- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 16 March 2018 15:42
- Hits: 1388
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดตลาดหุ้นไทยยังผันผวนและมีโอกาสลงมาต่ำกว่า 1800 จุด เพราะยังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ๆ และยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการมือถือและทีวีดิจิทัลเป็น sentiment เชิงบวกรายตัว ยังแนะนำสะสมหุ้น Growth (TVO, AH, PTTEP, BPP) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก (GFPT, TFG, CPF) Top picks คือ BBL(FV@B235) และ BCH(B19.3) ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 3.76% จาก WMC มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... SET Index ปรับขึ้นต่อเป็นวันที่ 4
ตลาดหุ้นไทยวานนี้แกว่งผันผวนมากขึ้น แต่ก็ยังสามารถปิดในแดนบวกได้ที่ 1,816.08 จุด เพิ่มขึ้น 2.68 จุด หรือ 0.15% ด้วยมูลค่าการซื้อขายลดลงมาอยู่ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท โดยมี 3 กลุ่มหลักหนุนตลาดฯ นำโดยกลุ่มปิโตรเคมี อย่าง PTTGC เพิ่มขึ้น 2.88% ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล หลังจากที่ปรับลดลงไปหลายวัน นำโดย BDMS เพิ่มขึ้น 1.34% และ BH เพิ่มขึ้น 1.92% อีกกลุ่มคือ กลุ่ม ธ.พ. ทั้ง SCB และ KTB เพิ่มขึ้น 1.35% และ 1.51% ตามลำดับ สวนทางกับ KBANK ลดลง 0.44% รวมทั้ง TMB ราคาลดลงไปทำจุดต่ำสุดเกือบ 6% จากประเด็นข่าวหนี้เสียของ บริษัท เฟิร์ส พลาสติค จำนวน 3.4 พันล้านบาท แต่ TMB แจ้งว่าหนี้ดังกล่าวได้ถูกจัดเป็น NPL ไปตั้งแต่ปี 2557 แล้ว ส่งผลให้ราคาหุ้นมีการดีดกลับเหลือติดลบเพียง 2.11% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้น คือ MAKRO เพิ่มขึ้น 3.90%, SCC เพิ่มขึ้น 0.79% และ KTC เพิ่มขึ้น 4.72%
ขณะที่ตลาดถูกกดดันด้วยกลุ่มพลังงาน คือ PTT ลดลง 0.36% หุ้นโรงไฟฟ้า EA ลดลง 2.04%, EGCO ลดลง 1.68% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ลดลง คือ AOT ลดลง 0.37% และ CPF ย่อตัวลงมาหลังจากขึ้นแรงในวันก่อนหน้า ปิดที่ 25 บาท ลดลง 1.96%
สำหรับแนวโน้มวันนี้ คาด SET Index มีโอกาสพักตัวต่อ แนวรับ 1805 จุด แนวต้าน 1825 จุด
สหรัฐยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง เนื่องจากตลาดแรงงานยังดี
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน สะท้อนจากยอดการขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Initial jobless claim) สัปดาห์ล่าสุด ลดลง 5 พันราย จากสัปดาห์ก่อนหน้า และโดยลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 เช่นเดียวกับรายเดือน ที่ลดลงติดต่อกัน 2 เดือน เช่นกัน สอดคล้องกับอัตราการว่างงาน ที่ล่าสุด ในเดือน ก.พ. ยังทรงตัวที่ระดับ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนถึงตลาดแรงงานสหรัฐที่เข้าใกล้ระดับการจ้างงานเต็มที่ (Full employment) หนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ออย่างน้อย 3 ครั้งๆละ 0.25% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในการประชุม 20-21 มี.ค. (สัปดาห์หน้า) ซึ่งคาดว่าตลาดได้รับรู้ไปแล้ว แต่หาก Fed อัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะกลายเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้ ขณะที่ Dollar Index วานนี้ปรับตัวแข็งค่า 0.47% แต่ยังคงแกว่งตัวราวที่ 90 จุด และยังอ่อนค่า 2.16%ytd หากนับตั้งแต่ต้นปี
ได้เงินค้ำประกันคืน ..sentiment เชิงบวกต่อหุ้นทีวีดิจิทัล
หลังจาก 13 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางฯ ตัดสินให้ กสทช. คืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1.5 พันล้านบาทให้กับบริษัท ไทยทีวีจำกัด เพราะ กสทช ผิดสัญญา ล่าสุดผลการหารือกับ รัฐบาล กสทช. ได้สรุปออกมาตรการช่วยเหลือผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่เหลืออยู่ 22 ราย คือ
