- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 28 February 2018 21:32
- Hits: 4969
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
"พะวงต่อดอกเบี้ยสหรัฐฯ"
ทิศทางตลาดหุ้นไทย : มองตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งมึความผันผวน ปัจจัยกดดันหลักมาจากที่นักลงทุนตีความการแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เรามองการปรับตัวลงของตลาดจะกินเวลาเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น .... ปัจจัยต่างประเทศ ดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ -299 จุด, ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง -1.4% จากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวขึ้น .... ปัจจัยในประเทศ กระทรวงคมนาคมกำหนด timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนล้านบาทว่า TOR จะเสร็จภายในเดือน มี.ค.และเปิดประมูลในเดือน เม.ย. จากนั้นพิจารณาผลประมาณ 4 เดือน คาดว่าจะได้ผู้ดำเนินการ
กลยุทธ์การลงทุน : เรามองตลาดจะปรับตัวลงแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น จึงมองว่าการปรับตัวลงในวันนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น .... แนะนำให้เก็งกำไรในหุ้นที่ประโยชน์จากมาตรการการลงทุนในประเทศได้แก่กลุ่มรับเหมาฯ (CK), กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม (AMATA, WHA) ที่ได้ผลบวกจากมาตรการ EEC, หรือเป็นหุ้นในลักษณะ domestic play .... โดยหุ้นที่ติด most active และคาดว่าตลาดจะให้ความสนใจได้แก่ PTT, KBANK, CK
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ : AP, KCE
หุ้นแนะนำทางเทคนิค : KBANK, MEGA, SUPER
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) PTT* : เรามองว่าตลาดยังคงเก็งกำไรในหุ้น PTT จากประเด็นเรื่องการแตกพาร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเข้าซื้อของนักลงทุนสถาบัน อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องมีความระมัดระวังในการเก็งกำไรเนื่องจากราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาที่เหมาะสมโดย Bloomberg ค่อนข้างสูง ปัจจุบันราคาเหมาะสมโดย Bloomberg อยู่ที่ 523 บาท
(+) AMATA : เรามองว่าตลาดจะเริ่มมาให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มนิคมฯที่ได้รับผลบวกจากมาตรการ EEC มากขึ้น ซึ่งเราเริ่มเห็นรัฐบาลเริ่มกลับมาออกมาตรการส่งเสริม EEC มากขึ้นอีกครั้ง จากการประกาศ timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 30.00 บาท
(+) CK* : เรามองว่า CK มีความน่าสนใจจากประเด็นเรื่องกระทรวงคมนาคมกำหนด timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่อีก 2 เส้นทาง มูลค่า 1 แสนล้านบาทที่จะเข้า ครม. ในช่วงเดือน มี.ค. นอกจากนี้ CK ยังมีการกระจายการลงทุนไปยังบริษัทลูกอย่าง BEM, CKP, TTW
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) ERW (ซื้อ/10 บาท) กำไรสุทธิ 4Q17 มากกว่าที่เราและตลาดคาด
ERW ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 162 ล้านบาท เพิ่มขึ้นโดดเด่นที่ 57%YoY และ 104% QoQ มากกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 40% และ 20% ตามลำดับ จาก Occupancy Rate ที่ไม่รวม Budget เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83% จาก 77% ใน 4Q16 และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (Rev Par) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7% YoY จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นได้ดีทั้งจากจีน, รัสเซีย และอินเดีย ส่วน Hop-Inn ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดย Occupancy Rate ยังเพิ่มขึ้นอีกมาอยู่ที่ 78% จาก 74% ใน 4Q16 เนื่องจากมีการขยายโรงแรมเพิ่มขึ้นจำนวน 4 โรงแรม เราปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2018-2019 เพิ่มขึ้น 4.6-6.4% โดยยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ปรับราคาเหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น 10.00 บาท (จากเดิมที่ 9.50บาท)
