- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 12 March 2018 16:16
- Hits: 944
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังคงแกว่งตัวลง โดยมีแนวรับ 1765 จุด โดยขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ และยังเห็นแรงขายต่างชาติ ขณะที่หุ้นจ่ายเงินปันผล พบว่ายิ่งใกล้วันขึ้น XD จะยิ่งมีน้ำหนักกดดันดัชนี กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Defensive ในกลุ่ม โรงพยาบาล (BCH, RJH) Top picks ยังเลือก BCH (FV@B 18.60) และเพิ่ม PTTEP(FV@B137) จากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว และยังมีโอกาสเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกราว 20 บาทต่อหุ้น หากประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้เหมือนเดิม
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....SET Index ยังปรับลดลง
แม้ตลาดจะมีแรงเทขายทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังสามารถยืนบนแนวรับสำคัญได้ จึงเห็น SET index ในวันศุกร์ปิดที่ 1775.37 จุด ลดลง 3.53 จุด หรือ -0.2% ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 7.3 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ ยังคงเป็นกลุ่มพลังงาน แต่ก็มีแรงซื้อกลับมาช่วงท้ายตลาดจึงถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น หุ้นที่ปรับตัวลดลง นำโดย EA ลดลง 8.08% GULF ลดลง 6.25% ขณะที่ PTT และ PTTGC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.38%, 2.15% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรง เช่น ORI ปิดที่ 16.60 บาท ลดลงมากถึง 11.70% จากประเด็นข่าวเกี่ยวกับมาร์จิ้นโครงการ Park 24 ที่ทำได้ต่ำกว่าคาดMTLS ลดลง 6.13% และ MAKRO ลดลง 5.26% สำหรับกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่ม ICT โดยเฉพาะหุ้นแม่ลูกอย่าง INTUCH, ADVANC ที่เพิ่มขึ้น 1.75% และ 1.49% นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนหุ้น Big Cap. อื่นๆ เช่น CPALL ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.46% SCB, KBANK, SCC, CPN เพิ่มขึ้น 1.37%, 0.88%, 0.82% และ 1.29% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ น่าจะมีโอกาสเกิด Technical Rebound กลับขึ้นไปได้โดยแนวต้านจะอยู่ที่ 1796 จุด ส่วนแนวรับ 1765 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังคงแกว่งตัวลง โดยมีแนวรับ 1765 จุด โดยขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ และยังเห็นแรงขายต่างชาติ ขณะที่หุ้นจ่ายเงินปันผล พบว่ายิ่งใกล้วันขึ้น XD จะยิ่งมีน้ำหนักกดดันดัชนี กลยุทธ์เลือกรายหุ้นที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว เช่นหุ้น Defensive ในกลุ่ม โรงพยาบาล (BCH, RJH) Top picks ยังเลือก BCH (FV@B 18.60) และเพิ่ม PTTEP(FV@B137) จากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว และยังมีโอกาสเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกราว 20 บาทต่อหุ้น หากประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้เหมือนเดิม
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....SET Index ยังปรับลดลง
แม้ตลาดจะมีแรงเทขายทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังสามารถยืนบนแนวรับสำคัญได้ จึงเห็น SET index ในวันศุกร์ปิดที่ 1775.37 จุด ลดลง 3.53 จุด หรือ -0.2% ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 7.3 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ ยังคงเป็นกลุ่มพลังงาน แต่ก็มีแรงซื้อกลับมาช่วงท้ายตลาดจึงถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น หุ้นที่ปรับตัวลดลง นำโดย EA ลดลง 8.08% GULF ลดลง 6.25% ขณะที่ PTT และ PTTGC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.38%, 2.15% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรง เช่น ORI ปิดที่ 16.60 บาท ลดลงมากถึง 11.70% จากประเด็นข่าวเกี่ยวกับมาร์จิ้นโครงการ Park 24 ที่ทำได้ต่ำกว่าคาดMTLS ลดลง 6.13% และ MAKRO ลดลง 5.26% สำหรับกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่ม ICT โดยเฉพาะหุ้นแม่ลูกอย่าง INTUCH, ADVANC ที่เพิ่มขึ้น 1.75% และ 1.49% นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนหุ้น Big Cap. อื่นๆ เช่น CPALL ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.46% SCB, KBANK, SCC, CPN เพิ่มขึ้น 1.37%, 0.88%, 0.82% และ 1.29% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ น่าจะมีโอกาสเกิด Technical Rebound กลับขึ้นไปได้โดยแนวต้านจะอยู่ที่ 1796 จุด ส่วนแนวรับ 1765 จุด
