- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 March 2018 20:58
- Hits: 2457
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1,800 จุด และยังมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับ 1,785 จุด ตราบที่ ไม่มีประเด็นหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Growth (TVO, AH) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก หลังจีนอนุญาตนำเข้าจากไทยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (GFPT, TFG, CPF) Top picks ยังชอบ GFPT(FV@B17) และวันนี้เพิ่ม BBL(FV@B235) น่าจะได้ sentiment เชิงบวก หลังศาลฯ ตัดสินให้ กสทช คืนเงินประกันแก่ทีวีพูล
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...ดัชนีฟื้นต่อด้วยหุ้นพลังงาน และปิโตรเคมี
ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ แกว่งบวก-ลบสลับกัน และดันแรงท้ายตลาดปิดที่ 1,809.90 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด หรือ 0.53% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 71,678.29 หมื่นล้านบาท ตลาดยังคงถูกประคองด้วยกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT เพิ่มขึ้น 1.43% และการ rebound ของหุ้น EA หลังจากถูกเทขายไป 8 วันติดต่อกัน ล่าสุดราคาอยู่ที่ 48 บาท เพิ่มขึ้น 12.94% ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ ที่ไล่ขึ้นมาในช่วงท้ายตลาด IVL เพิ่มขึ้น 3.32% IRPC เพิ่มขึ้น 4% PTTGC เพิ่มขึ้น 0.52% และกลุ่ม ICT โดยเฉพาะ TRUE เพิ่มขึ้น 2.99% (ฝ่ายวิจัยแนะนำ Switch [email protected] บาท มองปี 2561 มีความท้าทายของการสร้างรายได้เพื่อชดเชยต้นทุนเพิ่มขึ้น) ขณะที่หุ้นรายตัว อย่าง ORI GLOBAL และ MAKRO ถูกเก็งกำไรในช่วง rebound ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10.53% 8.45% และ 3.78% ตามลำดับ
ตรงข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ที่กดดันตลาดราว 2 จุด นำโดย KBANK ลดลง 1.72% BBL ลดลง 0.95% TMB ลดลง 2.04% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงค่อนข้างมาก เช่น MINT ลดลง 3.23% และ HMPRO ลดลง 0.69%
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสพักตัว แนวรับ 1800 จุด แนวต้าน 1817 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังแกว่งตัวต่ำกว่า 1,800 จุด และยังมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับ 1,785 จุด ตราบที่ ไม่มีประเด็นหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Growth (TVO, AH) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก หลังจีนอนุญาตนำเข้าจากไทยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (GFPT, TFG, CPF) Top picks ยังชอบ GFPT(FV@B17) และวันนี้เพิ่ม BBL(FV@B235) น่าจะได้ sentiment เชิงบวก หลังศาลฯ ตัดสินให้ กสทช คืนเงินประกันแก่ทีวีพูล
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...ดัชนีฟื้นต่อด้วยหุ้นพลังงาน และปิโตรเคมี
ดัชนีหุ้นไทยวานนี้ แกว่งบวก-ลบสลับกัน และดันแรงท้ายตลาดปิดที่ 1,809.90 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด หรือ 0.53% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 71,678.29 หมื่นล้านบาท ตลาดยังคงถูกประคองด้วยกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT เพิ่มขึ้น 1.43% และการ rebound ของหุ้น EA หลังจากถูกเทขายไป 8 วันติดต่อกัน ล่าสุดราคาอยู่ที่ 48 บาท เพิ่มขึ้น 12.94% ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ ที่ไล่ขึ้นมาในช่วงท้ายตลาด IVL เพิ่มขึ้น 3.32% IRPC เพิ่มขึ้น 4% PTTGC เพิ่มขึ้น 0.52% และกลุ่ม ICT โดยเฉพาะ TRUE เพิ่มขึ้น 2.99% (ฝ่ายวิจัยแนะนำ Switch [email protected] บาท มองปี 2561 มีความท้าทายของการสร้างรายได้เพื่อชดเชยต้นทุนเพิ่มขึ้น) ขณะที่หุ้นรายตัว อย่าง ORI GLOBAL และ MAKRO ถูกเก็งกำไรในช่วง rebound ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10.53% 8.45% และ 3.78% ตามลำดับ
ตรงข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ที่กดดันตลาดราว 2 จุด นำโดย KBANK ลดลง 1.72% BBL ลดลง 0.95% TMB ลดลง 2.04% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงค่อนข้างมาก เช่น MINT ลดลง 3.23% และ HMPRO ลดลง 0.69%