(+) HMPRO (ซื้อ/15.50 บาท) กำไรใกล้เคียงที่คาดและการบริโภคเโตต่อเนื่อง
รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 1.53 พันล้านบาท +16% YoY และ+29% QoQ ใกล้เคียงที่คาด เนื่องจากเป็นฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ภาวะการท่องเที่ยวที่ดี รวมถึงมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ ภาวะการบริโภคจะยังคงดีต่อเนื่องจาก 4Q17 โดย1Q18 จะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ รวมถึงพนักงานบริษัทได้รับการขึ้นเงินเดือนและโบนัส คาดกำไรปี 2018 เติบโต 12% จากการบริโภคที่ยังโตต่อเนื่องรวมถึงการขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย เราประเมินมูลค่า โดยอิง DCF จาก WACC ที่ 7.6% และ terminal growth 3% ได้ราคาเหมาะสมที่ 15.50 บาท แนะนำ "ซื้อ"
(+) RICHY (ซื้อ/2.50 บาท) กำไร 4Q17 ดีต่อเนื่อง คาดปี 2018 โตกระโดดต่อ
RICHY รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 โดดเด่นมากที่ 64 ล้านบาท ดีขึ้นจาก 4Q16 ที่ขาดทุนสุทธิ 26 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 40% YoY ซึ่งเป็นผลจากการโอนคอนโดโครงการเดอะริช@สาทร-ตากสิน และโครงการริชพาร์ค@เจ้าพระยา เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 2017 อยู่ที่ 133 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาก 1,336% YoY สำหรับปี 2018 เราคาดว่ากำไรสุทธิจะทำสถิติสูงสุดใหม่และเติบโตก้าวกระโดดเป็น 312 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% YoY จากยอด Backlog ที่สูง โดยหลักๆจะมาจากโครงการริชพาร์ค@ทริปเปิลสเตชัน ที่ปัจจุบันทำยอด Backlog ได้แล้วไม่ต่ำกว่า 2.2 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ต้น 2Q1 8 ทั้งนี้ จากกำไรปี 2018 ที่เติบโตสูง ส่งผลให้ PER ปี 2018 จะลดต่ำเหลือเพียง 6.8 เท่า เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท
(+) RS (ซื้อ/35.00 บาท) Growth momentum remains intact
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ของ RS ในวันที่ 27 ก.พ. 2018 เรามีมุมมองเชิงบวก เรามองว่าการขาย Treasury stock ไม่ได้กระทบต่อราคาหุ้นมากนัก อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักยังโดดเด่น โดยผู้บริหารตั้งเป้ารายได้เติบโตที่ 5,800 ล้านบาท เพิ่ม 66% YoY หนุนโดยธุรกิจ Multiple- platform commerce (MPC) ที่คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ 3,500 ล้านบาท เพิ่ม 152%YoY ผู้บริหารยังคงใช้กลยุทธ์การขายโฆษณาโดยเน้นการขายช่วง Prime-time และหลีกเลี่ยงสงครามราคาโดยนำ 30%ของจำนวนนาทีทั้งหมดมาลงโฆษณาในธุรกิจ Multiple-platform commerce ซึ่งมี Gross profit margin สูงกว่า เราคาดว่ารายได้ในปี2018 จะอยู่ที่ 5,550 ล้านบาท เพิ่ม 58% YoY และกำไรสุทธิอยู่ที่ 827 ล้านบาท เพิ่ม 148% YoY หนุนโดยรายได้ MPC และรายได้จากธุรกิจมีเดียที่เราคาดว่าจะฟื้นตัวในปีนี้ เราคงคำแนะนำ "ซื้อ"ที่ราคาเป้าหมาย 35 บาท ปัจจุบัน RS มี PEG อยู่ที่ 0.27x ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เรามองว่า RS ยังมี Upside อีกมากเช่น รายได้จากต่างประเทศและรายได้ของ Lifestar Biz ที่เรายังไม่ได้รวมในการประเมินราคาหุ้น
(+) TKN (ซื้อ/22.00 บาท) Short term pain for long term gain