Dollar ทรงตัวแม้ดัชนีชี้นำหนุนเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่งต่อ
การายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากตลาดแรงงานที่ยังมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 3.13 แสนราย (สูงสุดในรอบ 3 ปี) สูงกว่าตลาดคาดที่ 2 แสนราย หนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันยังทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี) เป็นปัจจัยหนุนให้ความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 3 ครั้งๆละ 0.25% ราว 0.75% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25% โดยคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ คือการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่การเริ่มเดินหน้าใช้นโยบายตึงตัวตามหลังสหรัฐของประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ, ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีความชัดเจนมากขึ้น กดดัน Dollar Index แกว่งตัวราว 89 - 90 จุด เช่นเดียวกับสกุลอื่น ๆที่ทรงตัว โดยเฉพาะเงินเอเชีย ยูโร และ เยน เป็นต้น
การายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง สะท้อนจากตลาดแรงงานที่ยังมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 3.13 แสนราย (สูงสุดในรอบ 3 ปี) สูงกว่าตลาดคาดที่ 2 แสนราย หนุนให้อัตราการว่างงานในเดือนเดียวกันยังทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี) เป็นปัจจัยหนุนให้ความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 3 ครั้งๆละ 0.25% ราว 0.75% (การประชุมที่เหลืออีก 7 ครั้ง ก่อนสิ้นปีนี้) หรือสิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25% โดยคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้ คือการประชุม 20-21 มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่การเริ่มเดินหน้าใช้นโยบายตึงตัวตามหลังสหรัฐของประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ, ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีความชัดเจนมากขึ้น กดดัน Dollar Index แกว่งตัวราว 89 - 90 จุด เช่นเดียวกับสกุลอื่น ๆที่ทรงตัว โดยเฉพาะเงินเอเชีย ยูโร และ เยน เป็นต้น
น้ำมันฟื้นตัว กังวลหลุมเจาะลดลงครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวแรง ล่าสุดราคาน้ำมันดูไบอยู่ที่ 62.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล (จาก 60.8 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในวันศุกร์) แม้สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ล่าสุด ยังเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 สัปดาห์ (เป็นฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น) อย่างไรก็ตามความกังวลต่อด้าน supply มีมากขึ้น หลังจากที่มีรายงานจำนวนหลุมน้ำมันสหรัฐ ลดลงครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ (ลดลง 4 หลุม อยู่ที่ 796 หลุม) ประกอบกับค่าเงิน Dollar ที่ทรงตัว หนุนราคาน้ำมันในช่วงสั้น
ในสถานการณ์นี้ถือว่า ดีต่อหุ้นน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 63.9 เหรียญฯ ใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ 65 เหรียญฯ ในปี 2561 จึงยังคงหนุน PTTEP เติบโตต่อเนื่องในปี 2561 ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside 20.7% ทั้งนี้ยังไม่รวมมูลค่าหุ้นที่จะเพิ่มขึ้นจากโอกาสที่จะชนะการประมูลแหล่งบงกช ซึ่งผลิตอยู่เดิมกลับมาอีกครั้ง (ปัจจุบนถือหุ้นกับปิโตรนาส 66.67%:33.33%) ทั้งนี้หากยังคงสัดส่วนการถือหุ้นเท่าเดิม และให้ผลิตออกไปอีก 10 ปี กำหนดราคาขายและส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิม คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP อีกราว 20 บาทต่อหุ้น
