- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 12 March 2018 16:22
- Hits: 1242
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ เล็ง technical rebound”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย (สำหรับสัปดาห์นี้):
คาดดัชนีฯมีโอกาสเกิด technical rebound หลังตลาดหุ้นปรับตัวลงไปมากในช่วงสัปดาห์ก่อน คาดกรอบการเคลื่อนไหวดัชนีฯ 1750-1790 จุด ..... ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ (ดอกเบี้ย+ภาษี ของสหรัฐฯ) คลี่คลายลง อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามท่าทีของประเทศต่างๆว่าจะตอบรับต่อมาตรการการค้าของสหรัฐฯอย่างไร .... แรงขายหุ้นขนาดใหญ่อาจมีน้อยลงหลังถูกเทขายมามากในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ….. ตัวแปรที่ควรติดตาม จะเป็น ท่าทีจากประเทศต่างๆต่อมาตรการของ ปธน. ทรัมป์, ตัวเลข CPI (เงินเฟ้อ) สหรัฐฯ (13)
กลยุทธ์การลงทุน:
เรายังแนะให้ นักลงทุนพิจารณาขายหุ้นที่ราคาขึ้นมามากและขาดปัจจัยบวกเฉพาะตัว ถือเงินสดไว้บางส่วน (เพื่อรอซื้อหุ้นรอบใหม่) และโยกหุ้นจากกลุ่มเสี่ยง (ถูกขาย) มาเน้นที่หุ้นที่ Valuation ดีๆ หรือหุ้น Defensive ในพอร์ตให้มากขึ้น เพื่อเตรียมรับการ rebound ของดัชนีฯ …… สัปดาห์นี้ เรายังเน้นทั้งหุ้น ที่ Valuation ดี หรือมีความเป็น laggard เช่น PTTGC , CPALL, SCC* , BGRIM หุ้นมีความเด่นเฉพาะตัว คือ TVO และหุ้นที่ราคาลงมามาก หรือมีแรงซื้อเข้ามาจนดูน่าสนใจ คือ BEC* , BEM* และ TOA*
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: KBANK, BGRIM, TTCL
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้นมีประเด็น
(0) Commerce (-)Food & Beverage กำลังซื้อทรุดหนักสุดรอบ10ปี ผู้บริโภครายได้คงที่หนี้สูง-อาหาร-เครื่องดื่มติดลบ2.4%
นายอิษณาติ วุฒิธนากุล ผู้อำนวยการด้านพัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยถึงผลการศึกษาชุด "สรุปภาพรวมตลาด FMCG ในปี 2560และแนวโน้มปี 2561-2562 พร้อมปัจจัยที่กระทบต่อการเติบโตและการปรับกลยุทธ์" พบว่าภาพรวมของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ที่มีอัตราการเติบโต 2.6% ปี 2558 มีอัตราการเติบโต 2.2% ปี 2559 มีอัตราการเติบโต 1.7% และในปี 2560 ติดลบ 0.4% ดังกล่าว นับว่าเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ที่ได้เกิดวิกฤติด้านการเงินในปี 2550 เป็นต้นมา จากการประเมินก่อนหน้าว่าหากสถาน การณ์เลวร้าย สินค้าคอนซูเมอร์จะติดลบเพียง 0.1% เท่านั้น โดยสินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่ติดลบในอัตรา 2.4% ซึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคเลือกลดการใช้จ่ายในสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็น กลุ่มแรกๆ และเลือกบริโภคสินค้าที่มีราคาถูกลงแทน ขณะที่สินค้ากลุ่มของใช้ในครัวเรือน (Home Care) มีอัตราการเติบโต 4.1% และกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล มีอัตราการเติบโต 2.6% ส่วนแนวโน้มของตลาดคอนซูเมอร์ในปีนี้ ประเมินว่ายังคงเป็นปีที่ยากลำบากในการทำตลาด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ภาพรวมตลาดจะเติบโตติดลบได้ถึง 1%เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ถึง 2% (ที่มา: นสพ. ฐานเศรษฐกิจ)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางกับข่าวข้างต้น เรามองว่าเศรษฐกิจปีนี้จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ทาง World Bank คาด GDP จะขยายตัวที่ 4.11% ในปี 2018 อีกทั้ง เรามองว่ารัฐบาลได้พยายามออกนโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น และมีการปรับรายได้ขั้นต่ำในหลายจังหวัด เรามองว่ากำลังซื้อที่ลดลงอาจส่งผลกระทบกับหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มค้าปลีกในระยะสั้น แต่อย่างไรแล้วเรามองว่ากำลังซื้อในระยะยาวจะมีการปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เราคาดว่าจะฟื้นตัว เรามองว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ CENTEL, MINT, TKN สำหรับหุ้นที่เรามีมุมมองเป็นกลาง ได้แก่ CPF, CPALL
