- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 28 February 2018 21:21
- Hits: 4885
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยปรับฐานอีกครั้ง คาดจะเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นน้ำมัน ตามราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัว เพราะเงินเฟ้อสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้คาดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเกิน 3 ครั้ง หนุนดอลลาร์แข็งค่า และการประกาศงบต่ำกว่าคาด ทำให้มีโอกาสปรับลด EPS ตลาดปี 2561 ซึ่งทำให้ Ex P/E หุ้นไทยอาจขยับเหนือ 16 เท่า แนะนำทยอยลดน้ำหนักหุ้นน้ำมัน โดยเฉพาะ PTT เพราะราคาขึ้นมาเร็วเกินคาด แต่ให้สะสมหุ้นส่งออกที่ราคาลงแรง ขณะที่เงินบาทอ่อนค่า (TU, CPF) หรือหุ้น Domestic (WHA, BJC, BPP) Top pick ชอบ BPP([email protected])
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยปรับฐานอีกครั้ง คาดจะเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นน้ำมัน ตามราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัว เพราะเงินเฟ้อสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้คาดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเกิน 3 ครั้ง หนุนดอลลาร์แข็งค่า และการประกาศงบต่ำกว่าคาด ทำให้มีโอกาสปรับลด EPS ตลาดปี 2561 ซึ่งทำให้ Ex P/E หุ้นไทยอาจขยับเหนือ 16 เท่า แนะนำทยอยลดน้ำหนักหุ้นน้ำมัน โดยเฉพาะ PTT เพราะราคาขึ้นมาเร็วเกินคาด แต่ให้สะสมหุ้นส่งออกที่ราคาลงแรง ขณะที่เงินบาทอ่อนค่า (TU, CPF) หรือหุ้น Domestic (WHA, BJC, BPP) Top pick ชอบ BPP([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index แกว่งผันผวนท้ายตลาดฯ ก่อนจะพักตัวแดนลบ
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นทำ New high ที่ 1852 จุด ก่อนจะถูกแรงขายช่วงท้ายตลาดกดดันดัชนีย่อลงสู่แดนลบและปิดที่ 1830.39 จุด ลดลง 3.79 จุด หรือ 0.21% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 1.04 แสนล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดมากที่สุดคือ ค้าปลีก นำโดยหุ้น Big Cap. ของกลุ่มอย่าง CPALL ลดลง 1.5% ตามด้วย MAKRO ลดลง 2.14%, ROBINS ลดลง 2.93% เช่นเดียวกับ BEAUTY และ COM7 ลดลง 4.6% และ 2.1% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่ม ร.พ. ปรับตัวลดลงแทบทั้งกลุ่ม โดย BDMS ลดลง 1.77%, BCH ลดลง 0.61%, BH ลดลง 1.45% และ LPH ลดลง 4.26% ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTT ยังวิ่งทำ All time high และปิดที่ 574 บาท เพิ่มขึ้นอีก 1.41% ตามด้วยหุ้นปิโตรฯ อย่าง PTTGC เพิ่มขึ้น 1.8% และโรงกลั่น IRPC 2.55% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ อื่นๆ ที่ถูกแรงขายช่วงท้ายกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง คือ IVL ลดลง 0.91%, PTTEP ลดลง 0.85% รวมทั้ง BANPU ลดลง 1.3% สำหรับกลุ่มที่ฟื้นตัวสวนทางตลาด คือ ธ.พ. นำโดย BAY เพิ่มขึ้น 1.74% ตามด้วย KBANK เพิ่มขึ้น 1.30%, KTB เพิ่มขึ้น 2.51% และ BBL เพิ่มขึ้น 0.96% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะพักตัว โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1820 – 1840 จุด
การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐอาจเกิน 3 ครั้ง หากเงินเฟ้อยังเพิ่มต่อเนื่อง
การกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของประธาน Fed คนใหม่ (นาย Jerome Powell) เมื่อคืนที่ผ่านมา มีใจความสำคัญหลักคือ มีมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2561 ยังขยายตัวแข็งแกร่ง โดยหนุนจากมาตรการปฏิรูประบบภาษีของทรัมป์ที่ผ่าน ธ.ค.60 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ม.ค.2561 คือ ลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 20% จากเดิม 35% และลดอัตราภาษีธรรมดาบุคคลเหลือ 4 ขั้น (12%-39.6%) จากเดิม 7 ขั้น (10%-39.6%) ซึ่งส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มความสามารถจ่ายเงินปันผลและขยายกิจการ เท่ากับกระตุ้นการบริโภคและลงทุนภาคเอกชน
และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงานคือ อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.1% (ต่ำสุดในรอบ 18 ปี) อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในเป้าหมาย Fed ที่ 2% (เงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.1%yoy) เทียบกับอัตราดอกเบี้ยฯที่ 1.5% พบว่ามีช่องว่างราว 0.6% ซึ่ง Fed สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกราว 0.75% โดยขึ้น 3 ครั้งๆ ละ 0.25% และมีโอกาสขึ้นมากกว่าหากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้พิจารณาสถิติในปีที่เงินเฟ้อสหรัฐสูงเช่นในช่วง พ.ค.2547-มิ.ย.2549 พบว่า Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 17 ครั้งติดต่อกัน ครั้งละ 0.25% จาก 1% เป็น 5.25%ในช่วง 3 ปี
ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดตีความว่า Fed ปีนี้จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้ง (การประชุม Fed ในปีนี้เหลืออีก 7 ครั้ง) และคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกมี.ค. นี้ และน่าจะทยอยขึ้นในการประชุมแบบครั้งเว้นครั้ง คือ รอบ มี.ค. มิ.ย. ก.ย.และ ธ.ค. ซึ่งอาจหนุนดอกเบี้ย สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25-2.5%
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นทำ New high ที่ 1852 จุด ก่อนจะถูกแรงขายช่วงท้ายตลาดกดดันดัชนีย่อลงสู่แดนลบและปิดที่ 1830.39 จุด ลดลง 3.79 จุด หรือ 0.21% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 1.04 แสนล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดมากที่สุดคือ ค้าปลีก นำโดยหุ้น Big Cap. ของกลุ่มอย่าง CPALL ลดลง 1.5% ตามด้วย MAKRO ลดลง 2.14%, ROBINS ลดลง 2.93% เช่นเดียวกับ BEAUTY และ COM7 ลดลง 4.6% และ 2.1% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่ม ร.พ. ปรับตัวลดลงแทบทั้งกลุ่ม โดย BDMS ลดลง 1.77%, BCH ลดลง 0.61%, BH ลดลง 1.45% และ LPH ลดลง 4.26% ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTT ยังวิ่งทำ All time high และปิดที่ 574 บาท เพิ่มขึ้นอีก 1.41% ตามด้วยหุ้นปิโตรฯ อย่าง PTTGC เพิ่มขึ้น 1.8% และโรงกลั่น IRPC 2.55% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ อื่นๆ ที่ถูกแรงขายช่วงท้ายกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง คือ IVL ลดลง 0.91%, PTTEP ลดลง 0.85% รวมทั้ง BANPU ลดลง 1.3% สำหรับกลุ่มที่ฟื้นตัวสวนทางตลาด คือ ธ.พ. นำโดย BAY เพิ่มขึ้น 1.74% ตามด้วย KBANK เพิ่มขึ้น 1.30%, KTB เพิ่มขึ้น 2.51% และ BBL เพิ่มขึ้น 0.96% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะพักตัว โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1820 – 1840 จุด
การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐอาจเกิน 3 ครั้ง หากเงินเฟ้อยังเพิ่มต่อเนื่อง
การกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของประธาน Fed คนใหม่ (นาย Jerome Powell) เมื่อคืนที่ผ่านมา มีใจความสำคัญหลักคือ มีมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2561 ยังขยายตัวแข็งแกร่ง โดยหนุนจากมาตรการปฏิรูประบบภาษีของทรัมป์ที่ผ่าน ธ.ค.60 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ม.ค.2561 คือ ลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 20% จากเดิม 35% และลดอัตราภาษีธรรมดาบุคคลเหลือ 4 ขั้น (12%-39.6%) จากเดิม 7 ขั้น (10%-39.6%) ซึ่งส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มความสามารถจ่ายเงินปันผลและขยายกิจการ เท่ากับกระตุ้นการบริโภคและลงทุนภาคเอกชน
และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงานคือ อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.1% (ต่ำสุดในรอบ 18 ปี) อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในเป้าหมาย Fed ที่ 2% (เงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.1%yoy) เทียบกับอัตราดอกเบี้ยฯที่ 1.5% พบว่ามีช่องว่างราว 0.6% ซึ่ง Fed สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกราว 0.75% โดยขึ้น 3 ครั้งๆ ละ 0.25% และมีโอกาสขึ้นมากกว่าหากเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้พิจารณาสถิติในปีที่เงินเฟ้อสหรัฐสูงเช่นในช่วง พ.ค.2547-มิ.ย.2549 พบว่า Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 17 ครั้งติดต่อกัน ครั้งละ 0.25% จาก 1% เป็น 5.25%ในช่วง 3 ปี
ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดตีความว่า Fed ปีนี้จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้ง (การประชุม Fed ในปีนี้เหลืออีก 7 ครั้ง) และคาดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกมี.ค. นี้ และน่าจะทยอยขึ้นในการประชุมแบบครั้งเว้นครั้ง คือ รอบ มี.ค. มิ.ย. ก.ย.และ ธ.ค. ซึ่งอาจหนุนดอกเบี้ย สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25-2.5%
เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าสวนทางดอลลาร์ หุ้นส่งออกฟื้นตัว TU, CPF
จากความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐดังกล่าว หนุนให้ค่าเงินกลับมาดอลลาร์แข็งค่าอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 90.3 จุด และมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะแตะ 91 จุด (นับตั้งแต่ต้นปียังอ่อนค่าราว 2.1%) ส่งผลให้ค่าเงินประเทศในแถบเอเซียชะลอการแข็งค่า ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออก หลังจากถูกกดดันจากเงินบาทและเงินริงกิตมาเลซียที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปี และน่าจะแข็งค่ามากสุดในภูมิภาคเอเชีย จึงแนะนำให้สะสมหุ้นเกษตร-อาหาร ส่งออกคือ TU, CPF
TU ([email protected]) แนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 1Q61 จะทรงตัวใกล้เคียงงวด 4Q60 เนื่องจากยังเป็นช่วง low season การส่งออกทูน่าและกุ้ง โดยมีประเด็นบวกคือ ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยงวด 1Q61 จะลดลง แม้ยังมีสต็อกวัตถุดิบทูน่าที่ต้นทุนสูงในงวด 4Q60 เหลืออยู่ แต่ผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป โดยคาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2561 เติบโต 15.7% โดยราคาวัตถุดิบทูน่านับจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 พันเหรียญต่อตัน ต่ำกว่าสมมติฐานราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยปี 2561 ที่ 1.75 พันเหรียญ/ตัน จากเฉลี่ยงวด 4Q60 ที่ 2.03 พันเหรียญ/ตัน เช่นเดียวกับธุรกิจแซลมอนที่จะฟื้นตัวจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงถึง 10.6% จากปี 2560 รวมทั้งธุรกิจกุ้งเติบโตได้จากผลผลิตกุ้งของไทยจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น 10-15% yoy ทำให้มีวัตถุดิบในการจำหน่ายกุ้งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ Gross Margin ปี 2561 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.2% แม้จะมีความเสี่ยงเงินบาทแข็งค่าจนอาจกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ราว 6.6% และกระทบ FV ราว 8.3%
CPF ([email protected]) คาดผลการดำเนินงานงวด 1Q61 จะฟื้นตัวดีขึ้นจาก 4Q60 จากการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. 61 รวมทั้งสถานการณ์ราคาสุกรในประเทศเวียดนามฟื้นตัวดีขึ้น และคาดราคาสุกรจะฟื้นตัวชัดเจนในปลายงวด 2Q61 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากราคาไก่และสุกรในประเทศที่ฟื้นตัวล่าช้ากว่าคาด ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ลง 3.6% และ 4.3% จากเดิม (หากคิดเป็นกำไรจากการดำเนินงานปี 2561-62 มีการปรับลดลง 24.0% และ 19.9% จากเดิม) โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 จะเติบโตเพียง 6.5% yoy แต่แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปี 2561 จะเพิ่มขึ้นถึง 94.6% yoy โดยคาดการฟื้นตัวของ ธุรกิจสุกรในเวียดนาม และธุรกิจต่างประเทศ ที่เน้นอาหารสัตว์ครบวงจร ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาแรง น่าจะสะท้อนความผิดหวังในเรื่องผลการดำเนินงานไปแล้ว ทั้งยังคาดหวัง Div. Yield ได้สูงถึง 4%
ลดน้ำหนักหุ้นน้ำมัน-ถ่านหินเป็นเท่ากับตลาด จากเดิมมากกว่าตลาด
ระยะสั้นราคาน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มปรับฐานระยะสั้น สวนทางกับ Dollar index ที่กลับมาแข็งค่าจากความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน แม้สหรัฐยังคงเพิ่มยอดผลิตน้ำมันต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญฯ ได้