เช่นเดียวกับ BANPU หลังจากคำพิพากษาศาลฏีกามีข้อสรุป ให้ BANPU ต้องชดใช้ค่าเสียหายในการใช้ข้อมูลราว 1.5 พันล้านบาท บวกดอกเบี้ย 7.5% นับจาก ก.ค 2550 ทำให้เงินค่าปรับรวม 2.70 พันล้านบาท โดยให้แบ่งกันในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้ง 3 บริษัทคือ BANPU, BPP (BANPU ถือหุ้น 78%), Banpu international(BANPU ถือหุ้น100%) แต่ผลจากที่ BANPU ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรของ BANPU ราว 2.5 พันล้านบาท โดยบันทึกในงบการเงินปี 2561 เป็นรายการพิเศษทำให้กำไรปี 2561 ลดลง 26% จากเดิม และทำให้มูลค่าพื้นฐานลดลงเพียง 0.40 เหลือ 25.61 ปัจจุบันยังมีupside 20.2% ยังแนะนำซื้อ
ขณะที่ PTT(FV@B540) แม้ราคาหุ้นจะปรับลดลงมามากแล้ว แต่ราคาที่ขึ้นมาในช่วงก่อนหน้าได้ตอบรับประเด็นการแตกพาร์ และผลบวกจากการเติบโตตามการถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้ง PTTEP และ IRPC ซึ่งล่าสุดถือหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำ Switch มาลงทุน PTTEP(FV@B137) และ BANPU([email protected])
ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวแรง ล่าสุดราคาน้ำมันดูไบอยู่ที่ 62.47 เหรียญฯต่อบาร์เรล (จาก 60.8 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในวันศุกร์) แม้สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ล่าสุด ยังเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 สัปดาห์ (เป็นฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น) อย่างไรก็ตามความกังวลต่อด้าน supply มีมากขึ้น หลังจากที่มีรายงานจำนวนหลุมน้ำมันสหรัฐ ลดลงครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์ (ลดลง 4 หลุม อยู่ที่ 796 หลุม) ประกอบกับค่าเงิน Dollar ที่ทรงตัว หนุนราคาน้ำมันในช่วงสั้น
ในสถานการณ์นี้ถือว่า ดีต่อหุ้นน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 63.9 เหรียญฯ ใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ 65 เหรียญฯ ในปี 2561 จึงยังคงหนุน PTTEP เติบโตต่อเนื่องในปี 2561 ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside 20.7% ทั้งนี้ยังไม่รวมมูลค่าหุ้นที่จะเพิ่มขึ้นจากโอกาสที่จะชนะการประมูลแหล่งบงกช ซึ่งผลิตอยู่เดิมกลับมาอีกครั้ง (ปัจจุบนถือหุ้นกับปิโตรนาส 66.67%:33.33%) ทั้งนี้หากยังคงสัดส่วนการถือหุ้นเท่าเดิม และให้ผลิตออกไปอีก 10 ปี กำหนดราคาขายและส่วนแบ่งรายได้เท่าเดิม คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP อีกราว 20 บาทต่อหุ้น
เช่นเดียวกับ BANPU หลังจากคำพิพากษาศาลฏีกามีข้อสรุป ให้ BANPU ต้องชดใช้ค่าเสียหายในการใช้ข้อมูลราว 1.5 พันล้านบาท บวกดอกเบี้ย 7.5% นับจาก ก.ค 2550 ทำให้เงินค่าปรับรวม 2.70 พันล้านบาท โดยให้แบ่งกันในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้ง 3 บริษัทคือ BANPU, BPP (BANPU ถือหุ้น 78%), Banpu international(BANPU ถือหุ้น100%) แต่ผลจากที่ BANPU ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรของ BANPU ราว 2.5 พันล้านบาท โดยบันทึกในงบการเงินปี 2561 เป็นรายการพิเศษทำให้กำไรปี 2561 ลดลง 26% จากเดิม และทำให้มูลค่าพื้นฐานลดลงเพียง 0.40 เหลือ 25.61 ปัจจุบันยังมีupside 20.2% ยังแนะนำซื้อ
ขณะที่ PTT(FV@B540) แม้ราคาหุ้นจะปรับลดลงมามากแล้ว แต่ราคาที่ขึ้นมาในช่วงก่อนหน้าได้ตอบรับประเด็นการแตกพาร์ และผลบวกจากการเติบโตตามการถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้ง PTTEP และ IRPC ซึ่งล่าสุดถือหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำ Switch มาลงทุน PTTEP(FV@B137) และ BANPU([email protected])
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทย และเกาหลีใต้
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 116 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) อย่างไรก็ตามต่างชาติยังขายสุทธิ 3 ประเทศ นำโดยไต้หวันขายสุทธิ 153 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14) ส่วนอีก 2 ตลาดสลับมาซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 259 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทยซื้อสุทธิ 90 ล้านเหรียญ หรือ 2.81 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 711 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 5.44 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 5.51 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ 1796-1765 จุด