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสพักตัว แนวรับ 1800 จุด แนวต้าน 1817 จุด
Dollar ยังอ่อนค่า ปัญหาการเมือง มีน้ำหนักมากกว่าเงินเฟ้อสูงขึ้น
สหรัฐรายงานเงินเฟ้อของสหรัฐ เดือน ก.พ. เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ เพิ่มขึ้น 2.2%yoy และเพิ่มจาก เดือน ม.ค. ที่ 2.1% หลักๆ มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 20.7%yoy, การขนส่งเพิ่มขึ้น 4.5%, เคหสถาน 3.1%, อาหารและเครื่องดื่ม 1.4% เป็นต้น เท่ากับหนุน Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออย่างน้อย 3 ครั้งๆละ 0.25% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งถือว่าสะท้อนใน ราคาหุ้นแล้ว แต่การที่ Dollar Index ยังคงแกว่งตัวราว 89 - 90 จุด น่าจะเป็นปัจจัยการเมืองในประเทศ จากสหรัฐ กรณีนายแกรี่ โคห์น หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว ประกาศลาออกเนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์ยังเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม รวมถึงการปลดนาย เร็กซ์ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ยังเป็นปัจจัยที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่าสุด คือ ราคาน้ำมันดิบดูไบชะลอตัวช่วงสั้น อยู่ที่ระดับ 61.89 เหรียญต่อบาร์เรล ถึงแม้ค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่า แต่ถูกกดดันจากปัญหา Over Supply จากสหรัฐ คือ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ได้ปรับเพิ่มปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐเฉลี่ยปี 2561 เป็น 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิม 10.59 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน ทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ น่าจะลดปัญหา Oversupply ลงได้ ทำให้เชื่อว่าราคาน้ำมันดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญฯ ได้ จึงเป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP
สหรัฐรายงานเงินเฟ้อของสหรัฐ เดือน ก.พ. เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ เพิ่มขึ้น 2.2%yoy และเพิ่มจาก เดือน ม.ค. ที่ 2.1% หลักๆ มาจากน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 20.7%yoy, การขนส่งเพิ่มขึ้น 4.5%, เคหสถาน 3.1%, อาหารและเครื่องดื่ม 1.4% เป็นต้น เท่ากับหนุน Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออย่างน้อย 3 ครั้งๆละ 0.25% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยน่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งถือว่าสะท้อนใน ราคาหุ้นแล้ว แต่การที่ Dollar Index ยังคงแกว่งตัวราว 89 - 90 จุด น่าจะเป็นปัจจัยการเมืองในประเทศ จากสหรัฐ กรณีนายแกรี่ โคห์น หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว ประกาศลาออกเนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์ยังเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม รวมถึงการปลดนาย เร็กซ์ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ยังเป็นปัจจัยที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่าสุด คือ ราคาน้ำมันดิบดูไบชะลอตัวช่วงสั้น อยู่ที่ระดับ 61.89 เหรียญต่อบาร์เรล ถึงแม้ค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่า แต่ถูกกดดันจากปัญหา Over Supply จากสหรัฐ คือ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ได้ปรับเพิ่มปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐเฉลี่ยปี 2561 เป็น 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิม 10.59 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน ทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ น่าจะลดปัญหา Oversupply ลงได้ ทำให้เชื่อว่าราคาน้ำมันดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญฯ ได้ จึงเป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP
ศาลฯ ตัดสิน ทีวีพูล ชนะ ได้เงินค้ำประกันคืน ..sentiment เชิงบวกต่อหุ้นทีวีดิจิทัล
วานนี้ ศาลปกครองกลางพิพากษาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตราว 1.5 พันล้านบาทให้กับบริษัท ไทยทีวีจำกัด ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือติ๋มทีวีพูล เนื่องจาก กสทช. ผิดสัญญา ทั้งเรื่อง โครงข่ายสัญญาณไม่พร้อมให้บริการ และการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลจากเดิมอนาล็อกล่าช้ากว่าแผน