อย่างไรก็ตามราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันขึ้นมารวดเร็ว เกินมูลค่าพื้นฐาน โดยเฉพาะกรณีของ PTT แม้รวมผลบวกจากการเติบโตตามการถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้ง PTTEP และ IRPC ซึ่งล่าสุดถือหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% คาดว่ามูลค่าหุ้น PTT ที่จะมีการประเมินใหม่มีโอกาสปรับเพิ่มจากปัจจุบันที่ 520 บาท เป็นไม่เกิน 550 บาท ยังต่ำกว่าราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 574 บาท
เชื่อว่าเหตุผลที่หนุนหุ้น PTT ให้ปรับตัวขึ้นแรงมาจากประเด็นการแตกพาร์ (คาดว่าจะมีผลในเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้) แต่หากพิจารณาราคาหุ้น PTT นับจากวันประกาศข่าวแตกพาร์จนถึงวานนี้พบว่าขึ้นแล้วราว 17% และทำระดับสูงสุดใหม่ 588 บาท ซึ่งเป็นการขึ้นเร็วเกินไป และtหากพิจารณาข้อมูลที่นักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ ASPS มีการเก็บสถิติ 10 ปี ย้อนหลัง (2551-2560) ของหุ้นใน SET100 ทั้งหมดที่มีการแตกพาร์ พบว่าราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.09% (โอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 75% และยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนที่ได้จะลดลงตามลำดับ) ทั้งนี้ยกเว้นหุ้นใหญ่บางบริษัทที่ให้ผลตอบแทนที่สูง หรือ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือ BANPU ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 29% ขณะที่ CPN ราว 17% BDMS 11%, AOT 3% ณ จุดนี้น่าจะเริ่มขายทำกำไร PTT บางส่วน และอาจจะรอรับเมื่อราคาอ่อนตัวอีกครั้ง เพราะกว่าจะแตกพาร์ยังมีเวลา หรือ จังวะการลงทุนรอบใหม่
โดยภาพรวมทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นน้ำมัน-ถ่านหิน ลงเหลือเท่ากับตลาด จากเดิมที่ให้มากกว่าตลาด จึงยังคงแนะนำสะสม PTTEP (FV137) ซึ่งอาจจะถูกกดันจากราคาน้ำมันที่อ่อนค่า แต่ราคาหุ้นยังมี upside 17% ราคาอ่อนตัวจึงเป็นจังหวะสะสม (ติดตามอ่านรายละเอียด Industry Update เช้านี้)
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นบางประเทศ รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่ยังมีตลาดหุ้นอยู่ 2 แห่ง ที่ถูกขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถฤกขายสุทธิ 77 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้สลับมาซื้อสุทธิ 47 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน), และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 426 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 987 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.20 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิ 1.14 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 โดยมีมูลค่ารวม 1.58 หมื่นล้านบาท)
งบ 4Q60 น่าจะจบในสัปดาห์นี้ แรงขายรับงบยังเกิดขึ้นเป็นรายตัว
เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการปี 2560 โดยนับจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วราว 430 บริษัท คิดเป็น 88% ของ market cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันได้ 2.30 แสนล้านบาท ดีกว่า 4Q59 และ 3Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.91 และ 2.02 แสนล้านบาท ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 20.1%yoy และ 14.2%qoq ขณะที่กำไรสุทธิปี 2560 หากนับเฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.82 แสนล้านบาท เทียบกับ 2559 ที่ 8.15 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1%yoy
สำหรับ real sector งวด 4Q60 กำไรสุทธิรวม 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 และ 3Q60 ที่ 1.32 และ 1.47 แสนล้านบาทตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 39.3%yoy และ 24.8%qoq และทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ real sector อยู่ที่ 6.62 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2559 ที่ 5.74 แสนล้านบาท หรือ 15.4%yoy ส่วนบริษัทที่การรายงานงบฯ วานนี้ เช่น