TKN ประกาศกำไรสุทธิ 4Q17 จะอยู่ที่ 142 ล้านบาท ลดลง 39% YoY และ 11%QoQ ต่ำกว่าเราและตลาดคาดถึง 28% รายได้อยู่ที่ 1,526 ล้านบาท เพิ่ม 17% YoY และ 9%QoQ จาก 1) รายได้ในประเทศเติบโตเด่นที่ 23% YoY และ 2) รายได้จากต่างประเทศยังคงเติบโตต่อเนี่องที่ 13% YoY อย่างไรก็ตาม gross profit margin ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 31.6% จาก 36.1%ใน 4Q16 จากต้นทุนราคาสาหร่ายที่สูงขึ้นถึง 20% YoY และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของโรงงานโรจนะในช่วงแรกของการเริ่มเดินสายการผลิตใหม่ สำหรับปี 2018 เราคาดว่ากำไรสุทธิปี จะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 873 ล้านบาท เพิ่ม 44% YoY จาก 1) ยอดขายในประเทศที่คาดว่าจะเติบโต 7% YoY จากการเปิดตัวสินค้าใหม่, 2) รายได้จากต่างประเทศจะเติบโตโดดเด่นที่ 13% YoY จากแผนการรุกตลาดจีน, 3) รายได้จากโรงงานใหม่ที่สหรัฐจะเริ่มรับรู้ตั้งแต่ 3Q18 และ 4) corporate income tax ที่ลดลงจากส่วนของโรงงานใหม่ที่ได้ BOI เรามองว่าราคาที่ปรับตัวลงที่ผ่านมา ได้สะท้อนปัจจัยลบเรื่องต้นทุนสาหร่ายที่ปรับตัวขึ้น และUtilization rate ของโรงงานโรจนะที่ไม่เป็นไปตามคาด เราคงคำแนะนำ "ซื้อ"ที่ราคาเป้าหมาย 22
(-) CENTEL (ถือ / 53.00 บาท) กำไรสุทธิ 4Q17 ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด
CENTEL ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 442 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%YoY และ 20% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 8% และ 11% ตามลำดับ เพราะมีการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนใน CTARAF จากการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่จำนวน 64 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจอาหารมี SSSG ที่ 2.9% ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ที่ 4% แต่อย่างไรก็ดี ธุรกิจโรงแรมยังเติบโตได้ดี โดย Occupancy Rate ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 83.8% จากการเติบโตทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด ทั้งนี้ เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018-2019 ลง 5.4-5.6% จากการปรับ SSSG ลงมาอยู่ที่ 1.5% จากเดิมที่คาดไว้ 2.5% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่เราคาดไว้ ทำให้เรามีการปรับคำแนะนำลงมาเป็น "ถือ" และปรับราคาเป้าหมายลงมาอยู่ที่ 53 บาท (จากเดิมที่ 57บาท)
(-) JMART (Under review) แนวโน้มปรับประมาณการลง
บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 96 ล้านบาท (-31%YoY และ -27%QoQ) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิปี 2017 ที่ 490 ล้านบาท ต่ำกว่าที่เราคาด 12% แม้บริษัทจะมีรายได้จากการขาย และรายได้จากการรับจ้างติดตาม และบริหารหนี้สินเพิ่มขึ้น ตามยอดขายมือถือ และพอร์ตบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 12%YoY และ 23%QoQ จากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ และค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 32% ตามจำนวนพนักงานที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายส่วนงานภายในกลุ่มธุรกิจ เรามองว่าแม้การระดมทุนจาก J-Fin Coin ICO เพื่อพัฒนาระบบ DDLPs ที่ใช้ในการขยายสินเชื่อแบบออนไลน์ให้แก่ J-Fintech ภายใต้การรับบริการติดตามหนี้ของ JMT จะช่วยหนุนผลการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มบริษัท แต่กลุ่มบริษัทจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มขึ้นตามขนาดพอร์ตสินเชื่อ J-Fintech รวมทั้ง NPLs และลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราอาจมีการปรับประมาณการ และราคาเป้าหมายลดลง จากเดิมแนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 23.00 บาท