ขณะที่ 15 มี.ค. รัฐบาลเตรียมหารือกับ กสทช.เกี่ยวกับแนว เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล อาทิ การเลื่อนการชำระค่าประมูลทีวีดิจิทัล ออกไป 3 ปี กสทช.สนับสนุนค่าใช้เช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล 50% เป็นเวลา 3 ปี เป็นต้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ ภายใน เม.ย. 2561
ข่าวนี้น่าจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีเหลืออยู่ 22 ราย เพราะอีก 2 ช่องคือ ช่องทีวีพูล และ Loca หยุดให้บริการหลังประสบปัญหาการเงินและฟ้องร้องต่อศาลดังกล่าวข้างต้น
ในการประมูลทีวีดิจิทัลปี 2557 สรุปว่ามีผู้ชนะประมูล 24 ช่อง จากผู้ประกอบการ 17 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีรายเดิมคือ BEC, MCOT, ช่อง 7 สี TRUE (TRUE4U, TNN24) ทำให้รัฐได้เงินค่าประมูลรวมทั้งสิ้น 50,862 ล้านบาท (สูงกว่าราตั้งต้น 15,045 ล้านบาท หรือมากกว่า 3.38 เท่า) โดยให้แบ่งจ่ายเป็น 9 งวด ๆ ละปี (2557-2565 มีการยืดระยะเวลาจากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 7 ปี) แต่ให้ตัดจำหน่ายใบอนุญาตเป็นเวลา 15 ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมต้นทุนอื่น คือ
ค่าเช่าโครงข่ายปีละ 170 ล้านบาทสำหรับ HD และ 55 ล้านบาท สำหรับช่องที่เหลือ
ค่าเช่าดาวเทียม Upload สัญญาน ตามกฎ Must carry rule ราวปีละ 12 ล้านบาท
และ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอีกปีละ 2% ของรายได้
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในการดำเนินงานตั้งแต่ปีแรก ผู้ประกอบการทุกรายประสบภาวะขาดทุน ยกเว้น WORK, RS และ BEC (MONO เพิ่งมามีกำไรในปีหลัง ๆ เพราะเรตติ้งดีขึ้น)
ในการประมูลได้กำหนดให้ทุกรายต้องให้ธนาคารพาณิชย์ออกหนังสือค้ำประกัน (LG) ซึ่งจากจำนวน24 ใบอนุญาต มีธนาคารออก LG รวมกัน 35,229 ล้านบาท (BBL 14 ฉบับ เป็นเงิน 21,606 ล้านบาท BAY 8 ฉบับ 10,940 ล้านบาท และ BAY 2 ฉบับ 2,683 ล้านบาท) ในช่วงที่ผู้ประกอบการมีปัญหาผู้ค้ำประกันจะต้องเข้าไปชำระหนี้แทน ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มธนาคารในช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน
ผลจากการพิจารณาของศาลปกครองครั้งน่า อาจะทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตัลรายอื่น นำไปใช้เป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อลดภาระต้นทุน และความอยู่รอดของทั้งผู้ประกอบการเอง และ เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องจ่ายเงินแทน น่าจะถือว่าลดแรงกดดันลง
นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวถือเป็นประเด็นบวกต่อธนาคารพาณิชย์ที่มีการออกวงเงินค้ำประกันและปล่อยสินเชื่อในกลุ่มทีวีดิจิทัล ขณะที่ ธ.พ. ดังกล่าว ได้มีการตั้งสำรองฯ เม็ดเงินดังกล่าวไปแล้ว แม้จะไม่มากเมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อทั้งหมดของแต่ละ ธ.พ. แต่ก็เชื่อว่าน่าจะเป็น sentiment เชิงบวกที่จะช่วยคลายความกดดันเรื่องการตั้งสำรองไปได้ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยแนะนำเก็งกำไร BBL และ KBANK โดยในส่วนของแนวโน้มผลการดำเนินงานนั้น BBL (FV@B235) คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 14.0% yoy และ 9.5% yoy ขับเคลื่อนด้วย การเติบโตของธุรกิจหลักจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME ที่จะได้รับผลบวกจากโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้น พันธมิตร AIA จะช่วยผลักดันการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่เป็นจุดอ่อน ให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในปี 2561 ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมถึง coverage ratio ระดับสูง จะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงในปี 2561 นอกจากนี้ยังคาดหวังเงินปันผลเฉลี่ยกว่า 4% p.a. โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 12%