พักชำระค่าใบอนุญาติทีวีดิจิทัลเป็นเวลา 3 ปีโดยให้ผู้ประกอบการที่ยื่นขอพักชำระหนี้ จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ลดค่าเช่าโครงข่าย(มัค) ลง 50% เป็นเวลา 2 ปี จากปัจจุบันค่าเช่าโครงข่ายปีละ 170 ล้านบาทสำหรับ HD และ 55 ล้านบาท สำหรับช่องที่เหลือ
สิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นพัฒนากรเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่ม ทีวีดิจิทัล ที่เหลือทุกราย ซึ่งล้วนประสบปัญหาทางการเงินทั้งนี้ก่อนหน้านี้ แม้ที่ผ่านมา กสทช ได้ให้ความช่วยเหลือไปบ้างคือ ยืดการชำระเงินค่าใบอนุญาตเป็น 9 งวด ๆ ละปี ( 2557-2565 จากเดิม 7 ปี) ยกเว้นค่าเช่าดาวเทียม Upload สัญญาณ ตามกฎ Must carry rule ราวปีละ 12 ล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี 2560-2561 และ ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นขั้นบันไดจาก 2% ทำให้ทั้งระบบจ่ายลดลงเหลือราว 1% ของรายได้ทั้งหมด
มาตรการนี้ทั้งช่วยลดต้นทุน และ ช่วยเหลือสภาพคล่องระยะสั้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบางรายคืนใบอนุญาตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตมากกว่า 1 ใบ เช่น BEC และ MCOT น่าจะคืน Family และ NMG คืนช่องเด็ก เป็นต้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการที่เหลือมีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มี contents และ rating สูง ได้แก่ WORK, RS, BEC MONO เป็นต้น เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาโดยรวม ที่ยังชะลอตัว กล่าวคือเม็ดเงินโฆษณาทั้งระบบฯ ปี 2560 หดตัว 4%yoy อยู่ที่ 1.16 แสนล้านบาท เป็นชะลอตัวของสื่อเดิม ๆ เช่น Analog TV หดตัวราว 13%yoy ยกเว้น Digital TV ซึ่งเพิ่ม 7% อยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามโฆษณานอกบ้านเพิ่มขึ้น 13% มาจากห้างสรรพสินค้า เพิ่ม 35% Outdoor 13% และ Transit อาทิ รถไฟฟ้า 10% ขณะที่โรงหนัง และอินเทอร์เน็ต เพิ่มราว 27% และ 24% ตามลำดับ จึงแนะนำสะสม RS, WORK BEC
และตามด้วย ธนาคารพาณิชย์ที่มีการออกวงเงินค้ำประกัน ให้กลุ่มทีวีดิจิทัลมากสุด โดยเฉพาะ BBL(FV@B235) ซึ่งออกหนังสือค้ำประกันมากสุด 61% ของวงเงินรวม (3.52 หมื่นล้านบาท) ขณะที่คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 14.0% yoy และ 9.5% yoy ตามการเติบโตของธุรกิจหลักจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME และยังมี coverage ratio ระดับสูงมากน่าจะรองรับ IFRS ได้ไม่มีปัญหา
กสทช. ยืดเวลาการจ่ายคลื่น 900 แต่สะท้อนราคาหุ้น ADVANC และ TRUE
เช่นเดียวกับ ทีวีดิจิทัล กสทช. ให้ความช่วยเหลือ ADVANC และ TRUE ที่ชนะประมูล 4G คลื่น 900 MHz เมื่อปี 2559 ด้วยราคาประมูลที่สูงถึง 7.6 หมื่นล้านบาทต่อใบอนุญาต ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็น 4 งวด งวดที่ 1 จำนวน 8.0 พันล้านบาทในปี 2559 งวดที่ 2 และ 3 จำนวนเท่ากันที่ 4.0 พันล้านบาทในปี 2561-62 และงวดที่ 4 ในปี 2563 ราว 6.0 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันทั้ง 2 รายได้ผ่อนชำระมาแล้ว 2 งวดแรกเท่านั้น
โดยมาตรการช่วยเหลือ จะให้ยืดจ่ายเงินประมูลงวดสุดท้ายเท่านั้น โดยให้แบ่งเป็น 5 งวด โดยเงินที่นำส่งน่าจะเหลือราว 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่รวมเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะคิดอิงดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ที่ 1.5% ภาพรวมถือเป็นบวกต่อ ADVANC และ TRUE เพราะจะช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงิน โดยหากไม่มีนโยบายดังกล่าว ทั้ง 2 ราย มีแนวโน้มต้องก่อหนี้มาชำระ เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีเงินสดไม่เพียงพอ ADVANC มีเงินสดในมือ 1.0 หมื่นล้านบาท และ TRUE ที่มีเงินสดในมือ 1.2 หมื่นล้านบาท และถือเป็นการแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำลง โดยอัตราดอกเบี้ยที่กสทช. จะเก็บที่ 1.5% ถือว่าต่ำกว่า Cost of Debt ของ ADVANC และ TRUE ปัจจุบันที่อยู่ราว 3.0% และ 4.8% ต่อปี
