WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 


กลยุทธ์การลงทุน
          เชื่อว่าหุ้นน้ำมันยังฟื้น สวนทางกับภาพตลาดยังแกว่งตัว 1790-1813 จุด หลัง Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แต่ดูเหมือน Dollar Index ยังคงแกว่งตัว จึงคาดว่า SET น่าจะยังแกว่งตัว ในกรอบจำกัด 1790-1813 จุด อย่างไรก็ตาม แรงกดดันหุ้นปันผลจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อยิ่งใกล้วันขึ้น XD ยังแนะนำหุ้น Growth (AH, BPP, PTTEP, SAPPE, TVO, BJC) Defensive (BBL, BCH, RJH) และหมู-ไก่ส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น (GFPT, TFG, CPF) Top pick PTTEP(FV@B137) เนื่องจากยังมีปัญหาในแหล่งผลิตน้ำมัน และสต็อกน้ำมันลดมากกว่าคาด   
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... ตลาดฟื้นตัวสั้น และปิดบวกเล็กน้อย
          ดัชนีวานนี้เปิดบวก 7 จุด แต่หลังจากนั้นแกว่งตัวลดช่วงบวกลง ก่อนจะปิดที่ 1,801.43 เพิ่มขึ้น 1.59 จุด หรือ 0.09% ด้วยมูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 5.6 หมื่นล้านบาท แรงหนุนกระจายในหลายกลุ่ม เริ่มจากกลุ่มค้าปลีกคือ MAKRO เพิ่มขึ้น 3.23% CAPLL 0.86% ตามด้วยกลุ่มขนส่ง  THAI เพิ่ม 3.89% และ AOT 1.11% กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ คือ PTTEP  บวก 1.31%, IVL 2.26%  หุ้นโรงไฟฟ้า GPSC และ BGRIM เพิ่มขึ้น 1.97%, 2.86% ตามลำดับ ยกเว้น PTTGC ที่ปรับตัวลดลง 1.53%
          หุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ CPN เพิ่มขึ้น 0.64% BEM 2.10% และ SAT 3.81% ซึ่งได้แรงหนุนจาก ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ที่เติบโตต่อเนื่อง
          ตรงกันข้ามกลุ่มที่กดดันตลาด นำโดย กลุ่ม ธ.พ. อย่าง KBANK BBL KTB และ SCB ลดลง 1.33%, 1.46%, 2% และ 0.68% ตามลำดับ สวนทางกับ BAY ที่ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ปิดที่ 43 บาท เพิ่มขึ้น 1.18% ขณะที่กลุ่มส่งออก ไก่-หมู กลับบวกลบสลับ คือ CPF ลดลง 2.88%  แต่ GFPT สามารถบวกได้สดใส เพิ่มขึ้น 4.44%  เช่นเดียวกับ TFG  เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3% เนื่องจาก 2 บริษัทฟื้นตัวในอัตราน้อยกว่า CPF หลังจากที่ราคาหมูมีการปรับเพิ่มขึ้นสัปดาห์นี้และสัปดาห์ที่ผ่านมา
          สำหรับแนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ คาดดัชนียังคงแกว่งตัวในกรอบ 1790 - 1813 จุด
ส่งออกไทยยังดีต่อในกลุ่มชิ้นส่วน, ไก่, ผลิตภัณฑ์ยาง
          การค้าระหว่างประเทศของไทยยังดีต่อเนื่อง โดยเดือน ก.พ. บวก 10.3%yoy  (เฉลี่ย 2M61 13.95% แต่เงินบาทเพิ่ม 7.0%yoy) ตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มต่อเนื่องจากปี  2560 คือ ญี่ปุ่น และขยับเป็นอันดับ 1 ของตลาดส่งออกไทย ยกเว้นจีน และ สหรัฐ  เริ่มชะลอตัว ขณะตลาดอื่นๆ ฟื้นตัวแรงคือ  อินโดนีเซีย, อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี  และที่พลิกเป็นบวก คือ กัมพูชา, แคนาดา และตุรกี ตรงข้ามที่หดตัวป็นเดือนที่2 คือ สิงคโปร์, เกาหลีใต้, เมียนมาร์, อังกฤษ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเม็กซิโก เป็นต้น  
