจะทำให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากว่าที่กล่าวข้างต้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยตลาดหุ้น ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง พ.ค. 2547- มิ.ย. 2549
อย่างไรก็ตามการกีดทางการค้า และ ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ กลับกดดันค่าเงินดอลลาร์ให้มีทิศทางแกว่งตัว ซึ่งถือเป็นปัจจัยต่อสินค้าโภคภัณฑ์ระยะสั้น
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคบ้าง หลังจากขายมาตั้งแต่ต้นปี 2561
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 335 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 3 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 3 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือกลับมาซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 187 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 112 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน), อินโดนีเซีย 9 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 948 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน ด้วยมูลค่ารวม 6.8 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 440 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
แม้วานนี้ต่างชาติจะสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่น่าจะเป็นการสลับมาซื้อชั่วคราว เนื่องจากปัจจัยการกีดกันการค้า รวมถึงวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยยังกดดันดัชนีหุ้นโลก และยังสอดคล้องกับภาพรวม Fund Flow ในภูมิภาคตั้งแต่ต้นปี ยังเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ ด้วยมูลค่ากว่า 4.96 พันล้านบาท (ytd)
ดัชนีต่ำกว่า 1800 จุด เน้นหุ้น Laggards และเติบโตมากกว่าตลาด
แนวโน้มดัชนีวันนี้คงปรับตัวลง ด้วย Sentiment ลบ หวั่นเกิดสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น หลังประธานาธิบดี ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศมหาอำนาจอย่าง จีน (รายละเอียดตามข้างต้น) ขณะที่ในประเทศยังไม่มีประเด็นใหม่เข้ามาหนุน กลยุทธ์การลงทุน จึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัว 1780-1805 จุด แนะนำถือหุ้น 40% และเลือกเป็นหุ้นรายตัว มีดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น ราคามี upside สูง : กลุ่มค้าปลีก BJC (FV@B69) เศรษฐกิจที่เติบโต และมาตรการกระตุ้นการบริโภคทำให้การจับจ่ายใช้สอยยังหนุนนำ แม้ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมค้าปลีกจะมีมากขึ้น แต่ระยะยาวจะได้ผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจเสริมที่เข้าไปลงทุนในเวียดนามด้วย , นิคมอุตสาหกรรม WHA(FV @B4.89) ร่างพ.ร.บ. EEC อยู่ระหว่างการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มพลังงาน PTTEP(FV @B137) มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้ ประกอบราคาน้ำมันดิบโลก ยังทรงได้อยู่ในระดับสูงหนุนผลประกอบการปีนี้เติบโตโดดเด่น
ราคาหุ้นยัง Laggard : กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC (FV @B600) ศักยภาพของบริษัทที่แข็งแกร่ง รายได้มีโอกาสการเติบโตจากการลงทุนของภาครัฐและเอกชน, กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA (FV @B46) แม้จะมีการปรับประมาณการกำไรลง แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงมาจนมี upside สูงถึง 33% และมี Div Yield สูงเกือบ 6%, กลุ่มส่งออก-อาหาร GFPT(FV @17) ได้อานิสงค์จากการส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้น หักล้างเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าได้, กลุ่มโรงพยาบาล BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 15.6%, กลุ่มธ.พ. BBL(FV@B235) โครงสร้างสินเชื่อกว่า 41% เป็นสินเชื่อรายใหญ่ ที่น่าจะเติบโตได้ดีตามแรงหนุนของโครงการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มการเติบโตเร่งตัวตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 14.0% yoy
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6917