ส่วน KBANK (FV@B250) คาดกำไรสุทธิปี 2561 พลิกกลับมาเติบโตถึง 24.0% yoy และต่อเนื่อง 7.5% yoy ในปี 2562 ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสุทธิบวกขึ้นจากปี 2560 ไปที่ 5-7% yoy นำด้วยสินเชื่อรายใหญ่ ส่วนกลุ่ม SME ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนเพื่อรองรับธุรกรรม Digital Banking และ FinTech ยังเป็นภาระในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า แต่ไม่ได้กดดันต่อการเพิ่มขึ้นของสัดส่วน cost to income ratio มากนัก ด้านคุณภาพสินทรัพย์พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว ทำให้ภาระสำรองเริ่มเบาตัวไปมากขึ้นในปี โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 9%
วานนี้ ศาลปกครองกลางพิพากษาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตราว 1.5 พันล้านบาทให้กับบริษัท ไทยทีวีจำกัด ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือติ๋มทีวีพูล เนื่องจาก กสทช. ผิดสัญญา ทั้งเรื่อง โครงข่ายสัญญาณไม่พร้อมให้บริการ และการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลจากเดิมอนาล็อกล่าช้ากว่าแผน
ขณะที่ 15 มี.ค. รัฐบาลเตรียมหารือกับ กสทช.เกี่ยวกับแนว เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล อาทิ การเลื่อนการชำระค่าประมูลทีวีดิจิทัล ออกไป 3 ปี กสทช.สนับสนุนค่าใช้เช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล 50% เป็นเวลา 3 ปี เป็นต้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ ภายใน เม.ย. 2561
ข่าวนี้น่าจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีเหลืออยู่ 22 ราย เพราะอีก 2 ช่องคือ ช่องทีวีพูล และ Loca หยุดให้บริการหลังประสบปัญหาการเงินและฟ้องร้องต่อศาลดังกล่าวข้างต้น
ในการประมูลทีวีดิจิทัลปี 2557 สรุปว่ามีผู้ชนะประมูล 24 ช่อง จากผู้ประกอบการ 17 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีรายเดิมคือ BEC, MCOT, ช่อง 7 สี TRUE (TRUE4U, TNN24) ทำให้รัฐได้เงินค่าประมูลรวมทั้งสิ้น 50,862 ล้านบาท (สูงกว่าราตั้งต้น 15,045 ล้านบาท หรือมากกว่า 3.38 เท่า) โดยให้แบ่งจ่ายเป็น 9 งวด ๆ ละปี (2557-2565 มีการยืดระยะเวลาจากเดิมที่กำหนดไว้เพียง 7 ปี) แต่ให้ตัดจำหน่ายใบอนุญาตเป็นเวลา 15 ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมต้นทุนอื่น คือ
ค่าเช่าโครงข่ายปีละ 170 ล้านบาทสำหรับ HD และ 55 ล้านบาท สำหรับช่องที่เหลือ
ค่าเช่าดาวเทียม Upload สัญญาน ตามกฎ Must carry rule ราวปีละ 12 ล้านบาท
และ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตอีกปีละ 2% ของรายได้
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในการดำเนินงานตั้งแต่ปีแรก ผู้ประกอบการทุกรายประสบภาวะขาดทุน ยกเว้น WORK, RS และ BEC (MONO เพิ่งมามีกำไรในปีหลัง ๆ เพราะเรตติ้งดีขึ้น)
ในการประมูลได้กำหนดให้ทุกรายต้องให้ธนาคารพาณิชย์ออกหนังสือค้ำประกัน (LG) ซึ่งจากจำนวน24 ใบอนุญาต มีธนาคารออก LG รวมกัน 35,229 ล้านบาท (BBL 14 ฉบับ เป็นเงิน 21,606 ล้านบาท BAY 8 ฉบับ 10,940 ล้านบาท และ BAY 2 ฉบับ 2,683 ล้านบาท) ในช่วงที่ผู้ประกอบการมีปัญหาผู้ค้ำประกันจะต้องเข้าไปชำระหนี้แทน ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มธนาคารในช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน
ผลจากการพิจารณาของศาลปกครองครั้งน่า อาจะทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตัลรายอื่น นำไปใช้เป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อลดภาระต้นทุน และความอยู่รอดของทั้งผู้ประกอบการเอง และ เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องจ่ายเงินแทน น่าจะถือว่าลดแรงกดดันลง
นอกจากนี้ ประเด็นดังกล่าวถือเป็นประเด็นบวกต่อธนาคารพาณิชย์ที่มีการออกวงเงินค้ำประกันและปล่อยสินเชื่อในกลุ่มทีวีดิจิทัล ขณะที่ ธ.พ. ดังกล่าว ได้มีการตั้งสำรองฯ เม็ดเงินดังกล่าวไปแล้ว แม้จะไม่มากเมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อทั้งหมดของแต่ละ ธ.พ. แต่ก็เชื่อว่าน่าจะเป็น sentiment เชิงบวกที่จะช่วยคลายความกดดันเรื่องการตั้งสำรองไปได้ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยแนะนำเก็งกำไร BBL และ KBANK โดยในส่วนของแนวโน้มผลการดำเนินงานนั้น BBL (FV@B235) คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 14.0% yoy และ 9.5% yoy ขับเคลื่อนด้วย การเติบโตของธุรกิจหลักจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME ที่จะได้รับผลบวกจากโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้น พันธมิตร AIA จะช่วยผลักดันการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่เป็นจุดอ่อน ให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในปี 2561 ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมถึง coverage ratio ระดับสูง จะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงในปี 2561 นอกจากนี้ยังคาดหวังเงินปันผลเฉลี่ยกว่า 4% p.a. โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 12%