“ เล็ง technical rebound”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย (สำหรับสัปดาห์นี้):
คาดดัชนีฯมีโอกาสเกิด technical rebound หลังตลาดหุ้นปรับตัวลงไปมากในช่วงสัปดาห์ก่อน คาดกรอบการเคลื่อนไหวดัชนีฯ 1750-1790 จุด ..... ปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ (ดอกเบี้ย+ภาษี ของสหรัฐฯ) คลี่คลายลง อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามท่าทีของประเทศต่างๆว่าจะตอบรับต่อมาตรการการค้าของสหรัฐฯอย่างไร .... แรงขายหุ้นขนาดใหญ่อาจมีน้อยลงหลังถูกเทขายมามากในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ….. ตัวแปรที่ควรติดตาม จะเป็น ท่าทีจากประเทศต่างๆต่อมาตรการของ ปธน. ทรัมป์, ตัวเลข CPI (เงินเฟ้อ) สหรัฐฯ (13)
กลยุทธ์การลงทุน:
เรายังแนะให้ นักลงทุนพิจารณาขายหุ้นที่ราคาขึ้นมามากและขาดปัจจัยบวกเฉพาะตัว ถือเงินสดไว้บางส่วน (เพื่อรอซื้อหุ้นรอบใหม่) และโยกหุ้นจากกลุ่มเสี่ยง (ถูกขาย) มาเน้นที่หุ้นที่ Valuation ดีๆ หรือหุ้น Defensive ในพอร์ตให้มากขึ้น เพื่อเตรียมรับการ rebound ของดัชนีฯ …… สัปดาห์นี้ เรายังเน้นทั้งหุ้น ที่ Valuation ดี หรือมีความเป็น laggard เช่น PTTGC , CPALL, SCC* , BGRIM หุ้นมีความเด่นเฉพาะตัว คือ TVO และหุ้นที่ราคาลงมามาก หรือมีแรงซื้อเข้ามาจนดูน่าสนใจ คือ BEC* , BEM* และ TOA*
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: KBANK, BGRIM, TTCL
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้นมีประเด็น
(0) Commerce (-)Food & Beverage กำลังซื้อทรุดหนักสุดรอบ10ปี ผู้บริโภครายได้คงที่หนี้สูง-อาหาร-เครื่องดื่มติดลบ2.4%
นายอิษณาติ วุฒิธนากุล ผู้อำนวยการด้านพัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยถึงผลการศึกษาชุด "สรุปภาพรวมตลาด FMCG ในปี 2560และแนวโน้มปี 2561-2562 พร้อมปัจจัยที่กระทบต่อการเติบโตและการปรับกลยุทธ์" พบว่าภาพรวมของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ที่มีอัตราการเติบโต 2.6% ปี 2558 มีอัตราการเติบโต 2.2% ปี 2559 มีอัตราการเติบโต 1.7% และในปี 2560 ติดลบ 0.4% ดังกล่าว นับว่าเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ที่ได้เกิดวิกฤติด้านการเงินในปี 2550 เป็นต้นมา จากการประเมินก่อนหน้าว่าหากสถาน การณ์เลวร้าย สินค้าคอนซูเมอร์จะติดลบเพียง 0.1% เท่านั้น โดยสินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่ติดลบในอัตรา 2.4% ซึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคเลือกลดการใช้จ่ายในสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็น กลุ่มแรกๆ และเลือกบริโภคสินค้าที่มีราคาถูกลงแทน ขณะที่สินค้ากลุ่มของใช้ในครัวเรือน (Home Care) มีอัตราการเติบโต 4.1% และกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล มีอัตราการเติบโต 2.6% ส่วนแนวโน้มของตลาดคอนซูเมอร์ในปีนี้ ประเมินว่ายังคงเป็นปีที่ยากลำบากในการทำตลาด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ภาพรวมตลาดจะเติบโตติดลบได้ถึง 1%เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่หากสถานการณ์ดีขึ้นอาจจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ถึง 2% (ที่มา: นสพ. ฐานเศรษฐกิจ)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางกับข่าวข้างต้น เรามองว่าเศรษฐกิจปีนี้จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ทาง World Bank คาด GDP จะขยายตัวที่ 4.11% ในปี 2018 อีกทั้ง เรามองว่ารัฐบาลได้พยายามออกนโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น และมีการปรับรายได้ขั้นต่ำในหลายจังหวัด เรามองว่ากำลังซื้อที่ลดลงอาจส่งผลกระทบกับหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มค้าปลีกในระยะสั้น แต่อย่างไรแล้วเรามองว่ากำลังซื้อในระยะยาวจะมีการปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เราคาดว่าจะฟื้นตัว เรามองว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ CENTEL, MINT, TKN สำหรับหุ้นที่เรามีมุมมองเป็นกลาง ได้แก่ CPF, CPALL