การยืดเวลาชำระหนี้ ทำให้ต้นทุนการเงินลดลง ซึ่งน่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นเล็กน้อย แต่ เชื่อว่าข่าวบวกดังกล่าวได้สะท้อนในหุ้นแล้ว โดยเฉพาะ TRUE ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 10.8% จนสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ 6.4 บาท ขณะที่ ADVANC ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 4.8% แต่ยังลงทุนได้ จากมูลค่าพื้นฐานที่ 230 บาท ซึ่งยังพอมี Upside อีก 11%
ปรับประมาณการ BCH ขึ้น ...WMC ฟื้นตัวต่อเนื่อง
BCH มีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงาน 4Q60 ที่ผ่านมาเติบโตถึง 71%yoy ปัจจัยหนุนมาจาก WMC มี EBITDA เป็นบวก 3 ไตรมาสติดต่อกัน (จากที่เคยติดลบใน 4Q59) หลักๆ จากผู้ป่วยชาวจีนที่มารักษาเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลกระทบจากการ rebranding โรงพยาบาล เกษมราฏร์รัตนาธิเบศร์เดิม เป็น โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์ โดยต้องโอนย้ายผู้ป่วยประกันสังคมมายัง แห่งใหม่ คือ โรงพยาบาลการุณเวช ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นเกษมราฎร์ รัตนาธิเบศร์ ทำให้จำนวนผู้ประกันตน โดยรวมลดลงเพียง 1-2 หมื่นราย จากงวด 4Q60 เหลือ 7.9 แสนราย
ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงาน 1Q61 ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของไวรัสโรตา ทำให้ผลการดำเนินงานเติบโตในแทบทุกโรงพยาบาลของ BCH ขณะที่ WMC อาจได้รับผลกระทบจากช่วงหยุดเทศการตรุษจีน แต่จะกลับมาอีกครั้งหลัง 2Q61 เป็นต้นไป โดยทั้งปี 2561 WMC จะเพิ่มฐานลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนจากการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ เช่น จีน-มาเลเซีย และการเปิดศูนย์ผู้มีบุตรยาก ส่วนลูกค้าตะวันออกกลางจะขยายศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งมี Demand มาก และค่ารักษาโดยรวมต่อรายค่อนข้างสูง รวมทั้งมีแพทย์ที่มีชื่อเสียงมาร่วมงานด้วยพร้อมลูกค้าประจำส่วนหนึ่ง หนุนให้ WMC จะสามารถพลิกเป็นกำไรในปีนี้ได้มากขึ้น
ขณะที่แผนการลงทุน ปัจจุบัน BCH อยู่ระหว่างก่อสร้าง รพ. เกษมราษฎร์ รามคำแหง ที่จะเปิด 4Q61 และ 2Q61 ได้เริ่มลงทุนเพิ่ม 3 โครงการใหญ่ คือ รพ. เกษมราษฎร์ สระแก้ว ปราจีนบุรี และเวียงจันทน์ จะช่วยเสริมภาพการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาวบนทำเลที่มีศักยภาพ ด้วยเหตุที่ผลการดำเนินงานปี 2560 ดีกว่าคาด ฝ่ายวิจัยจึงเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561 ขึ้น ทำให้มูลค่าพื้นฐานอิง DCF ใหม่ เพิ่มขึ้นมาเป็น 19.30 บาท/หุ้น จากเดิม 18.60 บาท/หุ้น มี upside 17.7%
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 196 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวัน ขายสุทธิ 141 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 17 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 46 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 27 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 18) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 34 ล้านเหรียญ หรือ 1.1 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 531 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.42 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 3.87 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6581