ส่วน KBANK (FV@B250) คาดกำไรสุทธิปี 2561 พลิกกลับมาเติบโตถึง 24.0% yoy และต่อเนื่อง 7.5% yoy ในปี 2562 ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสุทธิบวกขึ้นจากปี 2560 ไปที่ 5-7% yoy นำด้วยสินเชื่อรายใหญ่ ส่วนกลุ่ม SME ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามภาพรวมเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนเพื่อรองรับธุรกรรม Digital Banking และ FinTech ยังเป็นภาระในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า แต่ไม่ได้กดดันต่อการเพิ่มขึ้นของสัดส่วน cost to income ratio มากนัก ด้านคุณภาพสินทรัพย์พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว ทำให้ภาระสำรองเริ่มเบาตัวไปมากขึ้นในปี โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี upside 9%
KCE ประกาศแตกพาร์ ช่วยหนุนราคาหุ้นระยะสั้น
KCE ประกาศเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 1 บาท/หุ้น เหลือ 0.50 บาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องฯ แต่ต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 26 เม.ย. 61 ทั้งนี้แม้การเปลี่ยนแปลงพาร์ไม่ส่งผลต่อพื้นฐาน อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ 69.25 บาท ยังต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 77.84 บาท ทำให้คาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรจากการประกาศแตกพาร์ไปสู่มูลค่าพื้นฐานได้
จากการศึกษาเชิงปริมาณย้อนหลัง 10 ปี พบว่าหุ้นใน SET100 ที่มีการแตกพาร์ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นจะตอบสนองเชิงบวก ตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 14.09% และโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 75% (ยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนจะลดลง)
อีกทั้ง KCE ถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ใน SET50 และ SET00 และน่าจะ Outperform ตลาดฯได้ตามหุ้นบลูชิพที่มีการแตกพาร์ในอดีต เช่น BANPU, CPN, BDMS และ AOT ให้ผลตอบแทนเป็นบวกตั้งแต่วันประกาศแตกพาร์จนถึงวันแตกพาร์ทุกบริษัทราว 29%, 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ และล่าสุด PTT หลังประกาศแตกพาร์ในวันที่ 10 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 15.5%
นอกจากนี้ KCE ยังประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H61 ที่ 1.10 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น div yields งวด 2H60 ที่ 1.6% กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 26 มี.ค. 61 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 9 พ.ค. 61
สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2561 จะอ่อนตัวลง 3.5% yoy มาอยู่ที่ 2.46 พันล้านบาท เนื่องจากปี 2560 บันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 203 ล้านบาท แต่หากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานปี 2561 จะเพิ่มขึ้น 4.1% yoy จากแนวโน้มรายได้รวมเติบโตตามความต้องการใช้ชิ้นส่วนฯในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น แต่ถูกหักล้างจาก gross margin ที่จะอ่อนตัวลงเหลือ 29.4% จากสมมติฐานค่าเงินบาท/ดอลลาร์ฯ เฉลี่ยปี 2561 ที่แข็งค่าขึ้น 2.7% yoy มาอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และสมมติฐานราคาวัตถุดิบทองแดงเพิ่มขึ้น 9.7% yoy เป็น 6.80 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ทั้ง 2 ประเด็นมีความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณการปี 2561 9.2% และ Fair value ลง 11.6% เหลือ 68.80 บาท
