- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 13 March 2018 17:15
- Hits: 748
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนียังคงแกว่งตัวต่ำกว่า 1800 จุด และยังมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับ 1,785 จุด เชื่อว่ายังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Growth (TVO, AH) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก หลังจีนอนุญาตนำเข้าจากไทยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (GFPT, TFG, CPF) Top pick คือ GFPT (FV@B17) รายได้กว่า 70% กระจุกตัวไก่ส่งออก
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย... หุ้นพลังงาน ค้าปลีก ICT หนุนดัชนีฟื้นแรง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงกว่า 24.95 จุด หรือ 1.41% (หลังปรับตัวลดลงติดต่อกันกว่า 8 วัน) ปิดตลาดที่ 1,800.32 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 6.4 หมื่นล้านบาท โดยได้แรงหนุนหลักๆ จากหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่ดีดตัวขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาน้ำมันโลกราว 3% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หนุนให้ PTT เพิ่มขึ้น 4.49%, PTTEP เพิ่มขึ้น 1.76% และ GULF ที่เพิ่มขึ้น 5.56% ซึ่งน่าจะผลจิตวิทยาเชิงบวกหลังหลุดจากเงื่อนไขที่ต้องซื้อขายด้วยบัญชีแคซบาลานซ์ในสัปดาห์นี้ สวนทางกับ EA ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ลดลงมาแล้วกว่า 30% (ใกล้เคียงมูลค่าพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินไว้ที่ 40 บาท) ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก อย่าง CPALL และ BJC เพิ่มขึ้น 0.86%, 3.78% ตามลำดับ และกลุ่ม ICT นำโดย ADVANC เพิ่มขึ้น 1.96% และ TURE เพิ่มขึ้น 3.88%
ตรงข้าม SET กลับถูกกดดันด้วยกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะ หุ้น WORK ลดลงแรงกว่า 11.25% เนื่องจากเรตติ้งลดลงมาก จากที่เคยมี เรตติ้งประจำปี 2560 สูงเป็นอันดับ 3 ที่ 1.001 โดยล่าสุดเรตติ้ง (ช่วง 5-11 มี.ค. 61) ลดเหลือเพียง 0.734 และมีเรตติ้งเป็นอันดับ 4 ของช่องทีวีดิจิตอลทั้งหมด
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดว่า SET Index แกว่งพักตัว แนวรับ 1785 จุด แนวต้าน 1805 จุด
เงินเฟ้อสหรัฐยังเพิ่ม หนุนขึ้นดอกเบี้ย แต่สะท้อนในตลาดหุ้นแล้ว
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ตลาดให้น้ำหนักการรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐงวดเดือน ก.พ. ซึ่งตลาดคาดไว้ที่ราว 2.2%yoy สูงกว่าเดือน ม.ค. ที่ 2.1% เป็นผลมาจาก ตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง สะท้อนจาก ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 3.13 แสนราย (สูงสุดในรอบ 3 ปี) และอัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันยังทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี)
อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นปัจจัยหนุนให้ความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 3 ครั้งๆละ 0.25% รวมราว 0.75% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปีจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในรอบการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่การเริ่มเดินหน้าใช้นโยบายตึงตัวประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น อังกฤษ, ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีความชัดเจนมากขึ้น กดดัน Dollar Index แกว่งตัวราว 89 - 90 จุด เช่นเดียวกับสกุลอื่น ๆ ที่ทรงตัว โดยเฉพาะค่าเงินเอเชีย ยูโร และ เยน เป็นต้น
ประเด็นที่น่าจะกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก คือนโยบายกีดกันการค้าจากสหรัฐ หลัง การไม่ต่ออายุ GSP แก่ 112 ประเทศทั่วโลก และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า ที่มีผลบังคับใช้แล้วคือเครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์ ส่วนเหล็ก และอลูมิเนียมมีผล 23 มี.ค. 2561 ขณะที่สินค้าที่อยู่ในช่วงพิจารณาคือ น้ำมันไบโอดีเซล และยางรัด
อย่างไรก็ตาม สหรัฐยกเว้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมแก่แคนาดาและเม็กซิโก เพราะเป็นคู่ค้าหลัก ทั้งยังอยู่ในขั้นตอนเจรจาปรับปรุงสนธิสัญญา NAFTA โดยแคนาดาและเม็กซิโกมีสัดส่วนการค้า (X+M) กับสหรัฐสูงถึง 64.64% และ 64.07% ตามลำดับ และสหรัฐเตรียมยกเว้นออสเตรเลียเป็นประเทศที่ 3 แม้จะมีสัดส่วนค้ากับสหรัฐราว 8.71% ของการค้าทั้งหมด (เป็นคู่ค้าอันดับ 3 รองจากจีนและญี่ปุ่น) และสินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลียคือแร่เหล็ก (24% ของยอดส่งออกออสเตรเลีย