(0) TMB มีนโยบายที่จะควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย เผยว่ามีนโยบายที่จะควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งรวมทั้งการเข้าซื้อหุ้นในสถาบันการเงินอื่น ตามนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ของไทยเป็นแบงก์ขนาดใหญ่เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ขณะที่ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า คลังจะออกมาตรการพิเศษทางภาษี เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ของไทยควบรวมกิจการให้เป็นธนาคารขนาดใหญ่ สำหรับต่อสู้และแข่งขันกับธนาคารจากต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการวางรากฐานทางการเงินของประเทศระยะยาว (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นข่าวดังกล่าว โดยเบื้องต้น เรายังไม่มีข้อมูลว่า TMB จะควบรวมกับธนาคารไหน แต่อย่างไรก็ตาม การควบรวมครั้งนี้จะทำให้สินทรัพย์รวมของ TMB ขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ของแบงก์ขนาดใหญ่จากปัจจุบันเป็นแบงก์ขนาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายหลักของ TMB ขณะที่เรายังคงชอบ TMB แม้จะไม่มีการควบรวมดังกล่าว เพราะในแง่ของการเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้ จะเติบโตได้สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมายที่ 3.60 บาท
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย เผยว่ามีนโยบายที่จะควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งรวมทั้งการเข้าซื้อหุ้นในสถาบันการเงินอื่น ตามนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ของไทยเป็นแบงก์ขนาดใหญ่เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ขณะที่ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า คลังจะออกมาตรการพิเศษทางภาษี เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ของไทยควบรวมกิจการให้เป็นธนาคารขนาดใหญ่ สำหรับต่อสู้และแข่งขันกับธนาคารจากต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการวางรากฐานทางการเงินของประเทศระยะยาว (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นข่าวดังกล่าว โดยเบื้องต้น เรายังไม่มีข้อมูลว่า TMB จะควบรวมกับธนาคารไหน แต่อย่างไรก็ตาม การควบรวมครั้งนี้จะทำให้สินทรัพย์รวมของ TMB ขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ของแบงก์ขนาดใหญ่จากปัจจุบันเป็นแบงก์ขนาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายหลักของ TMB ขณะที่เรายังคงชอบ TMB แม้จะไม่มีการควบรวมดังกล่าว เพราะในแง่ของการเติบโตของกำไรสุทธิในปีนี้ จะเติบโตได้สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมายที่ 3.60 บาท
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) BGRIM (ซื้อ/36.50 บาท) ยังมีพัฒนาการที่ดี
เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น BGRIM หลังเข้าประชุมในวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการ solar farm ในเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 400MW ที่บริษัทถือหุ้น 55% เห็นพัฒนาการที่ดี ปัจจุบันได้มีการเซ็น Termsheet กับ local partners เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศดีลอย่างเป็นทางการได้ในช่วงเดือนเมษายน 2018 ในขณะที่โครงการในอนาคตอื่นๆคาดยังคงเป็นไปตามแผนที่บริษัทวางไว้ เรายังคงประเมินกำไรเติบโตโดดเด่นเฉลี่ย 24% ต่อปี (CAGR 2017-2022) ผลประกอบการ 1Q18 มีแนวโน้มเติบโตทั้ง QoQ, และ YoY หลัง COD โรงไฟฟ้า ABPR3 ใน 1 ก.พ.2018 ที่ผ่านมาขนาดกำลังผลิตตามสัดส่วน 74MW ในขณะที่ในปี 2018 มีโครงการโรงไฟฟ้าที่จะ COD เพิ่มเติมในปีนี้มีทั้งสิ้น 5 โครงการกำลังการผลิตตามสัดส่วนรวม 264MW เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบในระยะ 5 ปีข้างหน้าคาดเติบโตเฉลี่ย 24% ต่อปี (CAGR 2017-2022) จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อม upside จากโครงการในต่างประเทศ คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเหมาะสม 36.50 บาท