HMPRO กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 1.53 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29%qoq และ 15.6%yoy ส่วนใหญ่การเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามสัญญาณเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของสาขาที่อยู่ในหัวเมืองหลักและเมืองที่ได้รับประโยชน์จากภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น กอปรกับการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ทั้งปี 60 มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 4.89 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.45%yoy ส่วนกำไรปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องราว 15.5% โดยแรงหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่เพิ่มขึ้น การเปิดสาขาใหม่ราว 6-8 แห่ง และการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีอย่างต่อเนื่อง
JMART รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ที่เพียง 96 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดมาก ผลจากธุรกิจให้สินเชื่อ J FinTech ที่พลิกเป็นขาดทุนในไตรมาสนี้ จากที่มีกำไรในงวด 3Q60 ทำให้ต้องมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานธุรกิจอื่นๆ ออกมาตามคาด โดยธุรกิจจำหน่ายมือถือเติบโตตามฤดูกาลธุรกิจติดตามหนี้ของ JMT ทรงตัวในระดับสูง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 11%yoy ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลกดดันต่อราคาหุ้น รวมทั้งราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปแรงในช่วงก่อนหน้า จึงยังแนะนำ switch ไปก่อน
BJC กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.86 พันล้านบาท เติบโต 79.7% yoy ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยประเมินราว 2.5 พันล้านบาท จากความคาดหวังว่าจะมีรายการพิเศษกลับรายการภาษี เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางบัญชีระหว่างกลุ่มธุรกิจ BJC กับ BIGC ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ยังไม่สามารถนำผลขาดทุนของบริษัทย่อยต่างๆ ของ BJC ไปลดหย่อนภาษีได้ (จากเดิมก่อนหน้าที่จะซื้อ BIGC สามารถทำได้) ซึ่งทำให้อัตราภาษีอยู่สูงกว่าที่ควรจะเป็น โดยอยู่ที่ 27.3% ในปี 2560 แต่หากพิจารณา จากการดำเนินธุรกิจหลักใน 4Q60 ถือไดว่าสดใสมาก โดยรายได้เติบโต 7.3% หนุนจากทุกธุรกิจหลัก
ธุรกิจค้าปลีก (BIGC สัดส่วนยอดขายราว 65%-70%) ที่มีกำไรสุทธิเพิ่มสูง 68.3% yoy โดยหนุนจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 7.9% จากยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น (SSSG) 3.8% yoy หลังปรับปรุงกลยุทธ์พัฒนาอาหารสดและจับกลุ่มลูกค้าใหม่ กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม, ภัตตาคาร และคาเฟ่ (HoReCa) และยังเกิดจากการขยายสาขาใหม่ขณะที่อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ 222 bps yoy มาอยู่ที่ 6.2% จากการพัฒนาสินค้า Private Brands ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น และการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่เช่าและรายได้สนับสนุนการขาย และการประหยัดต่อขนาด
ธุรกิจดั้งเดิมของ BJC (บรรจุภัณฑ์, สินค้าอุปโภคบริโภค และจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ สัดส่วนยอดขายรวมกันราว 30-35%) หลักๆได้แรงหนุนจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีรายได้เติบโต 6.4% และอัตรากำไรสุทธิเติบโต 74 bps yoy จากการเริ่มผลิตของโรงงานใหม่ เตาแก้วสระบุรี ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2560 และกำไรพิเศษจากกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคราว 155 ล้านบาท ที่ได้มาจากการต่อรองราคาซื้อธุรกิจผลิตกระดาษทิชชู่ในเวียดนาม “วีนา เปเปอร์” (ซื้อด้วยเงินลงทุน 482 ล้านบาท) โดยภาพรวมทำให้กำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ราว 5.2 พันล้านบาท เติบโต 57.6% แต่ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 6 พันล้านบาท ทั้งนี้ จากการติดตามของฝ่ายวิจัย การปรับโครงสร้างทางบัญชีดังกล่าว คาดว่าจะดำเนินแล้วเสร็จภายใน 1H61 ซึ่งจะทำให้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2561 อาจจะอยู่สูงกว่าคาดที่ 7.6 พันล้านบาท จากอัตราภาษีจริงที่น่าจะต่ำกว่าสมมติฐานอัตราภาษีที่ฝ่ายวิจัยกำหนด 20%
