- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 February 2018 16:31
- Hits: 3281
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวช่วงสั้นเช่นเดียวกับกับราคาน้ำมัน หลังคลายความกังวลลง ขณะที่ไทยอาจได้ปัจจัยหนุนจาก GDP Growth 4Q60 อย่างไรก็ตาม วันนี้คาดกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง อาจถูกกดดันจากประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ จีงแนะหลีกเลี่ยงไปก่อน กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic (WHA, BJC) + Global Play PTTEP, PTT เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) Top picks เลือก PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@520) มีโอกาสฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นพลังงาน-การเงินดันดัชนีปิดบวก แต่มูลค่าการซื้อขายลดลง
ศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่งปิดทำการเนื่องจากช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยดูซบเซาด้วยมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งวันเพียง 3.78 หมื่นล้านบาท ขณะที่การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยยังประคองตัวได้ในแดนบวกตลอดทั้งวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1805.89 จุด เพิ่มขึ้น 5.03 จุด หรือ 0.28% แรงหนุนหลักๆ มาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงไฟฟ้า EGCO ปรับตัวขึ้นแรงต่อเนื่องอีก 5.24%, GULF เพิ่มขึ้น 2.33% ตามด้วยหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคอย่าง EASTW เพิ่มขึ้นแรงกว่า 15% ขึ้นทำ New high ในรอบกว่า 4 ปี อีกกลุ่มที่ปรับตัวแรงคือ กลุ่มการเงิน-สินเชื่อ อย่าง KTC ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น All time high อย่างต่อเนื่อง ปิดที่ 296 บาท เพิ่มขึ้น 13.85% ตามมาด้วย AEONTS เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 7.29% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นคือ หุ้นขนาดกลาง-เล็ก จากกลุ่มโลจิสติกส์อย่าง WICE ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 5.76% เช่นเดียวกับ JWD เพิ่มขึ้น 2.54% ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิของ JWD ในงวด 4Q60 เท่ากับ 461 ล้านบาท เติบโต 715% qoq และ 982% yoy ส่วนใหญ่มาจากบันทึกกำไรขายทรัพย์สินเข้ากอง REIT ราว 401 ล้านบาท แต่หากไม่นับรวมกำไรพิเศษ มีกำไรปกติเท่ากับ 60 ล้านบาท เติบโต 3.7% qoq มูลค่าพื้นฐานปี 61 อยู่ที่ 14 บาท ยังพอมี upside ลงทุน
แนวโน้มตลาดวันนี้ แม้ดัชนีจะยังได้ momentum เชิงบวก แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางมาก น่าจะทำให้การเคลื่อนไหวของ SET Index ยังคงอยู่ในกรอบจำกัด ประเมินแนวรับ 1800 จุด แนวต้าน 1813 จุด
ดัชนีชี้นำสหรัฐยังแข็งแกร่ง และน้ำมันยังขึ้นต่อจากความร่วมมือคงกำลังการผลิตถึงปลายปี
ปลายสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐมีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง คือ ยอดเริ่มต้นสร้างบ้าน (Housing strart)เดือน ม.ค. พุ่งขึ้น 9.7%mom อยู่ที่ 1.33 ล้านหลัง(สูงสุดในรอบ 1 ปี) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) คาดการณ์เบื้องต้น เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 4.3%mom อยู่ที่ 99.9 จุดและดีกว่าตลาดคาด 95.3 จุด หนุนความคาดหวัง Fed จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้คือ รอบ มี.ค. ด้วยโอกาส 99% เป็นปัจจัยหนุนให้ค่าดอลลาร์กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง ซึ่งอาจจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ยกเว้น ราคาน้ำมันดิบในช่วงสั้นที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง . จากประเด็นบวกเมื่อวันศุกร์ คือการควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC หลังจากนายคาลิด อัล-ฟาลีห์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย เผยว่าซาอุดิอาระเบียและกลุ่มประเทศ OPEC ยังคงยึดมั่นในคำมั่นสัญญาที่ว่าจะปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึง ธ.ค. ปีนี้ และความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