กลยุทธ์การลงทุน
คาดตลาดหุ้นไทยยังผันผวนและมีโอกาสลงมาต่ำกว่า 1800 จุด เพราะยังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ๆ และยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการมือถือและทีวีดิจิทัลเป็น sentiment เชิงบวกรายตัว ยังแนะนำสะสมหุ้น Growth (TVO, AH, PTTEP, BPP) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก (GFPT, TFG, CPF) Top picks คือ BBL(FV@B235) และ BCH(B19.3) ปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 3.76% จาก WMC มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... SET Index ปรับขึ้นต่อเป็นวันที่ 4
ตลาดหุ้นไทยวานนี้แกว่งผันผวนมากขึ้น แต่ก็ยังสามารถปิดในแดนบวกได้ที่ 1,816.08 จุด เพิ่มขึ้น 2.68 จุด หรือ 0.15% ด้วยมูลค่าการซื้อขายลดลงมาอยู่ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท โดยมี 3 กลุ่มหลักหนุนตลาดฯ นำโดยกลุ่มปิโตรเคมี อย่าง PTTGC เพิ่มขึ้น 2.88% ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล หลังจากที่ปรับลดลงไปหลายวัน นำโดย BDMS เพิ่มขึ้น 1.34% และ BH เพิ่มขึ้น 1.92% อีกกลุ่มคือ กลุ่ม ธ.พ. ทั้ง SCB และ KTB เพิ่มขึ้น 1.35% และ 1.51% ตามลำดับ สวนทางกับ KBANK ลดลง 0.44% รวมทั้ง TMB ราคาลดลงไปทำจุดต่ำสุดเกือบ 6% จากประเด็นข่าวหนี้เสียของ บริษัท เฟิร์ส พลาสติค จำนวน 3.4 พันล้านบาท แต่ TMB แจ้งว่าหนี้ดังกล่าวได้ถูกจัดเป็น NPL ไปตั้งแต่ปี 2557 แล้ว ส่งผลให้ราคาหุ้นมีการดีดกลับเหลือติดลบเพียง 2.11% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้น คือ MAKRO เพิ่มขึ้น 3.90%, SCC เพิ่มขึ้น 0.79% และ KTC เพิ่มขึ้น 4.72%
ขณะที่ตลาดถูกกดดันด้วยกลุ่มพลังงาน คือ PTT ลดลง 0.36% หุ้นโรงไฟฟ้า EA ลดลง 2.04%, EGCO ลดลง 1.68% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ลดลง คือ AOT ลดลง 0.37% และ CPF ย่อตัวลงมาหลังจากขึ้นแรงในวันก่อนหน้า ปิดที่ 25 บาท ลดลง 1.96%
สำหรับแนวโน้มวันนี้ คาด SET Index มีโอกาสพักตัวต่อ แนวรับ 1805 จุด แนวต้าน 1825 จุด
สหรัฐยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง เนื่องจากตลาดแรงงานยังดี
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน สะท้อนจากยอดการขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Initial jobless claim) สัปดาห์ล่าสุด ลดลง 5 พันราย จากสัปดาห์ก่อนหน้า และโดยลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 เช่นเดียวกับรายเดือน ที่ลดลงติดต่อกัน 2 เดือน เช่นกัน สอดคล้องกับอัตราการว่างงาน ที่ล่าสุด ในเดือน ก.พ. ยังทรงตัวที่ระดับ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนถึงตลาดแรงงานสหรัฐที่เข้าใกล้ระดับการจ้างงานเต็มที่ (Full employment) หนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่ออย่างน้อย 3 ครั้งๆละ 0.25% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในการประชุม 20-21 มี.ค. (สัปดาห์หน้า) ซึ่งคาดว่าตลาดได้รับรู้ไปแล้ว แต่หาก Fed อัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะกลายเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้ ขณะที่ Dollar Index วานนี้ปรับตัวแข็งค่า 0.47% แต่ยังคงแกว่งตัวราวที่ 90 จุด และยังอ่อนค่า 2.16%ytd หากนับตั้งแต่ต้นปี
ได้เงินค้ำประกันคืน ..sentiment เชิงบวกต่อหุ้นทีวีดิจิทัล
หลังจาก 13 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางฯ ตัดสินให้ กสทช. คืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1.5 พันล้านบาทให้กับบริษัท ไทยทีวีจำกัด เพราะ กสทช ผิดสัญญา ล่าสุดผลการหารือกับ รัฐบาล กสทช. ได้สรุปออกมาตรการช่วยเหลือผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่เหลืออยู่ 22 ราย คือ