แต่เพื่อยึดหลักอนุรักษ์นิยม ฝ่ายวิจัยจึงไม่นับรายการดังกล่าวในประมาณการและคงประมาณการกำไรปี 2561-62 ที่ 7.6 พันล้านบาท และ 8.9 พันล้านบาท เติบโต 45.8% และ 16.5% ตามลำดับ ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 73 บาท ยืนยัน “ซื้อ”
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5986
จากความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐดังกล่าว หนุนให้ค่าเงินกลับมาดอลลาร์แข็งค่าอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 90.3 จุด และมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะแตะ 91 จุด (นับตั้งแต่ต้นปียังอ่อนค่าราว 2.1%) ส่งผลให้ค่าเงินประเทศในแถบเอเซียชะลอการแข็งค่า ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออก หลังจากถูกกดดันจากเงินบาทและเงินริงกิตมาเลซียที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปี และน่าจะแข็งค่ามากสุดในภูมิภาคเอเชีย จึงแนะนำให้สะสมหุ้นเกษตร-อาหาร ส่งออกคือ TU, CPF
TU ([email protected]) แนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 1Q61 จะทรงตัวใกล้เคียงงวด 4Q60 เนื่องจากยังเป็นช่วง low season การส่งออกทูน่าและกุ้ง โดยมีประเด็นบวกคือ ราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยงวด 1Q61 จะลดลง แม้ยังมีสต็อกวัตถุดิบทูน่าที่ต้นทุนสูงในงวด 4Q60 เหลืออยู่ แต่ผลการดำเนินงานจะฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่งวด 2Q61 เป็นต้นไป โดยคาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2561 เติบโต 15.7% โดยราคาวัตถุดิบทูน่านับจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 1.5 พันเหรียญต่อตัน ต่ำกว่าสมมติฐานราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยปี 2561 ที่ 1.75 พันเหรียญ/ตัน จากเฉลี่ยงวด 4Q60 ที่ 2.03 พันเหรียญ/ตัน เช่นเดียวกับธุรกิจแซลมอนที่จะฟื้นตัวจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงถึง 10.6% จากปี 2560 รวมทั้งธุรกิจกุ้งเติบโตได้จากผลผลิตกุ้งของไทยจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น 10-15% yoy ทำให้มีวัตถุดิบในการจำหน่ายกุ้งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ Gross Margin ปี 2561 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 14.2% แม้จะมีความเสี่ยงเงินบาทแข็งค่าจนอาจกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ราว 6.6% และกระทบ FV ราว 8.3%
CPF ([email protected]) คาดผลการดำเนินงานงวด 1Q61 จะฟื้นตัวดีขึ้นจาก 4Q60 จากการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. 61 รวมทั้งสถานการณ์ราคาสุกรในประเทศเวียดนามฟื้นตัวดีขึ้น และคาดราคาสุกรจะฟื้นตัวชัดเจนในปลายงวด 2Q61 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากราคาไก่และสุกรในประเทศที่ฟื้นตัวล่าช้ากว่าคาด ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ลง 3.6% และ 4.3% จากเดิม (หากคิดเป็นกำไรจากการดำเนินงานปี 2561-62 มีการปรับลดลง 24.0% และ 19.9% จากเดิม) โดยรวมคาดกำไรสุทธิปี 2561 จะเติบโตเพียง 6.5% yoy แต่แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปี 2561 จะเพิ่มขึ้นถึง 94.6% yoy โดยคาดการฟื้นตัวของ ธุรกิจสุกรในเวียดนาม และธุรกิจต่างประเทศ ที่เน้นอาหารสัตว์ครบวงจร ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาแรง น่าจะสะท้อนความผิดหวังในเรื่องผลการดำเนินงานไปแล้ว ทั้งยังคาดหวัง Div. Yield ได้สูงถึง 4%
ลดน้ำหนักหุ้นน้ำมัน-ถ่านหินเป็นเท่ากับตลาด จากเดิมมากกว่าตลาด
ระยะสั้นราคาน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มปรับฐานระยะสั้น สวนทางกับ Dollar index ที่กลับมาแข็งค่าจากความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน แม้สหรัฐยังคงเพิ่มยอดผลิตน้ำมันต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และเคลื่อนไหวในกรอบ 60-65 เหรียญฯ ได้
อย่างไรก็ตามราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันขึ้นมารวดเร็ว เกินมูลค่าพื้นฐาน โดยเฉพาะกรณีของ PTT แม้รวมผลบวกจากการเติบโตตามการถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้ง PTTEP และ IRPC ซึ่งล่าสุดถือหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% คาดว่ามูลค่าหุ้น PTT ที่จะมีการประเมินใหม่มีโอกาสปรับเพิ่มจากปัจจุบันที่ 520 บาท เป็นไม่เกิน 550 บาท ยังต่ำกว่าราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 574 บาท