          สินค้าส่งออกที่เพิ่มนับจากปี 2560 คือ รถยนต์ &ส่วนประกอบ, คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ , ผลิตภัณฑ์ยาง  และไก่  และที่ขยายตัวเป็นเดือนที่  2 เคือ เม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรกล, ข้าว และเหล็ก  ตรงข้ามที่หดตัวเดือนแรก คือ แผงวงจรไฟฟ้า, อาหารทะเลแปรรูป, ทองแดง และน้ำตาลทราย และที่หดตัวตั้งแต่ต้นปีนี้คือ  อัญมณีฯ,  ยางพารา, วิทยุโทรทัศน์ และผลไม้แปรรูป เป็นต้น
          ด้านนำเข้าเพิ่ม  16.0%yoy  (เฉลี่ย 2M61 ขยายตัว 20.15% รูปบาทหดตัว 4.7%yoy) ส่วนใหญ่ยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อส่งออก ได้แก่ เคมีภัณฑ์และเหล็ก (ขยายตัวเป็นเดือนที่ 19 และ 7  ติดต่อกัน) และเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจากต้นปี 2561 
          อย่างไรก็ตามการส่งออกปีนี้ น่าจะเผชิญอุปสรรค จากการกีดการค้าจากสหรัฐ (ไม่ต่อ GSP ตั้งแต่ ม.ค. 2561  และขึ้นภาษีนำเข้า (Safe Guard) หลายรายการคือ เครื่องซักผ้า, แผงโซลาเซล์, เหล็ก และอลูมิเนียม และเงินบาทที่แข็งค่า ต่อเนื่องมา 2 ปี  ทำให้ประเมินว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุน และการบริโภคในประเทศ มากกว่า การส่งออก
Fed พร้อมขึ้นดอกเบี้ยถึง 3.5% ในปี 2563 
          ที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) 2 วันที่ผ่านมา เป็นไปตามคาด คือ ขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% เป็น 1.75% และยังส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในการประชุมที่เหลือ 6 ครั้งปีนี้  มาที่ 2.25%  พร้อมส่งสัญานขึ้นอีก 3 ครั้งปี 2562 และ 2 ครั้งในปี 2563 จะทำให้ดอกเบี้ย สิ้น ปี 2562 และ 2563 จะอยู่ที่ราว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวแข็งแกร่ง สะท้อนที่ Fed ปรับ GDP growth ปีนี้เป็น 2.7% จากเดิม 2.5% และเป็น 2.4% ในปี 2562 จากเดิม  2.1% 
          ทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานเงินเฟ้อระยะกลางที่ 2% แต่หากเงินเฟ้อผิดเพี้ยนไปจากนี้จะมีผลต่อตลาดเงินและตลาดหุ้น  ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มทรงตัว  และอ่อนค่า 2.82%ytd หากนับตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากตลาดได้รับรู้ประเด็นเหล่านี้ไปแล้ว 
          ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อของสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2543-2561 และคาดการณ์ปี 2561-2563
สต็อกน้ำมันลดลง ผิดจากตลาดคาดจะเพิ่มหนุน PTTEP
          ผลจากดอลลาร์ที่ยังคงแกว่งตัว และสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบลดลง 2.6 ล้านบาร์เรลผิดไปจากตลาดคาดจะเพิ่มขึ้นราว 2.62 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้แม้อยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงระหว่างเดือน ก.พ. -  เม.ย.) 