ทิศทางตลาดหุ้นไทย : มองตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งมึความผันผวน ปัจจัยกดดันหลักมาจากที่นักลงทุนตีความการแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เรามองการปรับตัวลงของตลาดจะกินเวลาเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น .... ปัจจัยต่างประเทศ ดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ -299 จุด, ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง -1.4% จากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวขึ้น .... ปัจจัยในประเทศ กระทรวงคมนาคมกำหนด timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนล้านบาทว่า TOR จะเสร็จภายในเดือน มี.ค.และเปิดประมูลในเดือน เม.ย. จากนั้นพิจารณาผลประมาณ 4 เดือน คาดว่าจะได้ผู้ดำเนินการ
กลยุทธ์การลงทุน : เรามองตลาดจะปรับตัวลงแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น จึงมองว่าการปรับตัวลงในวันนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น .... แนะนำให้เก็งกำไรในหุ้นที่ประโยชน์จากมาตรการการลงทุนในประเทศได้แก่กลุ่มรับเหมาฯ (CK), กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม (AMATA, WHA) ที่ได้ผลบวกจากมาตรการ EEC, หรือเป็นหุ้นในลักษณะ domestic play .... โดยหุ้นที่ติด most active และคาดว่าตลาดจะให้ความสนใจได้แก่ PTT, KBANK, CK
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ : AP, KCE
หุ้นแนะนำทางเทคนิค : KBANK, MEGA, SUPER
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) PTT* : เรามองว่าตลาดยังคงเก็งกำไรในหุ้น PTT จากประเด็นเรื่องการแตกพาร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเข้าซื้อของนักลงทุนสถาบัน อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องมีความระมัดระวังในการเก็งกำไรเนื่องจากราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาที่เหมาะสมโดย Bloomberg ค่อนข้างสูง ปัจจุบันราคาเหมาะสมโดย Bloomberg อยู่ที่ 523 บาท
(+) AMATA : เรามองว่าตลาดจะเริ่มมาให้ความสนใจในหุ้นกลุ่มนิคมฯที่ได้รับผลบวกจากมาตรการ EEC มากขึ้น ซึ่งเราเริ่มเห็นรัฐบาลเริ่มกลับมาออกมาตรการส่งเสริม EEC มากขึ้นอีกครั้ง จากการประกาศ timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 30.00 บาท
(+) CK* : เรามองว่า CK มีความน่าสนใจจากประเด็นเรื่องกระทรวงคมนาคมกำหนด timeline โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่อีก 2 เส้นทาง มูลค่า 1 แสนล้านบาทที่จะเข้า ครม. ในช่วงเดือน มี.ค. นอกจากนี้ CK ยังมีการกระจายการลงทุนไปยังบริษัทลูกอย่าง BEM, CKP, TTW
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) ERW (ซื้อ/10 บาท) กำไรสุทธิ 4Q17 มากกว่าที่เราและตลาดคาด
ERW ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 162 ล้านบาท เพิ่มขึ้นโดดเด่นที่ 57%YoY และ 104% QoQ มากกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 40% และ 20% ตามลำดับ จาก Occupancy Rate ที่ไม่รวม Budget เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 83% จาก 77% ใน 4Q16 และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (Rev Par) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7% YoY จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นได้ดีทั้งจากจีน, รัสเซีย และอินเดีย ส่วน Hop-Inn ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดย Occupancy Rate ยังเพิ่มขึ้นอีกมาอยู่ที่ 78% จาก 74% ใน 4Q16 เนื่องจากมีการขยายโรงแรมเพิ่มขึ้นจำนวน 4 โรงแรม เราปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2018-2019 เพิ่มขึ้น 4.6-6.4% โดยยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ปรับราคาเหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น 10.00 บาท (จากเดิมที่ 9.50บาท)