แม้ความกังวลจากปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ หลังจากสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจาก จำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 โดยเพิ่มขึ้น 7 หลุมมาอยู่ที่ 798 หลุม(ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตสหรัฐในช่วงเดียวกัน เพิ่มขึ้นแตะระดับ 10.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยภาพรวมราคาน้ำมันที่ยังยืน 60 เหรียญฯ ได้ทำให้เป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) ยังมี Upside 21.8% และ PTT(FV@B520) มี Upside 7%
ขณะทีไทยวันนี้สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growthงวด 4Q60 โดย ASPS คาดไว้ที่ 4.2%yoy(vs. ตลาดคาด 3.8%yoy) โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักในงวดนี้ยังมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และการบริโภคครัวเรือนซึ่งมีแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐปลายปี เช่น บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยและช็อปช่วยชาติ เป็นต้น และภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาล High Season หากออกมาดีกว่าคาดจะเป็นแรงหนุนต่อตลาดหุ้นไทย โดยรวม ASPS คาดเศรษฐกิจไทยปี 2560 เติบโต 3.8%yoy และ 4.2%yoy ในปี 2561
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวช่วงสั้นเช่นเดียวกับกับราคาน้ำมัน หลังคลายความกังวลลง ขณะที่ไทยอาจได้ปัจจัยหนุนจาก GDP Growth 4Q60 อย่างไรก็ตาม วันนี้คาดกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง อาจถูกกดดันจากประกาศเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ จีงแนะหลีกเลี่ยงไปก่อน กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic (WHA, BJC) + Global Play PTTEP, PTT เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) Top picks เลือก PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@520) มีโอกาสฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นพลังงาน-การเงินดันดัชนีปิดบวก แต่มูลค่าการซื้อขายลดลง
ศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่งปิดทำการเนื่องจากช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยดูซบเซาด้วยมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งวันเพียง 3.78 หมื่นล้านบาท ขณะที่การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยยังประคองตัวได้ในแดนบวกตลอดทั้งวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1805.89 จุด เพิ่มขึ้น 5.03 จุด หรือ 0.28% แรงหนุนหลักๆ มาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงไฟฟ้า EGCO ปรับตัวขึ้นแรงต่อเนื่องอีก 5.24%, GULF เพิ่มขึ้น 2.33% ตามด้วยหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคอย่าง EASTW เพิ่มขึ้นแรงกว่า 15% ขึ้นทำ New high ในรอบกว่า 4 ปี อีกกลุ่มที่ปรับตัวแรงคือ กลุ่มการเงิน-สินเชื่อ อย่าง KTC ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น All time high อย่างต่อเนื่อง ปิดที่ 296 บาท เพิ่มขึ้น 13.85% ตามมาด้วย AEONTS เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 7.29% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นคือ หุ้นขนาดกลาง-เล็ก จากกลุ่มโลจิสติกส์อย่าง WICE ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 5.76% เช่นเดียวกับ JWD เพิ่มขึ้น 2.54% ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิของ JWD ในงวด 4Q60 เท่ากับ 461 ล้านบาท เติบโต 715% qoq และ 982% yoy ส่วนใหญ่มาจากบันทึกกำไรขายทรัพย์สินเข้ากอง REIT ราว 401 ล้านบาท แต่หากไม่นับรวมกำไรพิเศษ มีกำไรปกติเท่ากับ 60 ล้านบาท เติบโต 3.7% qoq มูลค่าพื้นฐานปี 61 อยู่ที่ 14 บาท ยังพอมี upside ลงทุน
แนวโน้มตลาดวันนี้ แม้ดัชนีจะยังได้ momentum เชิงบวก แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางมาก น่าจะทำให้การเคลื่อนไหวของ SET Index ยังคงอยู่ในกรอบจำกัด ประเมินแนวรับ 1800 จุด แนวต้าน 1813 จุด
ดัชนีชี้นำสหรัฐยังแข็งแกร่ง และน้ำมันยังขึ้นต่อจากความร่วมมือคงกำลังการผลิตถึงปลายปี
ปลายสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐมีการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง คือ ยอดเริ่มต้นสร้างบ้าน (Housing strart)เดือน ม.ค. พุ่งขึ้น 9.7%mom อยู่ที่ 1.33 ล้านหลัง(สูงสุดในรอบ 1 ปี) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) คาดการณ์เบื้องต้น เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 4.3%mom อยู่ที่ 99.9 จุดและดีกว่าตลาดคาด 95.3 จุด หนุนความคาดหวัง Fed จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้คือ รอบ มี.ค. ด้วยโอกาส 99% เป็นปัจจัยหนุนให้ค่าดอลลาร์กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง ซึ่งอาจจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ยกเว้น ราคาน้ำมันดิบในช่วงสั้นที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง . จากประเด็นบวกเมื่อวันศุกร์ คือการควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC หลังจากนายคาลิด อัล-ฟาลีห์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย เผยว่าซาอุดิอาระเบียและกลุ่มประเทศ OPEC ยังคงยึดมั่นในคำมั่นสัญญาที่ว่าจะปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึง ธ.ค. ปีนี้ และความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
แม้ความกังวลจากปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ หลังจากสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจาก จำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 โดยเพิ่มขึ้น 7 หลุมมาอยู่ที่ 798 หลุม(ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี) หนุนกำลังการผลิตสหรัฐในช่วงเดียวกัน เพิ่มขึ้นแตะระดับ 10.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยภาพรวมราคาน้ำมันที่ยังยืน 60 เหรียญฯ ได้ทำให้เป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) ยังมี Upside 21.8% และ PTT(FV@B520) มี Upside 7%
ขณะทีไทยวันนี้สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growthงวด 4Q60 โดย ASPS คาดไว้ที่ 4.2%yoy(vs. ตลาดคาด 3.8%yoy) โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักในงวดนี้ยังมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และการบริโภคครัวเรือนซึ่งมีแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐปลายปี เช่น บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยและช็อปช่วยชาติ เป็นต้น และภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาล High Season หากออกมาดีกว่าคาดจะเป็นแรงหนุนต่อตลาดหุ้นไทย โดยรวม ASPS คาดเศรษฐกิจไทยปี 2560 เติบโต 3.8%yoy และ 4.2%yoy ในปี 2561
ทรัมป์ ยังเน้นการกีดกันการค้าเตรียมขึ้นภาษีเหล็ก และอลูมิเนียม
ประเด็นการกีดกันการค้าของสหรัฐ เริ่มมีน้ำหนักขึ้น หลังจากก่อนหน้า ดำเนินการไม่ต่ออายุ GSP และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า(Safe guard) เครื่องซักผ้า และชิ้นส่วนแผงโซลาร์เซลล์ และ ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เผยทางเลือกกีดกันในสินค้านำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม เนื่องจากสอบสวนพบว่าสินค้าดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในสหรัฐ ซึ่งเสนอทางเลือก 3 รูปแบบเสนอให้ประธานาธิบดีทรัมป์เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามรายละเอียดดังกล่าวประธานาธิบดีทรัมป์มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 11 เม.ย. และ 19 เม.ย. 2561 ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังให้น้ำหนักอย่างใกล้ชิด
ทังนี้หากพิจารณาแต่ละปี สหรัฐนำเข้าเหล็กจากทั่วโลกราว 21.9 พันล้านดอลลาร์ (คิดสัดส่วนราว 1% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมด) ประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐหลัก ๆ คือ แคนาดา 16%, บราซิล 13%, เกาหลีใต้ 10%, เม็กซิโก 9%, รัสเซีย 9%, ตุรกี 7%, ญี่ปุ่น 5%, ไต้หวัน 4%, เยอรมนี 3%, อินเดีย 2% ตามลำดับ ขณะที่เอเชีย จีน แม้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ แต่จะใช้ในประเทศเป็นหลัก
ขณะที่ไทย ผู้ประกอบการเหล็กไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างน้อย โดย TMT เน้นทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เช่นเดียวกับ TSTH และ MCS เน้นส่งออกเหล็กไปญี่ปุ่น จึงเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจำกัดจากมาตรการนี้
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง อาจได้รับ sentiment เชิงลบ จากการเปลี่ยนวิธีคิดอัตราดอกเบี้ยฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 ก.พ. 61) เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ได้ลงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เนี้อหาคือ ให้ยกเลิกประกาศฉบับปี พ.ศ. 2555 ที่มีชื่อเดียวกัน โดยให้เน้นว่า เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์แก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รถที่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ ขนส่งเพื่อการค้าหรือเพื่อธุรกิจตนเอง ส่วนรายละเอียดที่สำคัญของประกาศดังกล่าว คือ การเปลี่ยนวิธีคิดอัตราดอกเบี้ย จากเดิมที่กำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) คือ ไม่ลดดอกเบี้ยแม้เงินต้นลดลง มาเป็นการคิดแบบลดต้นลดดอก (เหมือนกับการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต่อกลุ่มเช่าซื้อ คือ
ผลกระทบต่อดอกเบี้ยรับ จากเดิมที่กำหนดดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะสัญญา (Flat Rate) แต่ของใหม่ที่ดอกเบี้ยลดลงจากวันทำสัญญา ยิ่งใกล้ครบสัญญาดอกเบี้ยรับยิ่งลดลง นอกจากนี้ ยังมีแรงจูงใจให้มีการจ่ายก่อนครบกำหนด เพราะดอกเบี้ยจ่ายจะทยอยลดลง ขณะที่ผลกระทบต่อประมาณการกำไรฯ คาดว่าจะกระทบปี 2561 ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนปี 2562 ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโครงสร้างต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ กลุ่มที่เข้าข่ายจะอยู่ในกลุ่มผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์แก่บุคคลทั่วไป ในส่วนที่เป็น ธ.พ. คือ TISCO, TCAP, KKP, BAY, SCB และ Non-Bank คือ TK, S11 ขณะที่ THANI และ ASK แม้จะไม่อยู่ในข่ายเพราะส่วนใหญ่เน้นให้เช่าซื้อแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อบุคคลโดยใช้ทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหลักประกันอย่าง MTLS และ SASWAD แต่ก็น่าจะได้รับ sentiment เชิงลบไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งราคาหุ้นก็มี Upside เหลือไม่มากแล้ว จึงแนะนำหลีกเลี่ยงไปก่อน
ต่างชาติขายหุ้นไทยเล็กน้อย ในวันตรุษจีน
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่งหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันตรุษจีน คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ (กลับมาเปิดทำการในวันนี้) และตลาดหุ้นไต้หวัน (กลับมาเปิดทำการในวันอังคาร) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่เปิดทำการเป็นปกติ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงท่องเที่ยวในวันตรุษจีน ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นไทยเบาบางกว่าปกติ และต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 3.77 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่มูลค่าการซื้อสุทธิมาจากนักลงทุนสถาบันฯ 252 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตรงข้ามกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 237 ล้านบาท โดยแรงขายเริ่มเบาลง หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 11 วัน โดยมีมูลค่ารวมสูงกว่า 3.49 หมื่นล้านบาท) และเชื่อว่าแรงขายน่าจะมีจำกัด เนื่องจากหากพิจารณายอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.96 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.63 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 450 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน)
ทยอยประกาศงบ 4Q60 ยังต้องระวัง Sell on fact
การรายงานงบฯ 4Q60 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนประกาศงบฯ แล้วราว 100 บริษัท คิดเป็น 41% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.07 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับ 4Q59 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.05 แสนล้านบาท โดยผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่า กำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันอยู่ที่ 8.15 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.4%yoy และ 93.9%qoq ขณะที่ภาพรวมกำไรสุทธิปี 60 (เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว) อยู่ที่ 4.17 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 59 ที่ทำได้ 4.30 แสนล้านบาท ตั้งแต่สัปดาห์นี้จะมีบริษัทจดทะเบียนทยอยรายงานงบออกมา ฝ่ายวิจัยคาดว่าทั้งปีน่าจะเติบโตได้ดีกว่าปี 2559