          ขณะที่ปัญหาด้าน supply ยังมีอยู่โดยเฉพาะประเด็นที่อิหร่าน (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC) ที่สหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าอีกครั้ง บวกกับ วิกฤติการเงิน ในเวเนซุเอลา  ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบออกมาได้ ทำให้ Supply ลดลงระยะสั้น
          โดยรวมหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบวานนี้ปิดที่อยู่ที่ 66.86 เหรียญฯต่อบาร์เรล หากยังยืนที่ระดับนี้จะทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำมันปี 2561อาจสูงสมมติฐานของ ASPS (เฉลี่ยต้นปีจนถึงปัจจุบัน 63.8 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) ยังชอบ PTTEP(FV@B137) มีการเติบโต และ upside สูงสุด  ขณะที่ยังมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาดำเนินธุรกิจได้เช่นเดิม ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) เตรียมเปิดประมูลแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ครบสัญญาเดิม 2 แห่ง ซึ่ง 1 ใน  2 คือแหล่งบงกช (ครบสัญญาสัมปทาน  2565-66) กำลังผลิตขั้นต่ำวันละ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเป็นเวลา 10 ปี ( PTTEP  ถือหุ้นใหญ่ 66.67% อีก 33.33% ถือโดย TOTAL
หุ้น ธ.พ. น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามการลงทุนในประเทศ แม้ดอกเบี้ยยังทรงตัว
          แม้ว่าแนวโน้มดอกเบี้ยโลกเริ่มขยับขึ้น นับจากนี้ แต่เชื่อว่าดอกเบี้ยนโนบายของไทยยังทรงตัว จนถึงปลายปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธ.พ. หลายแห่งจะมีการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อเตรียมรับกับกระแสดอกเบี้ยขาขึ้นดังกล่าว ขณะที่ความต้องการเบิกใช้สินเชื่อรายใหญ่มีเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากรายงาน ธ.พ.1.1 ประจำเดือน ก.พ. 61 ของ ธ.พ. 10 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา มียอดสินเชื่อสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้ฯ) คงค้างรวม 10.42 ล้านล้านบาท เป็นการเพิ่มของทั้งสินเชื่อระยะสั้นและยาว เพิ่ม 0.7%mom และ 4.4% yoy
          ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่าการเติบโตของสินเชื่อสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. ปี 2561 จะอยู่ที่ 6.5%yoy  หนุนมาจากเศรษฐกิจในประเทศที่ ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนภาครัฐ  และ เอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นมาก ส่งผลให้มีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่ (35% ของสินเชื่อรวม) จะเติบโตได้ราว 4%
          ในส่วนของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ปีนี้ คาดว่าจะลดลงจากปีก่อน นำโดยการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ของ ธ.พ.ใหญ่ เนื่องจากได้มีการตั้งไปแล้วค่อนข้างมากในปีที่ผ่านมา รวมทั้งตั้งสำรองฯ เพื่อรองรับ IFRS9 ที่จะเริ่มใช้ในต้นปี 2562 ไว้แล้วเช่นกัน สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเงินทุนและปริมาณเงินกันสำรองหนี้ฯ ของกลุ่มฯ ที่เพียงพอมาก
          ฝ่ายวิจัยยังชอบ BBL (FV@B235) เนื่องจากโครงสร้างสินเชื่อกว่า 41% เป็นสินเชื่อรายใหญ่ ที่น่าจะเติบโตได้ดีตามแรงหนุนของโครงการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มการเติบโตเร่งตัวตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณด้านการลงทุน โดยคาดว่าในปีนี้สินเชื่อสุทธิรวมจะเติบโตราว 5-6%yoy เช่นเดียวกับสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนภาครัฐ ก็ยังขยายตัวได้ดีเช่นกัน ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์โดยรวมเริ่มทรงตัว ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เริ่มลดระดับลง โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 14.0% yoy
ต่างยังขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค รวมถึงไทย
          วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 248 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ  เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 112 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ไต้หวัน 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 56 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)  และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 35 ล้านเหรียญ หรือ 1.08 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 โดยมีมูลค่ารวม 6.8 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.08 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
          ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.02 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 4.46 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 มีมูลค่ารวม 2.59 หมื่นล้านบาท)
นักวิเคราะห์ :
          ภรณี ทองเย็น          เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
          เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม          เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
          พบชัย ภัทราวิชญ์          เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
          ภราดร เตียรณปราโมทย์         เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
          ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์        เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
          โยธิน ภูคงนิล        ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
          วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร          ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6846

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!