(+) HMPRO (ซื้อ/15.50 บาท) กำไรใกล้เคียงที่คาดและการบริโภคเโตต่อเนื่อง
รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 1.53 พันล้านบาท +16% YoY และ+29% QoQ ใกล้เคียงที่คาด เนื่องจากเป็นฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ภาวะการท่องเที่ยวที่ดี รวมถึงมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ ภาวะการบริโภคจะยังคงดีต่อเนื่องจาก 4Q17 โดย1Q18 จะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ รวมถึงพนักงานบริษัทได้รับการขึ้นเงินเดือนและโบนัส คาดกำไรปี 2018 เติบโต 12% จากการบริโภคที่ยังโตต่อเนื่องรวมถึงการขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย เราประเมินมูลค่า โดยอิง DCF จาก WACC ที่ 7.6% และ terminal growth 3% ได้ราคาเหมาะสมที่ 15.50 บาท แนะนำ "ซื้อ"
(+) RICHY (ซื้อ/2.50 บาท) กำไร 4Q17 ดีต่อเนื่อง คาดปี 2018 โตกระโดดต่อ
RICHY รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 โดดเด่นมากที่ 64 ล้านบาท ดีขึ้นจาก 4Q16 ที่ขาดทุนสุทธิ 26 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 40% YoY ซึ่งเป็นผลจากการโอนคอนโดโครงการเดอะริช@สาทร-ตากสิน และโครงการริชพาร์ค@เจ้าพระยา เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 2017 อยู่ที่ 133 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาก 1,336% YoY สำหรับปี 2018 เราคาดว่ากำไรสุทธิจะทำสถิติสูงสุดใหม่และเติบโตก้าวกระโดดเป็น 312 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% YoY จากยอด Backlog ที่สูง โดยหลักๆจะมาจากโครงการริชพาร์ค@ทริปเปิลสเตชัน ที่ปัจจุบันทำยอด Backlog ได้แล้วไม่ต่ำกว่า 2.2 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ต้น 2Q1 8 ทั้งนี้ จากกำไรปี 2018 ที่เติบโตสูง ส่งผลให้ PER ปี 2018 จะลดต่ำเหลือเพียง 6.8 เท่า เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท
(+) RS (ซื้อ/35.00 บาท) Growth momentum remains intact
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ของ RS ในวันที่ 27 ก.พ. 2018 เรามีมุมมองเชิงบวก เรามองว่าการขาย Treasury stock ไม่ได้กระทบต่อราคาหุ้นมากนัก อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักยังโดดเด่น โดยผู้บริหารตั้งเป้ารายได้เติบโตที่ 5,800 ล้านบาท เพิ่ม 66% YoY หนุนโดยธุรกิจ Multiple- platform commerce (MPC) ที่คาดว่าจะมีรายได้อยู่ที่ 3,500 ล้านบาท เพิ่ม 152%YoY ผู้บริหารยังคงใช้กลยุทธ์การขายโฆษณาโดยเน้นการขายช่วง Prime-time และหลีกเลี่ยงสงครามราคาโดยนำ 30%ของจำนวนนาทีทั้งหมดมาลงโฆษณาในธุรกิจ Multiple-platform commerce ซึ่งมี Gross profit margin สูงกว่า เราคาดว่ารายได้ในปี2018 จะอยู่ที่ 5,550 ล้านบาท เพิ่ม 58% YoY และกำไรสุทธิอยู่ที่ 827 ล้านบาท เพิ่ม 148% YoY หนุนโดยรายได้ MPC และรายได้จากธุรกิจมีเดียที่เราคาดว่าจะฟื้นตัวในปีนี้ เราคงคำแนะนำ "ซื้อ"ที่ราคาเป้าหมาย 35 บาท ปัจจุบัน RS มี PEG อยู่ที่ 0.27x ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เรามองว่า RS ยังมี Upside อีกมากเช่น รายได้จากต่างประเทศและรายได้ของ Lifestar Biz ที่เรายังไม่ได้รวมในการประเมินราคาหุ้น
(+) TKN (ซื้อ/22.00 บาท) Short term pain for long term gain