พักชำระค่าใบอนุญาติทีวีดิจิทัลเป็นเวลา 3 ปีโดยให้ผู้ประกอบการที่ยื่นขอพักชำระหนี้ จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ลดค่าเช่าโครงข่าย(มัค) ลง 50% เป็นเวลา 2 ปี จากปัจจุบันค่าเช่าโครงข่ายปีละ 170 ล้านบาทสำหรับ HD และ 55 ล้านบาท สำหรับช่องที่เหลือ
สิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นพัฒนากรเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่ม ทีวีดิจิทัล ที่เหลือทุกราย ซึ่งล้วนประสบปัญหาทางการเงินทั้งนี้ก่อนหน้านี้ แม้ที่ผ่านมา กสทช ได้ให้ความช่วยเหลือไปบ้างคือ ยืดการชำระเงินค่าใบอนุญาตเป็น 9 งวด ๆ ละปี ( 2557-2565 จากเดิม 7 ปี) ยกเว้นค่าเช่าดาวเทียม Upload สัญญาณ ตามกฎ Must carry rule ราวปีละ 12 ล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี 2560-2561 และ ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นขั้นบันไดจาก 2% ทำให้ทั้งระบบจ่ายลดลงเหลือราว 1% ของรายได้ทั้งหมด
มาตรการนี้ทั้งช่วยลดต้นทุน และ ช่วยเหลือสภาพคล่องระยะสั้นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบางรายคืนใบอนุญาตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตมากกว่า 1 ใบ เช่น BEC และ MCOT น่าจะคืน Family และ NMG คืนช่องเด็ก เป็นต้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการที่เหลือมีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มี contents และ rating สูง ได้แก่ WORK, RS, BEC MONO เป็นต้น เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาโดยรวม ที่ยังชะลอตัว กล่าวคือเม็ดเงินโฆษณาทั้งระบบฯ ปี 2560 หดตัว 4%yoy อยู่ที่ 1.16 แสนล้านบาท เป็นชะลอตัวของสื่อเดิม ๆ เช่น Analog TV หดตัวราว 13%yoy ยกเว้น Digital TV ซึ่งเพิ่ม 7% อยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามโฆษณานอกบ้านเพิ่มขึ้น 13% มาจากห้างสรรพสินค้า เพิ่ม 35% Outdoor 13% และ Transit อาทิ รถไฟฟ้า 10% ขณะที่โรงหนัง และอินเทอร์เน็ต เพิ่มราว 27% และ 24% ตามลำดับ จึงแนะนำสะสม RS, WORK BEC
และตามด้วย ธนาคารพาณิชย์ที่มีการออกวงเงินค้ำประกัน ให้กลุ่มทีวีดิจิทัลมากสุด โดยเฉพาะ BBL(FV@B235) ซึ่งออกหนังสือค้ำประกันมากสุด 61% ของวงเงินรวม (3.52 หมื่นล้านบาท) ขณะที่คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 14.0% yoy และ 9.5% yoy ตามการเติบโตของธุรกิจหลักจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME และยังมี coverage ratio ระดับสูงมากน่าจะรองรับ IFRS ได้ไม่มีปัญหา
กสทช. ยืดเวลาการจ่ายคลื่น 900 แต่สะท้อนราคาหุ้น ADVANC และ TRUE
เช่นเดียวกับ ทีวีดิจิทัล กสทช. ให้ความช่วยเหลือ ADVANC และ TRUE ที่ชนะประมูล 4G คลื่น 900 MHz เมื่อปี 2559 ด้วยราคาประมูลที่สูงถึง 7.6 หมื่นล้านบาทต่อใบอนุญาต ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินเป็น 4 งวด งวดที่ 1 จำนวน 8.0 พันล้านบาทในปี 2559 งวดที่ 2 และ 3 จำนวนเท่ากันที่ 4.0 พันล้านบาทในปี 2561-62 และงวดที่ 4 ในปี 2563 ราว 6.0 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันทั้ง 2 รายได้ผ่อนชำระมาแล้ว 2 งวดแรกเท่านั้น
โดยมาตรการช่วยเหลือ จะให้ยืดจ่ายเงินประมูลงวดสุดท้ายเท่านั้น โดยให้แบ่งเป็น 5 งวด โดยเงินที่นำส่งน่าจะเหลือราว 1.3 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่รวมเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะคิดอิงดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ที่ 1.5% ภาพรวมถือเป็นบวกต่อ ADVANC และ TRUE เพราะจะช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงิน โดยหากไม่มีนโยบายดังกล่าว ทั้ง 2 ราย มีแนวโน้มต้องก่อหนี้มาชำระ เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีเงินสดไม่เพียงพอ ADVANC มีเงินสดในมือ 1.0 หมื่นล้านบาท และ TRUE ที่มีเงินสดในมือ 1.2 หมื่นล้านบาท และถือเป็นการแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำลง โดยอัตราดอกเบี้ยที่กสทช. จะเก็บที่ 1.5% ถือว่าต่ำกว่า Cost of Debt ของ ADVANC และ TRUE ปัจจุบันที่อยู่ราว 3.0% และ 4.8% ต่อปี