เชื่อว่าเหตุผลที่หนุนหุ้น PTT ให้ปรับตัวขึ้นแรงมาจากประเด็นการแตกพาร์ (คาดว่าจะมีผลในเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้) แต่หากพิจารณาราคาหุ้น PTT นับจากวันประกาศข่าวแตกพาร์จนถึงวานนี้พบว่าขึ้นแล้วราว 17% และทำระดับสูงสุดใหม่ 588 บาท ซึ่งเป็นการขึ้นเร็วเกินไป และtหากพิจารณาข้อมูลที่นักวิเคราะห์เชิงปริมาณของ ASPS มีการเก็บสถิติ 10 ปี ย้อนหลัง (2551-2560) ของหุ้นใน SET100 ทั้งหมดที่มีการแตกพาร์ พบว่าราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.09% (โอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 75% และยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนที่ได้จะลดลงตามลำดับ) ทั้งนี้ยกเว้นหุ้นใหญ่บางบริษัทที่ให้ผลตอบแทนที่สูง หรือ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คือ BANPU ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 29% ขณะที่ CPN ราว 17% BDMS 11%, AOT 3% ณ จุดนี้น่าจะเริ่มขายทำกำไร PTT บางส่วน และอาจจะรอรับเมื่อราคาอ่อนตัวอีกครั้ง เพราะกว่าจะแตกพาร์ยังมีเวลา หรือ จังวะการลงทุนรอบใหม่
โดยภาพรวมทำให้นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นน้ำมัน-ถ่านหิน ลงเหลือเท่ากับตลาด จากเดิมที่ให้มากกว่าตลาด จึงยังคงแนะนำสะสม PTTEP (FV137) ซึ่งอาจจะถูกกดันจากราคาน้ำมันที่อ่อนค่า แต่ราคาหุ้นยังมี upside 17% ราคาอ่อนตัวจึงเป็นจังหวะสะสม (ติดตามอ่านรายละเอียด Industry Update เช้านี้)
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นบางประเทศ รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่ยังมีตลาดหุ้นอยู่ 2 แห่ง ที่ถูกขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถฤกขายสุทธิ 77 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้สลับมาซื้อสุทธิ 47 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 28 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน), และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 426 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 987 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 3.20 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิ 1.14 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 โดยมีมูลค่ารวม 1.58 หมื่นล้านบาท)
งบ 4Q60 น่าจะจบในสัปดาห์นี้ แรงขายรับงบยังเกิดขึ้นเป็นรายตัว
เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการปี 2560 โดยนับจนถึงช่วงค่ำวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วราว 430 บริษัท คิดเป็น 88% ของ market cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันได้ 2.30 แสนล้านบาท ดีกว่า 4Q59 และ 3Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.91 และ 2.02 แสนล้านบาท ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 20.1%yoy และ 14.2%qoq ขณะที่กำไรสุทธิปี 2560 หากนับเฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.82 แสนล้านบาท เทียบกับ 2559 ที่ 8.15 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1%yoy
สำหรับ real sector งวด 4Q60 กำไรสุทธิรวม 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 และ 3Q60 ที่ 1.32 และ 1.47 แสนล้านบาทตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 39.3%yoy และ 24.8%qoq และทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ real sector อยู่ที่ 6.62 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2559 ที่ 5.74 แสนล้านบาท หรือ 15.4%yoy ส่วนบริษัทที่การรายงานงบฯ วานนี้ เช่น