KCE ประกาศเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 1 บาท/หุ้น เหลือ 0.50 บาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องฯ แต่ต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 26 เม.ย. 61 ทั้งนี้แม้การเปลี่ยนแปลงพาร์ไม่ส่งผลต่อพื้นฐาน อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ที่ 69.25 บาท ยังต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 77.84 บาท ทำให้คาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรจากการประกาศแตกพาร์ไปสู่มูลค่าพื้นฐานได้
จากการศึกษาเชิงปริมาณย้อนหลัง 10 ปี พบว่าหุ้นใน SET100 ที่มีการแตกพาร์ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นจะตอบสนองเชิงบวก ตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 14.09% และโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 75% (ยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนจะลดลง)
อีกทั้ง KCE ถือเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ใน SET50 และ SET00 และน่าจะ Outperform ตลาดฯได้ตามหุ้นบลูชิพที่มีการแตกพาร์ในอดีต เช่น BANPU, CPN, BDMS และ AOT ให้ผลตอบแทนเป็นบวกตั้งแต่วันประกาศแตกพาร์จนถึงวันแตกพาร์ทุกบริษัทราว 29%, 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ และล่าสุด PTT หลังประกาศแตกพาร์ในวันที่ 10 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 15.5%
นอกจากนี้ KCE ยังประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H61 ที่ 1.10 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น div yields งวด 2H60 ที่ 1.6% กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 26 มี.ค. 61 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 9 พ.ค. 61
สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2561 จะอ่อนตัวลง 3.5% yoy มาอยู่ที่ 2.46 พันล้านบาท เนื่องจากปี 2560 บันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 203 ล้านบาท แต่หากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานปี 2561 จะเพิ่มขึ้น 4.1% yoy จากแนวโน้มรายได้รวมเติบโตตามความต้องการใช้ชิ้นส่วนฯในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มขึ้น แต่ถูกหักล้างจาก gross margin ที่จะอ่อนตัวลงเหลือ 29.4% จากสมมติฐานค่าเงินบาท/ดอลลาร์ฯ เฉลี่ยปี 2561 ที่แข็งค่าขึ้น 2.7% yoy มาอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และสมมติฐานราคาวัตถุดิบทองแดงเพิ่มขึ้น 9.7% yoy เป็น 6.80 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ทั้ง 2 ประเด็นมีความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณการปี 2561 9.2% และ Fair value ลง 11.6% เหลือ 68.80 บาท
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายกลุ่ม TIP
วานนี้แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 797 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้อดังกล่าวอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 548 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน 320 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ต่างชาติขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 341 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิอีก 1.43 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.09 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 4.47 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6445
วานนี้แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 797 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้อดังกล่าวอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 548 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน 320 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ต่างชาติขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 51 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 16) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 341 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิอีก 1.43 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.09 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 4.47 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6445