การยืดเวลาชำระหนี้ ทำให้ต้นทุนการเงินลดลง ซึ่งน่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นเล็กน้อย แต่ เชื่อว่าข่าวบวกดังกล่าวได้สะท้อนในหุ้นแล้ว โดยเฉพาะ TRUE ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 10.8% จนสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ 6.4 บาท ขณะที่ ADVANC ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 4.8% แต่ยังลงทุนได้ จากมูลค่าพื้นฐานที่ 230 บาท ซึ่งยังพอมี Upside อีก 11%
ปรับประมาณการ BCH ขึ้น ...WMC ฟื้นตัวต่อเนื่อง
BCH มีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงาน 4Q60 ที่ผ่านมาเติบโตถึง 71%yoy ปัจจัยหนุนมาจาก WMC มี EBITDA เป็นบวก 3 ไตรมาสติดต่อกัน (จากที่เคยติดลบใน 4Q59) หลักๆ จากผู้ป่วยชาวจีนที่มารักษาเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลกระทบจากการ rebranding โรงพยาบาล เกษมราฏร์รัตนาธิเบศร์เดิม เป็น โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์ โดยต้องโอนย้ายผู้ป่วยประกันสังคมมายัง แห่งใหม่ คือ โรงพยาบาลการุณเวช ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นเกษมราฎร์ รัตนาธิเบศร์ ทำให้จำนวนผู้ประกันตน โดยรวมลดลงเพียง 1-2 หมื่นราย จากงวด 4Q60 เหลือ 7.9 แสนราย
ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงาน 1Q61 ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของไวรัสโรตา ทำให้ผลการดำเนินงานเติบโตในแทบทุกโรงพยาบาลของ BCH ขณะที่ WMC อาจได้รับผลกระทบจากช่วงหยุดเทศการตรุษจีน แต่จะกลับมาอีกครั้งหลัง 2Q61 เป็นต้นไป โดยทั้งปี 2561 WMC จะเพิ่มฐานลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนจากการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ เช่น จีน-มาเลเซีย และการเปิดศูนย์ผู้มีบุตรยาก ส่วนลูกค้าตะวันออกกลางจะขยายศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งมี Demand มาก และค่ารักษาโดยรวมต่อรายค่อนข้างสูง รวมทั้งมีแพทย์ที่มีชื่อเสียงมาร่วมงานด้วยพร้อมลูกค้าประจำส่วนหนึ่ง หนุนให้ WMC จะสามารถพลิกเป็นกำไรในปีนี้ได้มากขึ้น
ขณะที่แผนการลงทุน ปัจจุบัน BCH อยู่ระหว่างก่อสร้าง รพ. เกษมราษฎร์ รามคำแหง ที่จะเปิด 4Q61 และ 2Q61 ได้เริ่มลงทุนเพิ่ม 3 โครงการใหญ่ คือ รพ. เกษมราษฎร์ สระแก้ว ปราจีนบุรี และเวียงจันทน์ จะช่วยเสริมภาพการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาวบนทำเลที่มีศักยภาพ ด้วยเหตุที่ผลการดำเนินงานปี 2560 ดีกว่าคาด ฝ่ายวิจัยจึงเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561 ขึ้น ทำให้มูลค่าพื้นฐานอิง DCF ใหม่ เพิ่มขึ้นมาเป็น 19.30 บาท/หุ้น จากเดิม 18.60 บาท/หุ้น มี upside 17.7%
ภาพรวมต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 196 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวัน ขายสุทธิ 141 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 17 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 46 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 27 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 18) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 34 ล้านเหรียญ หรือ 1.1 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 531 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.42 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 3.87 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6581