สำหรับวันนี้คาดว่าจะมีการรายงานงบของ PTTGC กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 9.15 พันล้านบาท ลดลง 8.1%qoq กดดันจากกำไรที่ลดลงของธุรกิจโรงกลั่น และค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆ เช่น การบันทึกขาดทุนจาก hedging, การบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษประจำปี, ค่าใช้จ่ายโบนัสพนักงาน และการบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง แต่ยังได้ปัจจัยหนุนจากทั้งธุรกิจโอเลฟินส์และธุรกิจอะโรเมติกส์ ที่ utilization rate และ spread ดีขึ้น โดยรวมแล้วคาดกำไรสุทธิปี 2560 เท่ากับ 3.88 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบบาท และปรับเพิ่มประมาณการตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบรับทิศทางกำไรที่จะเติบโตแข็งแกร่งตามปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้นของโครงการใหม่ๆ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้มีการปรับมูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 108 บาทต่อหุ้น (เดิม 98 บาทต่อหุ้น) กอปรหุ้นให้ผลตอบแทนปันผลสูงเฉลี่ยถึง 4% ต่อปี และราคาได้มีการพักตัวลงมาก่อนหน้านี้ จึงแนะนำซื้อ
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, WHA, PTTEP
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5680
ประเด็นการกีดกันการค้าของสหรัฐ เริ่มมีน้ำหนักขึ้น หลังจากก่อนหน้า ดำเนินการไม่ต่ออายุ GSP และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า(Safe guard) เครื่องซักผ้า และชิ้นส่วนแผงโซลาร์เซลล์ และ ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เผยทางเลือกกีดกันในสินค้านำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม เนื่องจากสอบสวนพบว่าสินค้าดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในสหรัฐ ซึ่งเสนอทางเลือก 3 รูปแบบเสนอให้ประธานาธิบดีทรัมป์เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามรายละเอียดดังกล่าวประธานาธิบดีทรัมป์มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 11 เม.ย. และ 19 เม.ย. 2561 ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังให้น้ำหนักอย่างใกล้ชิด
ทังนี้หากพิจารณาแต่ละปี สหรัฐนำเข้าเหล็กจากทั่วโลกราว 21.9 พันล้านดอลลาร์ (คิดสัดส่วนราว 1% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมด) ประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐหลัก ๆ คือ แคนาดา 16%, บราซิล 13%, เกาหลีใต้ 10%, เม็กซิโก 9%, รัสเซีย 9%, ตุรกี 7%, ญี่ปุ่น 5%, ไต้หวัน 4%, เยอรมนี 3%, อินเดีย 2% ตามลำดับ ขณะที่เอเชีย จีน แม้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ แต่จะใช้ในประเทศเป็นหลัก
ขณะที่ไทย ผู้ประกอบการเหล็กไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างน้อย โดย TMT เน้นทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เช่นเดียวกับ TSTH และ MCS เน้นส่งออกเหล็กไปญี่ปุ่น จึงเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจำกัดจากมาตรการนี้
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง อาจได้รับ sentiment เชิงลบ จากการเปลี่ยนวิธีคิดอัตราดอกเบี้ยฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (16 ก.พ. 61) เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ได้ลงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เนี้อหาคือ ให้ยกเลิกประกาศฉบับปี พ.ศ. 2555 ที่มีชื่อเดียวกัน โดยให้เน้นว่า เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์แก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รถที่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ ขนส่งเพื่อการค้าหรือเพื่อธุรกิจตนเอง ส่วนรายละเอียดที่สำคัญของประกาศดังกล่าว คือ การเปลี่ยนวิธีคิดอัตราดอกเบี้ย จากเดิมที่กำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) คือ ไม่ลดดอกเบี้ยแม้เงินต้นลดลง มาเป็นการคิดแบบลดต้นลดดอก (เหมือนกับการคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต่อกลุ่มเช่าซื้อ คือ