รัฐเตรียมกระตุ้นท่องเที่ยว..บุตรนำใบเสร็จมาหักลดหย่อนได้อีกทาง
ขณะที่รัฐบาลไทยเตรียมออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพิ่มเติม จากมาตรการปัจจุบันที่ ให้นำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศ 55 จังหวัดรอง มาลดหย่อนภาษีไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ระยะเวลาตลอดทั้งปี 2561 กล่าวคือมาตรการเพิ่มเติมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยเกษียณ ในกรณีที่ บุตรพาพ่อแม่ท่องเที่ยวในประเทศจะสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษี ได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังขาดรายละเอียด เพราะต้องรอการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่น่าจะดีต่อหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม โดยคาดว่า ERW น่าจะได้ประโยชน์มากสุด รองลงมาคือ MINT, CENTEL
ERW(Switch: FV@B 8.8) สัดส่วนรายได้เกือบทั้งหมดจากธุรกิจโรงแรมในประเทศ ซึ่งมีความหลากหลายตั้งแต่ Luxury จนถึง Budget และการกระจายตัวในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และหัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม HOP INN ณ สิ้น 4Q60 มีถึง 32 แห่ง รวม 2,502 ห้อง (จากพอร์ตโรงแรมทั้งหมด 52 แห่ง รวม 7,328 ห้อง) แต่ราคาหุ้น ERW เหลือ upside 9.3% จึงแนะนำให้Switch มายัง MINT(Buy:FV@B 50) และ CENTEL(Buy:FV@B56) แม้สัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจโรงแรม 45% ใกล้เคียงกัน แต่ราคาหุ้นมี Upside 29% และ 21%ตามลำดับ
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนียังคงแกว่งตัวต่ำกว่า 1800 จุด และยังมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับ 1,785 จุด เชื่อว่ายังไม่มีประเด็นหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยิ่งใกล้วันจ่ายเงินปันผล (ขึ้น XD) น่าจะกดดันดัชนีเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Growth (TVO, AH) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก หลังจีนอนุญาตนำเข้าจากไทยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (GFPT, TFG, CPF) Top pick คือ GFPT (FV@B17) รายได้กว่า 70% กระจุกตัวไก่ส่งออก
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย... หุ้นพลังงาน ค้าปลีก ICT หนุนดัชนีฟื้นแรง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงกว่า 24.95 จุด หรือ 1.41% (หลังปรับตัวลดลงติดต่อกันกว่า 8 วัน) ปิดตลาดที่ 1,800.32 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 6.4 หมื่นล้านบาท โดยได้แรงหนุนหลักๆ จากหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่ดีดตัวขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาน้ำมันโลกราว 3% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หนุนให้ PTT เพิ่มขึ้น 4.49%, PTTEP เพิ่มขึ้น 1.76% และ GULF ที่เพิ่มขึ้น 5.56% ซึ่งน่าจะผลจิตวิทยาเชิงบวกหลังหลุดจากเงื่อนไขที่ต้องซื้อขายด้วยบัญชีแคซบาลานซ์ในสัปดาห์นี้ สวนทางกับ EA ที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ลดลงมาแล้วกว่า 30% (ใกล้เคียงมูลค่าพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินไว้ที่ 40 บาท) ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก อย่าง CPALL และ BJC เพิ่มขึ้น 0.86%, 3.78% ตามลำดับ และกลุ่ม ICT นำโดย ADVANC เพิ่มขึ้น 1.96% และ TURE เพิ่มขึ้น 3.88%
ตรงข้าม SET กลับถูกกดดันด้วยกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะ หุ้น WORK ลดลงแรงกว่า 11.25% เนื่องจากเรตติ้งลดลงมาก จากที่เคยมี เรตติ้งประจำปี 2560 สูงเป็นอันดับ 3 ที่ 1.001 โดยล่าสุดเรตติ้ง (ช่วง 5-11 มี.ค. 61) ลดเหลือเพียง 0.734 และมีเรตติ้งเป็นอันดับ 4 ของช่องทีวีดิจิตอลทั้งหมด
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดว่า SET Index แกว่งพักตัว แนวรับ 1785 จุด แนวต้าน 1805 จุด
เงินเฟ้อสหรัฐยังเพิ่ม หนุนขึ้นดอกเบี้ย แต่สะท้อนในตลาดหุ้นแล้ว
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ตลาดให้น้ำหนักการรายงานอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐงวดเดือน ก.พ. ซึ่งตลาดคาดไว้ที่ราว 2.2%yoy สูงกว่าเดือน ม.ค. ที่ 2.1% เป็นผลมาจาก ตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง สะท้อนจาก ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 3.13 แสนราย (สูงสุดในรอบ 3 ปี) และอัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันยังทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี)
อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นปัจจัยหนุนให้ความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 3 ครั้งๆละ 0.25% รวมราว 0.75% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปีจะอยู่ที่ราว 2.25% โดยคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ ในรอบการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่การเริ่มเดินหน้าใช้นโยบายตึงตัวประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น อังกฤษ, ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีความชัดเจนมากขึ้น กดดัน Dollar Index แกว่งตัวราว 89 - 90 จุด เช่นเดียวกับสกุลอื่น ๆ ที่ทรงตัว โดยเฉพาะค่าเงินเอเชีย ยูโร และ เยน เป็นต้น
ประเด็นที่น่าจะกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก คือนโยบายกีดกันการค้าจากสหรัฐ หลัง การไม่ต่ออายุ GSP แก่ 112 ประเทศทั่วโลก และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า ที่มีผลบังคับใช้แล้วคือเครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์ ส่วนเหล็ก และอลูมิเนียมมีผล 23 มี.ค. 2561 ขณะที่สินค้าที่อยู่ในช่วงพิจารณาคือ น้ำมันไบโอดีเซล และยางรัด
อย่างไรก็ตาม สหรัฐยกเว้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมแก่แคนาดาและเม็กซิโก เพราะเป็นคู่ค้าหลัก ทั้งยังอยู่ในขั้นตอนเจรจาปรับปรุงสนธิสัญญา NAFTA โดยแคนาดาและเม็กซิโกมีสัดส่วนการค้า (X+M) กับสหรัฐสูงถึง 64.64% และ 64.07% ตามลำดับ และสหรัฐเตรียมยกเว้นออสเตรเลียเป็นประเทศที่ 3 แม้จะมีสัดส่วนค้ากับสหรัฐราว 8.71% ของการค้าทั้งหมด (เป็นคู่ค้าอันดับ 3 รองจากจีนและญี่ปุ่น) และสินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลียคือแร่เหล็ก (24% ของยอดส่งออกออสเตรเลีย
รัฐเตรียมกระตุ้นท่องเที่ยว..บุตรนำใบเสร็จมาหักลดหย่อนได้อีกทาง
ขณะที่รัฐบาลไทยเตรียมออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพิ่มเติม จากมาตรการปัจจุบันที่ ให้นำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศ 55 จังหวัดรอง มาลดหย่อนภาษีไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ระยะเวลาตลอดทั้งปี 2561 กล่าวคือมาตรการเพิ่มเติมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยเกษียณ ในกรณีที่ บุตรพาพ่อแม่ท่องเที่ยวในประเทศจะสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษี ได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังขาดรายละเอียด เพราะต้องรอการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่น่าจะดีต่อหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม โดยคาดว่า ERW น่าจะได้ประโยชน์มากสุด รองลงมาคือ MINT, CENTEL
ERW(Switch: FV@B 8.8) สัดส่วนรายได้เกือบทั้งหมดจากธุรกิจโรงแรมในประเทศ ซึ่งมีความหลากหลายตั้งแต่ Luxury จนถึง Budget และการกระจายตัวในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และหัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม HOP INN ณ สิ้น 4Q60 มีถึง 32 แห่ง รวม 2,502 ห้อง (จากพอร์ตโรงแรมทั้งหมด 52 แห่ง รวม 7,328 ห้อง) แต่ราคาหุ้น ERW เหลือ upside 9.3% จึงแนะนำให้Switch มายัง MINT(Buy:FV@B 50) และ CENTEL(Buy:FV@B56) แม้สัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจโรงแรม 45% ใกล้เคียงกัน แต่ราคาหุ้นมี Upside 29% และ 21%ตามลำดับ
จีนเตรียมนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากไทยครั้งแรก..GFPT บวกมากสุด
แม้จีนเป็นผู้ส่งออกสุทธิผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งในตลาดโลก แต่ล่าสุด ได้อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากไทย(เนื้อไก่ โครง เครื่องใน ข้อและเท้า) อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2561 (จากเดิมที่มีการค้าขายทางชายแดนเท่านั้น) ในเบื้องต้นอนุญาตนำเข้าจาก 7 โรงงาน แยกเป็น GFPT(1 โรงงาน), TFG(1 โรงงาน), CPF (2 โรงงาน) และ บริษัทนอกตลาดคือ สหฟาร์ม (2 โรงงาน) และบริษัทเอฟแอนเอฟ (1 โรงงาน)
นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่ายอดส่งออกส่งออกไก่ในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ราว 8.3 แสนตัน เติบโต 4%yoy โดยตลาดส่งออกหลักราว 50% ส่งไปที่ญี่ปุ่น, 40% ส่งไปยุโรป ที่เหลืออีกราว 10% ส่งออกในภูมิภาคเอเซีย เช่น เกาหลีใต้, มาเลเซีย ดังนั้นสถานกาณณ์นี้น่าจะ ช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังน่าจะช่วยหนุนราคาเนื้อไก่ให้ฟื้นตัวได้ และ ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย โดยเฉพาะ GFPT (FV@B17) ที่มีธุรกิจไก่ 100% (ส่งออก 70%) แม้ว่าคาดกำไรจากการดำเนินงาน 1Q61 อ่อนตัวตามราคาไก่เป็นเฉลี่ยใน 1Q61 และ ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ลดลงเช่นกัน เนื่องจากเป็นช่วง low season แต่คาดผลการดำเนินงานเริ่มทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q61 จากแรงหนุนทั้งการฟื้นตัวของราคาไก่และส่วนแบ่งกำไร บ.ร่วม
ขณะที่ TFG (FV@B6) มีธุรกิจไก่ 70% ของรายได้รวม (ส่งออก 15% ของรายได้รวม), ธุรกิจสุกร 21% ของรายได้รวม และธุรกิจอาหารสัตว์ 9% ของรายได้รวม จึงได้ประโยชน์รองลงมา เช่นเดียวกับ CPF (FV@B30) มีธุรกิจกระจายทั้งธุรกิจสุกร ธุรกิจไก่ ธุรกิจกุ้ง ธุรกิจอาหาร
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 781 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ยังขายสุทธิเป็นวันที่ 15 ราว 14 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือซื้อทุกประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 495 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 271 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนาน 8 วัน) และไทยซื้อสุทธิ 20 ล้านเหรียญ หรือ 632 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิกว่า 5.44 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 9.14 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 74 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว และซื้อขายต่ำกว่า 1,800 จุด
การฟื้นตัวของตลาดวานนี้ ได้แรงหนุนของหุ้นใหญ่ในกลุ่มน้ำมัน หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวขึ้นมายืนเหนือ 62 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้ แต่ความผันผวนเรื่องราคาน้ำมันยังมีอยู่ จากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ (อาจทำให้เกิด over supply) บวกกับ Fund Flow ที่กลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 2 วันติดต่อกัน (มูลค่ารวม 3.5 พันล้านบาท) แต่ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงจะขายออกในวันถัดไป
ขณะที่ตลาดอยู่ในช่วงของการประกาศจ่ายปันผลภายในเดือน มี.ค. จะมีบริษัทจดทะเบียนขึ้นเครื่องหมาย XD อีกราว 104 บริษัท ซึ่งจะมี Impact ต่อตลาดประมาณ 3 จุด อีกทั้งยังคงต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะความชัดเจนของวันเลือกตั้ง และนโยบายการเงินของสหรัฐที่คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3-4 ครั้งในปีนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นการลงทุน(ล่าสุดสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รายงานผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน พบว่า จะแผ่วลงใน 3 เดือนข้างหน้า) จากปัจจัยที่กล่าวมาอาจส่งผลให้ตลาดยังมีความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น ภาพ SET Index แกว่งตัวออกข้าง (sideway) และ ติดแนวต้าน 1800 จุด
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง และเข้าลงทุนในปลอดภัย
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (รายละเอียดตามบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 วันที่ 6 มี.ค. 61)
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC TVO
หุ้น Laggard แต่มีปัจจัยบวกสนับสนุน โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มฯ เป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม น้อยกว่าตลาด) เพราะหลังจากนี้จะเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ โดยฝ่ายวิจัยเลือก BCH ([email protected]) เป็น Top Pick โดยได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ทั้งยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำ RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6372
แม้จีนเป็นผู้ส่งออกสุทธิผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งในตลาดโลก แต่ล่าสุด ได้อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จากไทย(เนื้อไก่ โครง เครื่องใน ข้อและเท้า) อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2561 (จากเดิมที่มีการค้าขายทางชายแดนเท่านั้น) ในเบื้องต้นอนุญาตนำเข้าจาก 7 โรงงาน แยกเป็น GFPT(1 โรงงาน), TFG(1 โรงงาน), CPF (2 โรงงาน) และ บริษัทนอกตลาดคือ สหฟาร์ม (2 โรงงาน) และบริษัทเอฟแอนเอฟ (1 โรงงาน)
นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่ายอดส่งออกส่งออกไก่ในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ราว 8.3 แสนตัน เติบโต 4%yoy โดยตลาดส่งออกหลักราว 50% ส่งไปที่ญี่ปุ่น, 40% ส่งไปยุโรป ที่เหลืออีกราว 10% ส่งออกในภูมิภาคเอเซีย เช่น เกาหลีใต้, มาเลเซีย ดังนั้นสถานกาณณ์นี้น่าจะ ช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังน่าจะช่วยหนุนราคาเนื้อไก่ให้ฟื้นตัวได้ และ ถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย โดยเฉพาะ GFPT (FV@B17) ที่มีธุรกิจไก่ 100% (ส่งออก 70%) แม้ว่าคาดกำไรจากการดำเนินงาน 1Q61 อ่อนตัวตามราคาไก่เป็นเฉลี่ยใน 1Q61 และ ปริมาณการส่งออกเนื้อไก่ลดลงเช่นกัน เนื่องจากเป็นช่วง low season แต่คาดผลการดำเนินงานเริ่มทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q61 จากแรงหนุนทั้งการฟื้นตัวของราคาไก่และส่วนแบ่งกำไร บ.ร่วม
ขณะที่ TFG (FV@B6) มีธุรกิจไก่ 70% ของรายได้รวม (ส่งออก 15% ของรายได้รวม), ธุรกิจสุกร 21% ของรายได้รวม และธุรกิจอาหารสัตว์ 9% ของรายได้รวม จึงได้ประโยชน์รองลงมา เช่นเดียวกับ CPF (FV@B30) มีธุรกิจกระจายทั้งธุรกิจสุกร ธุรกิจไก่ ธุรกิจกุ้ง ธุรกิจอาหาร
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 781 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ยังขายสุทธิเป็นวันที่ 15 ราว 14 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลือซื้อทุกประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 495 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 271 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนาน 8 วัน) และไทยซื้อสุทธิ 20 ล้านเหรียญ หรือ 632 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิกว่า 5.44 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 9.14 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 74 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว และซื้อขายต่ำกว่า 1,800 จุด
การฟื้นตัวของตลาดวานนี้ ได้แรงหนุนของหุ้นใหญ่ในกลุ่มน้ำมัน หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวขึ้นมายืนเหนือ 62 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้ แต่ความผันผวนเรื่องราคาน้ำมันยังมีอยู่ จากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ (อาจทำให้เกิด over supply) บวกกับ Fund Flow ที่กลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 2 วันติดต่อกัน (มูลค่ารวม 3.5 พันล้านบาท) แต่ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงจะขายออกในวันถัดไป
ขณะที่ตลาดอยู่ในช่วงของการประกาศจ่ายปันผลภายในเดือน มี.ค. จะมีบริษัทจดทะเบียนขึ้นเครื่องหมาย XD อีกราว 104 บริษัท ซึ่งจะมี Impact ต่อตลาดประมาณ 3 จุด อีกทั้งยังคงต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะความชัดเจนของวันเลือกตั้ง และนโยบายการเงินของสหรัฐที่คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3-4 ครั้งในปีนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นการลงทุน(ล่าสุดสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รายงานผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน พบว่า จะแผ่วลงใน 3 เดือนข้างหน้า) จากปัจจัยที่กล่าวมาอาจส่งผลให้ตลาดยังมีความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น ภาพ SET Index แกว่งตัวออกข้าง (sideway) และ ติดแนวต้าน 1800 จุด
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง และเข้าลงทุนในปลอดภัย
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (รายละเอียดตามบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 วันที่ 6 มี.ค. 61)
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC TVO
หุ้น Laggard แต่มีปัจจัยบวกสนับสนุน โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มฯ เป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม น้อยกว่าตลาด) เพราะหลังจากนี้จะเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ โดยฝ่ายวิจัยเลือก BCH ([email protected]) เป็น Top Pick โดยได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ทั้งยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำ RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6372