TKN ประกาศกำไรสุทธิ 4Q17 จะอยู่ที่ 142 ล้านบาท ลดลง 39% YoY และ 11%QoQ ต่ำกว่าเราและตลาดคาดถึง 28% รายได้อยู่ที่ 1,526 ล้านบาท เพิ่ม 17% YoY และ 9%QoQ จาก 1) รายได้ในประเทศเติบโตเด่นที่ 23% YoY และ 2) รายได้จากต่างประเทศยังคงเติบโตต่อเนี่องที่ 13% YoY อย่างไรก็ตาม gross profit margin ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 31.6% จาก 36.1%ใน 4Q16 จากต้นทุนราคาสาหร่ายที่สูงขึ้นถึง 20% YoY และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของโรงงานโรจนะในช่วงแรกของการเริ่มเดินสายการผลิตใหม่ สำหรับปี 2018 เราคาดว่ากำไรสุทธิปี จะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 873 ล้านบาท เพิ่ม 44% YoY จาก 1) ยอดขายในประเทศที่คาดว่าจะเติบโต 7% YoY จากการเปิดตัวสินค้าใหม่, 2) รายได้จากต่างประเทศจะเติบโตโดดเด่นที่ 13% YoY จากแผนการรุกตลาดจีน, 3) รายได้จากโรงงานใหม่ที่สหรัฐจะเริ่มรับรู้ตั้งแต่ 3Q18 และ 4) corporate income tax ที่ลดลงจากส่วนของโรงงานใหม่ที่ได้ BOI เรามองว่าราคาที่ปรับตัวลงที่ผ่านมา ได้สะท้อนปัจจัยลบเรื่องต้นทุนสาหร่ายที่ปรับตัวขึ้น และUtilization rate ของโรงงานโรจนะที่ไม่เป็นไปตามคาด เราคงคำแนะนำ "ซื้อ"ที่ราคาเป้าหมาย 22
(-) CENTEL (ถือ / 53.00 บาท) กำไรสุทธิ 4Q17 ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด
CENTEL ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 442 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%YoY และ 20% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 8% และ 11% ตามลำดับ เพราะมีการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนใน CTARAF จากการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่จำนวน 64 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจอาหารมี SSSG ที่ 2.9% ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ที่ 4% แต่อย่างไรก็ดี ธุรกิจโรงแรมยังเติบโตได้ดี โดย Occupancy Rate ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 83.8% จากการเติบโตทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด ทั้งนี้ เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018-2019 ลง 5.4-5.6% จากการปรับ SSSG ลงมาอยู่ที่ 1.5% จากเดิมที่คาดไว้ 2.5% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่เราคาดไว้ ทำให้เรามีการปรับคำแนะนำลงมาเป็น "ถือ" และปรับราคาเป้าหมายลงมาอยู่ที่ 53 บาท (จากเดิมที่ 57บาท)
(-) JMART (Under review) แนวโน้มปรับประมาณการลง
บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 96 ล้านบาท (-31%YoY และ -27%QoQ) หรือคิดเป็นกำไรสุทธิปี 2017 ที่ 490 ล้านบาท ต่ำกว่าที่เราคาด 12% แม้บริษัทจะมีรายได้จากการขาย และรายได้จากการรับจ้างติดตาม และบริหารหนี้สินเพิ่มขึ้น ตามยอดขายมือถือ และพอร์ตบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 12%YoY และ 23%QoQ จากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ และค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 32% ตามจำนวนพนักงานที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายส่วนงานภายในกลุ่มธุรกิจ เรามองว่าแม้การระดมทุนจาก J-Fin Coin ICO เพื่อพัฒนาระบบ DDLPs ที่ใช้ในการขยายสินเชื่อแบบออนไลน์ให้แก่ J-Fintech ภายใต้การรับบริการติดตามหนี้ของ JMT จะช่วยหนุนผลการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มบริษัท แต่กลุ่มบริษัทจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มขึ้นตามขนาดพอร์ตสินเชื่อ J-Fintech รวมทั้ง NPLs และลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราอาจมีการปรับประมาณการ และราคาเป้าหมายลดลง จากเดิมแนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 23.00 บาท
Analyst : Mongkol Puangpetra
License No: 001937
+662 648 1123
[email protected]
Nontapat Rushtasomboon
License No: 081447
+662 648 1127
[email protected]
OO5988