ผลกระทบต่อดอกเบี้ยรับ จากเดิมที่กำหนดดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะสัญญา (Flat Rate) แต่ของใหม่ที่ดอกเบี้ยลดลงจากวันทำสัญญา ยิ่งใกล้ครบสัญญาดอกเบี้ยรับยิ่งลดลง นอกจากนี้ ยังมีแรงจูงใจให้มีการจ่ายก่อนครบกำหนด เพราะดอกเบี้ยจ่ายจะทยอยลดลง ขณะที่ผลกระทบต่อประมาณการกำไรฯ คาดว่าจะกระทบปี 2561 ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนปี 2562 ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโครงสร้างต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ กลุ่มที่เข้าข่ายจะอยู่ในกลุ่มผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์แก่บุคคลทั่วไป ในส่วนที่เป็น ธ.พ. คือ TISCO, TCAP, KKP, BAY, SCB และ Non-Bank คือ TK, S11 ขณะที่ THANI และ ASK แม้จะไม่อยู่ในข่ายเพราะส่วนใหญ่เน้นให้เช่าซื้อแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อบุคคลโดยใช้ทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นหลักประกันอย่าง MTLS และ SASWAD แต่ก็น่าจะได้รับ sentiment เชิงลบไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งราคาหุ้นก็มี Upside เหลือไม่มากแล้ว จึงแนะนำหลีกเลี่ยงไปก่อน
ต่างชาติขายหุ้นไทยเล็กน้อย ในวันตรุษจีน
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่งหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันตรุษจีน คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ (กลับมาเปิดทำการในวันนี้) และตลาดหุ้นไต้หวัน (กลับมาเปิดทำการในวันอังคาร) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่เปิดทำการเป็นปกติ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงท่องเที่ยวในวันตรุษจีน ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นไทยเบาบางกว่าปกติ และต่ำสุดในปีนี้ อยู่ที่ 3.77 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่มูลค่าการซื้อสุทธิมาจากนักลงทุนสถาบันฯ 252 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตรงข้ามกับต่างชาติที่ขายสุทธิเล็กน้อย 237 ล้านบาท โดยแรงขายเริ่มเบาลง หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 11 วัน โดยมีมูลค่ารวมสูงกว่า 3.49 หมื่นล้านบาท) และเชื่อว่าแรงขายน่าจะมีจำกัด เนื่องจากหากพิจารณายอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.96 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.63 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 450 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน)
ทยอยประกาศงบ 4Q60 ยังต้องระวัง Sell on fact
การรายงานงบฯ 4Q60 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนประกาศงบฯ แล้วราว 100 บริษัท คิดเป็น 41% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.07 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับ 4Q59 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.05 แสนล้านบาท โดยผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่า กำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันอยู่ที่ 8.15 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.4%yoy และ 93.9%qoq ขณะที่ภาพรวมกำไรสุทธิปี 60 (เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว) อยู่ที่ 4.17 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 59 ที่ทำได้ 4.30 แสนล้านบาท ตั้งแต่สัปดาห์นี้จะมีบริษัทจดทะเบียนทยอยรายงานงบออกมา ฝ่ายวิจัยคาดว่าทั้งปีน่าจะเติบโตได้ดีกว่าปี 2559
สำหรับวันนี้คาดว่าจะมีการรายงานงบของ PTTGC กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 9.15 พันล้านบาท ลดลง 8.1%qoq กดดันจากกำไรที่ลดลงของธุรกิจโรงกลั่น และค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆ เช่น การบันทึกขาดทุนจาก hedging, การบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษประจำปี, ค่าใช้จ่ายโบนัสพนักงาน และการบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง แต่ยังได้ปัจจัยหนุนจากทั้งธุรกิจโอเลฟินส์และธุรกิจอะโรเมติกส์ ที่ utilization rate และ spread ดีขึ้น โดยรวมแล้วคาดกำไรสุทธิปี 2560 เท่ากับ 3.88 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบบาท และปรับเพิ่มประมาณการตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตอบรับทิศทางกำไรที่จะเติบโตแข็งแกร่งตามปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้นของโครงการใหม่ๆ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้มีการปรับมูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 108 บาทต่อหุ้น (เดิม 98 บาทต่อหุ้น) กอปรหุ้นให้ผลตอบแทนปันผลสูงเฉลี่ยถึง 4% ต่อปี และราคาได้มีการพักตัวลงมาก่อนหน้านี้ จึงแนะนำซื้อ
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, WHA, PTTEP
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5680