HMPRO กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 1.53 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29%qoq และ 15.6%yoy ส่วนใหญ่การเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามสัญญาณเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของสาขาที่อยู่ในหัวเมืองหลักและเมืองที่ได้รับประโยชน์จากภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น กอปรกับการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ทั้งปี 60 มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 4.89 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.45%yoy ส่วนกำไรปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องราว 15.5% โดยแรงหนุนจากยอดขายสาขาเดิมที่เพิ่มขึ้น การเปิดสาขาใหม่ราว 6-8 แห่ง และการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีอย่างต่อเนื่อง
JMART รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ที่เพียง 96 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดมาก ผลจากธุรกิจให้สินเชื่อ J FinTech ที่พลิกเป็นขาดทุนในไตรมาสนี้ จากที่มีกำไรในงวด 3Q60 ทำให้ต้องมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานธุรกิจอื่นๆ ออกมาตามคาด โดยธุรกิจจำหน่ายมือถือเติบโตตามฤดูกาลธุรกิจติดตามหนี้ของ JMT ทรงตัวในระดับสูง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 11%yoy ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลกดดันต่อราคาหุ้น รวมทั้งราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปแรงในช่วงก่อนหน้า จึงยังแนะนำ switch ไปก่อน
BJC กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.86 พันล้านบาท เติบโต 79.7% yoy ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยประเมินราว 2.5 พันล้านบาท จากความคาดหวังว่าจะมีรายการพิเศษกลับรายการภาษี เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างทางบัญชีระหว่างกลุ่มธุรกิจ BJC กับ BIGC ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ยังไม่สามารถนำผลขาดทุนของบริษัทย่อยต่างๆ ของ BJC ไปลดหย่อนภาษีได้ (จากเดิมก่อนหน้าที่จะซื้อ BIGC สามารถทำได้) ซึ่งทำให้อัตราภาษีอยู่สูงกว่าที่ควรจะเป็น โดยอยู่ที่ 27.3% ในปี 2560 แต่หากพิจารณา จากการดำเนินธุรกิจหลักใน 4Q60 ถือไดว่าสดใสมาก โดยรายได้เติบโต 7.3% หนุนจากทุกธุรกิจหลัก
ธุรกิจค้าปลีก (BIGC สัดส่วนยอดขายราว 65%-70%) ที่มีกำไรสุทธิเพิ่มสูง 68.3% yoy โดยหนุนจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 7.9% จากยอดขายสาขาเดิมเพิ่มขึ้น (SSSG) 3.8% yoy หลังปรับปรุงกลยุทธ์พัฒนาอาหารสดและจับกลุ่มลูกค้าใหม่ กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม, ภัตตาคาร และคาเฟ่ (HoReCa) และยังเกิดจากการขยายสาขาใหม่ขณะที่อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ 222 bps yoy มาอยู่ที่ 6.2% จากการพัฒนาสินค้า Private Brands ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น และการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่เช่าและรายได้สนับสนุนการขาย และการประหยัดต่อขนาด
ธุรกิจดั้งเดิมของ BJC (บรรจุภัณฑ์, สินค้าอุปโภคบริโภค และจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ สัดส่วนยอดขายรวมกันราว 30-35%) หลักๆได้แรงหนุนจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีรายได้เติบโต 6.4% และอัตรากำไรสุทธิเติบโต 74 bps yoy จากการเริ่มผลิตของโรงงานใหม่ เตาแก้วสระบุรี ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2560 และกำไรพิเศษจากกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคราว 155 ล้านบาท ที่ได้มาจากการต่อรองราคาซื้อธุรกิจผลิตกระดาษทิชชู่ในเวียดนาม “วีนา เปเปอร์” (ซื้อด้วยเงินลงทุน 482 ล้านบาท) โดยภาพรวมทำให้กำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ราว 5.2 พันล้านบาท เติบโต 57.6% แต่ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 6 พันล้านบาท ทั้งนี้ จากการติดตามของฝ่ายวิจัย การปรับโครงสร้างทางบัญชีดังกล่าว คาดว่าจะดำเนินแล้วเสร็จภายใน 1H61 ซึ่งจะทำให้แนวโน้มกำไรสุทธิปี 2561 อาจจะอยู่สูงกว่าคาดที่ 7.6 พันล้านบาท จากอัตราภาษีจริงที่น่าจะต่ำกว่าสมมติฐานอัตราภาษีที่ฝ่ายวิจัยกำหนด 20%
แต่เพื่อยึดหลักอนุรักษ์นิยม ฝ่ายวิจัยจึงไม่นับรายการดังกล่าวในประมาณการและคงประมาณการกำไรปี 2561-62 ที่ 7.6 พันล้านบาท และ 8.9 พันล้านบาท เติบโต 45.8% และ 16.5% ตามลำดับ ด้วยมูลค่าพื้นฐานที่ 73 บาท ยืนยัน “ซื้อ”
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5986