(+) BGRIM (ซื้อ/36.50 บาท) ยังมีพัฒนาการที่ดี
เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้น BGRIM หลังเข้าประชุมในวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการ solar farm ในเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 400MW ที่บริษัทถือหุ้น 55% เห็นพัฒนาการที่ดี ปัจจุบันได้มีการเซ็น Termsheet กับ local partners เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศดีลอย่างเป็นทางการได้ในช่วงเดือนเมษายน 2018 ในขณะที่โครงการในอนาคตอื่นๆคาดยังคงเป็นไปตามแผนที่บริษัทวางไว้ เรายังคงประเมินกำไรเติบโตโดดเด่นเฉลี่ย 24% ต่อปี (CAGR 2017-2022) ผลประกอบการ 1Q18 มีแนวโน้มเติบโตทั้ง QoQ, และ YoY หลัง COD โรงไฟฟ้า ABPR3 ใน 1 ก.พ.2018 ที่ผ่านมาขนาดกำลังผลิตตามสัดส่วน 74MW ในขณะที่ในปี 2018 มีโครงการโรงไฟฟ้าที่จะ COD เพิ่มเติมในปีนี้มีทั้งสิ้น 5 โครงการกำลังการผลิตตามสัดส่วนรวม 264MW เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบในระยะ 5 ปีข้างหน้าคาดเติบโตเฉลี่ย 24% ต่อปี (CAGR 2017-2022) จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อม upside จากโครงการในต่างประเทศ คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเหมาะสม 36.50 บาท
(+) THG (ซื้อ/47.00 บาท) มอง 1H18 ธุรกิจรักษาพยาบาลกำไรเติบโตโดดเด่น
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่แล้ว (9 มี.ค.2018) โดยผู้บริหารตั้งเป้าธุรกิจรักษาพยาบาลรายได้จะมีการเติบโตในระดับ 10 – 15% และอัตรากำไรสุทธิจะดีขึ้น ซึ่งเรามองว่ามีความเป็นไปได้สูง โดยเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 974 ล้านบาท เติบโต 76% YoY จาก 1.) รายได้ ร.พ. ในเครือ 5 แห่ง ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเติบโตระดับ 2 หลัก, 2.) โครงการ Jin Wellbeing Couty มียอดจองเพิ่มเป็น 110 ห้อง ซึ่งเราคาดจะโอนได้ 300 ห้อง ภายใน 4Q18 นี้, 3.) ธุรกิจรับจ้างบริหาร ร.พ. เติบโตดี โดยเฉพาะใน ตปท. และ 4) ร.พ. ในต่างประเทศ ได้แก่ ร.พ. Welly และ ร.พ. Aryu International มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เรายังคงราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 47.00 บาท และคงคำแนะนำ ซื้อ
Analysts: Mongkol Puangpetra, Nontapat Rushtasomboon
OO6307
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการประชุมนักวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่แล้ว (9 มี.ค.2018) โดยผู้บริหารตั้งเป้าธุรกิจรักษาพยาบาลรายได้จะมีการเติบโตในระดับ 10 – 15% และอัตรากำไรสุทธิจะดีขึ้น ซึ่งเรามองว่ามีความเป็นไปได้สูง โดยเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 974 ล้านบาท เติบโต 76% YoY จาก 1.) รายได้ ร.พ. ในเครือ 5 แห่ง ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเติบโตระดับ 2 หลัก, 2.) โครงการ Jin Wellbeing Couty มียอดจองเพิ่มเป็น 110 ห้อง ซึ่งเราคาดจะโอนได้ 300 ห้อง ภายใน 4Q18 นี้, 3.) ธุรกิจรับจ้างบริหาร ร.พ. เติบโตดี โดยเฉพาะใน ตปท. และ 4) ร.พ. ในต่างประเทศ ได้แก่ ร.พ. Welly และ ร.พ. Aryu International มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เรายังคงราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 47.00 บาท และคงคำแนะนำ ซื้อ
Analysts: Mongkol Puangpetra, Nontapat Rushtasomboon
OO6307