- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 27 February 2018 19:42
- Hits: 5117
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“เลือกซื้อ/ถือต่อ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ปัจจัยต่างประเทศ & ในประเทศ : ปัจจัยต่างประเทศ – ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นต่อ 1.58% หลัง US bond yield และ VIX ทยอยลดลง โดย US bond yield-10 years ลงมาเป็น 2.83-2.86% จาก 2.917% เมื่อ 3 วันก่อน และ VIX ลงมาที่ 15.8% จาก 20.02% ใน 3 วันก่อนติดตามแถลงการณ์ประธานเฟดคนใหม่ต่อสภาคองเกรสวันที่ 27-28 ก.พ.นี้ เพื่อจับสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยเฟด ซึ่งตลาดประเมินว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค.นี้ 0.25% เป็น 1.75% หลังเศรษฐกิจสหรัฐและตัวเลขภาคแรงงานยังคงแข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มบรรลุเป้าหมาย 2% ภายในปีนี้ ส่วนราคาน้ำมันดิบ ค่อยๆขยับขึ้น โดยมีกระแสข่าวว่ากลุ่มโอเปก & รัสเซียอาจเสนอขยายเวลาลดการผลิตจากสิ้นปี 61 ออกไปอีกในการประชุมเดือนมิ.ย.61
ปัจจัยในประเทศ – ตลาดหุ้นไทยปิด +26.12 จุดที่ 1834.18 หนุนโดยหุ้น Big Cap ในกลุ่มพลังงาน & ปิโตรเคมี, แบงค์, สื่อสาร, ท่องเที่ยวเป็นต้น ส่วนหุ้น Mid-Small Cap ก็ยังปรับขึ้นไม่มาก กลุ่มที่ซื้อนำคือ สถาบันในประเทศ (ซื้อสุทธิ 4.2 พันลบ.) ทั้งนี้คณะกรรมการ EEC ได้อนุมัติลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 2 แสนล้านบาท และจะนำเข้าพิจารณาในครม.ต่อไป
หุ้นพื้นฐานแนะนำวันนี้เป็น PTTGC – กำไรปี 61 มีโอกาสเติบโตได้ดีกว่าที่เคยคาดไว้ หลังจากจีนห้ามใช้พลาสติกรีไซเคิล ซึ่งทำให้ความต้องการซื้อเม็ดพลาสติกในกลุ่ม PE (สายโอเลฟินส์) เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก ทำให้สเปรดจะทรงตัวหรือสูงขึ้นจากปี 60 ได้ ถือเป็น Upside risk เพราะก่อนหน้ามองกันว่าสเปรดปี 61 จะอ่อนลงจากปีก่อนจากการที่สหรัฐและเอเชีย (ไม่รวมตะวันออกกลาง) มีกำลังการผลิตใหม่เข้ามา รวมทั้งจะรับรู้กำไรจาก 6 บริษัทที่รับโอนมาจาก PTT เต็มปี (ปี 60 รับรู้ครึ่งปี) แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 110 บาท
กลยุทธ์ทางพื้นฐาน : แนะเลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยธีมเด่นหุ้นดีจาก DBS ในปี 61 เราเลือกเป็น 1. Investment recovery play (หุ้นเด่น AMATA ราคาพื้นฐาน 30 บาท), 2. Dividend play (หุ้นเด่น KKP ราคาพื้นฐาน 88 บาท), 3. Growth play (หุ้นเด่น IVL ราคาพื้นฐาน 65 บาท) และ 4. Tourism play (หุ้นเด่น ERW ราคาพื้นฐาน 10.50 บาท) การอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสม
กลยุทธ์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นบวก ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก แนวต้าน 1840-1850, 1860 จุด ต่ำกว่า 1820 จุดให้ Wait & See หุ้นที่มีโอกาสทำ New high ที่เข้ามาใหม่เป็น TMB, TOP, EGCO, RS, PLAT, ADVANC, PTL ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List เป็น VGI,HUMAN, GLOW ส่วนหุ้นแนะนำที่ให้หาจังหวะ Take profit เป็น TWPC, VNT, PTT, CPN, SGP, AOT, SOLAR และหุ้นที่หลุด List เป็น RML
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ : US bond yield และ VIX อ่อนลง
# อัตราผลตอบเทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี (US bond yield – 10 years) ทยอยลดเป็น 2.867% จาก 2.917% เมื่อ 3 วันก่อน
# VIX (Volatility index) ลดลงเป็น 15.8% จาก 20.02% เมื่อ 3 วันก่อน
# ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar index) ทรงตัวที่ 89.804
• สหรัฐ : จับตาประธานเฟดคนใหม่กล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรส 27 ก.พ.นี้
# นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งจะกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการบริหารการเงินสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันที่ 27 ก.พ. และต่อคณะกรรมาธิการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันที่ 28 ก.พ. โดยจะเป็นการแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายการเงินเป็นครั้งแรกของเขาต่อรัฐสภาสหรัฐ
# ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. 0.25% เป็น 1.75% หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐและตลาดแรงงานมีแนวโน้มแข็งแกร่งในระยะใกล้ และเฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นสู่เป้าหมาย 2% ในระยะกลาง (ในสิ้นปี 61)
• สหรัฐ : ยอดขายบ้านใหม่ม.ค.ลดลง ติดตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคก.พ. ดัชนี PCE และ PMI ภาคผลิตในสัปดาห์นี้
# ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 7.8%MoM ในม.ค.61 สู่ระดับ 593,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.60 เพราะได้รับผลกระทบจากการทรุดตัวของยอดขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
# ติดตามตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ., GDP งวด 4Q60 ประมาณการครั้งที่ 2 , ดัชนี PCE ประจำเดือนม.ค.,ดัชนี PMI ภาคผลิตเดือนก.พ. และตัวเลขภาคที่อยู่อาศัย & ก่อสร้าง
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้นอีก 399.28 จุด
# ดัชนี DJIA ปิดที่ 25,709.27 จุด พุ่งขึ้น 399.28 จุด หรือ +1.58% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,779.60 จุด เพิ่มขึ้น 32.30 จุด หรือ +1.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,421.46 จุด เพิ่มขึ้น 84.07 จุด หรือ +1.15% หลัง US bond yield ลดลง
# ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้น 0.5-0.6% ตอบรับการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ ด้านดัชนีตลาดหุ้นลอนดอนปิด +0.6% เช่นกัน
• ภาวะตลาดน้ำมัน : ราคาขยับขึ้นต่อเล็กน้อย
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 36 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 63.91 ดอลลาร์/บาร์เรล และ BRENT ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 19 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 67.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
# กลุ่มโอเปกและรัสเซียจะจัดการประชุมในเดือนมิ.ย.61 เพื่อพิจารณาการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดในปลายปีนี้
• ภาวะตลาดทองคำ : ราคาปรับขึ้น 2.5 ดอลลาร์
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 2.5 ดอลลาร์ หรือ 0.19% ปิดที่ 1332.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากค่าเงิน US$ อ่อนค่าลง
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
+ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : สินเชื่อขยายตัวดีขึ้น แรงกดดันเรื่องการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์น้อยลง
# การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทำให้ระดับ NPL ratio ในปีนี้จะเริ่มทรงตัวได้ หลังจากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี การตั้งสำรองค่าเผื่อฯ ยังอยู่ในเกณฑ์สูงแต่กดดันน้อยลง (ส่วนหนึ่งต้องตั้งสำรองฯรองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ด้วย) ด้านสินเชื่อคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ที่ได้อานิสงค์จากโครงการลงทุนภาครัฐที่ทำให้ภาคเอกชนต้องมีการลงทุนรองรับและสอดคล้องตามไปด้วย ส่วนสินเชื่อเพื่อการบริโภคก็มีแนวโน้มดีขึ้นจากปีก่อนแต่ก็จะยังเติบโตไม่มากเพราะหนี้สินภาคครัวเรือนที่สูง
# ฝ่ายวิจัยฯ DBSVTH ประมาณการว่ากำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เราทำการวิเคราะห์ 8 แห่งจะเติบโต 9.8% ในปี 61 ดีขึ้นจาก -7.6% ในปี 60 ที่ผ่านมา สะท้อนรายได้ดอกเบี้ย & ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ดีขึ้น แรงกดดันเรื่องการด้อยค่าของคุณภาพสินทรัพย์ที่น้อยลง
# ในเชิงกลยุทธ์ให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็น Overweight โดยธนาคารที่ทางทีมกลยุทธ์ Retail Research ชอบเป็นดังนี้
1. KBANK - มีความแข็งแกร่งในฐานลูกค้า SME และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง ราคาพื้นฐาน 257 บาท เทียบกับราคาปิดเมื่อวานนี้มี Upside 12%
2. BBL - ได้ประโยชน์จากวัฎจักรการลงทุนที่ฟื้นตัว ราคาพื้นฐาน 222 บาท มี Upside 7%
3. TMB - รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยแข็งแกร่ง จากค่า Access fee ที่ได้จาก FWD ปีละประมาณ 1.3 พันล้านบาทไป 15
ปี และรุกสินเชื่อ SME รายเล็กมากขึ้น ราคาพื้นฐาน 3.20 บาท มี Upside 7%
4. KKP - โดดเด่นเรื่องปันผลสูง คาด Yield ปีนี้ 7% ราคาพื้นฐาน 88 บาท มี Upside 11%
• บอร์ด EEC อนุมัติ 2 แสนล้านบาทสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน...จะเสนอให้ครม.พิจารณาต่อไป
# บอร์ด EEC อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ความเร็ว 250 กม./ชม. ระยะทาง 220 กม. มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 200,000 ล้านบาท สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตลอดโครงการ 700,000 ล้านบาท โดยให้เอกชนบริหารแบบ PPP 50 ปี หลังจากนั้นยกเป็นของรัฐบาล ทั้งนี้เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]
OO5939