ระยะสั้นคาดว่าตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยหนุนใหม่ และ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติยังขายมากกว่าซื้อ ขณะที่ตลาดอยู่ในช่วงของการประกาศจ่ายปันผลภายในเดือน มี.ค. จะมีบริษัทจดทะเบียนขึ้นเครื่องหมาย XD อีกราว 104 บริษัท ซึ่งจะมี Impact ต่อตลาดประมาณ 3 จุด อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยยังคงได้ปัจจัยหนุนจากการดีดตัวของราคาน้ำมันโลก (ดังที่กล่าวไปข้างต้น) จากปัจจัยที่กล่าวมาอาจส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น ภาพ SET Index แกว่งตัวออกข้าง (sideway) กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง และเข้าลงทุนในปลอดภัย
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BBP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (รายละเอียดตามบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 วันที่ 6 มี.ค. 61)
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC และ TVO
หุ้น Laggard แต่มีปัจจัยบวกสนับสนุน โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มฯ เป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม น้อยกว่าตลาด) เพราะหลังจากนี้จะเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ โดยฝ่ายวิจัยเลือก BCH ([email protected]) เป็น Top Pick โดยได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ทั้งยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำ RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6305
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 116 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) อย่างไรก็ตามต่างชาติยังขายสุทธิ 3 ประเทศ นำโดยไต้หวันขายสุทธิ 153 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14) ส่วนอีก 2 ตลาดสลับมาซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 259 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไทยซื้อสุทธิ 90 ล้านเหรียญ หรือ 2.81 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 711 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 5.44 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 5.51 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ 1796-1765 จุด
ระยะสั้นคาดว่าตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยหนุนใหม่ และ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติยังขายมากกว่าซื้อ ขณะที่ตลาดอยู่ในช่วงของการประกาศจ่ายปันผลภายในเดือน มี.ค. จะมีบริษัทจดทะเบียนขึ้นเครื่องหมาย XD อีกราว 104 บริษัท ซึ่งจะมี Impact ต่อตลาดประมาณ 3 จุด อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยยังคงได้ปัจจัยหนุนจากการดีดตัวของราคาน้ำมันโลก (ดังที่กล่าวไปข้างต้น) จากปัจจัยที่กล่าวมาอาจส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนต่อเนื่อง ดังนั้น ภาพ SET Index แกว่งตัวออกข้าง (sideway) กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง และเข้าลงทุนในปลอดภัย
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BBP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (รายละเอียดตามบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 วันที่ 6 มี.ค. 61)
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ได้ชุดหุ้นมาดังตารางด้านล่าง ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC และ TVO
หุ้น Laggard แต่มีปัจจัยบวกสนับสนุน โดยฝ่ายวิจัยชอบกลุ่มโรงพยาบาล เนื่องจากปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มฯ เป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม น้อยกว่าตลาด) เพราะหลังจากนี้จะเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ โดยฝ่ายวิจัยเลือก BCH ([email protected]) เป็น Top Pick โดยได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ทั้งยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้น นอกจากนี้ยังแนะนำ RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6305